การใช้ยากันยุงให้ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้ต้องทำอย่างไร ?

การสนทนาใน 'สินค้าทั่วไป ไม่มีหมวดหมู่' เริ่มโดย totheworld, 9 พฤศจิกายน 2022

< Previous Thread | Next Thread >
  1. totheworld

    totheworld New Member Member

    0
    0
    0


    ปัจจุบันโรคที่มียุงเป็นพาหะกำลังระบาดหนักในบางพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาก็คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงให้สิ้นซาก ร่วมกับการใช้ยากันยุงช่วยด้วยอีกแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการโดนยุงกัด แต่ถึงกระนั้น สารเคมีจากยากันยุงแม้จะช่วยขจัดยุงตัวร้ายได้ ทว่ากลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งานได้ด้วยเช่นกัน แล้วเราต้องทำอย่างไรถึงจะใช้งานผลิตภัณฑ์ขจัดยุงได้เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยทุกคนในบ้าน ? ถ้าอยากรู้ ตามไปหาคำตอบกันได้เลย !


    การใช้ยากันยุงช่วยป้องกันยุงกัดได้อย่างไร ?

    ผลิตภัณฑ์ข้างต้นไม่เหมือนกับยาฉีดยุงที่จะฆ่ายุงในชั่วอึดใจ หากแต่จะมีสารสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้ยุงไม่กัดผู้ใช้เพียงเท่านั้น โดยสารกันยุงในผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องจลาด มีดังต่อไปนี้
    - ผลิตภัณฑ์กันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET, IR3535, Picaridin หรือสารสกัดจากธรรมชาติ อย่าง น้ำมันตะไคร้ ซึ่งสารเหล่านี้จะไปรบกวนระบบการรับรู้กลิ่นของยุง ทำให้ยุงไม่สามารถค้นพบสารในร่างกายของคนชนิดที่กระตุ้นให้ยุงบินมาดูดเลือดได้ โดยเรามักพบสารจำพวกนี้บ่อยในยากันยุงแบบครีม โลชั่น และสเปรย์
    - ผลิตภัณฑ์กันยุงที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethroids) ได้แก่ แอลเลอทริน Allethrin ที่ออกฤทธิ์โดยการไปรบกวนการทำงานส่วนระบบประสาทของยุง ทำให้ยุงเป็นอัมพาตในทันที ซึ่งสารชนิดนี้มักพบในยาจุดกันยุงรูปแบบควันมากกว่าแบบอื่น ๆ



    สิ่งที่ต้องรู้ในการเลือกใช้ยากันยุงเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย

    อย่างแรกที่เราทุกคนควรรู้คือ ผลิตภัณฑ์กันยุงออกฤทธิ์ได้ยาวนานประมาณ 2-5 ชั่วโมง และเมื่อครบเวลาตามกำหนดก็ต้องทาซ้ำ เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับผลิตภัณฑ์บางตัวที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม, น้ำมันแมงลัก หรือน้ำมันแมงกะแซง อาจช่วยป้องกันยุงกัดได้เพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แถมยากันยุงที่ทาบนผิวหนังโดยตรงก็มีส่วนทำให้ผู้ใช้ระคายเคืองหรือมีอาหารแพ้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากอาการข้างต้นแสดงออกมา แนะนำให้หยุดใช้และรีบไปพบแพทย์โดยทันที

    ซึ่งคำแนะนำในการเลือกซื้อยากันยุง มีดังต่อไปนี้…
    - ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)
    - ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ใช้ยาทากันยุง
    - ห้ามใช้สเปรย์ ฉีดยุงบริเวณใบหน้าโดยเด็ดขาด
    - ใช้งานผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันการสูดดม


    ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาคือ หลักการใช้ยากันยุงให้ปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้เอง ซึ่งก่อนเราจำเป็นต้องศึกษาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์กันยุง เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่าตัวผลิตภัณฑ์ทำงานอย่างไร จากนั้นค่อยไปดูข้อควรระวังในการใช้งานและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพียงเท่านี้สุขภาพของคุณก็ปลอดภัยจากยุงตัวร้าย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์กันยุงได้แล้ว !
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้