ประวัติ AE11X โตโยต้า ได้เริ่ม สายพานการผลิต เมื่อ ปี 1996 มีอยู่ 3รุ่นด้วยกัน ในแต่ละรุ่น จะมี ความแตกต่างกันออกไป และ เครื่องยนต์ ก็ต่างกัน ออกไปด้วย ครับ 1 โฉม ตูดเป็ด ปีผลิต 1996-1997 เครื่องยนต์ มี 2 รุ่นด้วยกัน คือ 1500 CC , 1600 CC รหัส AE110 เครื่องยนต์ 1500CC. 5A-FE รหัส AE111 เครื่องยนต์ 1600CC. 4A-FE 2 โฉม ไฮทอร์ก ปีผลิต 1997-1999 เครื่องยนต์ มี 3 รุ่นด้วยกัน คือ 1500CC,1600CC,1800CC รหัส AE110 เครื่องยนต์ 1500CC. 5A-FE รหัส AE111 เครื่องยนต์ 1600CC. 4A-FE รหัส AE112 เครื่องยนต์ 1800CC. 7A-FE ในปีที่ผลิต ได้หยุดสายพานการผลิต ตัว เครื่องยนต์ 1500CC ไปเนื่องจาก ทาง โตโยต้าได้ เริ่มเล็งตลาด ล่าง และดันเจ้า โซลูน่า เครื่องยนต์ 1500CC ออกสู่ตลาด 3 โฉม อัลติส (สังเกต ที่ไฟท้าย จะเป็น ทรงกลมๆ คล้ายไข่ )และยังมีตัว S Limited อีกด้วย ผลิตช่วง ปี 1999-2001 เครื่องยนต์ มี 2 รุ่นด้วยกัน คือ 1600CC.1800CC รหัส AE111 เครื่องยนต์ 1600CC. 4A-FE รหัส AE112 เครื่องยนต์ 1800CC. 7A-FE ปล ถ้าท่านใดยัง สับสนว่า AE11X ที่ท่านขับ เป็นรุ่น อะไร ง่ายๆ ก็ดูที่เครื่องยนต์ครับ
เอาข้อมูลของคุณ [email protected] มาช่วยเสริมครับ ประวัติของToyota Corolla Toyota Corolla โคโรลล่า เป็นรถยนต์รุ่นสำคัญที่ทำให้โตโยต้าผงาดขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 40 ล้านคันทั่วโลกนับตั้งแต่รุ่นแรก และครองยอดจำหน่ายอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ในเมืองไทยอาจคุ้นเฉพาะชื่อของโคโรลล่าเท่านั้น แต่ในประเทศญี่ปุ่น สายพันธุ์ของโคโรลล่า ยังแตกแขนงออกเป็นรุ่นต่างๆ โดยใช้พื้นฐานและชิ้นส่วนตัวถังร่วมกันในบางจุด เช่น เลวินและทรูโน (คูเป้) และสปรินเตอร์ (คูเป้ / ซีดาน / สเตชันแวกอน) รุ่นแรก KE10 ย้อนกลับไปในเดือนเมษายน 1966 จากความสำเร็จของนิสสัน ซันนี่ 1,000 ซีซี ในตลาดญี่ปุ่น เย้ายวนให้โตโยต้าสนใจตลาดรถยนต์ครอบครัวราคาถูก และอีก 7 เดือนต่อมาก็เปิดตัวโคโรลล่า รุ่นแรก รหัสตัวถัง KE10 ในแบบ 2 ประตู ส่วนรุ่น 4 ประตูตามมาในเดือนพฤษภาคม 1967 และสเตชันแวกอนในปี 1968 KE10 ใช้เครื่องยนต์รหัส K 4 สูบ OHV 1,070 ซีซี 60 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที และรุ่น 73 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ โคโรลล่าได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนต้องเปิดตัวรุ่นคูเป้ รหัสตัวถัง KE15 โดยใช้ชื่อโคโรลล่า สปรินเตอร์ รุ่นที่ 2 KE20 เปิดตัวพฤษภาคม 1970 นับเป็นครั้งแรกที่รุ่นสปรินเตอร์เพิ่มตัวถังซีดานในการทำตลาด นอกจากนั้น ยังเปิดตัวรุ่นคูเป้ จีที ในชื่อ เลวินและทรูโน ในปี 1972 ซึ่งเลวิน-LEVIN มาการรวมคำของ COROLLA+TWINCAM ENGINE เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นรหัส 3K 4 สูบ OHV 1,166 ซีซี 73 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 9.24 กก.-ม. ที่ 3,800 รอบ/นาที จนถึงรุ่นแรงสุด 2T-GR 4 สูบ ทวินแคม 1,588 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ซึ่งพัฒนามาจากรหัส 2T-G 110 แรงม้า (PS) และเปลี่ยนมาใช้เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะเป็นครั้งแรก เมื่อสายพันธุ์โคโรลล่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการแตกแขนงออกมาหลายรุ่น ทำให้โตโยต้าต้องจัดระบบการจำหน่ายใหม่ ด้วยการตั้งเครือข่ายจำหน่ายใหม่ 2 แห่ง คือ ออโต้ ทำตลาดรุ่นสปรินเตอร์ และ โคโรลล่า (ในญี่ปุ่นเรียกว่าคาโรล่า) สำหรับรุ่นโคโรลล่า และเลวิน นอกจากนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 1974 ไดฮัทสุ บริษัทในเครือโตโยต้า นำโคโรลล่าไปแปลงโฉมและทำตลาดในชื่อ ชาร์มังต์ (หรือรุ่น 1200 และ 1400 ในยุโรป) นับเป็นรถยนต์นั่งรุ่นใหญ่สุดของไดฮัทสุ รุ่นที่ 3 KE30 เปิดตัวในเดือนเมษายน 1974 ทำตลาดด้วยตัวถัง 2 และ 4 ประตู, คูเป้, ลิฟต์แบ็ก 2 ประตู (ใช้รหัส TE37) และสเตชันแวกอน 3 และ 5 ประตู ที่ตัวถังด้านท้ายมีทั้งแบบกระจกโปร่งและแบบตัวถังทึบไม่มีกระจก ส่วนรุ่นเลวินและทรูโนใช้รหัส TE47 การปรับโฉมมีขึ้นในเดือนมกราคม 1977 เปลี่ยนรหัสของโคโรลล่า คูเป้มาเป็น TE51 และ TE55 ในรุ่นลิฟต์แบ็ก ใช้ขุมพลังรหัส 2T-GEU 4 สูบ ทวินแคม 1,588 ซีซี EFI พร้อมระบบ TTC-C 110 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที รุ่นที่ 4 KE70 เป็นโคโรลล่าขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นสุดท้าย เปิดตัวในเดือนมีนาคม 1979 ทั้งแบบ 2 และ 4 ประตู ลิฟท์แบ็ก สเตชันแวกอน 3 และ 5 ประตู ส่วนรุ่นเลวินและทรูโน มี 2 ตัวถัง คือ คูเป้ และฮาร์ดท็อปคูเป้ การปรับโฉมของโคโรลล่า จากไฟหน้าทรงกลมแบบ 4 ดวงและแบบสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มาเป็น ไฟหน้าสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีขึ้นในเดือนสิงหาคม 1981 เครื่องยนต์ของโคโรลล่าตัวถังนี้มี 4 รุ่น คือ 4K-U 4 สูบ OHV 1,290 ซีซี 72 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.5 กก.-ม.ที่ 3,600 รอบ/นาที รหัส 3A-U 4 สูบ OHC 1,452 ซีซี 80 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 11.8 กก.-ม.ที่ 3,600 รอบ/นาที รหัส 13T-U 4 สูบ OHV 1,770 ซีซี 95 แรงม้า (PS) ที่ 5,400 รอบ/นาที ปิดท้ายด้วยรหัส 2T-GEU 4 สูบ ทวินแคม 8 วาล์ว EFI 1,600 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 จังหวะ รวมทั้งแบบอัตโนมัติ 2 และ 3 จังหวะ รุ่นที่ 5 AE80 เผยโฉมในญี่ปุ่นเมื่อพฤษภาคม 1983 ก่อนส่งเข้าเมืองไทยในปีต่อมา นับเป็นรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดอีกรุ่น เช่น ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นครั้งแรก เครื่องยนต์เปลี่ยนมาเป็นตระกูล A นอกจากนั้น ยังเพิ่มตัวถังใหม่ๆ เข้ามา เช่น ลิฟต์แบ็ก 5 ประตู และแฮทช์แบ็ก 3 และ 5 ประตู (ใช้ชื่อจำหน่าย FX) เปิดตัวในเดือนตุลาคม 1984 และเป็นครั้งแรกโตโยต้าเพิ่มตัวถังสเตชันแวกอนให้กับรุ่นสปรินเตอร์โดยใช้ชื่อ คาริบ แม้ว่าโคโรลล่ารุ่นที่ 5 เปลี่ยนมาเป็นแบบขับหน้า แต่รุ่นเลวินและทรูโนรหัสตัวถัง AE86 ยังเป็นแบบขับหลัง ใช้ตัวถังต่างจากรุ่นอื่นๆ และวางขุมพลังพันธุ์แรงบล็อกใหม่รหัส 4A-GEU ทวินแคม 16 วาล์ว 1,587 ซีซี EFI T-VIS 130 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.2 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ที่ผลิตโดยยามาฮ่า ด้วยสมรรถนะแรง ขนาดกะทัดรัด และรูปทรงไม่ล้าสมัย ทำให้ AE86 ยังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นนักเลงรถชาวญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ความแตกต่างทางด้านรูปลักษณ์ระหว่างเลวินและทรูโนในรุ่นนี้ คือ ชุดไฟหน้า โดยทรูโนจะใช้แบบ POP-UP สำหรับสปรินเตอร์ ซีดาน แม้ยังใช้ชิ้นส่วนหลักร่วมกับโคโรลล่า ซีดาน แต่ด้านท้ายได้รับการออกแบบใหม่หมด และส่งไปทำตลาดสหรัฐอเมริกาในชื่อ เชฟโรเล็ต โนวา รุ่นที่ 6 AE90 เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 1987 ด้วยซีดาน 4 ประตู แต่รุ่น FX เหลือแค่แฮทช์แบ็ก 3 ประตูเท่านั้นที่ทำตลาดญี่ปุ่น ส่วนรุ่น 5 ประตูส่งไปทำตลาดในยุโรปและโอเซียเนีย สปรินเตอร์ นอกจากตัวถังซีดานซึ่งในรุ่นนี้ออกแบบจนแตกต่างจากโคโรลล่าแล้ว ยังเพิ่มรุ่นลิฟต์แบ็ก 5 ประตูในชื่อ สปรินเตอร์ เซียโล-CIELO และใช้ชื่อโคโรลล่า ลิฟต์แบ็ก คอนเควสต์ ในตลาดยุโรปและโอเซียเนีย เลวินและทรูโน (รหัสตัวถัง AE92) เผยโฉมพร้อมกันและเปลี่ยนมาเป็นสปอร์ตขับเคลื่อนล้อหน้า โดยไฟหน้า POP-UP ยังสร้างความแตกต่างให้กับคูเป้ทั้ง 2 รุ่นนี้เหมือนเดิม ขุมพลังของโคโรลล่ารุ่นนี้มีตั้งแต่รหัส 2E 4 สูบ OHC 12 วาล์ว 1,295 ซีซี 72 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.3 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที ตามด้วยแบบทวินแคม 16 วาล์ว เริ่มจากรหัส 5A-F 1,500 ซีซี คาร์บิวเรเตอร์ 85 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.5 กก.-ม.ที่ 3,300 รอบ/นาที และ 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.1 กก.-ม.ที่ 4,400 รอบ/นาทีสำหรับรุ่นหัวฉีด EFI (5A-FE) 5A FE 4A FE รหัส 4A-G 1,587 ซีซี 120 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที แต่เมื่อเพิ่มซูเปอร์ชาร์จในรุ่น 4A-GZE กำลังสูงสุดจะเพิ่มเป็น 145 แรงม้า (PS) ที่ 6,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 19 กก.-ม.ที่ 4,400 รอบ/นาที นอกจากนั้น ยังส่งสปรินเตอร์ ซีดานไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในชื่อ จีโอ พริซึม ยี่ห้อใหม่ของเจนเนอรัล มอเตอร์สที่แยกตัวออกจากเชฟโรเล็ต ในเมืองไทย เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1987 เด่นด้วยเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 16 วาล์ว เป็นรายแรกในเมืองไทย ใช้เครื่องยนต์ 2E และ 4A-F 16 วาล์ว 1,587 ซีซี 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.0 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที รวมทั้งรุ่น SPORTY ที่เปลี่ยนคาร์บิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ 4A-F มาเป็นเวบเบอร์ ท่อคู่ดูดข้าง 106 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.9 กก.-ม.ที่ 4,200 รอบ/นาที การปรับโฉมมีขึ้นในเดือนมีนาคม 1990 และเพิ่มรุ่นเกียร์อัตโนมัติ และ GTi ขุมพลัง 4A-GE 130.5 แรงม้า (PS) ที่ 7,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.8 กก.-ม.ที่ 6,000 รอบ/นาที 4A GE 4A GZE รุ่นที่ 7 AE100 เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 1991 ด้วยตัวถังซีดาน พร้อมกับเปิดตัวพี่น้องร่วมสายพันธุ์โคโรลล่า เช่น รุ่นสปรินเตอร์ ที่มีความแตกต่างในด้านรูปลักษณ์อย่างชัดเจน และปิดท้ายด้วยรุ่นแฮทช์แบ็ก 3ประตู FX ฮาร์ดท็อป 4 ประตูในชื่อโคโรลล่า เซเรส, สปรินเตอร์ มาริโน และโคโรลล่า ทัวริ่งแวกอน ในปี 1992 นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ขุมพลัง 5 วาล์ว/สูบ รหัส 4A-GE 4 สูบ ทวินแคม 20 วาล์ว 1,600 ซีซี 160 แรงม้า (PS) ที่ 7,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ออกสู่ตลาด กลางปี 1998 ด้วยสาเหตุที่ความนิยลดต่ำลง ทำให้โคโรลล่า เซเรส, สปรินเตอร์ มาริโน และ FX ถูกปลดออกจากสายการผลิต และยุติการทำตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน และเหลือรุ่น FX ไว้ทำตลาดต่างประเทศเท่านั้น เลวินและทรูโน รหัสตัวถัง AE101 ออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน 1991 และรุ่นสูงสุดใช้ ขุมพลัง 4A-GE ทวินแคม 16 วาล์ว พ่วงกับซุปเปอร์ชาร์จ 170 แรงม้า (PS) ในเมืองไทย โคโรลล่ารุ่นนี้ สร้างปรากฎการณ์ทันทีที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1992 ด้วยยอดจองผ่านหลัก 10,000 คันอย่างรวดเร็ว จนโรงงานผลิตไม่ทันกับความต้องการ ทำให้โตโยต้าต้องนำเข้ารุ่น LX-LIMITED จากญี่ปุ่นจำนวน 1,000 คันมาแก้ปัญหานี้ โดยต้องเพิ่มราคาอีก 5,000 บาท การปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์มีขึ้นกลางปี 1994 และเพิ่มรุ่น 1,300 ซีซี เกียร์อัตโนมัติ พร้อมรุ่นตกแต่งพิเศษสีเขียวในชื่อ LIME เพียง 300 คันเท่านั้น 4A GE 20 V. 4E FE รุ่นที่ 8 AE110 เผยโฉมในเดือนพฤษภาคม 1995 แต่ก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากลูกค้าและสื่อมวลชนในประเทศอย่างมากถึงการลดต้นทุนด้วยการใช้ชิ้นส่วนร่วมกับรุ่นเดิมมากถึง 40% โคโรลล่ารุ่นที่ 8 ยังมีทางเลือกตัวถังที่มากมาย ทั้งแบบซีดาน คูเป้ และลิฟต์แบ็ก 3 และ 5 ประตู รวมถึงรุ่นเลวินและทรูโน (AE111) และเป็นครั้งแรกที่โคโรลล่ามีตัวถัง มินิ MPV ออกมาให้เลือกในชื่อ โคโรลล่า สปาซิโอ โคโรลล่า รุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่ใช้ขุมพลังรหัส A โดยรุ่นที่ทำตลาด คือ รหัส 4E-FE 1,331 ซีซี 85 แรงม้า (PS), 5A-FE 1,498 ซีซี 100 แรงม้า (PS), 4A-FE 1,587 ซีซี 115 แรงม้า (PS) แรงสุดด้วยรหัส 4A-GE 4 สูบ ทวินแคม 20 วาล์ว 1,587 ซีซี 165 แรงม้า (PS) รวมทั้งดีเซล 3C-E 4 สูบ 2,184 ซีซี 79 แรงม้า (PS) แม้ขุมพลังของโคโรลล่าในตลาดทั่วโลกยังเป็นรหัส A แต่เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา วางเครื่องยนต์ 1ZZ-FE พร้อมระบบวาลว์แปรผัน VVT-i มาตั้งแต่ปี 1998 ก่อนที่ตลาดยุโรปจะได้สัมผัส เครื่องยนต์ ZZ ในรุ่นปรับโฉมของโคโรลล่าเมื่อต้นปีนี้ สำหรับเมืองไทย AE112 ซีดาน เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 1996 และมีการปรับโฉมทุกปี เช่น โคโรลล่า ซาลูน ในปี 1997 ตามด้วยรุ่นพิเศษฉลองยอดผลิตรถยนต์ในเมืองไทยครบ 1 ล้านคันด้วยตัวถังสีดำเพียง 300 คัน รุ่นลิมิเต็ด ใช้สีเขียวเป็นสีตัวถัง รุ่นปรับโฉมครั้งใหญ่ โคโรลล่า ไฮทอร์คเพิ่ม ขุมพลังรหัส 7A-FE 1,800 ซีซี ในปี 1998 โคโรลล่า อัลทิส 1,800 ซีซี ในปี 1999 ปิดท้ายกับ อัลทิส ไฟท้ายยุโรปพร้อมรุ่น 1,600 ซีซีเมื่อต้นปี 2000 5E FE 7A FE Toyota New Corolla Altis โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส โฉมใหม่-โมเดลเชนจ์ เปิดตัวพร้อมมิติภายนอกและภายในที่ขยายใหญ่ขึ้น เทียบชั้นรถยนต์ขนาดกลาง อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังใหม่บล็อก ZZ 1.6 และ 1.8 ภายนอกเด่นด้วยไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์และกระจังโครเมียมแบบซี่ตั้ง (1.6J เป็นซี่นอน) รุ่น 1.8 ติดตั้งสปอตไลต์ทรงเฉี่ยวในกันชน ด้านข้างหรูด้วยชุดที่เปิดประตูชุบโครเมียม (1.6J สีเดียวกับตัวถัง) และคิ้วโครเมียมล้อมรอบกระจกหน้าและหน้าต่าง (1.6J สีดำ) รุ่น 1.6J ให้ล้อแม็กลาย 4 ก้าน ขนาด 6 x 14 นิ้ว ยางขนาด 185/70 R14 รุ่น 1.6E และ 1.8 ให้ล้อแม็กลาย 6 ก้าน ขนาด 6 x 15 นิ้ว ยางขนาด 195/60 R15 SPECIFICATION ซีดาน 4 ประตู เครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว VVT-i 1,794 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 79.0 X 91.5 มม. อัตราส่วนการอัด 10.0 : 1 136 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.4 กก.-ม.ที่ 4,200 รอบ/นาที ระบบส่งกำลัง ธรรมดา 5 จังหวะ / อัตโนมัติ 4 จังหวะ ระบบขับเคลื่อน ล้อหน้า ระบบกันสะเทือนหน้า สตรัตพร้อมคอยล์สปริง หลัง ทอร์ชั่นบีม ไฟท้ายแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านนอกติดกับตัวถังเป็นไฟเลี้ยวและไฟเบรก ด้านในติดตั้งในฝากระโปรง ฝั่งซ้ายเป็นไฟถอยหลัง ฝั่งขวาเป็นไฟตัดหมอก ปลายท่อไอเสียงุ้มซ่อนหลังกันชน ภายในรุ่น 1.6J สะดวกสบายด้วยพวงมาลัยยูรีเธน 4 ก้านมีถุงลมนิรภัยพร้อมเพาเวอร์, กระจกไฟฟ้า, กระจกมองข้างปรับด้วยมือจากภายใน, เซ็นทรัลล็อก, ที่ปัดน้ำฝนทำงานเป็นจังหวะร่วมกับที่ฉีดน้ำ, กล่องเก็บของระหว่างเบาะหน้า, ที่วางแก้วน้ำด้านหน้า, เบาะนั่งกำมะหยี่, เสียงเตือนเมื่อลืมกุญแจและลืมปิดไฟหน้า, แอร์แบบปุ่มกดควบคุมด้วยไฟฟ้า และวิทยุเทปแบบ 1 DIN พร้อมลำโพง 4 ตัว และเสาอากาศที่เสาหน้า ปลอดภัยด้วยกระจกหน้าแบบอัดซ้อนนิรภัย เข็มขัดนิรภัย 3 จุด 4 ตำแหน่ง และ 2 จุด 1 ตำแหน่ง ด้านหน้าปรับระดับได้, ถุงลมนิรภัยฝั่งผู้ขับ, กระจกข้างแบบป้องกันการหนีบ JAM PROTECTION, โครงสร้างภายในแบบครีบ HEAD IMPACT PROTECTION STRUCTURE กระจายแรงกระแทกจากการชน, เบาะนั่งระบบ WIL-WHIPLASH INJURY LESSENING ป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอจากการชนด้านหลัง, แป้นเหยียบออกแบบให้ยุบตัวได้ ลดการบาดเจ็บบริเวณเท้า และไฟเบรกดวงที่ 3 1.6E พวงมาลัยเป็นแบบหุ้มหนัง, กล่องเก็บของระหว่างเบาะหน้าแบบ 2 ชั้น, เพิ่มไฟส่องแผนที่นั่งด้านหน้า, ที่ปัดน้ำฝนแบบตั้งเวลาได้, กระจกมองข้างปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า, เสาอากาศฝังในกระจกหลัง 1.8E แอร์เป็นแบบอัตโนมัติดิจิตอล, มาตรวัดแบบ OPTITRON สีขาว ปรับความสว่างได้, วิทยุเทป ซีดี 6 แผ่นแบบ 2 DIN พร้อมลำโพง 6 ตัว, ระบบปิดไฟหน้าอัตโนมัติ, ที่วางแก้วน้ำด้านหลัง, เบาะหลังพับได้แบบ 60 : 40, ม่านบังแดดหลัง, กระจกหน้าเพิ่ม TOP SHADE เพิ่มความปลอดภัยด้วยถุงลมนิรภัยคู่ สำหรับผู้โดยสารด้านหน้า รุ่น 1.8G เพิ่มไฟมาตรวัด OPTITRON 3 สี คือ ขาว เหลือง และฟ้า, เปลี่ยนพวงมาลัยเป็นแบบหนังสลับลายไม้, เบาะหนัง, เพิ่มระบบ TVSS-TOYOTA VEHICLE SECURITY CONTROL พร้อมรีโมตคอนโทรล และระบบอิมโมบิไลเซอร์ ตรวจสอบ ID CODE ของกุญแจเครื่องยนต์ใหม่ 2 ระดับความแรง รุ่น 1.6 เป็นบล็อก 3ZZ-FE แบบเบนซิน 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว VVT-i ความจุ 1,598 ซีซี กำลังสูงสุด 110 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.28 กก.-ม. ที่ 3,800 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรืออัตโนมัติ 4 จังหวะ 4 ECT 1ZZ FE 2ZZ GE รุ่น 1.8 เป็นบล็อก 1ZZ-FE มีความจุ 1,794 ซีซี กำลังสูงสุด 136 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.42 กก.-ม. ที่ 4,200 รอบ/นาที มีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ SUPER ECT ระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนพร้อมเพาเวอร์ ระบบกันสะเทือนหน้าแบบแม็กเฟอร์สันสตรัตพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบ ETA BEAM พร้อมเหล็กกันโคลง รุ่น 1.8 มีระบบ VSC-VEHICLE STABILITY CONTROL ช่วยการยึดเกาะขณะเข้าโค้ง และ TRC-TRACTION CONTROL ป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบเบรกแบบดิสก์ 4 ล้อ (1.6J ดรัมเบรกหลัง) ทุกรุ่นมีเอบีเอสป้องกันล้อล็อก อีบีดีกระจายแรงเบรก และเบรกแอสซิสเพิ่มแรงเบรก ช่วยลดระยะเบรก 10-15 เปอร์เซ็นต์ แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2007