หวัดดีคับ เอามาฝากชาวHILUX คับ น่าจะเคยอ่านกันแล้วมังคับ โตโยต้า ไฮลักซ์ (อังกฤษ: Toyota Hilux) หรือที่คนไทยเรียกติดปากในปัจจุบันว่า ไฮลักซ์ วีโก้ (Hilux Vigo) เป็นรถกระบะที่ถูกผลิตและพัฒนาโดยรถยนต์แบรนด์ โตโยต้า เพื่อมาแทนรถกระบะรุ่นเก่าคือ โตโยต้า สเตาท์ (Toyota Stout) เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลา 6 Generation (โฉม) ดังนี้
Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2511 - 2515) โฉมแรกนี้ เริ่มผลิตครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Hilux ซึ่งมาจากคำว่า "highly-luxurious" แปลว่า หรูหราเหนือระดับ โฉมแรกนี้มีรหัสตัวถัง RN10 มีขายในสหรัฐอเมริกา ด้วย แต่จะมีรถแบบเดียวคือแบบ 2 ประตู เกียร์ธรรมดา 4 สปีด ขับเคลื่อนล้อหลัง (สมัยนั้นยังไม่มีการนำเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์) ส่วนเครื่องยนต์จะใช้ขนาด 1490 ซีซี 2R I4 ในช่วงแรก แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ไฮลักซ์ก็ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า คือ เริ่มจาก 1897 ซีซี 3R I4 85 แรงม้า, แล้วเปลี่ยนเป็น 1858 ซีซี 8R SOHC I4 97 แรงม้าใน พ.ศ. 2513, และเป็น 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้าใน พ.ศ. 2515
Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2515 - 2521) โฉมที่สองนี้ รหัสตัวถัง RN20 มีการปรับปรุงให้ไฮลักซ์มีความสะดวกสบายในห้องโดยสารมากขึ้น ใช้เครื่องยนต์ 1587 ซีซี 12R I4 ยกเว้นในอเมริกา ที่ใช้เครื่องยนต์ 1968 ซีซี 18R SOHC I4 108 แรงม้า ซึ่งต่อมาเครื่องยนต์นี้ถูกนำไปขายควบคู่เป็นทางเลือกกับเครื่อง 1587 ซีซี นอกอเมริกาใน พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2518 ไฮลักซ์มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ให้มีขนาดใหญ่และสะดวกสบายขึ้นอีก มีการนำระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดมาใช้ในไฮลักซ์เป็นครั้งแรก ใช้เครื่องยนต์ 2189 ซีซี 20R SOHC I4 96 แรงม้า ทำให้ผู้ซื้อในอเมริกัน ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า Pickup เป็นต้นกำเนิดของคำว่าปิคอัพ ซึ่งต่อมาคำนี้ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่แปลว่ารถกระบะ
Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2522 - 2526) โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ และเป็นโฉมที่มีการใช้เกียร์อัตโนมัติกับไฮลักซ์ โดยโฉมบุกเบิกนี้จะเป็นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 สปีด ทำให้ไฮลักซ์ได้เข้าสู่วงการรถเอสยูวี (SUV) และรถโตโยต้า โฟร์รันเนอร์ (4Runner) ก็เป็นรุ่นที่แตกหน่อออกมาจากไฮลักซ์โฉมนี้
Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2527 - 2531) โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีการผลิตกระบะรุ่นที่นั่ง 2 แถว 2 ประตู (เอ็กซ์ตร้าแค็บ) ขายคู่กับที่นั่ง1 แถว 2 ประตูแบบดั้งเดิม (ซิงเกิ้ลแค็บ) พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาหยุดการนำเข้าโตโยต้า ไฮลักซ์ อย่างไม่ทราบเหตุผล
Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2532 - 2548) โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่ไฮลักซ์มีบอดี้แบบ 2 แถว 4 ประตู(ดับเบิ้ลแค็บ) เกียร์อัตโนมัติเพิ่มจาก 3 สปีด เป็น 4 สปีด และไฮลักซ์ได้รับรางวัล Truck of the Year (รถบรรทุกแห่งปี) ประจำปี พ.ศ. 2532 โฉมนี้ ประสบความสำเร็จดีมาก และผลิตอยู่นานถึง 16 ปี บริษัทโฟล์กสวาเก้น (Volkswagen) ได้เซ็นสัญญาดูแลและนำไฮลักซ์ (เฉพาะโฉมนี้) เข้าสู่ตลาดรถยนต์ในเยอรมนี ในชื่อ โฟล์กสวาเก้น ทาโร่ (Volkswagen Taro) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2540 ใน พ.ศ. 2538 โตโยต้าได้ผลิตรถกระบะรุ่น โตโยต้า ทาโคม่า (Toyota Tacoma) เพื่อส่งรถกระบะโตโยต้าเข้าตลาดอเมริกาอีกครั้งแทนรุ่นไฮลักซ์ที่จู่ๆ อเมริกาก็หยุดนำเข้าไปตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ส่วนในประเทศไทย จะเริ่มโด่งดังในยุคของโฉมนี้ในชื่อ โตโยต้า ไฮลักซ์ ฮีโร่ (Toyota Hilux Hero) ในช่วง พ.ศ. 2533 และ โตโยต้า ไฮลักซ์ ไมท์ตี้-เอ็กซ์ (Toyota Hilux Mighty-X) และโด่งดังมากขึ้นใน พ.ศ. 2541 ในชื่อ โตโยต้า ไฮลักซ์ ไทเกอร์ (Toyota Hilux Tiger) ด้วยเครื่องยนต์ 5L และเริ่มใช้เครื่องยนต์หัวฉีดอิเล็กทรอนิกใน พ.ศ. 2543, เริ่มใช้เครื่องยนต์ 1KZ ใน พ.ศ. 2544 เป็นระยะสั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ ดีโฟร์ดี (D4D) ในปลายปีเดียวกัน อันนี้ VW TARO
Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน) โฉมนี้ เป็นที่รู้จักในประเทศไทยอย่างล้นหลามในชื่อ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ (Toyota Hilux Vigo) การออกแบบเบื้องต้นของวีโก้ถูกคัดลอกนำไปใช้ในการออกแบบรถ โตโยต้า อินโนวา (Toyota Innova) และ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (Toyota Fortuner) ในประเทศไทย จะมีเครื่องยนต์ 3 ชนิด คือ เครื่องยนต์ ดีเซล ดีโฟร์ดี 2500 ซีซี กับ 3000 ซีซี และเครื่องยนต์ เบนซิน หัวฉีด VVT-i 2700 ซีซี ปัจจุบันไฮลักซ์ วีโก้ ในประเทศไทย ได้มีอยู่ 4 รุ่นหลักคือ รุ่นมาตรฐาน (รุ่นหนึ่งตอน) รุ่นเอ็กซ์ตร้าแค็บ (รุ่นตอนครึ่ง เกรด J แค็บเปิดไม่ได้) รุ่นดับเบิ้ลแค็บ (รุ่นสองตอน 4 ประตู) รุ่นสมาร์ทแค็บ (รุ่นตอนครึ่ง เกรด G และ E แค็บเปิดได้)
มร.มิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยจำกัด กล่าวว่า “จากความนิยมของไฮลักซ์ วีโก้ ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก เราได้ทุ่มเทความพยายามที่เหนือธรรมดา ในการออกแบบ ไฮลักซ์ วีโก้ ใหม่ ให้ดียิ่งขึ้นและนำเสนอสิ่งที่ดีเหล่านั้นต่อลูกค้า ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความทนทานในการใช้งาน และความคุ้มค่าในด้านราคา ซึ่งไฮลักซ์ วีโก้ ใหม่ มีพัฒนาการจากความสมบูรณ์แบบในการขับขี่ สู่ชีวิตที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นตัวแทนของรถกระบะขนาด 1 ตันที่มีความคุ้มค่าที่สุดในตลาด” “สำหรับรถยนต์รุ่นสำคัญของการแนะนำ ในครั้งนี้ คือรุ่นสมาร์ท แค็บ ซึ่งออกแบบและพัฒนาโดยวิศวกรชาวไทย จากศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟกเจอร์ริ่ง ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเรามั่นใจว่า ไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ทแค็บ จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี” มร.คาโอรุ โฮโซกาวา หัวหน้าวิศวกร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “โครงการไอเอ็มวี เป็นโครงการที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนารถกระบะซึ่งเป็นแผนการพัฒนารถยนต์ระดับโลกของโตโยต้า ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานเชิงพาณิชย์และการใช้งานส่วนบุคคล ทั้งนี้ ไฮลักซ์ วีโก้ ใหม่ มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มีบุคลิกที่แข็งแกร่ง และปรับเปลี่ยนภายในห้องโดยสารให้ความรู้สึกสง่างาม สดใส พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ความสะดวกสบายตลอดการขับขี่ สำหรับ ไฮลักซ์ วีโก้ สมาร์ท แค็บ นั้น เราได้ออกแบบโดยเฉพาะ สำหรับตลาดเมืองไทยทั้งในรุ่นขับเคลื่อนสองล้อและขับเคลื่อนสี่ล้อ เรามุ่งหวังว่า สมาร์ท แค็บ จะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต และมีความมั่นใจว่าการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ จะทำให้ความสามารถการแข่งขันเหนือกว่ารถกระบะทั่วไป และรักษาความเป็นรถกระบะอันดับหนึ่งในตลาดรถกระบะ และเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าชาวไทยมากยิ่งขึ้น” นายนิกร ประเสริฐสม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไฮลักซ์ วีโก้ ใหม่ เป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของรถกระบะ พร้อมตอบสนองทุกการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อการบรรทุก สำหรับรุ่นมาตรฐาน ซึ่งเน้นความทนทาน และความคุ้มค่าในการใช้งานบรรทุก เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย สำหรับรุ่นสมาร์ท แค็บ ที่ตอบสนองการใช้งานในห้องโดยสารหลายรูปแบบ สะดวกด้วยบานเปิดได้กว้างถึง 92 องศา และห้องโดยสารที่ยาวถึง 1,793 มม.โครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA มือจับสมาร์ทแค็บ ติดตั้งด้านในสะดวกในการเปิดพร้อมระบบล็อก 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของห้องโดยสาร มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน และเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย ในรุ่นดับเบิ้ล แค็บ ซึ่งเป็นรถกระบะรายแรกที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยครับครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมการทรงตัวของรถ VSC ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และระบบเสริมแรงเบรก BA นอกจากนี้ ยังติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเทียบเท่ารถยนต์นั่ง อาทิ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ชุดเบาะหนังพร้อมระบบปรับไฟฟ้า 6 ทิศทางด้านคนขับ และมาตรวัดเรืองแสงแบบออพตริตอน เป็นต้น CLICKS! [media]http://www.youtube.com/watch?v=EhoOkMccPZo[/media] [media]http://www.youtube.com/watch?v=_OLVbzitrvQ[/media] [media]http://www.youtube.com/watch?v=R3N6_aSqM_s[/media]