เรื่อง ของ Weate Gate

การสนทนาใน 'OSAMA\' เริ่มโดย chang, 20 สิงหาคม 2006

< Previous Thread | Next Thread >
  1. chang

    chang Well-Known Member Member

    4,985
    57
    48
    :: รู้จักกับ เวสเกต และหน้าที่การทำงาน
    เวสเกต ( WASTE GATE ) หรือแบบเต็มยศ คือ
    WASTE GATE CONTROL BY INTAKE MANIFOLD PRESSURE
    ชื่อมันยาวไปหน่อยแต่ความหมายของสั้นๆคือประตูระบายของ
    ไอเสีย เจ้าเวสเกตมีหน้าที่ควบคุมบูช ( แรงดันอากาศ )
    ของเทอร์โบให้คงที่ตามที่เรากำหนด โดยอาศัยการระบายไอเสีย
    ที่จะมาปั่นกันหันเทอร์โบด้านฝั่งไอเสีย ให้หมุนคงที่ ถ้ายัง
    ไม่เข้าใจจะขออธิบาย การทำงานของเทอร์โบในการ
    สร้างแรงบูช นั้นเกิดจากการนำไอเสียที่ปล่อยทิ้งมาผ่านกังหัน
    เทอร์ไบน์ด้านไอเสียทำให้กังหันด้านไอดีหมุนตามด้วย
    ความเร็วสูงจนเกิดแรงอัดอากาศหรือบูช ( แรงดันอากาศ )
    เช่นที่รอบเครื่องยนต์ 4,000 รอบ / นาที เทอร์โบหมุนที่
    60,000 รอบ สามารถสร้างแรงดันอากาศได้ 1.0 bar
    แล้วถ้าที่รอบเครื่องยนต์ที่ 8,000 รอบ / นาทีล่ะ เทอร์โบก็จะ
    คงหมุนที่ 120,000 รอบที่บูช 2.0 bar ดังนั้นเครื่องยนต์คงทน
    ไม่ไหวพังแน่ เพื่อให้แรงดันอากาศยังคงไว้ที่ 1.0 bar
    เวสเกตจะต้องทำหน้าที่ระบายไอเสียที่จะมาปั่นกังหันไอเสีย
    ทิ้งออกทางประตูระบายเพื่อยังรักษารอบหมุนของเทอร์โบ
    ให้คงที่รอบเครื่องยนต์ 8,000 รอบ / นาที และเทอร์โบก็ยัง
    คงหมุนเท่าเดิมที่ 60,000 รอบ บูชก็จะคงที่ 1.0 bar
    ตามที่เราตั้งเอาไว้

    ชนิดของเวสเกต
    เวสเกตมี 2 ชนิด

    ชนิดที่ 1. เวสเกตในตัว ลักษณะรูปร่างจะเป็นกระเปาะกลมๆ
    มีขายื่นยาวๆเพื่อที่จะมาดันประตูระบายไอเสียที่ติดอยู่กับ
    โข่งไอเสียของเทอร์โบ เวสเกตแบบนี้ต้องอาศัยเทอร์โบที่มี
    ช่องทำประตูระบายไอเสียมีลักษณะเหมือนลิ้นปิด - เปิด ภายใน
    เวสเกตประกอบด้วยแกนดันลิ้นประกอบติดกับแผ่นไดอะแฟรม
    และ ถูกกดทับด้วยสปริงที่กำหนดค่า มาแล้วจากโรงงาน
    ด้านบนจะมีท่ออากาศเล็กเพื่อ เอาไปต่อที่ท่อไอดี เมื่อถึง
    แรงดันอากาศที่กำหนด แรงดันภายในท่ออากาศ จะไปดัน
    แผ่นไดอะแฟรม ให้ชนะแรงกดของสปริงแกนดลิ้นก็จะขยับ
    ออกมาเพื่อไปดันประตูระบายไอเสียให้เปิดออก เวสเกตแบบนี้มักจะติดตั้งมากับเทอร์โบโรงงาน
    ที่ตั้งค่ามาแล้วการจะปรับบูชทำได้เช่นการตัดแกนดันลิ้นให้สั้นลง เพื่อให้ลิ้นเปิดได้น้อยลง หรือ
    ทำตัวปรับให้ไขสั้น - ยาวได้ หรือใส่ตัวปรับบูชมาลดแรงดันที่ไดอะแฟรม และ การเปลี่ยนเป็นของแต่ง
    จากสำนักต่างๆที่มีการเพิ่มค่าสปริงในตัวมาเลย

    ชนิดที่ 2. เวสเกตแยก หรือ ( WAST GATE VALVE CONTROLLED BY FLOW SENSER ) พวกนี้จะมีประตูระบายไอเสียในตัว ลักษณะเป็นกระเปาะสองชั้น ด้านล่างเป็นประตูระบายไอเสีย มีวาล์ว
    ปิด - เปิด มีลักษณะเป็นเหล็กหล่อทนความร้อนมีครีบระบายความร้อนเพื่อไม่ให้สูงจนเกินไป ด้านบนเป็นชุด ไดอะแฟรม ประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรมที่ไปกดทับวาวล์ ซึ่งถูกกดด้วยสปริง ด้านบนมีแผ่นเพลท กดสปริงที่มีสกรูมาปรับขึ้น ลง เพื่อเพิ่ม ลดแรงกดของสปริงได้ ประกอบอยู่ใน
    ห้องสูญญากาศจะมีท่ออากาศ มาต่อยังท่อไอดี เมื่อถึงแรงบูชที่กำหนด ท่ออากาศจะมีแรงดันมายังเวสเกต
    ห้องสูญญากาศ จนแรงดันชนะแรงกดของสปริง วาวล์ก็จะยกตัวระบายไอเสียออกมาทางประตูไอเสีย
    พวกนี้ด้านบนจะมีสกรูที่สามารถปรับตั้งบูชมาให้ในตัวเลย สะดวกในการปรับตั้งบูชให้สูงขึ้น

    :: การเลือกซื้อและการติดตั้ง
    ถ้าเป็นแบบเวสเกตในตัวอาจเลือกซื้อจากสำนักแต่งที่ออกแบบ
    มาตรงรุ่นของเทอร์โบนั้นๆ เพราะถูกจำกัดที่ขายึดเวสเกต
    และ ความยาวของแกนดันลิ้นที่ต้องกำหนดมาให้พอดีที่
    จะทำให้บูชสูงขึ้น แรงกดสปริงมีมากขึ้นลดการขยับเปิดเอง
    ของแกนก่อนถึงบูชที่กำหนด ส่วนแบบเวสเกตแยก
    เป็นที่นิยมเพราะปรับตั้งได้ง่าย และลดการขยับของลิ้นได้
    ทำให้ควบคุมบูชได้อย่างแม่นยำ และบูชมาไวขึ้น ( บูชมาช้า
    เกิดจากการที่เวสเกตเปิดก่อนบูชที่กำหนดคือจะค่อยๆเริ่มดัน
    ขึ้นเรื่อยๆเมื่อเริ่มเกิดแรงดัน ไอเสียจะถูกระบายทิ้งไม่ผ่าน
    กังหันเทอร์โบแบบเต็มๆ ) ในสมัยนี้มีทำกันมากมายหลายยี่ห้อ
    ทั้งในและต่างประเทศ มีราคาแพงมาก การเลือกซื้อต้องเลือก
    ให้ตรงกับขนาด และความต้องการในการโมดิฟายเครื่อง
    มีหลายขนาด ในเครื่องที่มีซีซีน้อย สามารถใช้ที่มีขนาดเล็กได
    ้แต่ในเครื่องที่มีขนาดใหญ่ๆซี.ซี สูงๆต้องเลือกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
    การติดตั้งเทอร์โบบางรุ่นมีช่องติดตั้งมาให้เลย แต่ถ้าไม่มีต้องทำ
    ช่องระบายเช่นการเจาะโข่งไอเสีย การทำหน้าแปลนเสริม และ
    การตีเขาเทอร์โบขึ้นมาใหม่

    :: ข้อควรระวัง
    ในการเปลี่ยนเวสเกตควรจะหาเกจ์วัดแรงดันเทอร์โบ มาคอยดู
    แรงอัดอากาศเพื่อไม่ให้สูงเกินไป และดูการผิดปกติในการทำงาน
    ของเวสเกต ท่ออากาศต้องต่อในท่อไอดีก่อนเข้าลิ้น
    เพราะ จะเป็นแรงดันที่แน่นอนของแรงดันเทอร์โบ
    แบบเวสเกตแยกควรใช้ขนาดให้เหมาะสมกับซีซีเครื่อง เพราะ
    ถ้าเล็กเกินไปจะไม่สามารถควบคุมบูชได้ ถ้ามีการต่อร่วมกับ
    ปรับบูชไฟฟ้า ต้องต่อท่ออากาศให้ถูกต้อง และคอยสังเกตเกจ์วัด
    เพราะเวสเกตุอาจเกิดการเสียหายได้เช่นผ้าไดแฟรมขาด
    ประเก็นท่อไอเสียแตก หรือเขาเทอร์โบแตก บูชจะขึ้นช้า
    ควบคุมบูชไม่ได้ บูชไม่นิ่ง


    ขอยืมขอมูลมาจาก RaMa III Racing Club นะครับ :) :) :) :) :) :) :) :) :)
     
  2. หมูอ้วนคุง

    หมูอ้วนคุง New Member Member

    1,901
    7
    0
    พี่ช้างครับขอแบบสั้นๆนะพี่ขี้เกลียดอ่านอะ แต่ปกติไม่เคยเห็นพี่หลักการขนาดนี้นะเนี่ย เมาป่าวอะ
     
  3. Oat_Osama\

    Oat_Osama\ New Member Moderator

    1,882
    13
    0
    มี ส า ร ะ ก็ เ ป็ น เ ห มื อ น กั น น ะ
     
    ตอนนี้เวสต์เกตผมเสียอยู่อ่ะ

    สงสัยต้องเปลี่ยนใหม่ :D
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้