เรื่องของ ยางงงงงงงงง ครับ ยางรถยนต์ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งชิ้นนึงที่ไม่ควรมองข้ามเพราะยางเป็นสิ่งเดียวที่อยู่ระหว่างตัวรถกับพื้นถนน ฉะนั้นเราควรรู้เรื่อง Basic ของยางบ้าง อย่างว่านะ "รู้ไว้ใช่ว่า ให้คนอื่นหาม" 1.1 ขนาดของยาง โดยปกติทั่วไปจะรู้กันแต่เพียงขนาดยางตามเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ ... เช่น "เฮีย..ยางใส่ล้อ 16 นิ้ว เส้นเท่าไหร่" หรือ "โอ้แม่เจ้า ยางรถคันนั้นแม่งโคตรบางเลย" ทั้งหมดนี้พูดถึงขนาดของยางแต่หมายถึงคนละส่วนกัน ขนาดของยางประกอบไปด้วย 5 ส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนที่ 1: ความกว้างของหน้ายาง (tire width) คือความกว้างของยางที่สัมผัสพื้นถนน(จริงๆแล้วคือความกว้างระหว่างแก้มยางในและนอก แต่มันก้อคือๆกัน) มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm) ส่วนที่ 2: อัตราส่วนของความกว้างของหน้ายางหรือที่เรียกว่าความสูงของแก้มยาง (Aspect Ratio) มีหน่วยเป็น percent เช่น ถ้าอัตราส่วน = 50 และหน้ายางกว้าง 205 มิล ความสูงของแก้มยาง = .50 x 205 = 102.5 มิล แต่ตัวเลขที่เห็นบนยางไม่ใช่ 102.5 แต่เป็น 50 (อัตราส่วน) ถ้าตัวเลขนี้น้อยจะหมายถึงแก้มยางที่บาง ส่วนมากมาในรูป 70 65 60 55 50 45 40 ... ส่วนที่ 3: โครงสร้างของยาง (Construction) R - Radial ยางเรเดียว ไม่มีใยเหล็ก D - Diagonal Belt ยางเสริมใยเหล็กแนวเฉียง B - Bias Belt ยางเสริมใยเหล็กเบี่ยง ยางรถทั่วไปสมัยนี้จะเป็น R ส่วนมาก ส่วนที่ 4: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อที่ใช้กับยาง (Diameter) มีหน่วยเป็นนิ้ว (inches) ส่วนที่ 5: หน่วยการรับน้ำหนักกับหน่วยความเร็วสูงสุด (Service Description & Speed Index) บ่งบอกถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยางรับได้ รวมถึงความเร็วสูงสุดที่ยางวิ่งได้ เช่น 90H: 90 หน่วยรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อยางหนึ่งเส้น, H หน่วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หน่วยการรับน้ำหนักไม่ค่อยมีปัญหากับพวกเราๆนัก นอกจากจะเป็นกระบะขนของเลยขอไม่ลงรายละเอียด หน่วยความเร็วสูงสุดมีดังนี้ S - 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง T - 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง U - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง H - 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง V - 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง W - 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Y - 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ZR - มากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในบางกรณี ยางบางรุ่นใช้ ZR ซึ่งหมายถึงยางเรเดียวที่วิ่งได้เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง --> ก่อนเหยียบเร็วมากๆ ควรดูจุดนี้ของยางก่อนนะ ถ้าใช้เกินความเร็วที่ระบุไว้นานกว่า 5 นาทีจะทำให้หน้ายางร้อนจนละลายได้ เลยขอเตือนไว้ ณ ที่นี้ด้วย ตัวอย่าง: ตัวเลข+ตัวอักษรที่อยู่บนยาง = 205/50R16 91Y มีความหมายดังนี้ 205 คือส่วนที่ 1 (ความกว้างของหน้ายาง) 50 คือส่วนที่ 2 (อัตราส่วนความกว้างของหน้ายาง) R คือส่วนที่ 3 (ยางเรเดียว) 16 คือส่วนที่ 4 (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ) 91Y คือส่วนที่ 5 (บรรทุกได้ไม่เกิน 615 กิโลต่อเส้น และ ขับเร็วได้ไม่เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในบางกรณีอาจจะมีระบุแบบนี้ 235/45ZR17 ซึ่ง ZR มีความหมายแบบเดียวกับตารางข้างต้นในส่วนที่ 5 1.2 ประเภทของยาง ยางแบ่งประเภทตามรถและแบ่งย่อยตามลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปจะแบ่งในลักษณะนี้ - ยางรถยนต์บ้าน (รวมรถ sport รถแต่งด้วย) - ยางแข่ง: มีร่องดอกยางน้อย เป็นยางที่นิ่ม เกาะถนนมาก หมดเร็วมาก ไมสามารถรีดน้ำได้(ยกเว้นยางแข่งพื้นเปียก) ราคาแพงมากๆ - ยางสมรรถนะสูง: ยางแข็งขึ้นมาหน่อย เกาะถนน หมดเร็ว รีดน้ำได้ ราคาแพง ส่วนมากมีสียงค่อนข้างดังเวลาวิ่ง Ex. Bridgestone Potenza RE050 Pole Position, Michelin Pilot Sport, Falken Azenis Sport, Yokohama Advan Neova, Toyo Proxes ST1 - ยางทุกฤดู: แข็งขึ้นอีก เกาะถนนน้อยลง ดอกยางละเอียด ใช้ได้ดีในฤดูฝน เงียบ ราคาไม่แพงมาก Ex. Michelin Energy, Falken Azenis ST115, Bridgestone Potenza - ยางธรรมดา: ยางแข็ง ใช้ได้นานทนทาน ราคาถูก เกาะถนนน้อยกว่ารุ่นอื่น - ยางรถกระบะและรถบรรทุกเบา - ยางขนของหนัก: ตัวยางจะหนาพิเศษ - ยาง off road: ดอกยางใหญ่และลึก - ยางรถบรรทุกหนักและยางรถที่ใช้ในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ในการเลือกควรนึกถึงความต้องการและการใช้งานเป็นหลัก 1.3 ดอกยาง หลายท่านคงไม่ทันสังเกตุดอกยาง หรือแค่คำนึงถึงความสวยงามของดอกยาง โดยที่ไม่ทราบว่าคุณลักษณะของยางนั้นขึ้นตรงกับดอกยางด้วย ที่แน่ๆคือความสามารถในการรีดน้ำ กับความเงียบในการขับขี่ แต่ถ้าจะมาอธิบายในรายละเอียดคงเข้าใจกันลำบาก เลยจะขอบอกจุดที่ง่ายๆละกัน - ดอกยางที่ละเอียดแบบซอยยิบเล็กๆ จะทำให้ลดเสียงเวลาตัวยางบดกับพื้นถนน --> เงียบ - ดอกยางที่มีร่อง(ไม่ว่าจะหยักๆหรือร่องตรง) จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่ารุ่นที่ไม่มี - ดอกยางที่มีน้อย(มีพื้นเรียบเยอะ) จะเกาะถนนแห้งได้ดี แต่ไม่เกาะเลยถ้าถนนเปียก ในการใช้งานของยาง ดอกยางจะมีการสึกเหรอลงไปเรื่อย ทำให้สมรรถนะด้อยลง จึงควรจะเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาอันควร แต่จะรู้ได้งัยว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว อายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน เวลาน่ะวัดได้แต่การใช้งานล่ะวัดยังงัย คำตอบคือใช้ดอกยางวัดเอา ยางแต่ละรุ่นกับยี่ห้อมีเครื่องหมายบ่งบอกระดับของดอกยางที่อาจจะต่างกันออกไป โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมที่ขอบแก้มยางใกล้ดอกยาง สังเกตุง่ายๆว่าถ้ามีการกินดอกยางจนถึงเครื่องหมายนี้แสดงว่าสมควรจะเปลี่ยนยางได้แล้ว หรือจะดูที่ดอกยาง ถ้าตื้นแล้วก้อสมควรเปลี่ยน ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม นั่นก้อเป็นอีกสัญญาณนึงที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว บันทึกการเข้า 1.4 ลมยาง ลมยางใครว่าไม่สำคัญ ถ้ามากไป หรือ น้อยไป มีผลเสียทั้งนั้น ลมยางเป็นสิ่งนึงที่เจ้าของรถควรจะ check เดือนละครั้ง แล้วทำไมต้อง check ล่ะ - ลมยางมีผลต่อสมรรถนะในการขับขี่ - ลมยางมีผลต่ออัตราการกินน้ำมัน - ลมยางมีผลต่อการสึกเหรอของยาง (โดยเฉพาะดอกยาง) - ลมยางมีผลต่อความปลอดภัย โดยทั้วไปแล้วยางจะสามารถรองรับความดันของลมยางที่เหมาะสมได้ในช่าวความดันนึง นั่นคือไม่จำเป็นที่จะต้องเป๊ะๆ ในการขับขี่ตามปกติลมยางจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการใช้งานและอุณหภูมิของยาง ตามหลักของ thermodynamics (PV=nRT) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาตรถูกจำกัดให้คงที่ ฉะนั้นเมื่อจอดรถอยู่นานๆยางอาจจะดูแบนๆแต่ลมยางเป็นปกติ ช่วงระดับความดันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดของยาง ถ้าเป็นรถที่ใช้ยาง+ล้อเดิมจากโรงงาน สามารถดูได้ที่ sticker ข้างประตูรถ จะมีหน่วยเป็น PSI (pounds per square inch) ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ 30ต้นๆ PSI แต่ถ้าเป็นยาง+ล้อใหม่ ให้ดูที่คู่มือยางใหม่บวกกับลักษณะการใช้งานของรถตนเอง ผลเสียของลมยางที่ไม่เหมาะสม ลมยางมากเกิน - การขับขี่จะแข็งกระด้าง เด้งไปมา ความสามารถในการรีดน้ำน้อยลง ดอกยางจะสึกเหรอมากตรงส่วนกลางของยาง อายุการใช้งานยางสั้นลง ลมยางน้อยเกิน - ขอบยางจะรับภาระหนัก มีโอกาสยางระเบิดถ้ายางหมดอายุแล้ว ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นในการเครื่อนรถไปข้างหน้า กินน้ำมันมากขึ้น ดอกยางสึกเหรอมากตรงขอบ อายุการใช้งานสั้นลง ข้อยกเว้นในการใช้ลมยาง - ถ้าใช้วิ่งบนทะเลทราย ต้องใช้ลมยางครึ่งนึงของปกติเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานกับทราย - ถ้าใช้ในการ Drag ล้อที่ขับเคลื่อนควรใช้ลมยางที่อ่อนกว่าปกติเพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสตอนออกตัว 1.5 อายุการใช้งานของยาง ตามที่เคยบอกไว้แล้วว่าอายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน เวลา - ตามปกติยางจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ยิ่งสมรรถนะสูง อายุการใช้งานจะสั้น อุณหภูมิ+ภูมิประเทศก็มีส่วน ถ้าใช้ในที่ร้อนหรือหนาวมากๆ อายุการใช้งานก็จะสั้นลงด้วย แล้วทำไมยางถึงต้องมีระยะเวลาใช้ล่ะ นั่นเพราะว่าเมื่อเวลาผ่านไป ความยืดหยุ่นของโมเลกุลของยางเสื่อมลงตามเวลา ทำให้เนื้อยางแข็งขึ้น ซึ่งทำให้คุณสมบัติต่างๆของยางด้อยลงไปจนไม่สามารถใช้งานได้ การใช้งาน - ยางจะสึกเหรอตามการใช้งาน ซึ่งสามารถสังเกตุได้ง่ายจากดอกยาง เมื่อดอกยางหมดไปเรื่อยๆ คุณสมบัติต่างๆของยางก็ค่อยๆหมดไปเช่นกัน สัญญานต่างๆที่บ่งบอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว 1. ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม 2. ยางลดการเกาะถนนลง โดยเฉพาะตอนถนนเปียก 3. ผิวยางดูแล้วแห้งและบางจุดเริ่มแตกลาย 4. ใช้นิ้วกดลงแล้วไม่มีความรู้สึกยืดหยุ่นของยาง ยาวไปหน่อยนะครับ แต่ก็น่าจะมีประโยชน์ครับ