เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆครับ.....เอามาฝาก การสึกหรอที่รุนแรง ในการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น มีคนเพียงไม่กี่คนจะทราบว่าในการใช้รถแต่ละเที่ยว การสึกหรอเกิดขึ้นสูงมากถึง 95 % ใน ตอนเริ่มเดินเครื่องขณะเครื่องเย็น หลังจากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนถึงเกณฑ์ปกติแล้วการ สึกหรอมีน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่าลืมไปได้เลย ด้วยเหตุนี้วิศวกรจึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยง การเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น หรือเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นให้สั้นที่สุด โดยออกแบบให้มี กลไกในการอุ่นเครื่องให้ร้อนได้เร็ว แนะนำผู้ขับขี่ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้เครื่องร้อนเร็วและสึก หรอน้อยที่สุด การสึกหรอของเครื่องยนต์ขณะเย็นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ...แทบทุกคนจะตอบว่า เพราะน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาหล่อเลี้ยงไม่ทันตอบอย่างนี้ ถูกแผ่ว ๆ ได้ 5 คะแนน ใน 100 คะแนน ลองมาดูสูตรทางเคมีข้างล่างนี้ ...C8 H 18 + 12.5 O 2 8 CO 2 9 H 2O เชื้อเพลิง (ออกเทน) +ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ ....น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ลิตร เมื่อติดไฟแล้วจะได้น้ำ 1 ลิตร (หรือใกล้เคียง) หลายท่านคงเคยเห็นน้ำไหลออกมาจากท่อไอเสียตอนติดเครื่องใหม่ ๆ ขณะที่เครื่องยังเย็นอยู่หลังจากเครื่องร้อนแล้วน้ำจะหายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้อง เผาไหม้ ภายใต้กำลังอัด และขณะที่ผนังสูบ (Cylinder Wall) ยังเย็นอยู่ ทำให้น้ำที่เกิดจาก ปฏิกิริยาทางเคมีนี้กลั่นตัวจับที่ผนังสูบ และไปทำลายฟิล์ม น้ำมันหล่อลื่น ทำให้เกิดการเสียดสี ของโลหะกับโลหะ ระหว่างผนังสูบกับลูกสูบ และแหวนลูกลูบเกิดความฝืดและการสึกหรอสูง ทำให้ เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพทางกลไก (Mechanical efficiency) ต่ำมากในช่วงนี้ เมื่ออุณหภูมิของผนังสูบสูงขึ้น 130 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า น้ำที่เกิดขึ้นจะไม่กลั่นตัว คงเป็นไอน้ำออกไปกับไอเสีย ฟิล์มน้ำมันหล่อลื่นจะกลับคืนมา ความฝืดลดลงการสึกหรอลดลง ประสิทธิภาพทางกลไกดีขึ้น จนเมื่อผนังสูบมีอุณหภูมิถึงระดับปกติที่เรียกว่า Operating Temperature ของเครื่องยนต์ การสึกหรอจะมีน้อยมากจนเรียกได้ว่าตัดทิ้งได้ ตอบอย่างนี้ได้ 100 คะแนนเต็ม.... ....การสึกหรอของเครื่องยนต์ในลักษณะนี้ เป็นได้กับเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ทุกชนิด ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล.... .....ส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์ที่เป็นเพลา เช่นเพลาข้อเสือ เพลาก้านต่อ ไม่มีการสึกหรอ และไม่เกี่ยวข้องกับการสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์ ขณะเย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อน อยู่ที่ การสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อนอยู่ที่ การสึกหรอของผนังสูบ ลูกสูบ แหวนลูกสูบ สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีวัดกำลังอัดในสูบเมื่อมีการสึกหรอมาก ๆ กำลัง อัดในสูบจะต่ำลงสูบที่ 1 เป็นบริเวณที่น้ำเย็นจากหม้อน้ำไหลเข้ากำลังอัดจะต่ำที่สุด และค่อย เพิ่มมากขึ้นในสูบที่ 2 - 3 - 4 สูบสุดท้ายจะเป็นบริเวณที่น้ำร้อนไหลออกไปเข้าหม้อน้ำ กำลังอัดจะสูงกว่าสูบอื่น ๆ ....อันตรายจากการกลั่นตัวของน้ำมีอย่างไรบ้าง.... ....1. เกิดการสึกหรอที่ผนังสูบ ลูกสูบและแหวนลูกสูบ ตามที่กล่าวแล้ว ....2. น้ำจะไหลลงไปในห้องข้อเสื้อปนกับน้ำมันหล่อลื่น ทำให้เป็นเมือกเหนียวและทำลาย สารเพิ่มคุณภาพ (Additive) ในน้ำมันหล่อลื่น แต่น้ำนี้จะระเหยออกไปได้เมื่อเครื่องยนต์ร้อน นานเพียงพอ(คนที่ใช้รถในระยะทางสั้นๆทุกวัน...ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์) ....3. กำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นออกไซด์เมื่อเผาไหม้ และเมื่อรวมตัวกับน้ำจะเป็น กรดกำมะถัน (ซัลฟูริก) ......SO2 + 2H2 O = 2H 2SO4 ....ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ + น้ำ = กรดกำมะถัน ...ทำให้น้ำมันหล่อลื่นเป็นกรด ดังนั้นน้ำมันหล่อลื่นทุกชนิดจะเป็นด่างไว้ก่อน โดยใส่สาร เพิ่มคุณภาพที่เป็นด่างเข้าไป เพื่อสู้กับกรดที่จะตามมา... ....4. กรดกำมะถัน จะไปกัดท่อไอเสียทำให้ผุกร่อน เมื่อน้ำไปกลั่นตัวที่ท่อไอเสีย ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นแต่ละครั้งนานเพียง 5-10 นาทีเท่านั้นสำหรับบ้านเราที่เป็นเมืองร้อน ในเมืองหนาวจะใช้เวลามากกว่า..... เมื่อ 4-5 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดค่ากำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลดลงมาเป็น 10 เท่าของค่ากำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันด้วย ทำให้น้ำมันแพงขึ้น มีการพูดกันว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้สูงเกินไปหรือเปล่า ? แต่การผุกร่อนของท่อไอเสียลดลงอย่างเห็นได้ชัด ....มีกลไกอะไรในเครื่องยนต์ที่ช่วยในการอุ่นเครื่อง (Warm up).... เครื่องของรถยนต์ไม่มีอุปกรณ์ในการอุ่นน้ำก่อนเดินเครื่อง แต่มีกลไกที่เมื่อเดินเครื่อง แล้วช่วยให้ร้อนได้เร็ว เครื่องยนต์สมัยใหม่ที่ใช้หัวฉีดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จะมีลิ้น Air Valve เปิด - ปิด ด้วยอุณหภูมิแบบ Thermowax เริ่มเปิดเมื่อ 140 องศาฟาเรนไฮต์ยิ่งเย็น มากก็จะเปิดกว้างมาก เพื่อให้อากาศเข้าเครื่องยนต์มาก ดังนั้นการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะที่ อากาศเย็น เช่น ในตอนเช้าจะหมุนเร็วกว่าในตอนบ่ายที่อากาศอุ่นกว่าเครื่องยนต์เดิน เบาใน ตอนนี้เรียก Fast Idle คอมพิวเตอร์จะจ่ายน้ำมันมาก อัตราส่วนผสมแก่ (Rich Mixture) เพื่อช่วยเผาเครื่องยนต์ให้ร้อนเร็วนั่นเอง หลังจากเครื่องยนต์อุ่นขึ้น Air Valve จะเริ่มหรี่ลง คอมพิวเตอร์จะลดอัตราส่วนผสมให้จางลง (Lean Mixture) รอบเครื่องยนต์ค่อย ๆ ลดลงจน อุณหภูมิถึง 140 องศาฟาเรนไฮต์ลิ้น Air Valve จะปิด รอบเครื่องยนต์จะลดลงมาเป็นปกติ ประมาณ 800 รอบ / นาทีเรียกว่า Normal Idle กรรมวิธีในการอุ่นเครื่องจบลงตรงนี้ แต่ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จนถึงอุณหภูมิทำงานตามปกติ Thermostat เป็น กลไกอีกอันหนึ่งที่ช่วยในการ Warm Up เครื่องยนต์และรักษาอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ โดยการควบคุมการไหลวนเวียนของน้ำหล่อเย็น .....ขับขี่อย่างไรให้ร้อนได้เร็วและสึกหรอน้อยที่สุด...... Do not try to warm up the engine by letting the vehicle stationary, drive off straight away, do not race the engine....เป็นคำแนะนำที่จำมาจากหนังสือคู่มือการใช้รถ จำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไรการจอดอุ่นเครื่องอยู่กับที่เป็นวิธีการที่ล้าสมัย เพราะทำให้เครื่องร้อนช้าจึง แนะนำว่า ท่านควรเตรียมการทุกอย่างให้พร้อม เมื่อติดเครื่องแล้วจะต้องขับออกไปภายใน 10 วินาทีเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน แต่การขับในช่วงนี้เป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อน เครื่องยนต์ควร ทำงานเบา รอบเครื่องยนต์ไม่ควรเกิน 2000 รอบ / นาที ใช้ความเร็วสม่ำเสมอรถเกียร์ อัตโนมัติ จะไม่เข้าเกียร์ 4 หรือเกียร์ Overdrive จนกว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์เลย 130 องศาฟาเรนไฮต์ ไปแล้ว ซึ่งได้โปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ และเมื่อใดที่อุณหภูมิของเครื่อง ยนต์ถึงเกณฑ์ปกติ ท่านจะขับอย่างไรก็ได้ตามนิสัยการขับ (Driving Habit) ที่ท่านชอบ เพราะ ในช่วงนี้การสึกหรอจะมีน้อยมาก .....กรณีตัวอย่างที่น่ารู้..... .....1. ตอนเย็นหลังจากเลิกงานแล้วท่านขับรถกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจอดรถแล้วไปอาบน้ำพัก ผ่อน จนค่ำแล้วก่อนเข้านอนนึกขึ้นได้ว่าจอดรถไว้หน้าบ้าน จึงลงมาติดเครื่องยนต์ขับรถเข้าไป จอดในโรงรถ Robert Sikorsky เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่าการสึกหรอในช่วงนี้เทียบเท่า กับการขับรถปกติเป็นระยะทางถึง 800 กิโลเมตร ตัวเลขนี้เชื่อได้ว่ามาจากผลการทดสอบจริง แต่ไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิของอากาศขณะนั้น .....2. ถ้าบ้านของท่านเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีรถหลายคันใช้ร่วมกัน ควรเลือกใช้รถคัน ที่เพิ่งผ่านการใช้งานมาใหม่ ๆ ที่เครื่องยังอุ่นอยู่ .....3. ถ้าท่านจะซื้อรถใช้แล้ว อย่าใช้เลขระยะทางเป็นตัวกำหนดสภาพรถแต่อย่างเดียวควร ตรวจสอบพฤติกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บ้านอยู่ห้องแถวกลางคืนเอารถเข้าจอดในบ้าน เช้าเลื่อนออกไปจอดริมถนน ต้องเลื่อนรถไป- มา เพื่อหาที่จอด มีรถหลายคันบางคันไม่ค่อยได้ใช้ติดเครื่องเพื่อชาร์จแบตเตอรี่อยู่กับที่เป็นประจำ รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ....... ....คงจะพอเป็นองค์ความรู้ให้กับพี่ๆน้องๆ...ได้บ้าง...เพราะผมเคยเห็นหลายกระทู้ที่เคยถามเกี่ยวกับน้ำที่ออกท่อไอเสียบ้าง...การอุ่นเครื่องบ้าง...เลยค้นตำราเก่าๆเอามาให้ได้อ่านกัน.....
เยี่ยมครับ แต่บางประเด็นผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยบางส่วน เอาไว้พอมีเวลา จะเอาเหตุผลมาแลกเปลี่ยนกัน ...ไม่ว่ากันนะครับ ไม่รู้เป็นอะไรตอนนี้กด thank ไม่ได้เลย....จะคอยตามอ่านความรู้ดีๆ อีกนะครับ
ดีครับ...คุณก้อง....ความเห็นที่แตกต่าง(แต่ไม่แตกแยก)....จะนำไปสู้การพัฒนา....เพราะบางครั้งข้อมูลและความรู้ที่ผมมีอยู่...อาจไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าถูกต้องเสมอไป.....การนำข้อมูลหลายๆส่วนมาชั่งน้ำหนักกันก็อาจจะเกิดเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ถูกผสมผสานกัน....ก็เป็นไปได้.....ผมเปิดกว้างเสมอครับ
คืออย่างนี้ครับ การเผาไหม้ที่สมบูรณ์จะต้องมีน้ำเกิดขึ้นแน่นอน แต่ในการเผาไหม้ในแต่ละครั้งโดยเฉพาะตอนเครื่องเย็น การเผาไหม้มักจะไม่สมบูรณ์เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากห้องเผาไหม้ยังเย็นอยู่ และการเกาะของเชื้อเพลิงตามวาวล์และช่องทางเดินไอดี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ออกมาก็จะน้อยลงไปตามสัดส่วนด้วย ซึ่งจะออกมาในรูปของคาร์บอน(เขม่า) และคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ และ... น้ำที่ออกมาจากการเผาไหม้นั้นจะอยู่ในรูปของไอน้ำ การทำปฎิกริยากับฟิมล์น้ำมันที่ยังตกค้างอยู่ในกระบอกสูบใจจังหวะที่เครื่องยนต์หมุนรอบแรกก็อาจจะมีบ้าง แต่ก็คิดว่าจะมีเพียงปริมาณที่น้อยมาก และรอบการหมุนต่อๆมาของเครื่องยนต์ ฟิล์มน้ำมันก็จะกลับมาเคลือบผิวกระบอกสูบตามเดิมแล้ว และอย่าลืมว่าในจังหวะที่เครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆจากการเผาไหม้ และจังหวะการทำงานของเครื่องในแต่ละรอบมันสั้นมากช่วงแค่เสี้ยวของวินาทีเท่านั้น โอกาสจะเกิดปฎิกริยาก็จะน้อยมาก ในความคิดของผม ตัวที่จะทำให้เกิดการสึกหรอมากก็คือ การที่มีน้ำมันเครื่องเคลือบผิวกระบอกสูบได้น้อย เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องที่ไม่ดีเกรดต่ำ หรือน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพทำให้ ฟิลม์น้ำมันไม่สามารถเคลือบผิวกระบอกสูบอยู่ได้นานจนถึงการติดเครื่องรอบต่อไป อีกตัวการหนึ่งก็คือ การขยายตัวที่ไม่เท่ากันของวัสดุต่างๆ เมื่อเครื่องเย็น เป็นต้นว่า แหวนลูกสูบ กระบอกสูบ ลูกสูบ สลักลูกสูบ และอื่นๆ ทำให้เกิดการคับตึงของชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียดทานและความสึกหรอตามมา จนเมื่อเครื่องยนต์ได้อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงาน ชิ้นส่วนต่างๆ ได้ขยายตัวตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ การสึกหรอก็จะเหลือน้อยที่สุด สำหรับการอุ่นเครื่องยนต์ ผมคิดว่าก็ยังมีความจำเป็นอยู่สำหรับรถยนต์ แต่อาจจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ของแต่ละบุคคล และเพื่อให้ประหยัดพลังงาน ไม่ให้เชื้อเพลิงสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ผมก็เลยขอแนะนำว่า - ถ้าที่พักอยู่ห่างจากถนนใหญ่ไม่มากนัก ก็สมควรที่จะอุ่นเครื่องไว้ก่อนเล็กน้อย พอให้เข็มความร้อนพอขยับขึ้น แล้วค่อยออกรถ ช่วงรอก็อาจจะเปิดฝากระโปรงสำรวจ ความผิดปรกติในห้องเครื่องเป็นต้นว่า น้ำมันเบรค น้ำระบายความร้อน น้ำมันเพาเวอร์ หรืออื่นๆ - ถ้าที่พักอยู่ห่างจากถนนใหญ่มาก (หรือออกไปก็ติด) หรือตามหมู่บ้านที่รถไม่มาก ก็ให้อุ่นเครื่อง ไม่ต้องให้ความร้อนขึ้นก่อน ก็ออกรถได้เลยแล้วคลานไปเรื่อยด้วยรอบเครื่องประมาณ 1200-1500 โดยกะว่าพอถึงถนนใหญ่ก็เริ่มขึ้นพอดี ทำอย่างนี้จะทำให้เราใช้เชื้อเพลิงให้เป็นประโยชน์โดยไม่เสียเปล่า และอย่าลืมใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพเท่าที่เราจะรับได้ รวมไปถึงการเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยครับ (น้ำมันเกียร์ก็อย่าลืมถ่ายด้วยนะครับ)
คือข้อมูลที่ผมศึกษามาจากตำราวิจัยต่างๆของหลากหลายท่าน....ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ปัญหาจากเกรดน้ำมันเครื่องโดยค่ามาตรฐาน SAE 40 ...ซึ่งค่าของคุณสมบัติในการเกิดฟิล์มน้ำมัน..จะด้อยกว่าน้ำมัน...กึ่งสังเคราะห์..หรือน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ 100%.... ...ฉะนั้น...ตัวแปลสำคัญก็คือ...คุณภาพของเกรดน้ำมันเครื่องที่ควรจะศึกษาก่อนใช้ให้ดี... ...และที่สำคัญ...มันเป็นกระจกสะท้อนนิสัยการใช้รถของแต่ละท่านด้วย...ว่าอยู่ในวิสัยของการเสี่ยงต่อการสึกหลอแค่ไหน... ....สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ....ยังมีคนอีกป็นล้านๆ...ที่...ขับรถยนต์เป็น...แต่...ใช้รถยนต์ไม่เป็น ....แหม...ผมไม่ผิดหวังเลยครับ..ที่นับถือคุณก้องมาโดยตลอด.....มีเหตุผลมาอธิบายได้..แทบทุกๆกระทู้เก่าๆ..หรือกระทู้ใหม่..ที่ผมตั้งขึ้นมาทุกที่....ถ้าเมืองไทยมีคนอย่างนี้เยอะๆ...ก็คงดี...ขอบคุณครับ + อ้างถึง ตอบกลับ