กล่อง Stand alone จูนโดยอ่านค่าจาก Map กับ TPS - อย่างไหนดีกว่ากัน - การตอบสนองต่างกันอย่างไร - ต่างกันประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ ขอบคุณคับ
ความเห็นส่วนตัวคิดว่าคงเทียบไม่ได้นะครับว่าอะไรดีกว่ากัน เพราะแต่ละอย่างเอาไว้ใช้กับเครื่องที่ Setup มาคนละแบบครับ ยกตัวอย่างเครื่อง N/A ปากแตร + แคมองศาสูง จะเจอปัญหาตอนเดินเบา-รอบต่ำ เนื่องจากแรงดันในท่อไอดีมีการกระเพื่อมสูง ทำให้การจูนด้วย MAP-based ตอนเดินเบาทำได้ยาก ค่าไม่นิ่ง ทำให้ออกตัวลำบาก-ดับง่าย เป็นต้น ซึ่งปัญหาตรงนี้บางทีก็แก้ด้วยกระป๋องพักลมได้ แต่ก็ยังมีปัญหาตอบสนองช้าอีก ซึ่งถ้าเปลี่ยนไปจูนโดยใช้เป็น TPS-based แทน ก็จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ง่ายและเร็วกว่า ในกรณีกลับกัน ถ้าเป็นเครื่องเทอร์โบ ก็ใช้ TPS-based ไม่ได้ เนื่องจากปริมาณลมที่เข้าเครื่องจะไม่สัมพันธ์กับ TPS (เหยียบคันเร่งน้อย แต่มีบูสท์มารอแล้ว เป็นต้น) ทำให้ต้องใช้ Airflow หรือไม่ก็ MAP เป็นหลักครับ * ถ้าเป็นเครื่องยนต์ปกติทั่วไป ควรใช้ทั้ง MAP และ TPS คู่กันอยู่แล้วนะครับ (MAP สำหรับ Main table และ TPS สำหรับ Accel/Decel ฯลฯ)
ถ้าเป็นเครื่องยนต์ปกติทั่วไป ควรใช้ทั้ง MAP และ TPS คู่กันอยู่แล้วนะครับ เครื่องยนต์ปกติทั่วไปนี่หมายถึงเครื่องยนต์ Standard+กล่องเดิมจากโรงงานหรือว่าหมายถึงเครื่องยนต์ที่ไม่ได้โมดิฟาย+กล่องจูนคับ
หมายถึงเครื่องที่ใช้ท่อร่วมไอดีธรรมดา และ/หรือ แคมองศาไม่สูง ทั้ง N/A และ Turbo ครับ อ้อ ผมหมายถึงกรณีที่เป็นกล่อง Standalone นะครับ กล่องเดิม+piggyback ไม่ได้สนใจตรงนี้อยู่แล้ว