[Announce] รั้วลวดหนาม คืออะไร?

การสนทนาใน 'Team and Group' เริ่มโดย ruataewada, 29 สิงหาคม 2023

แท็ก:
< Previous Thread | Next Thread >
  1. ruataewada

    ruataewada Member Member

    63
    0
    6
    [​IMG]
    จุดเริ่มต้นของลวดหนาม
    รั้วลวดหนามผลิตด้วยลวดพันกับหนาม ลวดหนามเริ่มมีใช้ในยุค ค.ศ. 1800 เมื่อเกษตรกรมีความต้องการผลิตภัณฑ์รั้วมีลักษณะแหลมและราคาถูก เริ่มมีการออกแบบใช้ลวดพันกับหนาม หรือเรียกกันว่า “ลวดหนาม” ลวดหนามแบบพื้นฐานที่มีลวดหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งานพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมมาก รั้วลวดหนามถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้คนและสัตว์เข้าหรือออกจากพื้นที่ อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ เนื่องจากพวกสัตว์จะไม่เข้าไปใกล้รั้วอีกเพราะว่าหนามทำให้เจ็บ รั้วลวดหนามถูกใช้ไปทั่วโลกและมีสามารถใช้รวมกับผลิตภัณฑ์รั้วประเภทอื่นได้

    ลวดหนามเบอร์ที่นิยมใช้
    ลวดหนามมีเบอร์อะไรบ้าง เบอร์ของลวดหนาม หรือขนาดของลวดที่เอามาใช้ผลิตลวดหนาม แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge (BS3737 : 1964) ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันนิยมใช้ลวดหนามเบอร์ 13 เบอร์ 14 และ เบอร์ 15
    ลักษณะของหนาม
    ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ คือ

    1. การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)
    เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต ตัวอย่างมีให้เห็นตามทั่วไป (ตามรูปด้านล่าง)
    [​IMG]

    2. การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)
    เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามซิงค์อลูฯ ไวน์แมนก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน (ตามรูปด้านล่าง)
    [​IMG]
    การเคลือบสารกันสนิม หรือ การชุบซิงค์ของลวดหนาม
    การเคลือบสารกันสนิมของลวดหนามในปัจจุบันหลัก ๆ มีการเคลือบอยู่ดังนี้คือ
    การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized)
    คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic Salts) แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำโลหะ และอโลหะหลายชนิดมาทำการเคลือบผิว ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกโลหะที่จะนำมาเคลือบผิวได้หลากหลายชนิดด้วย ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน

    การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน ( Hot-Dipped Galvanized)
    โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสารกันสนิมหรือการชุบซิงค์ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า การชุบซิงค์มีแบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized) ซึ่งปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษขึ้นมา

    ในต่างประเทศได้เริ่มใช้ลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนมานานหลายปีแล้ว การเคลือบสารป้องกันสนิมหรือชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษนั้น จะมีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนเฉลี่ย 235-250 กรัม/ตารางเมตร ในส่วนประเทศไทยนั้นเริ่มมีลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานแล้วเช่นกัน อย่างแบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีจำหน่ายอยู่ ลวดหนามที่มีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษทำให้มีอายุการใช้งานมากว่าลวดหนามทั่วไปในท้องตลาด เฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50 ปี

    การชุบซิงค์อลูมิเนียม (ZnAl)
    เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม (ZnAl) ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% (ZnAl 10%) เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวด ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี*
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้