มีหลายอย่างที่ควรรู้ครับ ระยะเวลาการเปลี่ยน น้ำมันต่างๆ สายพานต่างๆ เครื่องยนต์ ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี) เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ระบบจุดระเบิด ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี) ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว แบตเตอรี่ ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์ ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) ระบบหล่อเย็น ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์ ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ระบบเชื้อเพลิง ทำความสะอาดกรองอากาศ 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) เครื่องปรับอากาศ ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน) ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว ระบบถ่ายทอดกำลัง เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี) เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี) อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี) ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) ระบบเบรค ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์ ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) ยาง ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน) สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์ ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น อุปกรณ์ปัดน้ำฝน ตรวจสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี) ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน) หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน) อุปกรณ์เสริม ตรวจสอบรองเท้า,ตุ้มหู,กิ๊ปหนีบผม,ดินสอทาขอบตาฯลฯ...ของภรรยาว่าอยู่ตรงไหน....ควรซุกให้ดีก่อนไปหากิ๊กและควรจัดวางไว้ให้เหมือนเดิมหลังจากเสร็จภาระกิจและหมั่นตรวจตราว่ามีอย่างอื่นที่ไม่ใช่ของภรรยาเข้ามาเพิ่มเติมรึป่าว? เปลี่ยนภรรยาเป็นนางมารร้ายในขณะที่มีหญิงอื่นขึ้นรถของท่าน......
ต่อด้วยเรื่องของยางครับ ยาง ยาง ยาง ยางยาง...น้องเคยเห็นยางหรือป่าว? ตัวเลขกับอักษรที่ติดอยู่ที่แก้มยางบอกอะไรเราบ้าง สำหรับยางที่ผลิตออกมาจำหน่ายทุกเส้นนอกจากจะมียี่ห้อที่แก้มยางแล้วยังจะมี ตัวเลขกับตัวย่อติดที่แก้มยางด้วยเช่นกัน เราจะมาดูกันว่าตัวเลขกับตัวย่อนั้นมันบอกอะไรเราบ้าง ยกตัวอย่างตัวเลขกับตัวย่อ เช่น 205/55 R 16 89V 205/55 R 16 89V บอกความกว้างของหน้ายาง 205/55 R 16 89V บอกอัตราส่วนสูงขนาดยาง (ซีรี่ส์) 205/55 R 16 89V บอกถึงโครงสร้างยางว่าเป็นยางแบบเรเดียล 205/55 R 16 89V บอกถึงเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ 205/55 R 16 89V คือตัวเลขที่ใช้แทนความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง 1 เส้นโดย เทียบหาค่าน้ำหนักจริงจากในตารางเทียบค่าที่ความดันลมมาตราฐาน ถ้าตัวเลขมากขึ้นค่าความสามารถในการรับน้ำหนักยางก็เพิ่มขึ้น เช่น ตัวเลข 89 ความสามารถในการรับน้ำหนักของยางเท่ากับ 580 กก. ตัวเลข 91 ความสามารถในการรับน้ำหนักของยางเท่ากับ 615 กก. 205/55 R 16 89V มีความสำคัญเพราะจะบอกถึงขีดจำกัดความเร็วสูงสุดของยางแต่ละเส้น นั้น ๆ ที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในสภาพการใช้งานปกติ ตัวอักษรที่กำหนดมีมากมายแตกต่างกันตามสมรรถนะ เช่น S ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 180 กม. / ชม. T ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 190 กม. / ชม. H ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 210 กม. / ชม. V ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 240 กม. / ชม. W ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 270 กม. / ชม. Y ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 300 กม. / ชม. ZR ในขีดจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 240 กม. / ชม. ขึ้นไป นอกจากนั้นสังเกตุดีดีจะมีวงรีคล้ายแคปซูลยาและมีตัวเลขอยู่ข้างใน......นั่นคือสัปดาห์และปีที่ผลิตยางเส้นนั้น นอกจากการเลือกใช้ยางให้เหมาะสมแล้วการเติมลมยางให้ถูกวิธียังเป็นการช่วย เพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานของยางได้ การเติมลมยางให้ถูกวิธี 1. สูบลมยางให้ถูกต้องตามอัตราที่กำหนดไว้ขณะที่ยางยังเย็นอยู่ โดยดูจากคู่มือการใช้รถ เพราะรถแต่ละรุ่นจะใช้ลมยางต่างกัน 2. เพิ่มลดลมยางให้สัมพันธ์กับน้ำหนักบรรทุก 3. อย่าปล่อยลมยางออกเมื่อความดันของลมยางสูงขึ้นในขณะที่ยางยังร้อนอยู่ 4. เมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงควรเพิ่มลมยางมากกว่าอัตราปกติ 3-5 ปอนด์ / ตารางนิ้ว 5. ตรวจเช็คลมยางเป็นประจำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง การสลับยาง ยาง รถยนต์เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่งย่อมมีการสึกหรอไม่เท่ากัน โดยมักจะสึกในคู่หนึ่งมากกว่าอีกคู่หนึ่ง การกลับยางจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ยางทุกเส้นมีการสึกหรอใกล้เคียงกันที่สุด ใช้ได้จนเกือบหมด และเปลี่ยนพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่ไล่เปลี่ยนทีละคู่ ควรปฏิบัติตามรายละเอียดการสลับยาง ที่ระบุไว้ในคู่มือประจำรถยนต์อย่างเคร่งครัด ถ้ายางอะไหล่มีขนาดเดียวกับยางหลัก ก็ควรน้ำมาสลับ่ใช้ด้วย แม้การเปลี่ยนยางพร้อมกัน 5 เส้น จะเสียเงินมากกว่าการเปลี่ยน 4 เส้น แต่ก็สามารถใช้ยางทั้ง 5 เส้นได้เป็นระยะทางมากกว่า ถ้ายางหลักและยางอะไหล่มีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากยางอะไหล่เป็นแบบ COMPACT SIZE หรือต้องการสลับแค่ 4 เส้นเท่านั้นหรือเปลี่ยนเฉพาะยาง 4 เส้นหลักให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็สลับได้เฉพาะยางหลักเท่านั้น โดยควรสลับทุก 10,000 กิโลเมตร ส่วนยาง อะไหล่ก็ดูแลตามปกติ ตรวจวัดลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยอาจเติมลมมากกว่าที่กำหนดไว้ 10 ปอนด์ ฯ เผื่อไว้สำหรับการรั่วซึม ไม่ต้องดูแลบ่อย เมื่อจำเป็นต้องใช้ก็แค่ปล่อยลมออก ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนยางอะไหล่พร้อมยางหลัก เพราะยางอะไหล่ไม่ค่อยถูกใช้งาน ใช้ได้ประมาณ 5 ปี หรืออาจใช้วิธีเปลี่ยนยางหลัก 2 ครั้ง เปลี่ยนยางอะไหล่ 1 ครั้ง โดยเลือกยางเส้นหลักที่มีสภาพดีที่สุดมาเปลี่ยนไว้เป็นยางอะไหล่ รถยนต์ที่ใช้ช่วงล่างแบบอิสระ ขณะขับเมื่อช่วงล่างมีการยุบตัวจะกลายเป็นมุมแคมเบอร์ลบอยู่เล็กน้อย (ล้อแบะ) หน้ายางด้านในจึงรับแรงกดมากกว่าด้านนอกทำให้มีการสึกหรอมากกว่ายางริมนอก การ กลับยาง ถ้าเป็นดอกยางธรรมดา ไม่กำหนดทิศทางการหมุน ก็สามารถสลับได้ทั้งแบบแนวขึ้น - ลง และแนวทแยง ถ้าดูแล้วหน้ายางสึกจากซ้ายไปขวาไม่เท่ากันจริง ๆ ก็ควรถอดออกจากกระทะล้อสลับเอายางด้านในออกมาด้านนอกล้อด้วย เพื่อให้หน้ายางทั้ง 2 ด้านของยางแต่ละเส้น มีการสึกหรอใกล้เคียงกัน ยุ่งยากและเสียเงินมากกว่าหน่อย แต่เฉลี่ยความสึกหรอได้ดีกว่า ถ้า ไม่อยากเสียเวลามาก แค่ถอดสลับทั้งล้อและยางพร้อมกันก็ยังดี เพื่อให้ยางของล้อคู่ที่ใช้ขับเคลื่อน มีการสึกหรอใกล้เคียงกับล้ออีกคู่ (ยกเว้นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ความสึกหรอของยางซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อน จะใกล้เคียงกันอยู่แล้ว) ส่วนดอกยางที่ระบุทิศทางการหมุนหรือระบุด้านที่ใส่ ถ้าจะสลับพร้อมกระทะล้อ ต้องสลับแบบขึ้น - ลงหน้าสลับกับหลังเท่านั้น ถ้าจะสลับแบบทแยง ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ เพื่อใส่ให้ถูกทิศทางที่ระบุ หลังจากสลับ ยางแล้ว ควรถ่วงล้อด้วายทุกครั้ง ถ้าถ่วงทั้ง 4 ล้อได้ยิ่งดี แล้วถ้าพบยางเส้นใดมีการสึกที่ผิดปกติ ก็ควรตรวจสอบและตั้งศูนย์ล้อที่ระบบช่วงล่างด้วย
อุปกรณ์เสริม ตรวจสอบรองเท้า,ตุ้มหู,กิ๊ปหนีบผม,ดินสอทาขอบตาฯลฯ...ของภรรยาว่าอยู่ตรงไหน....ควรซุกให้ดีก่อนไปหากิ๊กและควรจัดวางไว้ให้เหมือนเดิมหลังจากเสร็จภาระกิจและหมั่นตรวจตราว่ามีอย่างอื่นที่ไม่ใช่ของภรรยาเข้ามาเพิ่มเติมรึป่าว? เปลี่ยนภรรยาเป็นนางมารร้ายในขณะที่มีหญิงอื่นขึ้นรถของท่าน...... [/COLOR][/QUOTE] อัพหน่อยคับ..เผื่อใครยังไม่อ่าน....เพิ่มเติมนิดนึง...นอกจากอุปกรณ์เสริมที่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดและเก็บให้เรียบร้อยแล้ว....อย่าลืมลบรอยเท้าที่ติดอยู่บนเพดานรถด้วยนะคับ...อิอิอิ...(อย่ามองข้ามความปลอดภัย...) + อ้างถึง ตอบกลับ