หาก จะถามว่า ทำไมต้องใส่ ใส่ไปทำไม ไส่แล้วได้อะไร ไม่ใส่ได้ไหม ให้มาลอง ทำความเข้าใจ พื้นฐาน กับตัว รถยนต์ เราก่อนครับ
เอามาลงให้คับ Strut Bar และ Lower Arm ?? มาแล้ว สำหรับข้อมูลที่คุณๆอาจจะยังไม่เข้าใจ ผมก็พึ่งได้อ่าน จึงได้ถึงบางอ้อ ว่ามันเป็นอย่างนี้แล ลองอ่านกันนะครับ ขอเริ่มจาก Strut Bar ก่อนน่ะครับ Strut Bar / Tower Bar / Tower Arm / หรือ เหล็กค้ำโช้ค ที่เราๆ ได้ยิน หลายๆท่านเรียกนั้น ต่างก็ มีความหมายเดียวกันหมดครับ หาก จะถามว่า ทำไมต้องใส่ ใส่ไปทำไม ไส่แล้วได้อะไร ไม่ใส่ได้ไหม ให้มาลอง ทำความเข้าใจ พื้นฐาน กับตัว รถยนต์ เราก่อนครับ ตัว ถังรถยนต์ เดิมๆ ไม่ได้ มีการ เสริมความแข็งแรง มาเท่าไหร่ โรงงาน จะเน้นความแข็งแรง ในเรื่อง ของการป้องกัน การชน หรือ อุบัติเหตุ เป็นหลัก (เช่น โครงตัวถัง GOA อะไร ประมาณนั้น) คราวนี้ ในขณะ ที่รถยนต์ เคลื่อนตัวไปนั้น และผ่านสภาพถนนต่างๆ ที่ขรุขระ และไม่เรียบนั้น ด้วยแรงกระแทก จากพื้นที่ไม่เรียบนั้น จะส่งผลมายัง ยาง ล้อแมกซ์ โช้คอัพ สปริง และสุดท้าย ตัวถังครับ แรงกระแทก จะผ่าน ไปยัง อุปกรณ์ต่างๆ ตามขั้นตอน และลำดับ ของมัน จนไปจบ ที่ ตัวถัง รถยนต์ คราว นี้ ตัวถัง ที่เราเห็นๆ ขับๆ กันอยู่นั้น ไม่ใช่ว่า จะแข็ง หรือไม่ขยับ อย่างที่เราเห็นๆ น่ะครับ ตัวถังเอง ก็ จะช่วย ซับ แรงกระแทก ไปด้วยในตัวครับ เพราะ ตัวถัง ยังสามารถ ขยับตัว ให้ตัว ได้นิดหน่อย ครับ ฉนั้น แรงกระแทก ที่มีกระทบ จะค่อยๆลดลง ไปเรื่อยๆ ตามลำดับ ซึ่ง ด้วยเหตุผล ดังกล่าว นับว่า เป็นเรื่องดีครับ เพราะ แรงกระแทก จะลดลงเรื่อยๆ กว่าจะมาถึง ตัวเรา(คนขับ) หรือ คนนั่ง แรงกระแทก ดังกล่าว จะลดลง ไปมากแล้ว ทำให้เรา รู้สึก ถึงแรงกระแทก ที่น้อยลงมาก ครับ คราวนี้ มาลอง อ่าน ตัวอย่าง เปรียบเทียบง่ายๆ อีกสักอัน ครับ หากเรา วิ่งออกกำลังกาย ในสวนสาธารณะ เป็นประจำ หรือ นานๆที ก็ได้ ลองอ่าน 2 วิธี เปรียบเทียบนี้ ดูครับ 1. วิ่ง โดยใส่รองเท้าออกกำลังกาย หรือ รองเท้าผ้าใบ - ผลที่ได้คือ รู้สึก สบายเท้า ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่รู้สึกถึงสภาพพื้นที่วิ่งเท่าไหร่ เพราะ พื้นของรองเท้า ที่ให้ตัวได้ จะเป็นตัวรับแรงกระแทก ทั้งจาก น้ำหนักของตัวเรา และ จากแรงกระแทกจาก พื้นที่ไม่เรียบ เราจึงรู้สึกสบายเท้า แต่ เราจะไม่สามารถ รับรู้ ถึงสภาพ ของพื้น ได้อย่างชัดเจน เพราะ พื้นรองเท้า ที่ช่วยซับ แรงกระแทก ไว้นั่นเอง 2. วิ่ง โดย ไม่ใส่ รองเท้าใดๆ หรือ วิ่งเท้าเปล่านั่นเอง - ผลที่ได้ คือ รู้สึก เจ็บแน่ๆ ไม่สายๆ ปวดเท้า แต่ เราสามารถ รับรู้ ถึงสภาพของ พื้นถนน ได้เต็ม 100% ครับ เพราะ ไม่มีอะไร มาดูดซับ แรงกระแทก หรือปิดกั้น ความรู้สึก โดยตรงแล้วครับ วิ่งไปยังไง เหยียบตรงไหน พื้นเป็นอย่างไร รู้สึกหมดครับ พื้นเอียง ก็รู้สึก นั่นหมายถึง เราสามารถ สัมผัส รับรู้ และควบคุม การวิ่ง ของเราได้ ครับ เอ๊ะ? แล้ว มันเกี่ยวยังไง กับ เรื่องของ เหล็กค้ำโช้ค หล่ะท่าน งง งง? เกี่ยว ครับ เพราะ รถยนต์เดิมๆ ที่ออกมาจาก โรรงาน การขับขี่ จะเหมือน กับการ วิ่งโดยใส่ รองเท้าครับ คือมี การ ซับแรงกระแทก ตลอดเวลา ทำให้เรา ไม่สามารถ สัมผัส รับรู้สภาพ ของถนน ได้อย่าง สมบูรณ์ 100% ไงครับ รถ แข่ง เกือบทุกคัน นอกจาก จะใส่ เหล็กค้ำโช้คแล้ว ยังทำจาก เชื่อม (SPOT) ตัวถัง ให้มากขึ้นครับ เช่น จากเดิมโรงงาน เชื่อมมา 2,000 จุด รถแข่ง จะเชื่อมตัวถัง เพิ่มเป็น 3,000 จุด เพื่อไม่ต้องการ ให้ตัวถัง บิดตัว หรือ ซับแรงกระแทกไงครับ อีกทั้ง เหล็กค้ำโช้ค ที่ใส่ๆอยู่นั้น ก็ไม่ได้ ยึดแค่ เบ้าโช้ค เท่านั้น น่ะครับ ยึดหมด จาก เบ้าโช้ค ไปที่ผนังห้องเครื่องด้วย ยึดไปด้านหน้าด้วย เพื่อต้องการ หยุด การบิดตัว ของตัวถัง รถยนต์ ไงครับ
ถ้าอยากทราบจริงๆเข้าไปดูที่นี่ครับ แล้วจะทราบว่าควรใส่หรือไม่ ยังไง http://www.cusco.co.jp/en/movie/effisency_of_strut_bar_lower_a.html
ใส่แล้วเห็นผลแน่นอนครับ ยิ่งใส่ค้ำ 3 จุดด้วยแล้วยิ่งเห็น ของผมเคยใส่ 3 จุด 1 อันและ เอา 2 จุด มาใส่ทับลงไปอีกอัน เห็นผลเลยครับ เข้าโค้งง่ายขึ้น เร็วขึ้น คอนเฟริมส์ครับ
ถ้าไม่ใส่เวลาเลี้ยวแรงๆเช่นตอน U-turn เร็วๆ ตัวถังมันจะพยายามฉีกออกจากกัน เวลาเลี้ยวจะเห็นได้ชัดเลยว่า รถมันจะแถออกไปด้านข้าง เช่น u-turn ขวา รถมันจะแถไปทางซ้าย จนความเร็วรถน้อยถึงจุดนึงมันจึงจะหยุดแถ ถ้าใส่แล้วก็ไม่มีอาการที่ว่านี้ครับ มันจิกโค้ง แต่ผลที่ตามมาอีกอย่างคือ จะรู้สึกได้ว่ารถมันกระด้างขึ้นนิดนึง ----------------------------------------------------------------------------------------------- และที่สำคัญ ก่อนใส่ค้ำโช้คควรจะพิจารณาดูน็อตของโช้ค (ตัวที่มันยึดติดกับบอดี้รถ) ควรจะหาวิธีเสริมความแข็งแรงให้มันก่อน เพราะว่าพอใส่ค้ำโช้คแล้ว ภาระของน็อตเหล่านั้นจะเพิ่มขึ้น และถ้ามันเพิ่มจนเลยจุดยืดหยุ่นตัวแบบกลับได้ น็อตมันก็จะเริ่มยืดถาวรหรือมีรอยแตกที่เล็กมากๆ ขับไปเรื่อยๆรอยแตกหรือยืดมันก็จะลาม พอถึงจุดนึงที่มันรับไม่ไหวก็ขาด รถผมมีน็อตโช้ค(ที่ยึดติดกับบอดี้)อยู่ 2 ตัว ต่อข้าง ใส่ค้ำโช้คขับเล่นไป 2 ปี มีเหตุต้องถอดโช้คออก พอใส่คืนเท่านั้นแล ขันน็อตแค่มันเรื่มจะอัดกับบอดี้ ยังไม่ทันแน่น น็อตมันก็ขาดทันใด ซึ่งดูๆแล้ว มันน่าจะเริ่มมีรอยแตกมาตั้งนานแล้ว แต่ก็โชคดีที่มันขาดตอนซ่อม ถ้าขาดตอนขับก็ไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
ผมว่าของทุกอย่างมันมีดี มีเสีย ข้อดี ก็อย่างที่เพื่อนๆข้างบนบอก ตัวถังให้ตัวได้น้อยลง ทำให้โครงสร้างรถถูกตรึง ให้ขยับตัวได้น้อยลง คนขับ รับรู้อาการรถได้ดีขึ้น การขับขี่ก็จะแปรเปลี่ยนไปตามจุด ที่เราดามไว้ แต่ถ้าดามเยอะ โดยที่ไม่ได้เซ็ทส่วนอื่นตามไปด้วยจะมี ข้อเสียที่เพิ่มมากขึ้น ยิ่งค้ำเยอะส่วนที่รับภาระมากขึ้น ก็คือยาง โช้ค สปริง หัวโช้ค จุดยึดช่วงล่างต่างๆ ถ้า ใครจะดามทั้งคัน ควรเซ็ทซิ่งต่างๆเหล่านี้ให้สมดุลด้วย ถึงจะดี เคยอ่านบนทดสอบ ใส่ค้ำโช้คอย่างเดียวโดยไม่ทำอย่าง อื่นเพิ่มเลย จะคุมรถยาก และ ใช้เวลาในการวิ่งในสนาม มากกว่าปรกติ แต่ถ้าทำทุกอย่างให้สมดุล จะใช้เวลาน้อย กว่าค่อนข้างเยอะอ่ะครับ
อ่านเจอในเวปเพื่อนบ้าน (SiamSubaru.com) เกี่ยวกับ การทดสอบสมรรถนะของรถ Subaru Impreza ที่ได้แปลมาจากนิตยสารเล่มนึงของญี่ปุ่น ในเรื่องของการควบคุมรถ (Handling) ที่มีการพูดถึง บททดสอบของ สารพัดค้ำ/ระบบช่วงล่าง โดยแยกออกมาเป็นขั้นเป็นตอน ความว่า.............. พอดีได้ยินคำถามเกี่ยวกับเรื่อง ของแต่ง ที่เป็นที่นิยมใส่กัน พวกเหล็กกันโคลงแต่ง ค้ำโช้ค โช้ค ใส่แล้วมันดีจริงรึเปล่า ผมได้ไปอ่านเจอในหนังสืออิม เจอเค้ามีบทความที่ทดสอบเรื่องนี้อยู่พอดี จึงฉกหนังสือจากคุณพฤทธิ์ มาได้กว่าครึ่งปี บอกไปว่าขอมาแสกน จะโพสลงในบอรด์ชมรม ก็ได้รับการอนุญาติด้วยความยินดีจากเจ้าของ ยาวนานกว่าครึ่งปีแล้ว เจ้าของก็มิเคยได้ทวงถาม ถือโอกาสที่คืนนี้นอนไม่หลับ เลยทำหน้าที่ตามสัญญาให้เรียบร้อยสักที ต้องขอบคุณ คุณพฤทธิ์เจ้าของหนังสือด้วยนะครับ . . ในการทดสอบเค้าจะทยอยใส่ ของเข้าไปทีละอย่างแล้วลองทดสอบวิ่งกันในสนามแข่ง โดยนักแข่งอาชีพ แต่บอกด้วยปากเปล่าว่า ดีหรือไม่ดี คงไม่ได้ มีการจับเวลาเป็นการอ้างอิงไว้ด้วยนะคับว่าจะเป็นความต่างกับของที่ใส่ เพิ่มไปอย่างไร ในรูปด้านล่างนี้จะเป็นของทั้งหมดที่จะทยอยใส่เข้าไปเพื่อการทดสอบ เริ่มต้นทดสอบจากรถสภาพเดิมสนิท ครั้งนี้เค้าเลือกใช้ GC8 WRX (ที่เลือกรุ่นนี้ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นหนังสือเก่านะครับเค้าตั้งใจเลือก GC เลย ละ หน้าปกหนังสือเล่มนี้เป็นอิมหน้าหมูแล้ว ) อ่านโดยไม่ละเอียด (แปลไม่ค่อยออกคับแค่พอจับใจความได้ประมาณหนึ่ง) เค้าพอใจกับรถสภาพแตนๆ นี่มาก แน่นอนรถช่วงล่างเดิมๆย่อมมีอาการย้วยๆ ทั้งด้านหน้าและหลังจนออกอาการunder และ Over แต่มี Balance ที่ดีซึ่งยังสามารถที่จะควบคุมได้ง่าย สามารถขับรถคันนี้ในสนามได้อย่างสนุกเลยทีเดียว เวลาที่ทำได้ดีสุดคือรอบที่ 3 0.47.167 คราวนี้เค้ามาถอดค้ำโช้คเดิมที่ให้มากับรถออก (ที่เป็นเคฟล่าของ STI นั่นแหละ) แล้วใส่ค้ำแต่ของ CUSCO เข้าไปแทน ผลที่ออกมา เค้าว่าน่าทึ่ง ทั้งที่แต่เดิมมีค้ำโช้คใส่อยู่แล้ว พอถอดเปลี่ยนเค้าก็รู้สึกได้ชัดเจนว่า ด้านหน้านิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่ด้วยด้านหน้านิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้อาการด้านท้ายรถควบคุมได้แย่ลง ท้ายเริ่มออกอาการง่าย สรุปว่าขับยากขึ้น เค้าระบุเลยว่า ถ้าอัพเกรดชุดค้าด้านหน้า ควรใส่ ค้ำหลังไปด้วยเลยจะดีกว่า เวลาออกมาแย่กว่าเดิมๆอีกแหนะ ต่อมา.. คราวนี้เพิ่มชุดค้ำล่างที่ด้านหน้า และชุดค้ำล่างด้านหลังที่มาพร้อมแผ่นไล่ลมที่ติดตั้งใต้รถด้านหลัง ผลที่ได้ผมอ่านแล้วแปลไม่ค่อยออกครับ แต่พอจะจับใจความได้ว่ามันน่าจะ นิ่งเก็บตัวจนเกินไป น่าจะหมายถึง อาการไม่ค่อยให้ตัว จนรู้สึกว่าค่อนข้างควบคุมรถได้ยากกว่าเดิม ดูจากเวลาที่ทำได้แทบไม่ดีขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเหล็กกันโคลงครับ ทั้งด้านหน้าและหลัง เมื่อทดลองขับ รู้สึกได้ว่า อาการโคลงตัวน้อยลง เค้าว่าถ้าวิ่งกับโค้ง S หรือขับที่ความเร็วสูงน่าจะรู้สึกดี แต่วิ่งในสนามแบบคดเคี้ยวมากขึ้น จะมีอาการไม่ค่อยให้ตัว ทั้งอาการ Under และ Over จะมาเร็ว เหมือนภาระถูกผลักลงไปที่โช้คและยางมากจนเกิน คล้ายคลึงกับที่ใส่ชุด ค้ำล่าง (อันนี้ผมมั่วสรุปแปลเอานะครับ น่าจะประมาณนี้ ใครแน่นภาษาญี่ปุ่นมาช่วยแปลตรงๆให้อีกทีจะเป็นพระคุณครับ) เวลาที่ทำได้ ก็ยังไม่ได้จะเร็วกว่าตอนวิ่งสภาพแตนๆ เลยนะครับ สุดท้ายพระเอกก็มา คราวนี้เป็นโช้คอัพครับ เค้าใช้ Cusco Zero1 ปรับเกลียว สปริงหน้า 7Kg/mm หลัง 5Kg/mm เค้าบอกว่ามาถึงตรงนี้ ทุกอย่างที่รู้สึกอึดอัดกับอาการรถที่ผ่านมาทั้งหมดได้จากไป สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น สามารถเดินคันเร่งในโค้งได้เร็วขึ้น รวมถึงการควบคุมน้ำหนักเบรคก็ทำได้ดีและง่ายขึ้น มาลงตัวกันตอนนี้แหละ ในบทความนี้เค้าก็พยามบอกว่า Balance หรือความลงตัวเป็นเรื่องสำคัญมากๆ การจะเลือกใส่ของแต่งลงไปแต่ละอย่าง ต้องดูความสมดุลย์ลงตัว เป็นเรื่องสำคัญมาก การเลือกใส่หรือเน้นเฉพาะจุดใดจุดนึงมากจะเกินไปอาจทำให้รถเสียสมดุลย์ จนทำให้ขับยากขึ้น หรือจนวิ่งได้แย่กว่าเดิมๆที่ไม่ได้ทำอะไรไปเลยก็เป็นได้ ต้องระวังด้วยครับ ดูจากเวลาที่ทำได้ดีสุดคือ 0.46.984 (ใส่ของทุกอย่างที่มี) ถ้าเอาไปเทียบกับตอนแตนๆ รอบที่ดีสุดคือ 0.47.167 ต่างกันนิดเดียว แต่ดูดีๆเวลา เฉลี่ยเมื่อเค้าเปลี่ยนใส่ขอแต่งต่างๆเข้าไปแล้วสามารถทำเวลาแต่ละรอบได้ ใกล้เคียงกันมากกว่า ดีดราคาของที่ใส่ไปทั้งหมดนี่ก็หลายบาทอยู่ ลงทุนไปแล้วมันช่วยให้เราขับได้ง่ายขึ้นแต่คงไม่ได้ประกันว่ามันจะทำให้เรา ขับรถได้ดีกว่าเดิม โมรถแล้ว ต้องโมคนขับตามไปด้วยอยู่ดีนะครับ Credit: คุณนุ้ย แห่ง SiamSubaru
มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการอะไร หาเหตุก่อน แล้วผลจะตามมา การใส่ค้ำไป ก็ช่วยทำให้บอดี้แข็งแรงขึ้น เมื่อแข็ง ผมก็คือ ช่วงล่างได้ทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ให้บอดี้ทำงานก่อน แล้วช่วงล่างทำทีหลัง มันก็ไม่ได้ผลดี
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ความรู้ทั้งนั้นเลย ส่วนใหญ่ที่ใส่กันก็ เอาสวยเข้าไว้ก่อน อิอิ ไม่ได้นึกถึง ประโยชน์ หรือ ข้อดีข้อเสีย ก่อนเลย