เกริ่นนำ : สำหรับ D.I.Y : Strut Bar ตอนที่ 2 นี้จะเป็นค้ำหลังบนครับ จริงๆแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดีเพราะมันเกือบจะขึ้นเป็นค้ำเสา C แล้ว จึงขอเรียกว่าค้ำหลังบนแล้วกันครับ กว่าจะออกมาก็ใช้ระยะเวลาทำนานเหมือนดันครั ที่นานก็ในส่วนของการพิมพ์บทความนี่ล่ะครับ ยากยิ่งกว่าการทำตัวค้ำออกมาซะอีก :cry: แต่วันนี้ก็ได้บทความออกมาซะทีครับ ครั้งนี้พิมพ์อะไรตกหล่อนก็ขออภัยด้วยครับ ช่วงนี้งานงาน มึนๆ งงๆ นิดหน่อย Concept : ตอนที่ 2 นี้ก็เช่นเดิมครับ คือใช้ของเก่าที่ไม่ได้ใช้งานหรือใช้ไม่ได้แล้ว (เกือบเป็นขยะแล้ว) และใช้เศษที่เหลือจากตอนที่ 1 เรื่องค้ำหลังล่างด้วยครับ และก็อีกเช่นกันครับ คือทำออกมาแล้วก็ต้องให้สวยๆเนียนๆ (ตามแบบของผมนะ ) เรื่องราคาก็ไม่ต้องห่วง ผมเน้นสวยด้วยงบประหยัดอยู่แล้วครับ เริ่มลงมือ : ในตอนที่ 2 นี้ ของหลักๆที่จะใช้ก็จะมีอยู่ 3 อย่างครับ ส่วนจะเป็นอะไรบ้างก็มาเริ่มกันเลยครับ 1. อันนี้ก็เป็นอันเดียวกับตอนที่ 1 ครับก็คือค้ำโช๊คหน้าไทยๆนี่ล่ะครับ ซึ่งจากตอนที่ 1 ตัดเอาท่อนกลางไปทำค้ำหลังล่าง ส่วนในตอนนี้มาดูกันครับ ว่าผมจะใช้ส่วนไหนของมันให้มีประโยชน์อีกบ้างครับ 2. อันนี้บางคนอาจจะสงสัยว่าอะไร มันก็คือเสาอากาศวิทยุสมัครเล่นหรือที่บางคนเรียกว่า VR ครับ เมื่อก่อนเคยใช้งานอยู่ แต่ด้วยอายุการใช้งาน มันก็เสื่อมไปตามสภาพนกเกาะทำให้ชั้นบนหักบาง กราวด์เพลนหักบ้าง ก็เลยเอาลง ทิ้งไว้เป็นขยะอยู่นานหลายปี ตัวเสาอากาศเรียกว่ารุ่น V2 แบบ 4 ชั้นครับ Gain ขยายก็ 12 dB. Band ใช้งานอยู่ช่วง 144.00-146.00 MHz. พูดมาไปสเป็คพวกนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวกับที่เราจะมาทำเท่าไหร่ แต่ที่ผมเล็งไว้คือ ตัวท่ออลูมิเนียมและความหนาของมัน จากรูปที่เห็นจะเหลืออยู่ 3 ท่อนครับ จากซ้ายมือท่อนที่ 1 คือกราวด์เพลน(ชั้นที่1) ท่อนกลางคือส่วนของสายอากาศ (ชั้นที่ 2) และท่อนขวามือก็คือส่วนของสายอากาศเช่นกัน (ชั้นที่ 3) ส่วนชั้นสุดท้ายคือชั้นที่ 4 ได้หายไป และก็ไม่น่าจะเอามาใช้งานได้เพราะขนาดเล็กกว่านิ้วก้อยอีก สำหรับในตอนที่ 2 นี้จะใช้ท่อนกลางครับ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 หุนครับ 3. อันนี้พูดไปมันก็เหมือนกลายเป็นจุดเริ่มครับ พอดีที่บ้านต้องทำแทงค์น้ำขนาด 2000 ลิตร ต้องเชื่อมเหล็กขาแทงค์ขึ้นไป 4 เมตร และที่ขาแทงค์ต้องมีแผ่น Plate รองเพื่อความแข็งแรง แต่ผมดันซื้อมาบางไปหน่อย คือแค่ 1 หุน ก็เลยไม่ได้ใช้งาน เมื่อที่ 3 สิ่งครบก็เลยเป็นที่มาของตอนที่ 2 นี้ครับ 4. อันนี้ก็ได้เคยทำไว้ในตอนที่ 1 ครับ ยังจำกันได้นะ โดยท่อนกลางได้กลับไปประจำการอยู่ที่รถผมแล้ว 5. และนี้คือส่วนที่เหลือใช้จากตอนที่ 1 : ค้ำหลังล่าง 6. สำหรับตอนที่ 2 นี้ ที่ผมจะใช้มันก็คือ ตัวปรับระยะครับ เพราะมันจะมีลักษณะพิเศษคืออันหนึ่งเป็นเกลียวซ้ายและอีกอันเป็นเกลียวขวา คือถ้าไม่มี 2 อันนี้ ถ้าอยากได้ต้องสั่งโรงกลึงกัดเกลียวเอาครับ เพราะน็อตทั่วๆไปจะมีแค่เกลี่ยวซ้าย ไม่มีเกลียวขวาครับ (แต่ผมไม่มั่นใจ 100 % นะ ) 7. ทีนี้ก็มาทำที่รถบ้างครับ จัดการรื้อเบาะนั่ง-พนักพิง-แผงลำโพง ออกครับเพื่อทำการวัดระยะและหาจุดยึดต่างๆ ขั้นตอนการรื้อคงไม่ขอพูดถึงนะครับ เดี๋ยวมันจะยาวไป แต่ก็รื้อไม่ยากอะไรมากมายครับจากรูปที่เห็นแผงหลังของผมมันบูดเบี้ยวก็เพราะเมื่อก่อนท้ายรถมีตู้ลำโพงซับ 10 นิ้ว 2 ตัว พอดีเกิดอุบัติเหตุตู้ซับก็เลยอัดกระแทกทำให้เสียรูปอย่างที่เห็นครับ แต่เมื่อเอาแผงลำโพงมาปิดก็มองไม่เห็นครับ 8. เมื่อรื้อทุกอย่างออกแล้วก็ลงมือสำรวจหาจุดที่จะยึดขาของตัวค้ำครับ จากรูปก็จะเห็นอยู่ 2 รูครับ คือ 1. รูขนาดประมาณน๊อตเบอร์ 12 ใส่ได้ อยู่ลึกเข้าไปด้านใน โดยมีแผงข้างเสา C บังอยู่นิดหน่อย 2. รูขนาดประมาณน๊อตเบอร์ 14 ใส่ใด้ อยู่ถัดออกมาด้านนอกหน่อย พิจารณาจาก 2 รูที่เห็นน่าจะพอใช้เป็นตัวยึกฐานของตัวค้ำได้ แต่เนื่องจากผมต้องการความแข็งแรงมากกว่านี้ และลดการบิดตัวของฐานด้วยจึงตัดสินใจใช้รูเพิ่มอีก 1 รูคือรูของน๊อตยึดหูเบลล์ครับ 9. เมื่อทำการถอดน๊อตยึดหูสายเบลล์ออกก็จะได้รูสำหรับยึดฐานค้ำเป็น 3 เหลี่ยมพอดีครับ มาถึงตรงนี้บางคนอาจจส่งสัยว่าแล้วเบลล์หลังผมไม่ใช้เหรอ บอกได้เลยครับปกติไม่เคยได้ใช้เลย ด้านหลังไม่ค่อยมีใครมานั่ง ปีหนึ่งน่าจะมีคนนั่งซัก 4-5 ครั้งได้มั้ง แต่ถ้าต้องใช้จริงๆ ก็สามารถใส่กลับได้ครับ 10. หาระยะของรูแต่ละรูง่ายๆเพื่อสร้างแบบฐานโดยกระดาษกับดินสอแค่นี้ครับ 11. นำแบบที่ได้มาลอกแบบลงกระดาษแข็งอีกครั้ง แล้วกำหนดขอบความกว้างของฐานด้วย 12. ตัดแบบที่วาดลงบนกระดาษแข็งไปทาบกับรูที่จะร้อยน๊อตดูว่าขนาดถูกต้องหรือไม่ เพื่อจะนำแบบนี้ไปตัดแผ่นเหล็กในรูปข้อที่ 3 เพื่อทำเป็นฐานครับ 13. เมื่อได้แบบฐานแล้วก็มาทำในส่วนของขาที่เชื่อมระหว่างคานค้ำกับฐานครับ ก็วัดความสูงให้พ้นระดับของแผงลำโพงเมื่อติดตั้งเสร็จด้วยนะครับ แต่อย่าให้สูงเกินครับเพราะจะเกิดการบิดตัวของขาได้ ผมใช้ความสูงประมาณ 6 ซม. 14. แบบฐานที่ผมออกแบบไว้ครับ กว่าจะได้แบบนี้ก็ลองหลายๆแบบแล้วไม่สวยและตอนติดตั้งก็น่าจะยาก ผลสุดท้ายก็ออกมาเป็นแบบนี้ครับ เมื่อได้แบบฐานและขาแล้วก็เอาส่งโรงกลึงครับ 15. งานที่ได้ออกมาจากโรงกลึงครับ ต้องนำมาขัดแต่งอีกครั้ง 16. มุมมองด้านหน้าครับ คงน่าจะนึกออกกันแล้วว่าจะติดตั้งยังไง แต่มันก็จะมีเทคนิคอีกที่จะให้ติดตั้งได้พอดี 17. จัดการขัดแต่งเอาสนิมออกซะหน่อยแล้วนำได้วางเทียบดู ปรากฎว่าแนวขาติดพลาสติดครอบเสา C ก็ต้องมาตัดออกนิดนึง(มันขวางตัวขาค้ำ) ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร เพราะตอนติดตั้งยังไงก็มองไม่เห็นอยู่แล้ว ทำเหมือนกันทั้ง 2 ฝั่ง จากนั้นทำการวางขาเหล็กทั้ง 2 ด้านให้ตรงกับรูร้อยน๊อตที่จะติดตั้งจริง หรือจะยืดน๊อตไว้ซักตัวก็ได้ครับ (พอดีผมลืมถ่ายรูปไว้ให้ดู) จากนั้นก็วัดระยะห่างระหว่างรูร้อยน๊อตของตัวคานค้ำทั้ง 2 ขาว่าห่างกันเท่าไหร่ 18. จากนั้นก็มาเริ่มกันในส่วนของคานค้ำบ้างนะครับ โดยเอาตัวน็อตทั้ง 2 ตัวที่จะมาเชิ่อมต่อตรงปลายคานค้ำ มาวัดความยาวของส่วนต่างๆโดยละเอียด (ดูรูปประกอบ)โดยระยะที่จะสนใจเป็นพิเศษคือระยะจากรูร้อยน๊อตเข้ากับขาไปถึงเกลียวของมัน แต่ต้องมีการเผื่อระยะของเกลียวให้เหลือไว้ประมาณ 1 ซม.เมื่อขันน๊อตตัวเมียเข้าสุด เราก็จะได้ระยะคานที่สามารถปรับ +/- ได้ 2 ซม. (งง! กันหรือเปล่าครับ) 19. เมื่อได้ระยะในข้อ 17 และระยะในข้อ 18 แล้วก็ได้เวลาตัดตัวคานแล้วครับ 20. เพื่อที่จะให้ตัวคานค้ำมีเกลียวที่สามารถปรับความยาวได้ และมีหูสำหรับยืดกับตัวขาเหล็กที่ได้ทำไว้ในตอนแรก ก็จำเป็นต้องใช้ส่วนที่เหลือจากโปรเจ็คตอนที่ 1 ครับ คือเกลียวและหูยึดค้ำครับ 21. มามองความเป็นไปได้ของขนาดครับ ก็สามารถกลึงในส่วนของค้ำที่ตัดไว้ให้กลมแล้วมาอันลงในรูของท่ออลูมิเนียมครับ 22. ขั้นตอนนี้ก็ตองอาศัยโรงกลึงอีกเช่นเคยครับ ทำการกลึงให้กลมแล้วอัดลงไปในท่ออลูมิเนียม จากนั้นเชื่อมอาร์กอนเพื่อให้แข็งแรงไม่เลื่อนหลุดออกมาในอนาคต 23. งานที่ได้ออกมาจากโรงกลึงครับ ก็จะได้ตัวคานค้ำที่มีเกลียวแล้ว 24. เมื่อเอามาประกอบกันก็จะออกมาในลักษณะนี้ครับ ก็เป็นอัน(เกือบ)เสร็จในส่วนของคานค้ำครับ คั่นเวลา : พอดีโปรเจ็คค้ำตอนที่ 2 นี้ใช้เวลาทำนานไปนิด เพราะด้วยไม่ค่อยมีเวลาว่างบ้าง ฝนตกซะบ้าง ก็เลยบางทีส่วนนี่บ้าง-โน้นบ้าง สถานที่ทำก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ 555++ ก็อย่าเพิ่ง งง!! แล้วกันครับ 25. มาทำต่อกันที่ตรงส่วนของขาเหล็กครับ ก็คือการทำสี ก็ไม่ต้องอธิบายมากครับ การทำก็เหมือนกับที่ผ่านมาในโปรเจ็คตอนที่ 1 นั้นล่ะครับ สีก็ยังคงใช้สูตรเดิม คือ Y-48 + H-2 เพราะสียังมีเหลืออยู่ 26. เมื่อได้ขาค้ำแล้วและก็ได้ตัวคานแล้วก็มาถึงขั้นตอนการติดตั้งบ้างครับ การติดตั้งสิ่งที่ต้องมีเพิ่มขึ้นมาก็คือน็อต 4 ชุด 2 ขนาดครับ คือ เบอร์ 12 จำนวน 2 ชุดและเบอร์ 14 จำนวน 2 ชุดเช่นกันครับ 27. การติดตั้งก็ต้องมีการเจาะแผงลำโพงด้านหลังเพื่อให้ขาของตัวค้ำโผล่ขึ้นมาครับ แต่การที่จะเจาะให้ได้ขนาดและรูพอดีที่ขาจะโผล่ขึ้นมานั้นต้องมีการวัดระยะกัน ก่อน โดยขั้นแรกก็วัดระยะบน-ล่างก่อน โดยการเอาเทปกระดาษกาวติดที่แผงข้างเสา C แล้วติดตั้งขาเหล็ก จากนั้นก็ใช้ดินสอมาร์คตำแหน่งบน-ล่างไว้ 28. จากนั้นก็ทำการวัดระยะซ้าย-ขวาบ้างว่าห่างจาเแผงข้างเสา C เท่าไหร่ครับ 29. เมื่อได้ระยะซ้าย-ขวา และบน-ล่างแล้ว ก็จัดการเอาขาค้ำออกอีกรอบแล้วนำแผงลำโพงหลังมาใส่ ทำการติดเทปกระดาษกาวที่เผงลำโพงดังรูป เพื่อจะเทียบระยะบน-ล่างที่มาร์คไว้ที่แผงข้างเสา C ครับ 30. ถอดแผงลำโพงออกมาอีกรอบ (หลายรอบแล้วล่ะ) เพื่อที่จะทำการเจาะรูครับ ระยะทั่งหมดก็ได้จาก ข้อ 28 และ 29 ครับ วาดแนวการเจาะออกมาก็ได้ดังรูปแล้วก็ลงมือเจาะเลยครับ การเจาะก็ไม่ยากอะไร ใช้แค่มีดคัตเตอร์คมๆกดลงไปครับ (มันจะเหนียวหน่อย) แค่นี้ก็เป็นการเสร็จเรื่องแผงลำโพง อ้อ!! อย่าลืมทำพร้อมกันทั้ง 2 ข้างนะครับ (ตั้งแต่ข้อ 27) 31. ดูกันเรื่องการยึดขาเหล็กค้ำกันบ้างครับ การยึดนั้นก็ไม่มีอะไรมาก ก็ใช้น๊อตที่เสรียมไว้ตั้งแต่ตอนแรกโดยน็อตเบอร์ 12 ยึดด้านใน ส่วนเบอร์ 14 ยึดด้านนอก(บน) ก็อย่าลืมใส่แหวนสปริงรองด้วยนะครับ 32. ส่วนรูน๊อตของเบลล์อีกรูก็ใช้น๊อตของตัวเบลล์เองครับ ซึ่งมันสามารถถอดออกจากหูเบลล์ได้ครับ 33. ถอดออกมาเป็นแบบนี้ครับ 34. ใส่ลำดับของแหวนรอบต่างๆของน๊อตเบลล์กลับเหมือนเดิมแล้วยึดเข้าที่ดังรูปครับ ก็เป็นอันเสร็จไปอีกขั้นเรื่องขาค้ำ 35. ยึดน๊อตขาค้ำและเจาะแผงลำโพงเรียบร้อยแล้วก็เอาแผงลำโพงมาใส่ครับ จะเห็นว่าขนาดลงพอดีครับ ถ้าทำอย่างใจเย็นและละเอียดถี่ถ้วนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเบี้ยวครับ 36. นำตัวคานค้ำมาใส่แล้วทำการร้อยน๊อตทั้ง 2 ข้าง หน้าตาก็จะออกมาเป็นแบบนี้ครับ คั่นเวลา (อีกรอบ) : กว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ก็ใช้เวลานานพอสมควรครับ เนื่องจากผมเก็บไปทีละนิด ทำไปทีละนิด ต่อไปก็คงเหลือแต่การทำสีตัวคานแล้วล่ะครับ ส่วนจะ ทำยังไงสีอะไรก็คงต้องดูกันต่อไปครับ 37. หลังจากติดตั้งเสร็จในข้อ 36. และใช้งาน(เกือบ)จริงไปได้ซักพัก ปัญหาที่พบคือว่ามันเด่นเกินไปครับ (ไม่ชอบโดยส่วนตัว) โดยรถผมกระจกบานหลังก็ติดฟิล์มดำครับ ดังนั้นเมื่อมองกระจกมองหลังแล้วมันจะสะท้อนตัวคานขึ้นมาครับ(ลูกศรชี้) มองแล้วก็รู้สึกยังไงไม่รู้ (แต่ซักพักก็คงน่าจะชิน) ก็เลยมองถึงการทำสีครับ ที่คิดๆไว้จะมีอยู่ 3 สีกับ 1 ลายครับ คือ สีเงิน(สีเนื้ออลูมิเนียม) สีน้ำเงิน Cusco สีดำด้าน และ หุ้มผ้าคาร์บอน ใจจริงๆ ก็อยากเอาหุ่มผ้าคาร์บอนครับ แต่เนื่องจากความยาวของตัวคานค้ำมากกว่าความยาวของผ้าคาร์บอนที่ผมเหลืออยู่ ก็เลยต้องทำสีเงินอลูมิเนียมไปก่อน รอให้สั่งผ้าคาร์บอนมาใหม่ค่อยมาหุ่มกันอีกรอบครับ 38. เรื่องการทำสีก็คงไม่มีอะไรมากเช่นนกัน ก็เหมือนกับทุกๆครับ ครับ คือขัดให้เรียบก่อนแล้วค่อยพ่นสี 39. สีที่ใช้ก็แค่เบอร์ 232/B เท่านั้นเองครับเพราะอยากได้แค่แบบสีอลูมิเนีบม 40. หลังจากทำสีเสร็จก็ออกมาเป็นแบบนี้ครับ ผมไม่ทำหลายชั้นเพราะเดี๋ยวหุ่มคาร์บอนก็ต้องขัดออกอยู่ดีครับ 41. เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ถ้าเวลาที่จะติดตั้งให้เสร็จซะที ผลออกมาก็เป็นอย่างนี้ครับ ออกมาก็ถือว่า OK ครับ 42. อีกรูปละกัน สุดท้ายแล้ว สรุป. ก็เป็นอีกอันที่เสร็จไปสำหรับโปรเจ็คค้ำหลังบนอันนี้ ผลงานที่ออกมาก็ถือว่าพอใจอีกแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้หุ่มผ้าคาร์บอน ดังนั้นขอสรุปเป็นส่วนๆ ดังนี้นะครับ - ส่วนเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทำค้ำหลังบนครั้งนี้ขอบอกว่าผมใช้งบน้อยกว่าการทำค้ำหลังล่างครั้งที่แล้วอีก เพระจะมีแค่ค่าโรงกลึงเท่านั้นเรื่องอุปกรณ์สีและ อื่นๆผมก็มีเหลืออยู่แล้ว และก็บวกค่าน๊อตอีก 4 ชุด เบ็คเสร็จอยู่ที่ประมาณ 400 บาทครับ - ส่วนในเรื่องระยะเวลาการทำนั้นก็นานเหมือนกับตอนที่ 1 ครับ คือทำไปทีละนิด ว่างก็ทำครับ ไม่ว่างก็พักไว้ก่อน แต่คิดว่าถ้าได้ทำแบบต่อเนื่องน่าจะ 2-3 วันเสร็จครับ - ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพก่อนและหลังติดตั้ง สำหรับผมมาถึงตอนนี้แล้วผมก็จะมีครบทั้ง 3 ค้ำแล้วคือค้ำหลังบน(โปรเจ็คตอนนี้) ค้ำหลังล่าง (โปรเจ็คตอนที่แล้ว) และก็ค้ำโช็คหลัง(มีอยู่ก่อนแล้ว ดูรูปที่ 7 ได้) ผลที่ออกมาตัวถังแข็งได้ใจแบบรู้สึกได้ครับ เข้าโค้งดีกว่าเดิม ตอนนี้โช็คทำหลังก็น่าจะทำงานได้เต็มที่แล้ว จบ. โปรเจ็คภาคสองนี้ก็ขอจบแค่นี้นะครับ ก็น่าจะมีประโยชน์กับพี่น้องบ้างนะครับ และส่วนต่อไปที่จะทำก็จะเป็นตอนที่ 3 จะได้ปิดโปรเจ็ค Sturt Bar ไปทำโปรเจ็คอื่นๆต่อไป สำหรับตอนที่ 3 นี้ก็ขอเฉลยเลยละกันครับว่าคืออะไร ตอนที่ 3 จะเป็นตัวค้ำโช็คหลังครับ ซึงจะเห็นว่าผมมีอยู่แล้ว แต่โดยส่วนตัวผมยังไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ ก็เลยอยากจะทำเองในแบบที่ตัวเองชอบมากกว่าครับ ส่วนจะเป็นแบบใหนนั้นก็ค่อยมาชมกันครับ ส่วนตอนที่ 2 นี้มีข้อสงสัยหรือปัญหาอะไรก็สอบถามได้ ส่วนใครจะทำบ้างเสร็จแล้วก็เอามาชมบ้างนะครับ ขอบคุณครับ ปล. ตอนที่ 2 : ค้ำหลังบน นี้ผมรู้สึกว่าผมอ่านที่ผมเขียนมาแล้วรู้สึกไม่ค่อยลื่น ต่อเนื่องเท่าไหร่ ขัดๆยังไงไม่รู้ คงเป็นเพราะการทำงานผมไม่ได้ทำแบบต่อเนื่องด้วยมั้ง ยังไงก็ขออภัยด้วยครับ
แจ่มมากครับคุณโอ ไม่คิดว่า V2จะมีประโยชน์กับรถอ่ะนะ 555 วันหน้าไม่ลองเอาไดโพลมาทำอารายดูบ้างล่ะครับ จะคอยติดตามนาครับ
ที่สุดของ D.I.Y. เนียนมากๆๆ รูปแรกเหมือนยังเดิน กราวน์ไวร์ ไม่เสร็จรึเปล่า ขอถามหน่อยครับ การไปให้ร้านกลึงเนี่ย คชจ.ในแต่ละครั้งแพงไหมครับ
ผมก็เพิ่งรู้ว่าโรงกลึงเล็กๆ แถวบ้าน เจ้าของคนเดียว แต่มีเครื่องกลึง 3 เครื่อง ฝีมือใช่ย่อยเหมือนกัน ส่วน คชจ.ในแต่ละครั้งที่ผมไปจ้างทำคิดว่าต้องเอาแบงค์ 1000 ไป ที่ไหนได้ต้องจ่าย ครั้งละ 200-300 บาทเอง อะไรจะถูกอย่างนี้ เดี๋ยวผมคงได้ใช้บริการบ่อยๆแล้วครับ อ้อ!! รูปนั้นถ่ายตอนทำกราวด์ไวร์ครับ ก็เลยยังไม่เสร็จ แต่ตอนนี้เสร็จแล้ว