มารู้จักกับ เรคกูเรเตอร์แบบปรับตั้งได้

การสนทนาใน 'HILUX Club' เริ่มโดย Hang@HLc, 6 กุมภาพันธ์ 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Hang@HLc

    Hang@HLc New Member Member

    3,018
    51
    0
    มารู้จักกับ เรคกูเรเตอร์แบบปรับตั้งได้

    เรก+++เรเตอร์ หรือ ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิง
    โดยมีหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันที่ดูดมาจากถังน้ำมัน ปั้มน้ำมันหรือปั้มติ๊ก แล้วถูกส่งไปยังท่อน้ำมัน
    แล้วผ่านระบบกรองน้ำมันหรือ กรองเบนซิล จึงไหลเข้าสู่รางหัวฉีดแล้วจึงจะไหลผ่านเจ้า เรค+++เรเตอร์ก่อนไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับ

    หน้าที่การทำงานด้วยสุญญากาศ
    เรค+++เรเตอร์ จะทำงานร่วมกับระบบสุญญากาศ โดยสังเกตุเห็นว่าบนหัวของเรค+++เรเตอร์ทุกตัว
    จะมีท่อสูญญากาศเล็กๆเพื่อต่อกับท่อร่วมไอดีด้านหลังลิ้นปีกผีเสื้อ ดังนั้นเมื่อเหยียบคันเร่งน้อยเเรงดูดจากเครื่องจะมากอากาศไหลผ่านลิ้นน้อย
    สูญญากาศก็เกิดมาก เมื่อเหยียบคันเร่งมากอากาศไหลผ่านลิ้นมากสูญญากาศก็เกิดน้อย
    แรงดูดตัวนี้หละที่จะคอยควบคุมให้เรก+++เรเตอร์ทำงานเพื่อควบคุมเเรงดันน้ำมันให้คงที่
    ไม่ว่าจะลิ้นปีกผีเสี้อจะเปิดมากหรือเปิดน้อยก็ตามที
    เริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ก่อนสตาร์ทเครื่อง
    เมื่อเราเปิดสวิทย์กุญแจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะทำงาน
    แรงดันน้ำมันจะสูงมาก เพราะเครื่องยังไม่ติด ไม่มีแรงดูดสุญญากาศเเละเมื่อเราเริ่มสตาร์ทเครื่อง
    จะทำให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากทำให้เครื่องยนต์
    ์สตาร์ทติดง่าย เมื่อเครื่องติดแล้วในรอบเดินเบา
    เครื่องยนต์ต้องการน้ำมันน้อย เรก+++เรเตอร์จะเปิดน้ำมัน
    ให้ไหลกลับสู่ถัง ไหลกลับมาก เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน



    เมื่อเริ่มต้นเหยียบคันเร่ง
    เครื่องยนต์จะต้องการปริมาณน้ำมันเเพิ่มขึ้น
    ตามความต้องการของเครื่องยนต์ ที่ต้องการเร่งรอบ
    ให้สูงขึ้นโดยรับข้อมูลมาจากเซนเซอร์ต่างเช่น
    airfrowmeter , totelsensor,vaccumesensor,
    และเซนเซอร์รอบเครื่องยนต์โดยทั้งหมด
    นี้จะส่งข้อมูลไปยังกล่อง ECU โดยกล่อง ECU
    จะไปสั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันถี่ขึ้นเพื่อเร่งรอบเครื่องยนต ์ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้แรงดันน้ำมัน
    ในรางหัวฉีดตกลง ก็เจ้าเรก+++เรเตอร์นี่แหละ
    ที่จะคอยควบคุม ให้แรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นโดย
    ทำการปิดน้ำมันไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับน้อยลง

    ทฤษฎี
    แรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดจะอยู่ที่ 2.5-3.3 bar หรือ 36-48 ปอนด์ แล้วแต่ spec ของเครื่องแต่ละยี่ห้อเช่น Toyota จะกำหนดไว้ที่ 2.7 bar Mitsubishi จะกำหนดไว้ที่ 3.3 bar และ Nissan,Honda จะกำหนดไว้ที่ 2.5 bar
    เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันในการเผาไหม้อยู่ที่ 14.7-15 : 1 คือ อากาศ 14.7-15 ต่อน้ำมัน 1 ส่วน
    จึงจะถือว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด ดั้งนั้นเรค+++เรเตอร์ต้องทำหน้าที่รักษาแรงดันน้ำมันให้สอดคล้องกับ
    ปริมาณการฉีดน้ำมันของหัวฉีดในแต่ระรอบความเร็ว

    เปลี่ยนใหม่ดีหรือไม่
    ในเครื่องยนต์ standard เรค+++เรเตอร์มีโอกาสเสียหายได้ เช่นแผ่นไดอะแฟรมขาดเกิดการกระทบ
    กระเเทกรุนเเรง การอุดตันในท่อสุญญากาศ และอาการค้างไม่ยอมให้น้ำมันไหลกลับในเครื่องยนต
    ์ที่ไม่ใช้งานนานๆ มีผลให้ เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด สตาร์ทติดยาก ไม่มีแรง หรือทำให้กินน้ำมันมากผิดปกติ
    จึงควรตรวจเช็คหรือทำการเปลี่ยนเสียใหม่

    ในเครื่องยนต์โมดิฟลายในเสตปเริ่มต้น หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ติดเทอร์โบเพิ่ม เปลี่ยนเทอร์โบใหม่ หรือปรับบูชให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่แล้วยังถือว่า ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเรค+++เรเตอร์ เพราะเรค+++เรตอร์
    ที่ติดตั้งมา ให้กับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นได้ออกแบบมาได้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หรือบางรุ่นทำงานได้ดีกว่า
    แบบปรับตั้งได้เสียอีก ดังนั้นควรจะหันมาใส่ใจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะดีกว่าเพราะมีผลต่อความต้องการ
    ของเครื่องยนต์แท้จริง

    ในเครื่องยนต์ทีมีการโมดิฟลายในสเตปสูง เช่นการเปลี่ยนหัวฉีดให้มีซีซีสูงขึ้น เปลี่ยนรางหัวฉีด
    ที่มีขนาดใหญ่ เพิ่มปั้มแรงดันน้ำมันเชื้อเผลิง เปลี่ยนแอร์โฟร์ ลิ้นปีกผีเสื้อให้มีขนาดใหญ
    ่ขยายปริมาตรกระบอกสูบ จนเรค+++เรเตอร์เดิมไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ ควรเปลี่ยนเสียใหม่
    ทั้งนี้ต้องติดตั้งเกจ์วัดแรงดันน้ำมันเพื่อใช้ในการอ้างอิงในการปรับจูนอยู่เสมอ
    การติดตั้ง

    ก่อนทำการติดตั้งควรหาเกจ์วัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง
    มาตรวจวัดเสียก่อนว่าแรงดันที่ใช้อยู่
    ในปัจจุบันมีค่าเท่าไร เพื่อตรวจเช็คความพร้อม
    ของระบบ และอ้างอิงถึงเเรงดันของเรก+++เรเตอร
    ์ที่จะถูกเปลี่ยนเข้าไปใหม่

    ในบางยี่ห้อที่ทำชุดคิดมาสำหรับเเต่ละเครื่องยนต์ สามารถถอดของเดิมออกและนำของใหม่ใส่แทน
    ลงไปได้เลย

    ในยี่ห้อที่ต้องติดตั้งใหม่ ควรถอดเรก+++เรเตอร์เดิมออก
    แล้วกลึงน็อต หรือต่อท่อไหลกลับมายังเรก+++เตอร์ใหม่ แล้วต่อท่อไหลกลับลงสู่ถังน้ำมัน และอย่าลืมต่อท่อ
    สุญญากาศ ที่หัวของเรก+++เรเตอร์แทนที่ของเดิม
    หรือหลังลิ้นปีกผีเสื้อไว้ด้วย

    การติดตั้งควรอยู่ห่างจากความร้อนเช่นท่อไอเสีย จุดหมุนพวกสายพานต่างๆ และควรสร้างจึดยึด
    ให้แน่นหนา เพื่อไม่ให้แกว่งไปตามแรง
    เครื่องยนต์ จนท่อน้ำมันเกิดการฉีกขาดได้

    ควรเปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเผลิง และเหล็กรัด
    ไปใช้ที่สามารถทนเเรงดันสูงขึ้นเพราะต้องรับภาระ
    แรงดันน้ำมันสูงจนเกิดการหลุดแตก

    ข้อดี
    สามารถเพิ่มปริมาณการฉีดน้ำมันให้สูงได้ง่ายๆ ทำให้เครื่องยนต์มีแรงขึ้นแก้ไขในกรณีปั้มเเรงดันเชื้อเพลิง
    เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ และในการปรับจูนเครื่องยนต์ให้ที่ต้องการแรงดันน้ำมันสูงกว่าปกติมากๆ

    ข้อเสีย
    ในเครื่องยนต์ที่เรค+++เรเตอร์เดิมสามารถทำงานได้ดีอยู่แล้ว หรือปรับแต่งไม่ถูกต้อง ทำให้เครื่องยนต์กินน้ำมัน
    โดยใช่เหตุ เครื่องแรงตก แรงต้นปลายไม่แรงเผาไหม้ไม่หมดเกิดมลภาวะ หรือถ้าแรงดันน้ำมัน น้อยเกินไป
    ทำให้ส่วนผสมบางเครื่องยนต์อาจพังได้​
     
  2. SUPER LIMITED

    SUPER LIMITED New Member Privilege

    261
    1
    0
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
     
  3. devil_TENGU

    devil_TENGU New Member VIP

    5,029
    27
    0
    ฮั่งมีสาระด้วยเหรอครับ5555555555555555555555555555
     
  4. คอบคุนคับ
     
  5. Moo Tiger Raikhing

    Moo Tiger Raikhing New Member VIP

    12,412
    29
    0
    ขอบคุงนะคับ สำหรับความรู้ เพิ่มเติม
     
  6. col2ETwo

    col2ETwo New Member Member

    820
    11
    0
  7. JZ_std.

    JZ_std. New Member Member

    8,075
    74
    0
    แล้วถ้ามีแต่ไม่ใส่จะเป็นอะไรหรือเปล่าครับ 555555555555
     
  8. joe>2kd@HLc

    joe>2kd@HLc New Member Member

    2,956
    32
    0
    มีสาระด้วย
     
  9. Out Off Control

    Out Off Control New Member Member

    2,322
    26
    0
    รถไม่แรงครับ คงไม่ต้องใส่
     
  10. Hang@HLc

    Hang@HLc New Member Member

    3,018
    51
    0
    ใครๆๆๆๆๆ มีแล้วไม่ใส่คับ รถผมใส่นะครับ แต่ใส่ไว้ในแค๊บ ก้อวิ่งดีขึ้น 555555 มั่วตลอด

    เอ๊าๆๆๆๆๆๆๆๆ นี่แหละตัวตนที่แท้จริง 55555555555555
     
  11. buscom15

    buscom15 New Member Privilege

    2,293
    17
    0
    ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ
     
  12. tpcc

    tpcc New Member Member

    895
    13
    0
    ความรู้ดีๆมีมาเสมอ จัดไป
     
  13. GAUSS

    GAUSS Well-Known Member Member

    4,354
    50
    48
    Up Up Krab

    Thank U
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้