คราวนี้มาทำความรู้จักกับตัวเด็ดของค่าย "MITSUBISHI" กันบ้าง ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไรครับ Generation ที่ 1 (ค.ศ. 1973 - 1979) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 1โฉมนี้ ค่อนข้างประสบความสำเร็จในวงการแข่งขันแรลลี่ มีการผลิตรถรุ่นนี้ถึง 12 โมเดล ตั้งแต่โมเดลมาตรฐาน เครื่องยนต์ 1200 ซีซี ไปจนถึงโมเดลสปอร์ตแรลลี่ เครื่องยนต์ 1600 ซีซี GSR มีตัวถัง 3 แบบ คือ coupe 2 ประตู, sedan 4 ประตู และ station wagon 5 ประตู (จริงๆ แล้วมีตัวถัง sedan 2 ประตูด้วย แต่ไม่เป็นที่รู้จักนัก) โฉมนี้ ถูกส่งออกไปหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย , สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการตั้งชื่อเรียกใหม่ในบางประเทศ เช่น ในออสเตรเลีย จะเรียกแลนเซอร์ว่า Chrysler Valiant Lancer และในสหรัฐอเมริกา เรียกแลนเซอร์ว่า Dodge Colt *ผมเองก็หัดขับรถครั้งแรกจากรุ่นนี้ครับ ตอน ม.1 เป็นรุ่นไฟนอนครับ* :-> จริงๆแล้วมีไฟซี ไฟแอล และไฟนอน แต่ผมคิดว่ามันเป็นเพียงการไมเนอเชนจ์ นับเป็นGENERATIONเดียวกันครับ ไฟซี Generation ที่ 2 (ค.ศ. 1979 - 1988) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 2โฉมนี้ เป็นโฉมแรกที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ซึ่งพ่อค้ารถและวงการรถไทยเรียกโฉมนี้ว่า "โฉมกล่องไม้ขีด" ซึ่งโฉมนี้ได้รับการพัฒนามากในเรื่องของประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ในเรื่องของการใช้น้ำมันให้คุ้มค่ามากขึ้น การลดปริมาณเสียงในห้องโดยสาร และการผสมผสานเทคโนโลยีรถสปอร์ตเข้าไป เพื่อให้ผู้ซื้อรถสามารถสัมผัสความเป็นรถสปอร์ตได้บ้างในราคาที่ไม่แพง แลนเซอร์โฉมนี้ แทบทุกคัน เครื่องยนต์ที่ใช้ เป็นเครื่องยนต์ประเภท JET ซึ่งไม่เหมือนกับเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์และหัวฉีดทั่วๆ ไป ตั้งแต่แบบอ่อนๆ 70 แรงม้า ไปจนถึงแรงจัด 168 แรงม้า แต่กลับประหยัดน้ำมันได้ดี คือ อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเมื่อวิ่งในเมือง 9.8 กิโลเมตรต่อลิตร และ 15.8 กิโลเมตรต่อลิตรเมื่อวิ่งในชนบท ซึ่งนับว่าประหยัดมาก เมื่อเทียบกับรถยนต์รุ่นอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน และความแปลกใหม่ของเครื่องยนต์ และสมรรถนะที่ดี ก็เป็นอีกจุดขายหนึ่ง ที่ทำให้แลนเซอร์โฉมนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง Generation ที่ 3 (ค.ศ. 1982 - 1987) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 3โฉมนี้ เป็นโฉมที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาที่ซ้อนทับกับโฉมที่ 2 มีรูปทรงคล้ายกัน แต่มีความเป็นรถธรรมดามากขึ้น ใช้เครื่องยนต์หัวฉีดขับเคลื่อนล้อหน้าธรรมดา ไม่ใช้เครื่องยนต์ที่แปลกดังโฉมที่ 2 แต่ก็มีความทันสมัย เพราะระบบเครื่องยนต์หัวฉีด แทบไม่เป็นที่รู้จักในสมัยนั้น สมัยนั้นรถที่เป็นหัวฉีดส่วนใหญ่เป็นรถแข่ง รถสปอร์ตเต็มขั้น หรือรถหรูๆ จากตะวันตกเท่านั้น นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ การนำระบบหัวฉีดมาใช้ในรถทั่วไปในสมัยนั้นจึงเป็นความทันสมัยอย่างหนึ่ง และระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สมัยนั้นก็ไม่ค่อยมีเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหลัง แต่โฉมนี้ ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย CHAMPรุ่นต่างๆ ก็นับอยู่ในรุ่นนี้นะครับ เป็นกลยุทธทางการตลาดของพี่ไทยนั่นเอง Generation ที่ 4 (ค.ศ. 1988 - 1992) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 4โฉมนี้ ได้มีการออกแบบรถใหม่ให้ดูลู่ลมยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วนตัวถังออกแบบให้คล้ายๆ มิตซูบิชิ กาแลนต์ โฉมนี้ เน้นการผลิตรถแบบ station wagon กับ sedan ในบางประเทศ มีการนำแลนเซอร์ไปทำเป็นรถตู้ van แต่ก็ไม่เป็นที่นิยม และโฉมนี้ ก็เป็นอีกโฉมหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในประเทศไทย รุ่นนี้ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา Generation ที่ 5 (ค.ศ. 1991 - 1995) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 5โฉมนี้ เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมมากในประเทศไทย วงการรถตั้งชื่อโฉมนี้ว่า "โฉม E-CAR" ซึ่งมีการนำเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก มีความทนทาน แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 10 ปี ก็ยังสามารถเห็นแลนเซอร์โฉมนี้ได้ทั่วไปตามท้องถนน ในประเทศไทย แลนเซอร์โฉมนี้ มีทั้งการใช้เป็นรถส่วนตัว รถครอบครัว และแต่งเป็นรถสปอร์ต แต่ว่า ในโฉมนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้สร้างรถรุ่นใหม่ขึ้นมา เป็นเนื้อหน่อของแลนเซอร์ ซึ่งรถรุ่นที่ "แตกหน่อ" ออกมานี้ คือ Mitsubishi Lancer Evolution ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าแลนเซอร์ธรรมดา เนื่องจากสร้างมาสำหรับการเป็นรถสปอร์ตแรลลี่โดยเฉพาะ แต่แลนเซอร์ อีโวลูชัน* ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยนัก ด้วยเพราะผู้ซื้อนิยมนำรถแลนเซอร์ธรรมดาไปแต่งเองมากกว่า นอกจากนี้ อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สูง ก็มีผลทำให้รถแลนเซอร์ อีโวลูชัน (ของจริง) ซึ่งผลิตในต่างประเทศ มีราคาในประเทศไทยแพงกว่ารถแลนเซอร์ทั่วไปมาก *ขาEVOติดตามต่อไปครับ อันนี้LANCERล้วนๆ Generation ที่ 6 (ค.ศ. 1995 - 2000) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 6โฉมนี้ แลนเซอร์ออกแบบมาคล้ายคลึงกับโฉมที่ 5 อย่างมาก ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นๆ จะมีอยู่สองจุดคือ ไฟท้าย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อน ต่างจากโฉมที่ 5 ซึ่งมีไฟท้ายเป็นแถบคาด และไฟหน้าของโฉมที่ 6 จะเหลี่ยมกว่า โฉมที่ 5 ส่วนอื่นคล้ายกันมาก เมื่อมองเผินๆ จะนึกว่าเป็นโฉมเดียวกัน ดังนั้น ในวงการรถไทยจึงตั้งชื่อโฉมว่า "โฉมท้ายเบนซ์" เพื่อแยกความแตกต่างออกจากโฉม E-CAR อย่างไรก็ตาม โฉมนี้ก็จัดเป็นอีกโฉมหนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย มีการนำไปแต่งเป็นรถสปอร์ต นอกเหนือจากการใช้เป็นรถส่วนตัวและรถครอบครัว เช่นเดียวกับโฉมเดิม และปัจจุบัน ก็ยังสามารถพบเห็นรถโฉมนี้ได้ทั่วไปเช่นกัน Generation ที่ 7 (ค.ศ. 2000 - 2006) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 7แลนเซอร์ทุกรุ่นในประเทศไทยที่ออกหลังโฉมท้ายเบนซ์ จัดอยู่ใน Generation ที่ 7 รวมถึงโฉมปัจจุบันที่ยังขายในประเทศไทยด้วย ซึ่งโฉมนี้ จัดได้ว่าเป็นโฉมที่แลนเซอร์มีหลายรูปทรง แต่ที่เป็นที่รู้จักในไทยของโฉมที่ 7 คือโฉม Lancer Cedia ที่ขายในช่วง ค.ศ. 2001-2004 กับโฉม Lancer CNG ที่ขายในไทยอยู่จนถึงปัจจุบัน และในโฉมนี้ เริ่มมีการใส่เกียร์ระบบใหม่ คือ CVT ซึ่งเป็นระบบที่ 3 ที่ถูกคิดค้นมา (ต่อหลังจากระบบเกียร์ธรรมดา และระบบเกียร์อัตโนมัติ) 2001-2004 Lancer Cedia 1.6 Glxi Manual 1.6 Glxi Auto CVT 1.6 Glxi Limted Airbag ABS 1.8 Sei Limited AirBag ABS 2004 (ท้ายปี)- ปัจจุบัน 2004-2005 กันชนด้านหน้าและหลังจะเป็นแบบสั้น รุ่นพิเศษ 2.0 Ralliart ไฟหน้าโคมดำ กันชนหน้าและหลังเป็นแบบยาว พวงมาลัยเหมือน Evolution 7 ภายในสีดำ 1.6 SAM มีเบาะหนัง ลายล้อแม๊กต่างจากปกติ 1.6 SAM2 เบาะหนัง ลายล้อแม๊กต่างจากปกติ สครัพเพลต สปอยเลอร์หลัง โฉมนี้ เป็นโฉมที่สามารถขยายตลาดส่งออกได้ดีมาก ตลอดระยะเวลา 6 ปี แลนเซอร์โฉมนี้มีในทวีปอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย, ปากีสถาน, อินเดีย, เม็กซิโก, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ แม้ปัจจุบันนี้ แลนเซอร์ในตลาดสากลจะก้าวเข้าสู่ Generation ที่ 8 แล้ว แต่แลนเซอร์ในประเทศไทยยังคงขายโฉมที่ 7 อยู่ ยังไม่ขายโฉมที่ 8 ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ Generation ที่ 8 (ค.ศ. 2007 - ปัจจุบัน) มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 8โฉมที่ 8 นี้ เป็นโฉมล่าสุดของแลนเซอร์ แต่ยังไม่มีขายในประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจบางอย่าง ทำให้แลนเซอร์ในไทยยังเป็นโฉมที่ 7 แต่คาดว่าจะนำมาผลิตและวางขายในประเทศไทยได้ในเร็วๆ นี้ โฉมที่ 8 นี้ ยังเป็นโฉมที่สมรรถนะเฉียบคมเหมือนโฉมก่อนๆ มีการใส่ระบบเกียร์ CVT มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ในระบบเกียร์ธรรมดา และระบบเกียร์อัตโนมัติ ตลาดส่งออกของแลนเซอร์ขยายวงกว้างขึ้นไปในทวีปอเมริกาเหนือ, ประเทศออสเตรเลีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย, ชิลี และแถบทวีปยุโรป ทางด้านของ Lancer Evolution ก็ออกรุ่น Evolution X ออกมาเพื่อเป็นรถสปอร์ตแรลลี่อีกด้วย เช่นเดียวกับโฉมต่างๆ ก่อนหน้า สรุป มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แข่งขันกับ ฮอนด้า ซีวิค และ โตโยต้า โคโรลล่า ซึ่งออกแบบมาในคอนเซปต์คล้ายกัน มาโดยตลอด ถึงแม้โดยรวมอาจจะสู้ซีวิคหรือโคโรลล่าไม่ได้ แต่แลนเซอร์ก็สามารถยืนหยัดในสังคมไทยมาได้จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 20 ปี (นับจากโฉม E-CAR เข้ามาในไทย) ได้อย่างดี
สรุป มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แข่งขันกับ ฮอนด้า ซีวิค และ โตโยต้า โคโรลล่า ซึ่งออกแบบมาในคอนเซปต์คล้ายกัน มาโดยตลอด ถึงแม้โดยรวมอาจจะสู้ซีวิคหรือโคโรลล่าไม่ได้ แต่แลนเซอร์ก็สามารถยืนหยัดในสังคมไทยมาได้จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 36 ปี (นับจากโฉม E-CAR เข้ามาในไทย) ได้อย่างดี
เคยจำได้ว่าตอนแข่งแรลลี่ wrc ช่วงเมื่อนานมาแล้ว มีข่าวว่ามิตซูบิชิจะเลิกพัฒนาแลนเซอร์ แล้วจะสร้างรุ่นอื่นแทนเพื่อเป็นพื้นฐานต่อยอดอีโวลูชั่น แต่ก็ได้เห็นแลนเซอร์ต่อมาหลายรุ่นเลย สงสัยข่าวจะมั่วแล้วเรา อิอิ
คันแรกในชีวิต ก็อีคาร์ ต่อมาเปนอีโว แต่ตอนนี้มากิ๊กกะวีเทค ผูกพันกับมิตซูบิชิมาตั้งแต่เด็ก ชาตินี้ไม่มีวันลืม
ขออนุญาต จขกท. ด้วยความเคารพ ขออนุญาตแก้ไขและเพิ่มเติม . . . ( นะ ท่าน DUKE_68 ) Generation ที่ 6 (ค.ศ. 1995 - 2000) = CK ท้ายเบนซ์ 1996 - 2002 Generation ที่ 7 (ค.ศ. 2000 - 2006) = Cedia CS 2001 - 2008 ( G6 และ G7 มีขายขายทับรุ่นกันในปี 01 - 02 ) Generation ที่ 8 (ค.ศ. 2007 - ปัจจุบัน) = ? ? ? ยังไม่ขาย . . . + อ้างถึง ตอบกลับ