เรื่องของน้ำมันเครื่อง จริงหรือเปล่า

การสนทนาใน 'EG 3D Club' เริ่มโดย Yukim, 29 มีนาคม 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Yukim

    Yukim Member Member

    338
    9
    18
    วันนี้ไปดูงานที่ Motor Show กะว่าจะหาของมาแต่งตัวให้รถดูสวยขึ้นซ๊ะหน่อย
    ปรากฏว่าร้านค้าหายไปไหนกันหมดเย เหลือน้อยจัง จากปีที่แล้วก็ว่าน้อยแล้ว
    ปีนี้หนักกว่าอีก เลยไม่ได้อะไรกลับมาด้วยเลย
    ระหว่างดูที่บูธของตกแต่งมีพี่ขายของอย่างนึงให้ข้อมูลว่ากำลังของรถยนต์ที่ตกลงทุกปีเนื่องมาจากการที่ทุกครั้งที่สตาร์ตรถหลังจากจอดนานๆ น้ำมันเครื่องที่ตกอยู่ก้นแทงค์จะถูกดูดขึ้นมาไม่ทันในช่วงแรกทำให้เกิดการสึกหรอ เมื่อใช้ไปนานๆทำให้ performance ของเครื่องลดลง (เขาบอกลองเทียบดูรถใหม่ๆ กับที่ใช้ไปสัก 5-7 ปีดูสิ) เลยนึกถึงเรื่องน้ำมันเครื่องทันทีว่า อย่างเกรดน้ำมันเครื่อง 0-40 หรือ 5-40 ที่เคยเติมนั้นมันมีความหนืดน้อย ทำให้เครื่องทำงานได้ดีในรอบจัดซึ่งเหมาะกับรถที่เครื่องร้อนได้ที่แล้ว (รถในสนาม) แต่รถบ้านทั่วๆไปที่จอดแล้วสตาร์ตวันนึงเกิน 3-4 ครั้งมันน่าจะเติมแบบที่หนืดๆดีกว่า เพราะความหนืดน่าจะช่วยทำให้ลูกสูบยังมีน้ำมันเครื่องตกค้างอยู่บ้าง จะได้ไม่สึกหรอมากตอนสตาร์ตเครื่อง ไม่รู้คิดอย่างนี้ถูกรึไม่ ใครทราบช่วยแนะนำให้สมองอันมีอยู่น้อยนิดได้มีรอยหยักที่มากขึ้นด้วยน่ะ ขอบคุณคร๊าบบบ :D:D:D:D:D
     
  2. jooe_ranger

    jooe_ranger New Member Member

    9
    0
    0
    เกรดความหนืดของน้ำมันเครื่อง
    SAE = Society of Automotive Engineer เป็นหน่วยงานที่ทำการวัดทดสอบความหนืดของน้ำมันแล้วกำหนดมาเป็นเกรดความ หนืดมาตรฐาน โดยจะมีตัวอักษรย่อของทางสถาบันนำหน้าแล้วตามด้วยตัวเลขเกรดความหนืด ตัวเลขมาก หมายความว่า มีความหนืดมาก ในทางกลับกัน ตัวเลขน้อย หมายถึง มีความหนืดน้อย กล่าวคือ ใสนั้นเอง เช่น SAE 20W-50 โดยมีการผลิตและวัดที่ 2 อุณภูมิ คือ
    20W = W คือ Winter มีการวัดที่อากาศหนาวที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ได้ค่าความหนืด = 20
    50 = วัดที่อากาศร้อนอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ได้ค่าความหนืด = 50
    หมายเหตุ ตัวเลขทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่อุณหภูมิแต่เป็นตัวเลขค่าความหนืด

    เกรดความหนืดของน้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 2เกรด คือ น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว และ น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม

    น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว เช่น SAE 10W, SAE 15W, SAE 20W ซึ่งโดยส่วนใหญ่เหมาะที่จะใช้กับประเทศที่มีอากาศหนาว ส่วนถ้าเป็น SAE 20, SAE 30, SAE 40 ก็เหมาะที่จะใช้กับประเทศที่มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่

    น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม เช่น SAE 5W-40, SAE 10W-40, SAE 20W-50 เป็นน้ำมันเครื่องที่ใช้ได้กับทุกสภาพอากาศ เพราะว่ามันสามารถปรับค่าความหนืดให้เหมาะสมได้กับทุกอุณหภูมิ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิสูงมันก็จะปรับตัวให้หนืดขึ้น และ เมื่ออุณหภูมิต่ำลงมันก็จะปรับตัวให้ใส
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้