ตำรวจจราจร งดออกใบสั่ง 8 ข้อหาเพียงตักเตือน นครบาลสมานฉันท์ ผู้ใช้รถใช้ถนนในเขต กทม.งดออกใบสั่ง 8 ข้อหา เปลี่ยนเป็นออกใบเตือนและว่ากล่าวตักเตือนแทน ส่วนมาตราการ 3 ม.2ข.1ร.ไม่มียกเว้นตรวจจับเข้ม พล.ต.ต.มนตรี จำรูญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีคณะทำงานการศึกษาเพื่อออกใบเตือนแทนใบสั่งว่าหลังจาก พล.ต.ท.ปานศิริ ประภาวัต ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการออกใบเตือนเเทนใบสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร โดยได้ข้อสรุปว่าการออกใบเตือนแทนใบสั่งมีข้อดีมากกว่าข้อเสียในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน จึงได้พิจารณาถึงข้อหาที่จะให้ตำรวจจรจรว่ากล่าวตักเตือนและวิธีปฏิบัติอย่างไร โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะให้มีการออกเป็นบันทึก โดยใช้เป็นแบบฟอร์มสำหรับข้อหาที่ออกใบเตือนหรือว่ากล่าวจะเป็นข้อหาที่ไม่กระทบต่อปัญหาจราจร และไม่เป็นข้อหาที่จะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทั้งนี้การพิจารณาแล้วจะมีอยู่ 8 ข้อหา คือ 1.ข้อหาเกี่ยวกับการขับขี่รถยนต์ป้ายแดงในเวลาที่กฏหมายไม่อนุญาต เป็นการขับรถป้ายแดงในเวลาห้าม 2.หยุดรถล้ำเส้น ซึ่งบางครั้งผู้ขับขี่หยุดรถไม่ทันก็จะล้ำเส้นไปนิดหน่อย อาจจะใช้วิธีว่ากล่าวออกใบเตือน แล้วให้รถถอยกลับไป 3.รถจักรยานยนต์วิ่งไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย บางครั้งรถจักรยานยนต์จะวิ่งชิดด้านซ้ายโดยตลอดเป็นไปไม่ได้เช่นมีรถเมล์จอดรับผู้โดยสาร 4.ผู้ขับขี่แท็กซี่แต่งกายไม่เรียบร้อย ข้อหานี้เป็นการช่วยเหลือคนจน เพราะผู้ขับรถแท็กซี่บางคนไม่มีชุดตามที่กฏหมายกำหนด 5.หยุดรถในเขตปลอดภัย ที่ชาวบ้านเรียกว่าเกาะกลางถนนเทียม 6.วัสดุสะท้อนแสง(ไม่ใช้ฟิล์มกรองเเสง) หรือที่เรียกกันว่ากระจกฉาบปรอท ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอพิจารณาในการวัดระดับ แต่ถ้าพิสูจน์ว่าเป็นการเจตนากระทำผิดจริงๆ เช่น สะท้อนไปรบกวนรถอื่น 7.บรรทุกสิ่งของเกินกว่าตัวรถโดยไม่ติดไฟแดง หรือสัญญาณแดง เพราะผู้ประกอบการบางครั้งรับว่าจ้างให้ประกอบเพื่อติดตั้งบางครั้งจะเป็นวัสดุที่บรรทุกไปล้ำตัวรถออกมาแล้วลืมให้สัญญาณไฟหรือธงแดง 8.รถยนต์ขับช้าไม่ชิดด้านซ้ายนอกจากนั้นข้อหาอื่นที่ตกไป ไม่ให้ออกใบเตือนแทนใบสั่งเพราะเป็นข้อหาที่กระทบต่อข้อห้าม 3 ม. 2 ข.1 ร.เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก อุปกรณ์มอเตอร์ไซค์ไม่ครบ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับขี่เร็วเกินกำหนด และข้อหาที่ต้องบันทึกคะเเนนตลอดจนข้อหา ที่ทำให้เกิดปัญหาจราจร คณะทำงานจะพิจารณา สรุปรายงานให้ผู้บัญชาการฯทราบเพื่ออนุมัติต่อไป หลังจากนั้นจะพิมพ์แบบฟอร์มบันทึกใบเตือนซึ่ง ผู้กำกับการจราจร แจ้งว่าหลังจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อนุมัติ แล้วสามารถจัดพิมพ์เสร็จภายใน 15 วัน
ต้องขอโทษที ที่เอาข้อมูลมาลงไม่ครบได้แก้ไขให้แล้วครับ เอามาเพิ่มให้อีก แน่นอนว่าในปัจจุบันการแต่งรถมอเตอร์ไซค์กำลังได้รับความนิยมและระบาดไปทุกที่ทุกทาง เรียกได้ว่าซอยไหนไม่เจอ รถแต่งก็คงจะเฉยสุดๆ แต่การแต่งรถมอเตอร์ไซค์ก็แต่งแค่พองาม ไม่ใช่คิดอยากแต่งอะไรก็ทำไปเรื่อย โดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิดกฎหมายหรือไม่?.... ดังนั้นทางทีมงานได้เล็งเห็นความสำคัญตรงจุดนี้ จึงอยากจะขอเสนอว่า สิ่งไหนถูกต้องสิ่งไหนผิด เพื่อไม่ให้พวกเราแต่งรถคันโปรดโดยไม่รู้เรื่องอะไรเลย ซึ่งการแต่งรถมอเตอร์ไซค์ก็มีทั้งผิดและไม่ผิดและไม่ผิดกฎหมาย แต่ประเด็นหลักมันจะเป็น เรื่องของความปลอดภัยของตัวเอง และบุคคลที่ซ้อนท้ายรถคุณ หรือไม่ก็เพื่อนร่วมทางที่คุณอาจจะไปเฉี่ยวชนได้ทุกเวลามากกว่า โดยผมก็จะเริ่มตั้งแต่ล้อหน้าไปจนถึงท้ายรถมอเตอร์ไซค์กันเลยว่าสิ่งใดที่ผิด หรือไม่ผิดกันบ้าง เริ่มจากจานดิสก์เบรกหน้าที่ขาแต่ง ทั้งหลายชอบไปเจาะรูจานดิสก์เหลือหน้าสัมผัสอยู่เพียงนิดนิด หรือไม่ก็ไปจับเอาจานดิสก์ที่มีรูปทรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลายดอกไม้หรือว่าลายอะไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ผิดหวังหรอกครับ แต่มันเป็นเรื่องของความปลอดภัยมากกว่า เพราะเมื่อหน้าสัมผัสมีน้อยลงประสิทธิในการเบรกก็จะมีน้อยตามไปด้วย ถ้าหากคุณขับขี่ตามคันหน้าอยู่ดีๆ เกิดเขาเบรกกะทันหันคุณคิดว่าคุณจะเบรกอยู่หรือไม่ สำหรับผมคิดว่าเบรกไม่อยู่แน่นอน แล้วผมมันจะเป็นอย่างไรต่อไป...คุณไปคิดดูเอาเองแล้วกัน ต่อมาก็เป็นวงล้อสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ล้อ Akront, D.I.D, Compstar หรือล้ออลูมิเนียมต่างๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ผิดหรอกครับ แต่มันก็เป็นเรื่องของความปลอดภัยอีกเหมือนกัน เพราะถ้ามันเป็นของแท้แน่นอนมันต้องทนใช้ได้ และถ้าเกิดไม่ใช่ของแท้ล่ะ หรือไปใช้ของที่มีคุณภาพต่ำ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคุณตกหลุมจังๆ สักครั้งสองครั้งล้อคุณดุ้งแน่ๆ และมันจะพาลให้คุณล้ม เป็นหมูแดงอีกด้วย เรียกได้ว่าเจ็บแล้วแถม ต้องมาเสียเงินซื้อใหม่อีก คิดแล้วมันเศร้า... ส่วนเช็คหน้าที่ขาแต่งชอบทำทรง DIO ZX มันก็ไม่ผิดอะไร แต่ถ้าเมื่อใดถ้าคุณไปทำการตัดโช้คหรือโหลดโช้คลง แน่นอนว่าสิ่งนี้ผิด กฎหมายแบบเต็มๆ ชัวร์ ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นปะกับคันเร่ง, มือเบรก, กระจกมองหลัง สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ผิดอะไรแต่มันเป็นเรื่องของกระเป๋าสตางค์ของคุณเองมากกว่า ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนอันนี้แน่นอนเลย ว่าถ้าคุณไปตัดทะเบียนไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ผิดกฎหมายแน่นอน “อย่าเอาแต่สวยเข้าว่า” เพราะฉะนั้นถ้าจะไม่ให้ผิดคุณก็ควรไปหากรอบ ทะเบียนที่มีขายอยู่ตามร้านขายอะไหล่ทั่วไป มาใส่แทนเพียงเท่านี้คุณก็ไม่ถูกตำรวจ ท่านเรียกจับแล้ว และอีกสิ่งหนึ่งที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอนคือ ท่อไอเสียที่ขาแต่งทั้งหลายชอบเอาท่อทีไม่ มอก. และให้เสียงดังมาใส่ หรือไม่ก็เอาท่อเดิมที่มี มอก. มาทำการเอาไส้กรองเสียงออกเพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าท่อไอเสียต้องดังไม่เกิน 95 เดซิเบล ส่วนพวกที่ชอบโชว์คาร์บูเรเตอร์ออกมาข้างนอกแล้วเจาะแฟริ่ง แน่นอนว่าสิ่งนี้ก็ผิดเพราะถือว่าเป็นการดัดแปลงสภาพรถ ที่สำคัญทาง พ.ต.ต. สราวุธ จินดาคำ สารวัตรจราจร สถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว ยังกล่าวเสริมในเรื่องท่อไอเสียสำหรับ พวกที่นำท่อไม่มี มอก. มาใช้หรือพวกที่ชอบเอาท่อเดิมที่มี มอก. แต่ทำการดัดแปลงท่อโดยเอาไส้กรองออก “สิ่งนี้ผิดกฎหมาย และยังสร้างความรำคาญให้แก่ชาวบ้าน ถ้าทางตำรวจเจอก็ต้องทำการจับแน่”...
" สิ่งหนึ่งที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอนคือ ท่อไอเสียที่ขาแต่งทั้งหลายชอบเอาท่อทีไม่ มอก. และให้เสียงดังมาใส่ หรือไม่ก็เอาท่อเดิมที่มี มอก. มาทำการเอาไส้กรองเสียงออก" ง่ะ ทั้งคัน มี ผิด อันเดียว ผิด แรง สะ ด้วย สิ เรา อิอิ
โดนที่ สน.คู่ขนานลอยฟ้าประจำเลย ชอบตั้งด่านตรงบรมราชชนนีตัดกับกาญจนาภิเษก พอรถที่ลงจากสะพานข้ามแยกมาทางขาออกบรมฯ ็เบียดออกขวาเข้าทางหลัก มอไซเราก็โดนเบียดเข้าเลน 2 ไปด้วย พอเลยมาเราก็เข้าซ้ายแต่ไม่ทันมัน โดนเรียกแจ้งข้อหาไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย เซ็งเป็ดเลย ก็เลยต่อว่าบอกว่าไม่มีตำรวจไปโบกรถที่ลงจากสะพานไม่ให้ออกขวาเลย เค้าเลยตะคอกกลับมาว่า มึ งเห็นไหม เค้าทำอะไรกันอยู่ ก็เลยเก็ท ครับ กะลังหาเงินกันอยู่โดยอาศัยสถานะการที่ตั้งด่านแล้วรถชะลอ รถที่ลงสะพานก็เบียดออกขวากัน ได้เงินกันเป็นกอบเป็นกำเลยนะนั่น ถ้าเทียบกับในประกาศแล้วน่าจะเข้าข่ายใบเตือนเหมือนกันนะครับ หรือว่า สน.คู่ขนาน ไม่เข้าร่วมโครงการนครบาลสมานฉันท์ ก็เลยไม่แจกใบเตือน มีแต่ใบสั่งล้วนๆ + อ้างถึง ตอบกลับ