เริ่มแรกขอเริ่มที่เบอร์หัวเทียนก่อนนะครับ หัวเทียนในแต่ละยี่ห้อนั้น มันบอกเบอร์ไม่ได้ครับ ตัวเลขของแต่ละแบรนด์ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเทียบกันจริง ๆ คงต้องใช้ตารางเทียบว่าแบรนด์นี้ เบอร์นี้ ตรงกับรุ่นอะไร ถึงจะชัวร์ และอย่างที่ใช้กันประจำ ๆ พูดกันติดปากก็ไม่พ้น "NGK" หัวเทียนทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่าหัวเทียนร้อน จะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ ส่วนหัวเทียนเย็นจะเป็นเบอร์สูง .... ว่าแต่ร้อนกับเย็นมันต่างกันยังงัย.... หัวเทียนร้อน "หัวเทียนร้อนเนี่ย...ตัวมันเองจะระบายความร้อนออกได้ช้า" เมื่อเราใช้งานจริง ในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมา จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้น หัวเทียนเย็น "หัวเทียนเย็นก็คือ...ตัวมันเองสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่าหัวเทียนร้อน" แต่ไม่ใช่ว่ามันจะหายร้อนเลยนะครับ อย่างนั้นไม่ใช่ จริง ๆ แล้ว หัวเทียนจะมีความร้อนสะสมอยู่ระดับหนึ่งเพื่อให้แห้งตลอดเวลาเป็นทั้งหัวเทียนร้อนแล ะเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นสามารถถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง มันเหมือนกับเหล็กเผาไฟนั่นแหละ เมื่อโดนน้ำ มันก็จะดัง "ฟู่" ควันฉุยแล้วก็หายไป แต่เหล็กนั้นมันก็ยังร้อนเหมือนเดิม ซึ่งเงื่อนไขมันเป็นอย่างนี้ "ไอดี" มันเป็น "ความชื้น" เมื่อความชื้นพ่นมาโดนอะไรสักอย่าง มันก็จะทำให้ของชิ้นนั้นเปียก ดังนั้นถ้าเราเปรียบของชิ้นนั้นเป็นหัวเทียน ถ้ามันเปียก ก็จะส่งผลให้ "หัวเทียนบอด" ผมลองยกตัวอย่างให้ดูนะครับ รถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งช้า ๆ ตลอด คลานกระดึ้บ ๆ ไปเรื่อย ๆ ชิว ชิว รถพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งถ้าในสถานการณ์นี้ควรเลือกใช้ "หัวเทียนร้อน" เพราะเราต้องการระบายความร้อนช้า ๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ไม่ให้ "หัวเทียนบอด".....ไงจ๊ะ... กลับกัน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความ "ชิ.....หาย" ได้ ต่าง ๆ นานา เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก และ เกิดการชิงจุดก็เป็นไปได้ "คือว่าหัวเทียนมันร้อนเกินไป มันก็เหมือนโลหะเผาไฟ ร้อนแดง เมื่อมีไอดีเข้า มันเป็นเชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียนปุ๊บ ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันที จากความร้อนสะสมของหัวเทียน" ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนที่ดีกว่า แต่ว่า.....มันก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานให้ถูกประเภท (เฉพาะกิจ) ด้วย อย่างแต่งเครื่องซิ่ง...สุดประเทศ..! มันจะมีความร้อนสูงมากกว่าเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป และส่วนมากมักเป็นเครื่องที่มีเทอร์โบ ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่อง (over lap) มาก จุดระเบิดไม่ค่อยดีในรอบต่ำ หัวเทียนที่ใช้จึงเป็นหัวเทียนเย็นเสมอ แต่ถ้าเรานำเครื่องซิ่ง วิ่งผิดประเภท (ในเมือง รถติด ๆ ) อันนี้ก็นต้องจบข่าว.... เพราะเครื่องประเภทนี้มันต้อง "เหนี่ยว" อย่างเดียว แต่ถ้ามาวิ่งผิดที่ รับรองวิ่งไม่ได้ เพราะเครื่องซิ่งเหล่านี้ ส่วนมากรอบต่ำมันวิ่ง "หมา ไม่แด....อยู่แล้ว" ยิ่งเจอรถติดในเมือง รับรองแม่เจ้า...ไม่รอด "บอดสนิท" ทุกราย ซึ่งถ้าจะมาใช้ในเมืองจริง ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็นหัวเทียนร้อนแทน แต่ถ้าดันทุรังมีหวัง "หลับ" ทุกราย ในปีลึก ๆ ที่ผ่านมา แกนหัวเทียนจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ถ้าเป็นพวก "แพลทตินั่ม" ก็จะมีลักษณะสามเหลี่ยมคล้ายยอด "พีลามิด" ซึ่งแกนเนี่ยสำคัญ มันเป็นตัวปล่อยให้กระแสไฟไหลผ่าน ยิ่งปลายยอดแกนยิ่งเล็กยิ่งดี ซึ่งมันมีที่มาที่ไปคือ ในห้องเผาไหม้มันมีกำลังอัดสูง ไฟฟ้า มันจะโดดยากบนเงื่อนไขที่มีแรงดันสูง แต่ที่เราเห็นในร้านประดับยนต์ทั่วไป กับชุด "display" ที่โชว์กระแสไฟแรง ๆ นั่นน่ะ ซึ่งถ้ามันอยู่บนเงื่อนไขสถาณการณ์จริง ๆ ในห้องเผาไหมแล้ว มันแทบจะไม่ยิงให้เห็นเลย ยิ่งเครื่องบูสต์หนัก ๆ นั้น แทบจะไม่ออกเลย ดังนั้นหัวเทียนรุ่นใหม่ ๆ ผู้ผลิตจึงเน้นแกนให้เล็กลง เพื่อให้กระแสไฟมาไหลอยู่ที่ปลายแกนแบบเข้ม ๆ แล้วค่อยยิงออกไป ซึ่งถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่เป็นแกนเบ้อเริ่ม ก็เพราะว่าโลหะสมัยก่อน มันยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนปัจจุบัน ถ้าทำแกนหัวเทียนออกมา เล็ก ๆ แล้ว ส่วนมากมักทนความร้อนไม่ไหว ก็ละลายในที่สุด ยุคปัจจุบันคำว่า "แพลทตินั่ม" เริ่มเบาหูลง เพราะอิทธิพลของ "อิริเดียม" เข้ามายืนแป้นแทน เนื่องจากจุดหลอมเหลวหรือจุดสึกหรอ จากการ "สปาร์ค" มันแทบจะไม่มี ดังนั้น "อิริเดียม" มันจึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เขี้ยวหัวเทียน ก็ว่ากันเรื่องแกนไปแล้ว แถมเรื่องของ "เขี้ยวหัวเทียน" ต่อเลยละกัน เขี้ยวหัวเทียนมันจะมีขนาดใหญ่ ๆ เป็นตัว U บ้าง V บ้าง สารพัดเลย และบางรุ่นก็ใจป้ำ คือ "ไม่มีเขี้ยว...!" แต่สุดท้ายเนี่ยก็คือ "ยิ่งเขี้วใหญ่ก็ยิ่งขวางทาง" อันนี้เป็นทริคเล็ก ๆ นะครับ ขณะที่เราขันหัวเทียน ฝั่งที่เป็นขาของเขี้ยวหัวไปทางฝั่งไอเสีย ส่วนด้านฝั่งที่เปิดอยู่ก็หันไปทางไอดีเสมอ ซึ่งตรงจุดนี้ มันสร้าง "เพาเวอร์" ให้กับรถอีกนิดหน่อยเลยล่ะ สาเหตุมาจาก มวลไอดี มันจะเข้มมากในห้องเผาไหม้ทางฝั่งไอดี พอหัวเทียนสั่งจุดระเบิด มันจะจุดฝั่งที่มีไอดีเข้มและขยายตัวไปจนเต็มห้องเผาไหม้ มันจะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า อายุการใช้งาน สำหรับอายุการใช้งานของมันไม่ตายตัว ส่วนมากมักไม่ค่อนสึก เว้นแต่พวก "ไฟแรงทรงเครื่อง" นั่นแหละ ใส่ออฟชั่นเสริม MSD ประมาณนี้ ก็อาจจะมีสึกบ้าง ซึ่งถ้าจะให้ชัวร์จริง ๆ ก็ควรตรวจสอบทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร น่าจะดีกว่า สายหัวเทียนควรจัดเก็บให้เป็นที่ สายหัวเทียนกับชุด CDI หรือพวกหัวฉีดเนี่ย ในรถแข่งก็อาจจะเป็นคอยล์แยก สายหัวเทียนมันก็จะพาดผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งลักษณะนี้มันสร้าง "ปาฏิหารย์" มาแล้ว ก็คือ "วิ่งแล้วสะดุด" แล้วหาต้นสายไม่เจอสักที ทำมาแล้วทุกอย่างดีหมด แต่ก็ไม่หาย ในที่สุดก็ตรวจเช็คเรื่องระบบจุดระเบิดอีกครั้งจึงรู้ว่า สายหัวเทียน ซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ จำพวกไฟแรงมาก ๆ มันพาดไปผ่าน CDI กับหัวฉีดน่ะสิครับ เกิดคลื่น สนามแม่เหล็กรบกวนเพียบ ทำให้เพี้ยนไปหมด ดังนั้น เราควรจัดให้เป็นระเบียบ อย่าให้มันยุ่ง เพื่อความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันอาการแก้ไม่ตกอีกด้วย.....
เจอกันวันเสาร์นะเพื่อน กูขอเวลาเซตรถก่อน เป็นไรอีกแล้วไม่รู้ สะดุดๆ ที่ 5-6พันรอบ อ่ะ เดี๋ยวก็เอาบีเอ็ม ไปวิ่งแม่งเลยนิ ปล.ถึงป้าเเฟง ฝากบอกพี่ทิพย์ด้วย รักนะ จุ๊บๆ