การเพิ่มกำลังอัด

การสนทนาใน 'EG 3D Club' เริ่มโดย dek EG, 29 เมษายน 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. dek EG

    dek EG Guest

    0
    0
    0
    ผมมีคำถามอยากสอบถามนิดนึงครับ

    1. ถ้าเราเพิ่มกำลังอัดจาก 11.5 ไปเป็น 11.7 โดยการเปลี่ยนลูกสูบ เรามีแนวโน้มที่จะได้แรงม้าเพิ่มขึ้นมั้ยถ้ามีเงื่อนไงดังต่อไปนี้
    - ใช้น้ำมัน 95 (RON) ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้ octane ที่สูงกว่า
    - ไม่มีการจูนส่วนผสมน้ำมัน:อากาศ ใหม่
    - ลด timing ได้ (เพราะมีแนวโน้มว่าจะน็อก)

    2. การเพิ่มกำลังอัดแต่ใช้น้ำมัน 95 เหมือนเดิม มีความเป็นไปได้มั้ยที่จะได้แรงม้าเพิ่มขึ้น? ถ้าได้, จะต้องทำอะไรเพิ่มเติมด้วย?

    3. การที่ static compression ratio เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนลูกสูบ มันจะทำให้ dynamic compression compression ration เพิ่มขึ้นด้วย มันหมายความว่าถ้าเราถอดหัวเทียนออก แล้ววัดกำลังอัด กำลังอัดหลังเปลี่ยนลูกสูบ ต้องเพิ่มขึ้นกว่าตอนก่อนเปลี่ยนลูกสูบใช่มั้ย?

    4. static compression ratio (จากการคำนวน) หรือ dynamic compression compression ration (จากการวัด) มีผลต่อการน๊อกของเครื่องยนต์มากกว่ากัน? เหตุผลที่สงใสเพราะว่า รถบางคันกำลังอัดสูงกว่าอีกคัน(static compression ratio) แต่กลับเติมน้ำมันที่มีค่า octane ต่ำกว่าได้ นั้นหมายความว่า มันเกี่ยวกับ dynamic compression compression ration ด้วยซิ)

    ช่วยกันหน่อยครับ ยิ่งคิดยิ่งมึน
     
  2. broom

    broom New Member Member

    923
    46
    0
    log in หน่อยก็ดีครับ

    11.5 กับ 11.7 ต่างกันนิดเดียว แรงม้าที่จะเพิ่มขึ้นมีน้อยแทบไม่ต่างกัน และก็มีโอกาสที่จะได้แรงม้าน้อยกว่า ถ้าน้ำมัน 95 ทนกับกำลังอัดที่ 11.5 ได้สูงสุดแล้ว ถ้าเพิ่มเกินไปกว่านี้ก็อาจจะน๊อค ซึ่งกล่องที่มีน๊อกเซนเซอร์ก็จะลดไฟอ่อนลง กำลังก็จะตก หรือถ้าลดไฟให้อ่อนลงเองก่อนที่เครื่องจะน๊อก กำลังก็จะตกลงเช่นกัน

    เพิ่มกำลังอัด เท่ากับเพิ่มแรงดันในห้องเผาไหม้ ทำให้การเผาไหม้รุนแรงขึ้น กำลังก็ได้เพิ่มขึ้น ถ้าจะให้ดีควรเพิ่มน้ำมัน หรือเพิ่มค่าออกเทน เพื่อป้องกันการน๊อก มีการจูนปรับตารางน้ำมันและตารางไฟใหม่เพื่อให้เหมาะกับกำลังอัดที่เพิ่มขึ้น


    ใช่ครับ แต่ อยู่ภายใต้ แคมตัวเดิม และองศาแคมเดิม

    มีผลทั้งสองตัวครับ แต่ให้น้ำหนักไปที่ dynamic com. ratio มากกว่า เพราะ static ได้มากจากการคำนวนจากปริมาตรลูกสูบ กับห้องเผาไหม้ ส่วน dynamic จะเป็นการวัดจริง และมีองศาของแคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นการวัดแบบ dynamic จะใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากกว่า (ถึงแม้ว่าจะเป็นการวัดที่รอบเดินเบาก็ตาม)

    ส่วนการเติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่า หรือต่ำกว่านั้น เกี่ยวข้องกับการออกแบบห้องเผาไหม้ เบอร์หัวเทียนร้อน-เย็น การระบายความร้อนของห้องเผาไหม้ กำลังอัด องศาไฟ องศาแคม a/f ratio และรายละเอียดปลีกย่อยครับ จะเอามาเทียบกับกำลังอัดอย่างเดียวไม่ได้ครับ

    คราวหน้าไม่ log in ไม่ตอบนะครับ...:)
     
  3. EGR

    EGR New Member Moderator

    862
    166
    0
    ชอบจังครับ กระทู้แบบนี้ ความรู้มั่ก ๆ
     
  4. nikirati

    nikirati New Member Member

    68
    1
    0
    ตามพี่ก้องว่านั่นแหละครับ
     
  5. peep

    peep Member Member

    190
    2
    18
    อ่านแล้วมึน ศัพท์สูงเกิน :p

    ขอตัวไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนนะครับ เด๋วกลับมาอ่านใหม่
     
  6. Dek EG

    Dek EG New Member Member

    25
    0
    0
    register เรียบร้อยแล้วครับ log in แล้วนะครับ (ผมถามเพิ่มด้วยครับ คุณ Broom)
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 เมษายน 2009
  7. balloon.com

    balloon.com New Member Member

    687
    4
    0
    อาจารย์พี่ก้องมาตอบอีกแล้ว ได้ความรู้เยอะเลยครับ
     
  8. MasTer Of JOLT SPORT.

    MasTer Of JOLT SPORT. New Member Member

    1,640
    38
    0
    ความรู้ดีครับ
     
  9. MAAA

    MAAA New Member Member

    96
    7
    0
    civicvertu ถูกใจสิ่งนี้
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้