วิธีการดูเบอร์หัวเทียนที่เราใช้ ว่ามันเหมาะกับรถเราหรือไม่... ดูที่บริเวณปลายหัวเทียน ถ้าเป็นเบอร์ ที่เหมาะสม ฉนวนแกนกลางจะเป็นสีเทาอ่อน หรือ สีสนิมน้ำตาล ถ้าบริเวณฉนวนแกนกลางเป็นสีดำของคาร์บอนจับหนา แสดงว่าความร้อนบริเวณปลายหัวเทียนไม่พอที่จะเผาไหม้ละอองน้ำมันได้หมด จำเป็นต้องลดลง 1 เบอร์ ถ้าบริเวณฉนวนแกนกลางเป็นสีขาวกระดาษ แสดงว่าความร้อนบริเวณปลายหัวเทียนร้อนเกินไป จำเป็นต้องเพิ่มขึ้น 1 เบอร์ รู้จักหัวเทียน หัวเทียนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด โดยทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูงจากคอยล์แล้วทำให้เกิดประกายไฟ กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน โดยทั่วไปจะกระโดดจากเขี้ยวกลางไปลงดินที่เขี้ยวด้านล่าง เพื่อทำการจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ค่าความร้อน ความยาวเกลียว ค่า ความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า ค่าความร้อน ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียน ความ ยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยาวเกลียวด้วยเพราะหาก ขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ความหมายของเบอร์หัวเทียน (NGK) BP6HS อักษรตัวแรก หมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน (A=18mm, B=14mm, C=10mm, D=12mm) อักษรตัวที่สอง หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนมาตรฐาน (P=มีกระเบื้องเคลือบฉนวน) ตัวเลขถัดไป หมายถึง หัวเทียนร้อนหรือเย็น โดยจะมีตั้งแต่เลข 2-13 (หรือมากกว่า) - เลขยิ่งน้อย หัวเทียนยิ่งร้อน, เลขยิ่งมาก หัวเทียนยิ่งเย็น ตัวอักษรหลังตัวเลข หมายถึง ความยาวของเกลียวหัวเทียน (E=19mm, H=12.7mm, L=11.2mm) อักษรตัวถัดไป หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ (S=หัวเทียนแบบมาตรฐาน, G=หัวเทียนรถแข่ง) หัวเทียน นอกจากจะเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟในระบบจุดระเบิดแล้ว อาการผิดปกติจากเครื่องยนต์บางอย่าง สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากสภาพของหัวเทียน ดังนี้ - หัวเทียนสภาพปกติ จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวมีการสึกหรอน้อย - มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวและด้านใน อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป, ไส้กรองอากาศอุดตัน, โช้คค้างหรือโช้คนานเกินไป ตั้งไฟอ่อน มากเกินไปหรืออาจเป็นที่ระบบจุดระเบิดขัดข้อง แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง - มีคราบน้ำมันเปียกดำ เกาะที่ปลายฉนวน,เขี้ยวไฟ อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึกหรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า หรือส่วนผสม (เชื้อเพลิงและอากาศ) หนาเกินไป แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น, ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ตามมาตรฐาน หรือ ถ้ายังไม่หาย ให้ทำการ ตรวจเช็ค ลูกสูบและแหวนลูกสูบ - กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัด อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล หรือบรรทุก ของหนักมาก สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่เกินไป หรือไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟ จุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ ใหม่ - กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะไกล หรือบรรทุกของ หนักมาก สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม บางเกินไป แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่ - เขี้ยวไฟละลาย อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุดและเป็นอันตรายต่อลูกสูบ สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม บางเกินไป แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่ เนื่อง จากการตรวจสภาพหัวเทียน สามารถบอกลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ได้ ตั้งแต่การบ่งชี้ว่าอัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงสัมพันธ์กัน เพียงไร อัตราส่วนผสมหนาหรืออัตราส่วนผสมบางหรือไม่ รวมถึงหัวเทียนยังสามารถบอกได้ถึงลักษณะการปรับองศาไฟจุดระเบิดว่า เครื่องยนต์นั้นๆ ปรับตั้งค่าองศาไฟจุดระเบิดอยู่ในตำแหน่งก่อนถึงศูนย์ตายบน (ไฟแก่) หรือหัวเทียนจุดระเบิดส่วนผสมไอดีหลังจากลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบน (ไฟอ่อน) ซึ่งสีของหัวเทียนสามารถบอกลักษณะต่างๆ ได้อย่างดี จุดนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการวินิจฉัยการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อทำการปรับแก้ไขระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อกันการสับสนก่อนการถอดหัวเทียนออกมาตรวจเช็ค สิ่งที่ควรกระทำมีดังนี้ - - ถ้าหัวเทียนมีสภาพแห้ง คราบที่เกาะบริเวณเขี้ยวหัวเทียนมีสีน้ำตาลอ่อนๆ สภาพเช่นนี้ เป็นลักษณะของการเผาไหม้ ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์แบบ การทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องยนต์อยู่ในสภาพปกติ - ถ้าหัวเทียนมีสภาพดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้บอกให้เราได้ทราบว่า ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนผสมที่มากกว่าอากาศ (ส่วนผสมหนา) ซึ่งคราบที่พบคือ ส่วนที่เหลือตกค้างของละอองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาก เกินกว่าความต้องการของเครื่องยนต์ การแก้ไขเบื้องต้นคือ ทำการปรับซ่อมของระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ใหม่ หัวเทียนมีสภาพชุ่มน้ำมันเครื่อง ลักษณะเช่นนี้คือ อาการที่บ่งบอกว่าเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ และมีการเล็ดลอดของน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สาเหตุอาจเกิดจากลูกสูบและแหวนลูกสูบเกิดการสึกหรอ กระบอกสูบ อาจมีรอยขูดขีดที่ลึกเป็นร่องบริเวณผนังกระบอกสูบ หรืออาจเกิดการเสื่อมสภาพของซีลไกด์วาล์วบนฝาสูบ อาการเช่นนี้ ควรนำรถส่งให้ช่างทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุง หัวเทียนมีลักษณะกร่อน และไหม้ เมื่อพบหัวเทียนลักษณะเช่นนี้แสดงว่าการทำงานของเครื่องยนต์อยู่ใน อุณหภูมิที่สูงเกินไป สาเหตุอาจเนื่องมาจากการเลือกใช้เบอร์ของหัวเทียนไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้ งาน การระบายความ ร้อนสะสมที่เกิดขึ้นกับส่วนปลายของหัวเทียนไม่สามารถคายความร้อนออกสู่ภาย นอกได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจเกิดจาก การชิงจุดระเบิด (PRE-IGNITION) เนื่องจากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิร้อนจัด จนส่วนปลายของเขี้ยวระอุจนเป็น สีแดงเกือบหลอมละลายนั่นเอง หากพบคราบเขม่าสีขาวหรือสีเหลืองจับอยู่ ลักษณะเช่นนี้บ่งชี้ให้ทราบว่าองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ เกิดขึ้นภายหลังลูกสูบเลื่อนพ้นศูนย์ตายบน หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ไฟอ่อน การแก้ไขที่ควรทำคือ ปรับตั้งตำแหน่งองศาการ จ่ายไฟของระบบจุดระเบิดใหม่ให้มีองศาไฟที่แก่ขึ้น นอกจากนี้หลังการปรับองศาการจุดระเบิดใหม่ ควรทำการเปลี่ยนหัวเทียน ใหม่ให้มีขนาดเบอร์ที่ร้อนขึ้น หลังจากที่เราทำการตรวจวิเคราะห์ และปรับแก้ไขระบบต่างๆ ให้เหมาะสม ก่อนทำการประกอบหัวเทียนกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ควรล้างทำความสะอาดหัวเทียนให้เรียบร้อยด้วยน้ำมันเบนซิน ควบคู่ไปกับการใช้แปรงทาสีขนาดเล็ก แปรงลวดทองเหลือง เบอร์ละเอียดแบบด้ามจับ และกระดาษทรายเบอร์ละเอียดทำความสะอาดคราบต่างๆ ที่เกาะอยู่รอบหัวเทียนให้มีสภาพพร้อมใช้ อีกสิ่งที่ควรทำคือ วัดค่าระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพของการเกิดประกายไฟจุดระเบิดที่ เต็มเปี่ยม โดยค่าระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนมาตรฐานจะประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร (0.024-0.031 นิ้ว) ซึ่งการตั้งค่าระยะห่างที่แม่นยำถูกต้องควรใช้ฟิลเลอร์เกจชนิดลวดกลม (ROUND WIRE GAGE) ขอขอบคุณ google มากครับ สำหรับที่มาของข้อมูลนี้ หวังว่าคงช่วยพี่น้องในคลับเลือกหัวเทียนได้ง่ายขึ้นนะครับ.......