ก็อบมาจาก Racing Forum (ขออนุญาติคุณ prototype01 ด้วยนะคับ)

การสนทนาใน 'Primera & Presea Club' เริ่มโดย whitebear, 16 มิถุนายน 2009

< Previous Thread | Next Thread >
  1. whitebear

    whitebear New Member Member

    1,191
    11
    0
    เดือน สิงหาคม เตรียมตัวเตรียมใจรถติดยาว ควรออกเดินทางเร็วกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงเส้นทางเหล่านี้ หรือสอบถามเส้นทางจาก จส.100 ก่อนออกเดินทาง :cool::cool:

    ข่าวประชาสัมพันธ์

    พล.ต.ต.ภานุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น.ผู้รับผิดชอบงานด้านการจราจร ตำรวจนครบาล แจ้งเตือนประชาชนโปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง 13 สะพานข้ามแยกทั่วกรุงเทพมหานคร ในชั่วโมงเร่งด่วน เช้า - เย็น เนื่องจากจะมีการ “ปรับปรุงพื้นผิวจราจร - ทุบทิ้งสร้างใหม่” มีกำหนดเริ่มเดือนสิงหาคม 2552 นี้

    หลังจากที่กรุงเทพมหานครได้ตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้างของสะพานเหล็ก ข้ามทางแยกทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 13 แห่ง โดยเป็นสะพานที่ใช้งานมานานในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา ในส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนที่พบเห็นโดยตรงคือพื้นผิวการจราจรกะเทาะ เห็นแผ่นเหล็กเป็นจุดๆ และในจุดที่เป็นรอยต่อสะพานที่ผิวคอนกรีตและวัสดุหลุดล่อนขรุขระ ราวสะพานหลุดขาด หรือบิดเบี้ยวผิดรูปจากการเกิดอุบัติเหตุแล้ว สิ่งสำคัญที่เป็นความเสียหายรุนแรงที่ผู้ใช้รถใช้ถนนมองไม่เห็นแต่ส่งผลต่อ ความปลอดภัยมากที่สุดคือในส่วนของโครงสร้างสะพาน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่าต้องทำการซ่อมแซมบูรณะ เพราะสะพานมีความเสียหายและเสื่อมสภาพ

    โดยเฉพาะสะพานข้ามแยกอโศก-เพชรบุรีเป็นสะพานที่มีความเสียหายรุนแรงมากที่ สุด ตัวโครงสร้างเกิดสนิมกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างผุกร่อนและเสียรูป ซึ่ง กทม.จะต้องรื้อทิ้ง ก่อสร้างสะพานใหม่ทดแทนของเดิม ส่วนสะพานอื่นๆ เช่น สะพานข้ามแยกพระราม 9-รามคำแหง มีการชำรุดของน็อตยึดโครงสร้างหลวม หลุดขาด เสี่ยงต่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง
    สะพานข้ามแยกประชานุกูลพบยางรองคานสะพานเสื่อมสภาพ น็อตยึดแผ่นยางหลุดเอียงเสียรูป ขอบเหล็กรองรับแผ่นยางเป็นสนิม แตกร้าว
    สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง โครงสร้างคอนกรีตเสื่อมสภาพ กะเทาะหลุดล่อน เหล็กเสริมเป็นสนิม

    ทั้งนี้ จะมีสะพานที่ต้องดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงในโครงการนี้ 12 แห่ง ซึ่งสำนักการโยธา กทม.ได้หารือร่วมกับฝ่ายจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) สน.ที่เกี่ยวข้อง และบก.จร. เพื่อพิจารณาแผนการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบการจราจร โดยจัดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามพื้นที่ใกล้เคียงและถนนที่ต่อเนื่องในเส้นทาง คือ


    กลุ่ม 1 อยู่ในแนวถนนรัชดาภิเษก ถนนพหลโยธินที่เป็นเส้นทางหลักมีปริมาณการจราจรจำนวนมาก ประกอบด้วย
    สะพานข้ามแยกประชานุกูล ปิดการจราจรบนสะพานต่อเนื่องฝั่งละ 45 วัน
    สะพานวงศ์สว่าง ฝั่งละ 45 วัน
    สะพานเกษตร ปิดการจราจรต่อเนื่อง 15 วัน
    สะพานรัชโยธิน ฝั่งละ 15 วัน
    และ สะพานพงษ์เพชร ฝั่งละ 45 วัน


    กลุ่มที่ 2 อยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ในแนวรัชดาภิเษกเช่นกัน แต่เป็นพื้นที่ของฝั่งธนฯ ได้แก่
    สะพานท่าพระ ปิดการจราจรต่อเนื่องฝั่งละ 45 วัน
    และสะพานบางพลัด ฝั่งละ 45 วัน


    กลุ่มที่ 3 ในเส้นทางถนนพระราม 9 และถนนเพชรบุรี เป็นกลุ่มสะพานในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย
    สะพานข้ามแยกคลองตัน ปิดการจราจรต่อเนื่องฝั่งละ 45 วัน
    ส่วนสะพานพระราม 9 - รามคำแหง และ สะพานพระราม 9 - อสมท เบื้องต้นไม่มีการปิดการจราจร


    กลุ่มที่ 4 เป็นสะพานอิสระที่อยู่ห่างจากกลุ่มอื่น ประกอบด้วย
    สะพานสามเหลี่ยมดินแดง ปิดการจราจรต่อเนื่อง 30 วัน
    และสะพานพระรามที่ 4 (ไทย-ญี่ปุ่น) ปิดการจราจรฝั่งละ 45 วัน
    โดยขณะนี้ผู้รับเหมาได้เริ่มเข้าพื้นที่ สร้างนั่งร้าน เคลียร์พื้นที่ด้านล่าง รอวันพร้อมที่จะปิดสะพาน ห้ามใช้ต้นเดือน ส.ค. ทั้งนี้ทางสำนักการโยธา ได้กำหนดแนวทางการทำงานของผู้รับเหมา โดยระหว่างที่ปิดการจราจรบนสะพานห้ามปิดการจราจรบนถนนด้านล่างเด็ดขาด ทำให้ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ

    พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ดูแลงานจราจร กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างสะพานครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรอย่างแน่นอน เนื่องจากในการดำเนินการซ่อม ทางบริษัทที่ปรึกษาแจ้งว่าจะต้องปิดการจราจรต่อเนื่อง เพราะเป็นการซ่อมตัวโครงสร้างที่ไม่สามารถปิดการจราจรเพื่อให้ทำงานใน ตอนกลางคืนแล้วคืนผิวจราจรในตอนกลางวันเหมือนกับการก่อสร้างทั่วๆ ไป ซึ่งทุกจุดเป็นเส้นทางที่มีรถใช้เป็นประจำอยู่แล้ว กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ สะพานประชานุกูล สะพานวงศ์สว่าง ที่เป็นแนวเส้นทางวงแหวนรัชดาฯ ที่มีปริมาณรถใช้จำนวนมาก ได้ให้คำแนะนำกับบริษัทที่ปรึกษาว่า ไม่ควรปิดซ่อมสะพานประชานุกูล สะพานวงศ์สว่าง และสะพานพงษ์เพชรพร้อมกัน และอีกพื้นที่หนึ่งคือย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ห้ามปิดสะพานเกษตรและสะพานรัชโยธินพร้อมกัน นอกจากนี้สะพานสามเหลี่ยมดินแดงก็เป็นอีกจุดที่สำคัญ เป็นเส้นทางรับรถเข้าสู่กลางเมืองที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเป็นสะพานแบบเดินทางทางเดียวซึ่งมีปริมาณจราจรหนาแน่น สิ่งที่ทำได้คือการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบก่อนที่จะมีการปิด สะพาน เพื่อให้ผู้ใช้รถได้วางแผนการเดินทางและหาเส้นทางเลี่ยง ต้องร่วมมือกันทั้งในส่วนของหน่วยงานและประชาชน
     
    เสก R10 ถูกใจสิ่งนี้
  2. jeff03

    jeff03 New Member Member

    610
    1
    0
    ดีนะ ที่ทำงานอยู่บ้านนอก :D
     
  3. BLUEprimino

    BLUEprimino Member Member

    584
    5
    18
    ช่ายครับ อยู่บ้านนอกเหมือนกัน ซำบายจาย...
     
  4. Udong

    Udong New Member Member

    319
    0
    0
    สะพานเกษตร ปิดการจราจรต่อเนื่อง 15 วัน
    สะพานรัชโยธิน ฝั่งละ 15 วัน

    โอ๊ย
    ใช้ทุกวันเลยอะ

    คิดไม่ออกเลย
    ว่าจะต้องเผื่อเวลารถติดก่อนไปเรียนอีกนานแค่ไหน
     
  5. whitebear

    whitebear New Member Member

    1,191
    11
    0
    โคตรจะซวยเลยอะ ช่วงนี้ทำถนนขุดท่อในซอยบ้าน ตอนนี้ท้องลายไปหมดแล้ว

    เดี๋ยวสัญญางานเสร็จสิงหาพอดี มารถติดถนนหน้าบ้านต่ออีก

    5 5 5 บ้ากันไปข้างนึง ทุกวันนี้มันยังติดไม่พอหรือไงว่ะ


    ไม่รู้จะหนีไปไหนแล้วอะ เซ็ง !!!
     
  6. RISA

    RISA New Member Member

    247
    0
    0
    ดีนะที่บ้านอยู่ชานเมือง ไม่มีเรื่องรถติดให้ปวดหัว
     
  7. เสก R10

    เสก R10 New Member Member

    807
    8
    0
    ลาดกระบัง..สบายๆ..อิอิ
     
  8. mommamz

    mommamz New Member Member

    964
    4
    0
    เซง ๆ ๆ อยากทำงานบ้านนอก เบื่อ รถติด อิอิ :D
     
  9. tOon`

    tOon` Well-Known Member Member

    2,324
    43
    48
    รถติด ดีกว่าเจอะน้ำท่วม 555
     
  10. mommamz

    mommamz New Member Member

    964
    4
    0
    เออ จริง อิอิ :D
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้