ภาษีรถคำนวณจากอะไรครับ รึว่าคำนวณจากเครื่อง ของผม เปอโยต์505 ตอนเครื่องเดิม1800 ภาษีพันกว่าบาท เปลี่ยนเป็น 1JZ GE 2500CC ภาษีประมาณ สองพันห้า ทอนนิดหน่อย
เท่าที่ทราบนะครับ ก็จากซี.ซี. แรงม้า แล้วก็รถเกินสิบปีก็จะเสียคงที่ไม่มากกว่านี้แล้ว ยกเว้นเปลี่ยนเครื่องเพิ่มc.c.ขึ้นมาแบบรถคุณนะครับ
รถนั่งส่วนบุคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง( รถเก๋ง )คิดภาษีตาม ซีซี เครื่องยนต์ครับ รถบรรทุก คิดภาษีตามน้ำหนักรถครับ รู้แค่นี้ครับ
ก็พวกรถจากโรงงานที่เครื่องเกิน2.4 หรือแรงม้าเกินสองร้อย(อันนี้ไม่แน่ใจ) ก็โดนภาษีอีกแบบนึง สังเกตุรถใหม่ เครื่องจะทำมาแค่2.4ถ้า c.c.เกินจากนี้เช่น2.6หรือ3.0ก็โดนเพิ่มอีกหลายตังครับ
วิธีการคำนวณภาษีวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิต แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ผลิตในประเทศ กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ กรณีที่ผลิตในราชอาณาจักร ม.8(1) การคำนวณภาษี/ฐานภาษี ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด โดยคำนวณภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต = (ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม+ภาษีสรรพสามิต+อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษีสรรพสามิต = ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม x อัตราภาษีสรรพสามิต 1-(1.1x อัตราภาษีสรรพสามิต) หากระบุอัตราภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า ให้คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตทั้ง 2 อัตราก่อน และให้ใช้อัตราที่คิดได้สูงกว่า ตัวอย่างการคำนวณภาษี กรณีที่ผลิตในราชอาณาจักร บริษัท รถยนต์ไทย จำกัด นำสินค้าออกจากโรงงานเป็นรถยนต์นั่ง ยี่ห้อ มาสด้า รุ่น RX-11 ความจุกระบอกสูบ 2,960 ซี.ซี. กำลังเครื่องยนต์ 225 แรงม้า (HP) จำนวน 20 คัน ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม คันละ 500,000 บาท จงคำนวณค่าภาษีสรรพสามิต และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย วิธีการคำนวณ ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี จากมูลค่ารถยนต์ต่อหน่วย = 500,000 บาท มูลค่ารวมรถยนต์ 20 คัน = 500,000 x 20 = 10,000,000 บาท ต้องใช้อัตราภาษีตามูลค่าร้อยละ 50 เนื่องจากแรงม้าเกิน 220 แรงม้า แม้ว่าความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 C.C. ก็ตาม แทนค่าในสูตร ภาษีสรรพสามิต = 10,000,000 x (50/100) = 5,000,000 บาท เพราะฉะนั้นจะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 5,000,000 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ10 ของค่าภาษี = 500,000 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 5,500,000 บาท กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ม.8(3) ผู้นำเข้ามีหน้าที่เสียภาษีในอัตราภาษีที่กำหนดโดยให้ถือมูลค่า คือ ราคา C.I.F. ของสินค้าบวกด้วยอากรค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและค่าธรรมเนียมอื่น ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต = มูลค่าดังกล่าว x อัตราภาษีสรรพสามิต = ( C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ) x อัตราภาษี 1- ( 1.1 x อัตราภาษี ) ตัวอย่างการคำนวณภาษี กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ บริษัท ผู้นำเข้ารายหนึ่ง นำเข้ารถยนต์นั่ง ชนิดสเตชั่นแวกอน จำนวน 1 คัน ขนาดความจุกระบอก 3400 ซี.ซี. 198 แรงม้า(1-10) ราคา ซี.ไอ.เอฟ 607,914.42 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง +ค่าประกันภัย)อากรขาเข้า 486,331.54 บาท และ อัตราภาษีสรรพสามิต ตามมูลค่าร้อยละ 50 วิธีการคำนวณ ภาษีสรรพสามิต = ( C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ) x อัตราภาษี 1 - ( 1.1 x อัตราภาษี ) ราคา C.I.F = 15,000,000 + 2,000 + 8,000,000 = 15,802,000 บาท อากรขาเข้า = 3,000,000 x 0.1 = 300,000 บาท ภาษีสรรพสามิต = ( 607,914.42 + 486,331.54 ) x 50/100 1-(1.1 x 50 / 100) = 547,122.98 / 0.45 = 1,215,828 บาท เพราะฉะนั้นจะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 1,215,828 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ10 ของค่าภาษี = 121,582.80 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 1,337,410.8 บาท ที่มา:http://edweb.excise.go.th/index.php?id=137
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ วิธีคิดค่าภาษี รย.1 บุคคลธรรมดา คิดตาม cc รถ 1 - 600 CC คูณ 0.5 = Tax 601 - 1799 CC คูณ 1.5 - 600 = Tax 1800 CC ขี้นไป คูณ 4 - 5100 = Tax อายุรถ *** ส่วนลด** ปีที่ 6 ลด 10 % ปีที่ 7 ลด 20 % ปีที่ 8 ลด 30 % ปีที่ 9 ลด 40% ปีที่ 10 ขี้นไป ลด 50 % รย. 2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน - ถ้าน้ำหนักรถไม่เกิน 1800 คำนวนภาษี 1300 บาท - ถ้าน้ำหนักรถเกิน 1800 คำนวนภาษี 1600 บาท รย. 3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (เก็บตามน้ำหนักรถ (กิโลกรัม) * ไม่มีส่วนลด * 501- 750 = 450 บาท 751 - 1000 = 600 บาท 1001 - 1250 = 750 บาท 1251 - 1500 = 900 บาท 1501 - 1750 = 1050 บาท 1751 - 2000 = 1350 บาท 2001 - 2500 = 1650 บาท เช่นซื้อ Toyata Avanza เครื่องประมาณ 1298 cc จัดเป็น รย.1 บุคคลธรรมดา 1,298 x 1.5 = 1,947 เสียภาษี 1,947 - 600 = 1,347 บาท ซื้อ Toyota Vigo Double Cap 3000 cc (4ประตู) จัดเป็น รย.1 บุคคลธรรมดา เสียภาษี (3000 x 4) - 5100 = 6900 บาท แต่ถ้าซื้อ Vigo Extra Cap 3000 cc ( 2ประตู) จัดเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคล หนัก 1540 kg. เสียภาษี 1050 บาท