พื้นฐานของดิสก์เบรก ส่วนประกอบของดิสก์เบรกคือ แผ่นผ้าเบรก คาลิปเปอร์ แผ่นจานโรเตอร์ ส่วนประกอบของดิสก์เบรก ใครที่ไม่เคยเห็นดิสก์เบรก ให้ไปดูที่ล้อจักรยาน มีหลักการทำงานคล้ายๆกัน ลักษณะของเบรกล้อจักรยานเหมือนกับก้ามปู ภาษาอังกฤษเรียกว่าคาลิปเปอร์ มันจะบีบแผ่นผ้าเบรกเข้ากับขอบของล้อจักรยานทำให้รถจักรยานที่กำลังวิ่งลดความเร็วลง ส่วนในระบบดิสก์เบรก แผ่นผ้าเบรกจะอัดเข้าแผ่นโรเตอร์ไม่ใช่อัดเข้ากับล้อโดยตรง แรงที่อัดผ้าเบรกมาจากระบบไฮดรอลิก แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผ้าเบรกกับแผ่นโรเตอร์จะชลอความเร็วของแผ่นโรเตอร์ลง รถที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานจลน์ค่าหนึ่ง เมื่อเราเบรกรถ ความเร็วของรถจะลดลง พลังงานจลน์จะลดลงด้วย พลังงานที่ลดลงนี้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน ในรูปของแรงเสียดทานที่เสียดสีอยู่กับแผ่นโรเตอร์ ความร้อนนี้ต้องรีบระบายออกอย่างรวดเร็ว จึงต้องเจาะรู (Vent) ไว้ที่ดิสก์เบรก รูระบายความร้อนบนดิสก์เบรก (Vent) รูระบายความร้อนนี้อยู่ระหว่างแผ่นโรเตอร์ 2 แผ่น ถ้าเป็นรถขนาดใหญ่ ใช้ปั๊มลม อัดอากาศผ่านเข้าไปในรูเพื่อเร่งการระบายความร้อน เบรกที่สามารถปรับตัวเองได้ ระบบ คาลิปเปอร์ลอยแบบลูกสูบเดี่ยว (single-piston floating caliper) ของดิสก์เบรก เป็น ระบบที่สามารถปรับตัวเองได้ คือสามารถ self-centering และ self -adjusting ตัวของคาลิปเปอร์สามารถเลื่อนจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งเมื่อแตะเบรก มันจะรักษาระยะการเบรกให้อยู่ตรงกึ่งกลางเสมอ ให้สังเกตดูว่า ไม่มีสปริงดึงผ้าเบรกออกจากแผ่นดิสก์ ในสภาวะปกติเมื่อยังไม่ได้เบรก ผ้าเบรกจะอยู่ห่างจากแผ่นโรเตอร์ระยะใกล้ๆค่าหนึ่ง เหมือนกับลอยห่างๆจากแผ่นโรเตอร์ ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าลูกสูบของเบรกที่ล้อมีขนาดใหญ่กว่า ลูกสูบมาสเตอร์ (master cylinder) ถ้าผ้าเบรกห่างจากแผ่นโรเตอร์มาก ลูกสูบ มาสเตอร์ ต้องใช้ของเหลวจำนวนมาก อัดลูกสูบที่เบรกให้ติดกับโรเตอร์ นั่นก็หมายความว่าผู้ขับขี่ต้องกดเบรกจนจม จึงจะสามารถเบรกได้ สำหรับรถรุ่นเก่า ลูกสูบจะมีหลายตัว เช่นถ้าเป็นคู่ เมื่อกดก็กดทั้งคู่ แต่ระบบแบบกดทั้งคู่นี้ไม่ค่อยได้ผล เปลี่ยนไปใช้ระบบลูกสูบเดี่ยว และทำเป็นก้ามปู ราคาถูกและได้ผลกว่า ระบบเบรกฉุกเฉิน ในรถที่มีดิสก์เบรก 4 ล้อ เบรกฉุกเฉินหรือเบรกมือไม่ใช้ระบบไฮดรอกลิก แต่ใช้ระบบกลไกเป็นการดึงสายเคเบิลแทน ซ่อมแซมเบรก วิธีซ่อมแซมเบรกที่ทำกันบ่อยสุดคือการเปลี่ยนผ้าเบรก ดิสก์เบรกมีโลหะที่ใช้วัดความหนาของผ้าเบรกเรียกว่า wear indicator บริเวณที่เป็นรูของแผ่นผ้าเบรก เป็นจุดที่ใช้หมุดยิงเพื่อยึดผ้าเบรก เมื่อผ้าเบรกใกล้หมด แผ่นโลหะที่ใช้วัดจะสัมผัสกับแผ่นโรเตอร์และทำให้เกิดเสียง ็หมายความว่าถึงเวลาเปลี่ยนผ้าเบรกได้แล้ว มีช่องว่างอยู่ที่คาลิปเปอร์ เมื่อมองผ่านไปสามารถเห็นได้ว่าผ้าเบรกเหลือมากน้อยเท่าไร ช่องเปิดของคาลิปเปอร์ ถ้าผ้าเบรกใกล้หมด และผู้ขับขี่ขี้เหนียวคือไม่ใส่ใจ และไม่ยอมเปลี่ยนเสียที แผ่นโรเตอร์จะขูดกับของแข็ง และทำให้เกิดเป็นรอยที่แผ่นโรเตอร์ขึ้น สูญเสียความเรียบไป ถ้าเกิดขึ้นการเบรกจะไม่เรียบ และอาจเกิดการสั่นได้ วิธีแก้ไขคือเจียรจานเบรก โดยใช้เครื่องกลึง การเจียรผิวจานเบรกให้เรียบไม่ควรจะทำบ่อยนัก และไม่ใช่ทำทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรก ควรทำเมื่อเกิดรอยขึ้นมากๆเท่านั้น เพราะจะทำให้จานเบรกบางลง และอายุการใช้งานสั้นลงด้วย ภายในสเปคของเครื่องยนต์ มีตารางบอกว่าความหนาของจานเบรกน้อยสุดเป็นเท่าไร
- - รถแรงเกินไป 55 ก็มันร้อนจัดน่ะซี้ ---------- Post added at 22:01:17 ---------- Previous post was at 22:00:59 ---------- - - รถแรงเกินไป 55 ก็มันร้อนจัดน่ะซี้ ---------- Post added at 22:02:00 ---------- Previous post was at 22:01:17 ---------- - - รถแรงเกินไป 55 ก็มันร้อนจัดน่ะซี้ + อ้างถึง ตอบกลับ