คนที่บอกให้คุณไม่ควรเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่ติดไฟแดงบ่อย ๆ ก็คือ คนที่เขามีความรู้และทราบพื้นฐานการทำงานของเกียร์ดีว่ามันทำงานอย่างไร ส่วนคนที่บอกว่าปลดเลยเปลี่ยนเป็น N ทุกๆ ไฟแดง นั่นคือคนที่ไม่เคยศึกษาว่าพื้นฐานจริง ๆ ของเกียร์นั้น มันทำงานอย่างไร แต่จะตอบโดยอาศัยประสบการณ์ที่ใช้บนท้องถนนที่ว่า "มันก็ยังไม่เห็นพัง" หรือ "ก็ยังใช้ได้อยู่เลยนี่นา" พูดง่ายๆ เขายังไม่เคยใช้เกียร์จนถึงอายุขัย หรือ จนเกียร์เกิดอาการ "คลัทช์ลื่น" ใส่ D แล้วกดคันเร่งแล้วรอบเครื่องขึ้นเอา ขึ้นเอา แต่รถไหลไปได้หน่อยเดียว ก็เลยไม่ทราบว่าอายุการใช้งานของเกียร์สามารถรักษาไว้ให้นานได้อย่างไร ถ้าหากได้มีโอกาสอ่านหนังสือหรือตำรับตำราที่เกี่ยวกับพื้นฐานของเกียร์ออโตเมติกโดยไม่ได้ฟังใครมาปลุกล้างสมอง คุณจะทราบว่าระบบเกียร์ออโตเมติกนั้น ประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกัดกันตลอดเวลา ไม่ได้แยกตัวออกจากกันแบบเกียร์แมนนวล การส่งแรงจะต้องล็อคชุดเฟือง 1 ชุดให้หยุดอยู่กับที่ แต่ให้เฟืองอีก 2 ชุดขบส่งกัน การส่งแรงจากตำแหน่งเกียร์ว่าง ไปยังเกียร์1 จะอาศัยการจับของชุด Band brake ส่วนการเปลี่ยนเกียร์จากเกียร์ 1 ----> เกียร์อื่น ๆ จะอาศัยการทำงานของ multiple disc clutch Band Brake มีการสึกหรอในทุก ๆ ครั้งที่มีการจับให้ชุดเฟืองหยุดอยู่กับที่ (เพื่อเริ่มส่งแรงจากชุด torque converter ไปยังชุดเฟือง) ถ้าหากมันจับอยู่ตลอดเวลา ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหากมันต้องปล่อย ๆ จับ ๆ อายุการใช้งานมันก็จะสั้นลง ในขณะที่การเหยียบเบรคอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไรต้องสูญเสียมากไปกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยระบบ เบรคก็ไม่ได้ร้อนขึ้น เพราะว่าจานดิสเบรคหรือดุมเบรคไม่ได้หมุนผ้าเบรคก็ไม่สึกหรอ เพราะว่าล้อไม่หมุน แรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุดแม่ปั๊มเบรคพังหรืออายุการใช้ งานลดลง การเปลี่ยนจาก D --> N--->D --> N --->D --> N --->D --> N --->D--> N --->D บ่อย ๆ นั้น อาจจะไม่เห็นว่าชุดเกียร์มันจะพังในวันนี้ ซึ่งมันก็เหมือนกับการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่จัด ๆ ในวันนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องตายในวันนี้เหมือนกันเพียงแต่ว่าอายุมันจะสั้นลง จะตายอย่างน่าเวทนา ฉันใดก็ฉันนั้น เกียร์ออโตก็คล้าย ๆ กันครับยกเว้นว่าไม่ใช่รถของคุณเองเป็นรถของบริษัท หรือ ว่าใช้รถไม่เคยเกิน 2 ปี แล้วขาย อันนี้แล้วแต่สะดวกนะ