ส่วนใหญ่ ค้ำโช้ค หรือ ค้ำสารพัดต่าง ๆ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี นั้น คุณรู้ไหมว่า "ค้ำ" ตัวที่สำคัญที่สุดคือ "ค้ำโช้คหน้า" ลองนึกภาพตามนะครับ คือเมื่อเรายกเครื่องยนต์ออกมา เราจะมองเห็นห้องเครื่องเป็นช่องสี่เหลี่ยมที่ไม่มีอะไรเลย ซึ่งตรงจุดนี้แหละเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของตัวถังรถ โดยเฉพาะด้านบน เพราะไม่มีอะไรค้ำเลย ซึ่งต่างจากด้านล่างเยอะ (เพราะด้านล่างมันยังชิ้นส่วนรถ เช่น คานล่าง มาเป็นตัวช่วยค้ำอยู่แล้ว ผลลัพธ์ของการใส่ค้ำโช้คคือ "มันจะช่วยดามตัวถังจุดนั้น" ดังนั้นค้ำตรงไหนที่เกี่ยวกับมุมล้อมันก็จะแข็งที่จุดนั้น เมื่อขณะเราขับรถเข้าโค้งตัวถังมันจะเอนรับโค้งด้วย ( จุดนี้เป็นข้อดีของ ตัวถังแบบ MONO COCQUE ) แต่เมื่อเราค้ำตัวถังไว้หลายจุด ตัวถังมันก็จะแข็งขึ้น เพื่อการตอบสนองที่ดีขึ้น และอีกอย่างหนึ่งคือเพื่อไม่ให้มีตัวแปรในการเซ็ทช่วงล่าง เพราะเมื่อรถเคลื่อนที่มุมล้อจะเปลี่ยนแปลงได้ตามการบิดตัวของตัวถัง รถที่นำมาทำเป็น "รถดริฟท์" ส่วนใหญ่จะเน้นใส่ค้ำกันทุกจุด เพื่อให้ตัวถังมันแข็งแบบถื่อๆ จะได้ไม่รับกับโค้ง คือตั้งใจไว้ว่าจะให้รถเกิดอาการ "OVER STEER" ในการเข้าโค้งนั่นเอง ซึ่งรถที่ใช้แข่งเซอร์กิตหรือรถทุกประเภทก็เช่นกัน ต้องเซ็ท "OVER STEER" เพราะถ้า "UNDER STEER" จะเลี้ยวเข้าโค้งไม่ได้ "หน้าแถ" ดังนั้นรถเซอร์กิตจะเน้นถึง "GRIP" มากที่สุด การเซ็ทรถสำหรับแข่งขันเซอร์กิต มันต้องตรวจสอบ การกระจายความสมดุลหน้าและหลัง เพื่อไม่ให้รถมันแข็งทั้งคัน แต่ถ้าเราทำให้ตัวถังแข็งแล้ว เราก็ต้องทำช่วงล่างให้อ่อนลงระดับหนึ่งเพื่อเฉลี่ยแรง เพราะว่าขณะที่รถวิ่ง ตัวถังจะขยับเขยื้อนตามด้วย มันทำหน้าที่เปรียบเสมือนระบบรองรับแรงสั่นสะเทือนในตัวด้วย หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ---> http://www.uucmotorwerks.com/STB/wha..._bar_more.html