ทะเบียน รถนำเข้า มี 2 แบบ 1 จดประกอบ ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากมาก ต้องเสียเงินหลายขั้นตอน ทั้งต้องตรวจมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วย เฉพาะ มอก.ถ้าไม่ผ่านก็จบ เป็นเศษเหล็ก ตรวจได้ 3 ครั้ง และไปเสียภาษี สรรพสามิต และศุลกากร ก็จบ 2 จดรถเก่านำเข้า ต้องครบครองที่ญี่ปุ่น ไม่น้อยกว่า 1-2 ปี และต้องมีใบอินวอย์ ของคนที่ญี่ปุ่นส่งมาด้วย และแจ้งทางญี่ปุ่นว่าจะนำกลับมาใช้ในประเทศไทย โดยไปแจ้งที่กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เช่นกัน เค้าจะออกใบ และคำนวนภาษีให้ก่อน ตัดสินใจว่าจะนำเข้าหรือไม่ มีการตัดค่าเสื่อมราคาให้ 3 ลักลอบ นำเข้า และให้ศุลกากรจับ แล้วจึงไปประมูลจากกลุ่มศุลกากร ขั้นตอนง่าย แต่ภาษีก็แพง อาศัย จนท. กรมศุลกากรช่วย ก็ง่าย โดยกรมศุล จะออกใบให้ไปขอเล่มทะเบียนที่ ขนส่ง ท้ายเล่มมีบันทึก ด้วยว่า เป็นรถประมูล http://www.customs.go.th/Formality/P...Vehicles.jsp#2 1. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั่วคราวและจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมง เข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้องปฏิบัติตามหลักเกณ์และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน 1.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว (1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ (2) ทะเบียนยานพาหนะ (3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ (4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ (5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว (6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice (7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ( สัญญาประกันการส่งกลับ (9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 1.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โดยสารเข้ามาพร้อมกับยานพาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร (5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะมอบสำเนาใบขนสินค้าพิเศษ ให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อนำยานพาหนะออกไปนอกประเทศไทย 1.3 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล (1) ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ขณะนำเข้าและสำเนา 1 ฉบับ พร้อมกับแบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) 1 ฉบับ แก เจ้าหน้าที่ศุลกากร (2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าทำไว้กับกรมศุลกากรขณะนำเข้า 1.4 ข้อควรทราบในการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล (1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนทั้งสิ้น (2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไทยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีกแต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า (3) การประกันและการค้ำประกัน ผู้นำเข้าสามารถวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าทางสำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้ค้ำประกันตนเองได้ ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้จริงๆ กรมศุลกากรก็อาจพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ำประกันตนเองได้ การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประเภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน (4) การบังคับตามสัญญาประกัน เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อนครบกำหนดดังกล่าวว่าไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นการชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ผู้นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท (5) คำว่า เรือสำราญและกีฬา หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร ์เรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งหลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างประเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย 1.5 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถติดต่องานพิธีการ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ 2. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวรการนำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลหากในลักษณะนี้ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าภาษีอากรตามปกติ หากเป็นรถยนต์ใหม่ก็ให้ปฏิบัติพิธีการนำเข้าเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าอื่น ๆ แต่หากเป็นรถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วจะถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้ามาในประเทศไทย ในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่เป็นการนำเข้าชั่วคราวหรือการนำเข้าเฉพาะตัวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เท่านั้น 2.1 หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร (1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน (2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสืออนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมาแสดงในการนำเข้าด้วย (3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามาเพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึงวันที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นอยู่ในระหว่างอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนและมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ 2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร (1) เอกสารทั่วไป ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill) เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี) ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ (2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแล้ว ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 2.3 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ (1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบต่อฝ่ายการนำเข้าที่ 4 ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า (2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ (3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร (4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุลกากร 2.4 หลักเกณฑ์การประเมินอากร (1) กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF ( ราคา + ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง ) เป็นฐานการประเมินอากรนำเข้า (2) ราคารวมค่าภาษี เป็นราคาที่รวมการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต ( ถ้ามี ) เข้าไว้ ณ. วันที่ชำระค่าภาษีรถยนต์ (3) กรณีที่เป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้ อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว 1. จดทะเบียนใช้แล้วไม่เกิน2 เดือน หักส่วนลด 2.50% 2. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน หักส่วนลด 5.00% 3. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน หักส่วนลด 7.50% 4. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 เดือน หักส่วนลด 10.00 % 5. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 10 เดือน หักส่วนลด 12.50 % 6. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี หักส่วนลด 15.00 % 7. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 1ปี2 เดือน หักส่วนลด 16.67 % 8. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี4 เดือน หักส่วนลด 18.33 % 9. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี6 เดือน หักส่วนลด 20.00 % 10. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี8 เดือน หักส่วนลด 21.67 % 11. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี10 เดือน หักส่วนลด 23.33 % 12. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี หักส่วนลด 25.00 % 13. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี แต่ไม่เกิน 2ปี2 เดือน หักส่วนลด 26.67 % 14. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี4 เดือน หักส่วนลด 28.33 % 15. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี6 ดือน หักส่วนลด 30.00 % 16. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี8 เดือน หักส่วนลด 31.67 % 17. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี10 เดือน หักส่วนลด 33.33 % 18. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 2 ปี10 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี หักส่วนลด 35.00 % 19. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี2 เดือน หักส่วนลด 36.67 % 20. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี4 เดือน หักส่วนลด 38.33 % 21. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 3ปี6 เดือน หักส่วนลด 40.00 % 22. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี8 เดือน หักส่วนลด 41.67 % 23. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี10 เดือน หักส่วนลด 43.33 % 24. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี หักส่วนลด 45.00 % 25. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี2 เดือน หักส่วนลด 46.67 % 26. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี4 เดือน หักส่วนลด 48.33 % 27. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน4 ปี6 เดือน หักส่วนลด 50.00 % 28. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี8 เดือน หักส่วนลด 51.67 % 29. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 4 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี10 เดือน หักส่วนลด 53.33 % 30. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน5 ปี หักส่วนลด 55.00 % 31. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี2 เดือน หักส่วนลด 55.83 % 32. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี4 เดือน หักส่วนลด 56.67 % 33. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี6 เดือน หักส่วนลด 57.50 % 34. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี8 เดือน หักส่วนลด 58.33 % 35. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี10 เดือน หักส่วนลด 59.17 % 36. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี หักส่วนลด 60.00 % 37. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี2 เดือน หักส่วนลด 60.50 % 38. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี4 เดือน หักส่วนลด 61.00 % 39. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี6 เดือน หักส่วนลด 61.50 % 40. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี8 เดือน หักส่วนลด 62.00 % 41. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี10 เดือน หักส่วนลด 62.50 % 42. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี หักส่วนลด 63.00 % 43. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี2 เดือน หักส่วนลด 63.50 % 44. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี4 เดือน หักส่วนลด 64.00 % 45. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี6 เดือน หักส่วนลด 64.50 % 46. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี6เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี8 เดือน หักส่วนลด 65.00 % 47. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี8เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี10 เดือน หักส่วนลด 65.50 % 48. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี หักส่วนลด 66.00 % 49. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี2 เดือน หักส่วนลด 66.33 % 50. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี4 เดือน หักส่วนลด 66.67 % 51. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี6 เดือน หักส่วนลด 67.00 % 52. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี8 เดือน หักส่วนลด 67.33 % 53. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี10 เดือน หักส่วนลด 67.67 % 54. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี หักส่วนลด 68.00 % 55. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี แต่ไม่เกิน 9 ปี2 เดือน หักส่วนลด 68.33 % 56. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี4 เดือน หักส่วนลด 68.67 % 57. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี6 เดือน หักส่วนลด 69.00 % 58. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี8 เดือน หักส่วนลด 69.33 % 59. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี10 เดือน หักส่วนลด 69.67 % 60. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน10 ปี หักส่วนลด 70.00 % 61. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 ปี --------ประเมินราคาตามสภาพรถ----------- (4) หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าภาษีอากร เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดไว้ชัดเจน 2.5 ตารางแสดงอัตราภาษีอากร ประเภทรถยนต์ ขนาดปริมาตรช่วงชักภายใน กระบอกสูบ อากร (%) สรรพสามิต (%) (ตัวคูณ) ภาษีเพื่อ มหาดไทย* (%) VAT (%) อัตราอากร รวม (%) ของ CIF 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล - ไม่เกิน 2400 ซีซี - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า - ไม่เกิน 3000 ซีซี หรือมีกำลังเกิน 220 แรงม้า 80 80 80 35 (0.5691057) 42 (0.7468124) 48 (1.0169492) 10 10 10 7 7 7 213.171 250.82 308.051 2. รถยนต์นั่งตรวจการณ์(OFF ROAD) ตามประกาศกระทรวง- การคลัง - ไม่เกิน 2400 ซีซี - เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า 80 80 29 (0.4258443) 29 (0.4258443) 10 10 7 7 182.819 182.819 * ภาษีเพื่อมหาดไทยจะคิดเป็น 10 % ของภาษีสรรพสามิต วิธีคิดอัตราอากรรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดปริมาตรช่วงชักภายในกระบอกสูบ ไม่เกิน 2400 ซีซี ถ้าราคา CIF ของรถยนต์นั่ง = 100 อากรขาเข้า = 80% ภาษีสรรพสามิต = 35% ภาษีเพื่อมหาดไทย = 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 7% วิธีคำนวณ 1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF x อัตราอากรขาเข้า) = (100 x 0. = 80 2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต/ 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต) = (100 + 80) x 0.35/ 1-(1.1 x 0.35) = 180 x 0.5691057 = 102.439 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย = 102.439 x 0.1 = 10.2439 4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย = 100 + 80 + 102.439 + 10.2439 = 292.6829 5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = 292.6829 x 0.07 = 20.4878 รวมอัตราอากรทั้งหมด = 1 + 2 + 3 + 5 = 213.171 2.6 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายละเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร สามารถติดต่อฝ่ายการนำเข้า ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ เอามาจาก : http://www.hondahut.com/forum/index.php?topic=7769.0