มาดูหลักการทำงานของเจ้าเทอร์โบแปรผันกันกันครับ ว่ามันแตกต่างจากเทอร์โบแบบทั่วไปอย่างไร มีให้ดูทั้ง บทความและ วีดีโอ ครับ เมื่อรู้ข้อดีของมันแล้วก็สามารถนำมาปรับใช้กับเราได้นะครับ เทอร์โบแปรผัน เป็นเทคโนโลยีความแรงที่มีใช้กันมานานมากแล้วในต่างประเทศ ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก ด้วยชุดกลไกลที่ซับซ้อนมากกว่าเทอร์โบชาร์จเจอร์ทั่วไป ทำให้เทอร์โบแปรผันไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ด้วยความสามารถในการรีด พลังแรงบิด แรงม้าของเครื่องยนต์ได้ดีกว่าเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบเดิมๆ ทำให้บริษัทผลิตเทอร์โบชาร์เจอร์ได้หันมาคิดค้นวิจัยพัฒนาเทอร์โบแปรผัน ให้มีความทนทานต่อการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำต่างๆมากมาย ในทั่วโลกมีบริษัทมีผลิตเทอร์โบแปรผันส่งให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำมากมาย ซึ่งแต่ละบริษัทนั้นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น Garrett เรียก VNT (Variable Nozzle Turbine) olset เรียกว่า VGT (Variable Geometry Turbo) แล Borg Warner เรียกว่า VTG (Variable Turbine Geometry) ซึ่งแต่ละตัวอักษรย่อ แต่ละบริษัทนั้น ก็มีหลักการทำงานของเทอร์โบแปรผันที่เหมือนกัน สำหรับในแผ่นดินสยามประเทศชื่อของเทอร์โบแปรผันนั้นก็มีชื่อแตกต่างกันไป ค่ายดัง TOYOTA แห่งเมืองปากน้ำ ก็ใช้ชื่อ เทอร์โบแปรผันแบบ VN Turbo สิงห์ทะเลทราย Mitsubishi ก็ใช้ชื่อเครื่องยนต์ดีเซล VG Turbo ส่วน Isuzu ก็ใช้ชื่อ Dmax ซุปเปอร์คอมมอนเรล VGS Turbo จนถึงค่าย ZOOM ZOOM ก็ยังเป็น Mazda BT-50 เพาเวอร์คอมมอนเรล VGT เทอร์โบ เช่นกัน เทอร์โบแปรผันนั้นดีกว่าเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบเดิมๆอย่างไร อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเทอร์โบชาร์จเจอร์นั้นมีการทำงานด้วยการรับค่าไอเสียจากการเผาไหม้ มาหมุนใบพัดด้านเทอร์ไบน์ และส่งกำลังหมนุนนั้นไปยังฝั่งด้านคอมเพรสเซอร์ ซึ่งติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกัน เพื่อดูดอัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ การที่เทอร์โบชาร์จเจอร์จะดูดอัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ได้เร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเสื้อเทอร์โบชาร์จเจอร์ หรือ ที่เรียกกันว่าโขง ( โขงหน้าและโขงหลัง ) การที่เทอร์โบชาร์ชาร์จเจอร์มีโขงด้านไอเสียขนาดเล็ก จะทำให้เทอร์โบชาร์เจอร์มีการ(บูสต์) อัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ได้เร็ว เพราะต้องการค่าไอเสียเข้าไปหมุนใบพัดน้อย ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งในช่วงต้นดี และกลางดี แต่ช่วงปลายไม่ดี เพราะ ค่าไอเสียจากการเผาไหม้มีมาก โขงด้านไอเสียมีขนาดเล็กทำให้ระบายไอเสียไม่ทัน จึงเกิดอาการอั้นเร่งไม่ออก ส่วนโขงด้านไอเสียที่มีขนาดใหญ่ ต้องค่าไอเสียจากการเผาไหม้ในปริมาณมากๆ เพื่อที่จะมาหมุนใบพัดด้านไอเสีย ในรอบเครื่องยนต์น้อยๆ-ปานกลาง ค่าไอเสียส่งผ่านมายังโขงด้านไอเสียมีปริมาณน้อย ทำให้การ(บูสต์) อัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ช้า ทำให้มีอัตราเร่งในช่วงต้น และกลางทำได้ไม่ดี แต่ช่วงปลายให้อัตราเร่งได้ดี ด้วยข้อจำกัดของขนาดโขงด้านไอเสียที่มีผลต่อสมรรถนะในการขับขี่รถยนต์ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้นำเทคโนโลยีของเทอร์โบแปรผันมาใช้อยู่ในเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่น เพื่อตอบสนองการขับขี่ได้ในทุกรอบเครื่องยนต เทอร์โบแปรผันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบเดิม แต่โขงด้านไอเสียจะใหญ่กว่า ภายในโขงด้านไอเสียนั้นมีครีบ ทำหน้าที่กั้นอากาศไอเสียให้ไหลลงมายังกังหันเทอร์ไบน์ ได้เร็วขึ้นในรอบต้น แต่ในรอบเครื่องยนต์สูง ครีบก็จะกางออกเพื่อรองรับไอเสียที่ที่ออกมามากขึ้น “ การเปิด-ปิดของครีบในเทอร์โบแปรผันนั้นเปรียบเสมือนการบีบสายยาง ปริมาณน้ำน้อย ( ไอเสียน้อย) บีบสายยางให้เล็กน้ำได้พุ้งไกล ปริมาณน้ำมาก ( ไอเสียมาก) บีบสายยางเล็กน้อย หรือไม่ต้องบีบสายยาง น้ำก็พุ้งได้ไกล การทำงาน การเปิดครีบออกของ Vane จะได้รับการควบคุมมาจาก แอกชัวเอเตอร์ ที่มีลักษณะเหมือนกระป๋องเวสเกตธรรมดา หรือมอเตอร์ไฟฟ้าที่ควบคุมการหมุนโดย ECU ต่อแกนมาดันชุด Roller ให้หมุนเพื่อไปขยับครีบให้กางออก และหุบเข้าได้ พอรอบต่ำครีบก็จะหุบตัวลงไอเสียก็จะมีความเร็วทำให้ใบพัดเทอร์ไบน์หมุนได้เร็วขึ้น จนสามารถสร้างแรงดันอากาศได้อย่างรวดเร็วไม่รอรอบ ในรอบสูงครีบก็จะกางตัวออกไอเสียก็จะมีความเร็วทำให้ใบพัดเทอร์ไบน์หมุนได้เร็วขึ้น ทำให้ไม่มีการอั้นอัตราเร่งความเร็วปลายได้ดี ด้วยการทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์ และ เทอร์โบแปรผันที่มีการหมุนเป็นแสนรอบเพื่ออัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ ก่อนที่ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งควรที่ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาซัก 5 นาที เพื่อให้แกนเทอร์โบฯ ที่หล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่อง ได้ระบายความร้อนเสียหน่อย เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน นี่วีดีโอประกอบนะครับ [media]http://www.youtube.com/watch?v=kp8h5XLLbGA[/media] หวังไว้ว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับพี่ๆทุกคนได้ดีนะครับ ขอบคุณมากครับ
[media]http://www.youtube.com/watch?v=isP2qK8P4Oc[/media] [media]http://www.youtube.com/watch?v=Gc2awh0O0Bc&feature=related[/media]