กาแฟแพงที่สุดในโลก ลองชิมดูหน่อยไหมครับ

การสนทนาใน 'NV Club' เริ่มโดย Nitcha, 25 กุมภาพันธ์ 2010

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Nitcha

    Nitcha New Member Member

    640
    1
    0
    เพื่อน ๆ ในคลับหลายท่านอาจจะชอบดื่มกาแฟ วันนี้ผมได้ไปเจอบทความจากเว๊บของเพื่อน เรื่องกาแฟ แพงที่สุดในโลก ( Most expensive coffee ) เลยเอามาฝากกันครับ

    [​IMG]

    Kopi Luwak โคปิ ลูแว็ค เป็นกาแฟโรบัสต้าชนิดหนึ่ง และเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก เนื่องจากขบวนการผลิตอันยุ่งยาก แปลกประหลาด มีออกสู่ต้องตลาดประมาณปีละ 500 ปอนด์ต่อปี ทำให้มันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 41,000 บาท และสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่แห่งบนโลกนี้ ซึ่งประเทศที่ผลิตได้ก็มีดังต่อไปนี้

    * ประเทศอินโดนีเซีย ที่เกาะสุมาตรา (Sumatra) , เกาะจาวา ( Java ) เกาะสุลาเวสี ( Sulawesi )
    * ประเทศฟิลิปปินส์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kape Alamid )
    * ประเทศทิมอร์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า kafé-laku )
    * ประเทศเวียดนาม ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า weasel coffee )
    ขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )
    * ปลูกกาแฟในที่ที่มีสัตว์ที่เรียกว่า ชะมดสายพันธ์ุเอเซีย (Asia Palm Civet) แต่ชาวพื้นเมืองจะเรียกชะมด ชนิดนี้ว่า "ลูแว็ค"
    * เม็ดกาแฟสุกชะมดมากิน เม็ดกาแฟที่สุก
    * เมื่อชะมดกินเม็ดกาแฟเข้าไป กรดและเอนไซม์ในกระเพาะอาหารของชะมดทำปฏิกิริยาทางเคมี คล้ายกับการหมัก(Fermentation)
    * รอชะมดถ่ายมูลออกมา แล้วตามเก็บ แต่สามารถรวบรวมได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากชะมดมีนิสัยขับถ่ายในสถานที่เดิมๆ เสมอ
    * นำมูลที่ได้มาเลือกเฉพาะเม็ดกาแฟ
    * นำเม็ดกาแฟที่ได้ไปตากให้แห้ง
    * นำเม็ดกาแฟที่ตากแห้งดีแล้วมาคั่วจนแห้งสนิด เป็นอันจบขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค

    [​IMG]

    ความพยายามเลียนแบบ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )

    แมสสิโม มาร์โคเน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ใช้เวลาสืบเสาะอยู่นานกว่าจะพบว่า ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย มีชะมดกัดกินกาแฟ แต่จากการทดสอบรสชาติก็ยังด้อยกว่าของอินโดนิเซีย เนื่องจากเป็นชะมดต่างพันธุ์กัน

    แมสสิโม มาร์โคเน ยังค้นพบว่า กระบวนการย่อยอาหารของชะมด ต้องผ่านแบคทีเรียและ เอนไซม์ในท้องของชะมด เป็นกรรมวิธีเดียวกับการหมักกาแฟแบบหนึ่งที่เรียกว่า "การหมักเปียก" และยังใช้แบคทีเรียชนิดเดียวกันด้วย คือ แบคทีเรียแล็กติกเอซิด มาร์โคเนมั่นใจว่าการหมักกาแฟเปียกน่าจะให้ผลใกล้เคียงกับกาแฟที่ผ่านการ ย่อยในท้องของชะมดแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง

    [​IMG]

    ทำไมกาแฟ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak ) จึงอร่อย

    * ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ
    * ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนบางชนิดในเม็ดกาแฟ ถูกสกัดออกเมื่อนำไปคั่วแล้ว กาแฟจะมีรสชาติขมน้อยลงนิดหน่อย
    * มันผลิตจากอึของชะมด

    [​IMG]

    อ่านจบแล้ว จะรับสักถ้วยไหมครับ
     
  2. didomon

    didomon New Member Member

    2,380
    2
    0
  3. jaturong03

    jaturong03 Well-Known Member Member

    2,084
    91
    48
    โอ้วสุดยอดกาแฟ
     
  4. duckgolo

    duckgolo New Member Member

    101
    4
    0
    คงจะอร่อยน่าดู
     
  5. U*

    U* New Member Member

    171
    1
    0
    ม่ายเอาด้วยละคราฟ...
     
  6. ton van

    ton van New Member Member

    202
    1
    0
    อยากลองสักแก้ว........คงได้แต่ฝัน

    ---------- Post added at 19:39:24 ---------- Previous post was at 19:39:09 ----------

    อยากลองสักแก้ว........คงได้แต่ฝัน
     
  7. num _nissannv

    num _nissannv New Member Member

    181
    8
    0
    น่ากินนะ
     
  8. virus_x

    virus_x New Member Member

    483
    3
    0
    เอาตังไปแต่ง nv ดีกว่าอะ แพงเว่อไปอะ
     
  9. singcoohteam

    singcoohteam New Member Member

    5,303
    108
    0
    ถ้าถูกหวยก็จะเอาซักถ้วยอิอิอิ
    ขี้ชะมด


    ---------- Post added at 20:40:38 ---------- Previous post was at 20:40:16 ----------

    ถ้าถูกหวยก็จะเอาซักถ้วยอิอิอิ
    ขี้ชะมด
     
  10. nv1020

    nv1020 Well-Known Member Member

    3,195
    302
    83
    หอมสดชื้น.............แต่วิธีการได้มาไม่อยากรู้เลยถ้าได้ชิม -_-'
     
  11. SUPER...SUB...!

    SUPER...SUB...! New Member Member

    571
    13
    0
    ดีนะเป็นคนไม่กินกาแฟ.......กินแต่นม เด็ก ดี........
     
  12. gar555

    gar555 New Member Member

    71
    0
    0
    หงึย กินอึ ชะมด ให้ฟรียางมะกินเลย เพราะไม่ทานกาแฟ อิอิ โชคดีของเรา
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้