อยากทราบหน้าที่ ของ ค้ำหลังล่าง กะ ค้ำล่างหลัง ครับ

การสนทนาใน 'EK Group' เริ่มโดย Little DragonZ, 26 กุมภาพันธ์ 2010

< Previous Thread | Next Thread >
  1. Little DragonZ

    Little DragonZ New Member Member

    566
    16
    0
    ไม่ทราบว่า ทั้งสองอย่างทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรครับ
    แล้วก็ sub-frame กะ ปีกนกอลูมิเนียมด้วยนะครับ
    รถใช้งานทุกวัน จำเป็นไหมครับ
    ขอบคุณ EK CLUB ครับ
     
  2. NT.SHOP

    NT.SHOP New Member Member

    523
    1
    0
    รอผู้รู้มาตอบครับ .. ติดตามด้วยคน
     
  3. x1542

    x1542 New Member Moderator

    1,252
    156
    0
    ค้ำหลังล่าง กะ ค้ำล่างหลัง มันไม่ต่างกันหรอกครับ อันเดียวกันแหละ


    ประโยชน์ของค้ำหน้าและหลังบนหรือเรียกอีกอย่างว่า Upper Front and Rear Sturt Bar

    ทำหน้าที่ยึดที่หัวเป้าโช้คด้านบนทั้งซ้ายและขวา เหมือนกับเอาอะไรไปดาม(กดเบ้าโช้ค)ไว้ไม่ให้ดิ้นตัว อาการต่างๆที่พูดมาเช่น
    - เวลาเข้าโค้ง(อย่างแรง)ท้ายบัด ไม่นิ่ง วิ่งโคลง ก็จะไม่โคลง รถนิ่งขึ้น
    - เวลาตกหลุม โดดคอสะพาน มีความรู้สึกว่าจั้ม ทรงตัวไม่ดี ก็จะทรงตัวดี เวลาโดดสะพานก็จะคุมได้
    - เวลาเจอน้ำขั้งข้างทาง(อย่างเช่นในกรณีฝนตกเป็นต้น) บางทีเรามาด้วยความเร็วทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ ก็สามารถลุยได้
    - เวลาวิ่งทางตรงด้วยความเร็วสูงๆ มีความรู้สึกว่าเหมือนจะลอย ไม่นิ่ง โคลงบ้างอะไรประมาณนี้ ก็จะไม่ลอย
    จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอีกอย่างนึงในกรณีเกิดการชน ก็จะไม่ทำให้ตัวถังบิดตัว

    ประโยชน์ค้ำหลังหน้าและล่างล่างหรือเรียกอีกอย่างว่า Lower Arm Front and Rear

    ทำหน้าที่ยึดบูทปีกนกซ้ายและขวาไม่ให้ดิ้น เมื่อไม่ดิ้น เวลาตกหลุมจะไม่เกิดอาการเซเช่นกัน อาการอีกอย่างนึงคือเวลาตกหลุมบ่อยๆหรือกระแทกๆบ่อยๆ ก็จะทำให้ศูนย์ล้อที่ตั้งไว้เปลียนเร็วกว่าปกติ เมื่อศูนย์ล้อเปลี่ยน ก็จะทำให้เกิดอาการต่อมาคืออาการกินยางซึ่งอาจจะเกิดกินได้ทั้งด้านในและด้านนอก เมื่อใส่ค้ำล่างหลังลงไปก็จะทำให้ศูนย์ที่ตั้งไว้ไม่เคลื่อน(มากจนเกินไป) เมื่อศูนย์ที่ตั้งไว้ไม่เคลื่อน อาการกินยางก็ไม่เกิดขึ้น และทำให้การเข้าโค้งดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด(ในกรณีค้ำล่างหลัง) (อันนี้สังเกตจากการขับของผมเอง เวลาขึ้นห้างที่มีทางโค้งๆหักศอกหรือโค้งเยอะๆ ผมจะลองเข้าเร็วๆ ปกติท้ายมันจะปัด ผลจากการใส่คือเข้าโค้งนิ่งขึ้น และเข้าใจว่าเวลาDriftแล้วไม่ให้บัดต้องมีอะไรมาช่วยคงประมาณนี้เหมือนกัน)

    วัสดุที่นำมาใช้ทำค้ำโช๊ค

    เหล็ก (Steel) เป็นวัสดุที่ดีราคาถูก สามารถบิดตัวได้เมื่อเกิดการกระเทือนแรงๆ เมื่อสะเทือนแรงๆก็สามารถเป็นสนิมเนื่องจากน้ำที่กระเด็นเข้าจากใต้ท้องรถ(เช่นกรณีลุยฝนเป็นต้น) ราคาขายค่อนข้างถูกเนื่องจากทำง่าย

    สแตนเลส (stainless steel) เป็นวัสดุที่แข็งแรงทนต่อการกัดกร่อนของคลอรีนและน้ำทะเลมีน้ำหนักเบา ในโลหะผสมที่ผสมกับเหล็กและอะลูมิเนียมจะเป็นโลหะสีเงินขาวเบาและแข็งแรงมาก ราคาแพงกว่าอลูมิเนียม ซึ่งถ้าเป็นไทเทเนียมแท้(จากนอก) ราคา(ค้ำโช้ค)จะเกินหมื่นแน่นอน(ในกรณีของนอก)

    อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นวัสดุที่แพงขึ้นมาจากสแตนเลด แข็งกว่าสแตนเลด ไม่เป็นสนิม มีการยืดหยุดตัวสูง แข็งแรง และน้ำหนักเบา มีการใช้อะลูมิเนียมในอุตสาหกรรมหลายประเภท เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ราคาขายตามท้องตลาดแพงกว่าเหล็กและสแตนเลด บางอันเกือบถึงหมื่นก็มี(ในกรณีเป็นของนำเข้า ถ้าเมืองไทยก็ไม่เท่าไร)

    ไทเทเนียม (Titanium) เป็นวัสดุที่แข็งแรงทนต่อการกัดกร่อนของคลอรีนและน้ำทะเลมีน้ำหนักเบา ในโลหะผสมที่ผสมกับเหล็กและอะลูมิเนียมจะเป็นโลหะสีเงินขาวเบาและแข็งแรงมาก ราคาแพงกว่าอลูมิเนียม ซึ่งถ้าเป็นไทเทเนียมแท้(จากนอก) ราคา(ค้ำโช้ค)จะเกินหมื่นแน่นอน(ในกรณีของนอก)

    เครดิต .... เวปรถต่างๆๆใน Google ครับ

    ขอบคุณครับ
    :)
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้