Q.เติมลมด้วย "ไนโตรเจน"ดีอย่างไร? A.ข้อดีของลมไนโตรเจน 1.ยืดอายุ การใช้งานของยางได้นานขึ้น เพราะการขยายตัวของ ยางมีน้อยมาก ทำให้ลดการระเบิดของยางได้ 2.การขับขี่นุ่มนวลและทรงตัวดีขึ้น ต่างจาก ลมธรรมดาซึ่งเวลาวิ่งไกลๆ แรงดันในยางรถจะขยายตัวทำให้ยางแข็งเพิ่มขึ้น ข้อเสีย 1.ราคาแพง 4 ล้อ ประมาณ 200 บาท 2.ถ้าลมอ่อน เติมเองที่บ้านไม่ได้ ต้องไปที่ร้านที่มีบริการเติมลมไนโตรเจนเท่านั้น เติมไนโตรเจน หลายคนสนใจ เพราะความเชื่อหรือโฆษณาว่า เติมไนโตรเจน 100% แทนลม (อากาศปกติ) แล้วแรงดันลมยางจะเปลี่ยนแปลงน้อยเมื่อยางร้อน ในความเป็นจริง อากาศก็มีไนโตรเจนผสมอยู่กว่า 75% อยู่แล้ว มีออกซิเจนกว่า 20% การขยายตัวของอากาศปกติกับไนโตรเจนล้วน ๆ เมื่อเกิดความร้อนขึ้น จึงไม่ต่างกันมาก ปัญหาที่สำคัญกว่าและถูกมองข้าม เป็นเรื่องของความชื้นหรือไอน้ำที่ผสมอยู่ในลมที่ถูกเติม เพราะปั๊มลมส่วนใหญ่มีการกรองเอาไอน้ำออกไม่หมด หรือไม่กรองเลย ซึ่งในการเติมลมยางตามสถานที่ทั่วไป จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงลมผสมไอน้ำได้ เพราะไม่สะดวกที่เราจะตรวจสอบเมื่อความชื้นกัลบกลายเป็นน้ำ แรงดันรวมของยางจะลดลง แต่เมื่อยางร้อน น้ำจะกลายเป็นก๊าซ แรงดันจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเติมลมด้วยไนโตรเจนล้วน ๆ จึงอาจจะดีในแง่ที่มีความชื้นปนอยู่น้อยมาก หากอยากเติม ก็ควรสะดวกทั้งในการเติมครั้งแรก และการเติมครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าเติมได้แค่ครั้งแรกแล้วครั้งต่อไปเติมด้วยลมธรรมดา (ที่มีไอน้ำปน) ประโยชน์ของไนโตรเจนก็จะลดลงไป ขับทางไกล / บรรทุกหนัก / เพิ่มแรงดันลม การขับทางไกลด้วยความเร็วและต่อเนื่อง ยางจะเกิดความร้อนมากกว่าปกติ จากการเคลื่อนไหวของยางในทุกส่วน ลมยางที่ร้อนจะขยายตัวเพิ่มแรงดัน จนลดการเกาะถนน และการทรงตัว ถ้าแรงดันเพิ่มขึ้นมาก ๆ และร้อนจัด ยางก็อาจระเบิดได้ บางคนก็เลยคิดและทำแบบผิด ๆ โดยเติมลมยางอ่อนกว่าปกติ เพราะคิดว่าจะเป็นการเผื่อล่วงหน้า เวลายางร้อน แรงดันจะได้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน แต่ในการใช้งานจริง แรงดันกลับเพิ่มขึ้นมาก เพราะยางร้อนจากการบิดตัวง่าย และเป็นทั้งแรงดันที่สูง และเป็นลมร้อน ยางจึงเสี่ยงต่อการระเบิด ในความเป็นจริง ยางที่จะใช้ในการขับทางไกลหรือความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ควรเติมไว้ให้มีแรงดันลมสูงกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อเป็นการลดการบิดตัวของยาง จึงทำให้ความร้อนน้อยกว่ายางที่ลมอ่อน แม้จะเริ่มต้นด้วยแรงดันที่สูงกว่า แต่เมื่อร้อนแล้วมีการขยายตัวของลมยางน้อยกว่า การเพิ่มแรงดันจึงมีไม่มาก และไม่ร้อนจัด หากบรรทุกน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็ควรเพิ่มแรงดันลมยาง ไม่เฉพาะแต่ปิกอัพ แต่รวมถึงรถเก๋งด้วย เพราะถ้าใช้แรงดันลมยางเท่าเดิม หน้ายางสัมผัสจะมากขึ้น ยางจะแบนลง บริเวณที่แบนลงจึงหมุนยากขึ้น ตามหลักการง่าย ๆ คือ ลมยางมีขอบเขตการรับน้ำหนักตามแรงดันที่ไส่ไว้ เช่น หน่วยแรงดันเป็นปอนด์/ตารางนิ้ว ถ้ายางล้อนั้นมีน้ำหนักกดลง 300 ปอนด์ เติมลมไว้ 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว ยางก็จะถูกกดลงจนมีหน้าสัมผัส 10 ตารางนิ้ว ถ้ามีน้ำหนักกดลงมาเพิ่มเป็น 420 ปอนด์ หน้าสัมผัสก็ต้องเพิ่มเป็น 14 ตารางนิ้ว นั่นคือ ยางต้องแบนลง ลดความกลม หมุนยาก อัตราเร่งอืด และยางต้องถูกบิดตัวมาจนร้อนมาก เพราะเมื่อรถยนต์แล่น ก็จะพยายามทำให้ยางกลม ในขณะที่หน้าสัมผัสของยางแบนกว่าปกติ เรื่องต่าง ๆ ของยางรถยนต์ล้วนมีความน่าสนใจ เพราะเกี่ยวข้องทั้งสมรรถนะ และความปลอดภัย ส่วนใหญ่ที่ร้านยางจะมีนะครับ ถ้าหาไม่ได้จริงๆ ลองร้านพวกนี้ดูครับ - ร้านบุญยะออโต้ 300บาท เติมเข้าออกไปตลอดอายุยางครับ ร้านอยู่ทางเข้าRCA ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ - ออโต้แบค ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ล้อละ 50 บาทครับ เสียเวลาประมาณ 15 นาที - Service Auto Shop รัชดา อยู่หลัง Imax ติดกับ รยสท.ตรงข้ามตึกไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ล้อละ 50.-บาท 4 เส้น 200.-บาท ลด 10% เหลือ 180.-บาท ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ใน 1 ปีเข้าตรวจเช็คฟรี รู้สึกว่า3-4 เดือนถึงจะต้องเติมที รู้สึกนุ่มดีครับ โทร.ไปก่อนก็ได้ครับ เบอร์ 02-5123506-9 - ร้าน เอกไพบูลย์ อยู่แถววงเวียน 22 เบอร์โทร 02 222-7535, 02 623-0775 - 6 - ร้านไมตรีพานิช(โทร 02 224-2443 , 02 224-2575 อยู่เยื้องกับวัดพลับพลาไชย ราคายางจะถูกกว่าร้านใกล้เคียงแถววงเวียน 22 ประมาณ 200 - 300 บาท/เส้น ร้านนี้รับบัตรเครดิตด้วย - บ.เกรียงกลการ จก. 02-510-5033,02-945-4600 ถามหาk. เล็ก - หจก.สหยางทอง โทร.02-222-3447,221-0306, 2211989, 2230858 อยู่วงเวียน 22 รับบัตรเครดิต และเปิดวันอาทิตย์ - บ.เอ.พี.ออโตเทคนิค จก. อยู่ติดกับตั้งฮั่วเส็งนะครับ 223 ถ.สิรินธร แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทมฯ 10700 โทร.0-2435-5870, 0-2886-5131-2 สำหรับการเติมไนโตรเจน ประโยชน์ของมันก็คือโมเลกุลใหญ่ทำให้แทรกซึม(รั่ว)ได้น้อย และเป็นก๊าซเฉื่อย ทำให้โลหะของล้อไม่ผุกร่อน และเนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของน้ำ(เหมือนลมที่เราเติม) จึงขยายตัวน้อยครับ การเติมสามารถเติมปนกับลมปกติได้ครับ แต่ประโยชน์ของไนโตรเจนก็จะลดลง เครดิต .... http://www.optraclub.com/board/forum...TID=22137&PN=1