ไฟหน้ารถ รถยนต์ ติงตร.หย่อนยาน ปล่อยไฟรถผิดกม. (ไทยโพสต์) นัก วิชาการเผยกฎหมายไทยกำหนดตำแหน่งติดตั้งไฟหน้ารถ 1.35 เมตร เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะรถกระบะบรรทุกของหนัก แสงไฟรบกวนผู้ขับขี่รายอื่น แนะต้องทบทวน กฎหมายให้ทันสถานการณ์ ซึ่งยังเปิดช่องผู้ค้าและตกแต่งอุปกรณ์รถยนต์ผิดกฎหมายเพียบ จากเหตุการณ์เจ้าของรถฟอร์จูนเนอร์ไล่ยิงกัปตันการบินไทยจนได้รับบาด เจ็บ เหตุเพราะกะพริบไฟสูงใส่ เนื่องจากรถดังกล่าวติดไฟซีนอนที่มีแสงสว่างจ้ารบกวนสายตาระหว่างขับรถ พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงรถยนต์ที่ติดตั้งไฟหน้ารถอย่างผิดกฎหมายว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมดูแลเรื่องนี้ตามปกติ โดยตรวจจับรถยนต์ ที่ดัดแปลงหรือแก้ไขไฟหน้ารถมีแสงส่องสว่างมากเกินกำหนด โดยเฉพาะการเปลี่ยน หลอดไฟเป็นไฟซีนอนมีหลายสี เช่น สีฟ้าและสีเขียว ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจร 2522 และยังเป็นการกระทำที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นอีกด้วย พล.ต.ต.อุทัยวรรณกล่าวอีกว่า กฎหมายกำหนดให้ไฟหน้ารถมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน เท่านั้น ส่วนความเข้มของแสงต้องไม่เกิน 55 วัตต์ และติดตั้งสูงจากผิวทางถนนไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร รูปแบบการกระจายแสงต้องอยู่ในระดับตรงช่องจราจรและไม่รบกวนสายตาผู้ขับขี่ รายอื่น ทั้งนี้ เห็นว่ากฎหมายมีประสิทธิภาพดีอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีผู้ขับขี่ลักลอบดัดแปลงไฟ หน้ารถอย่างผิดกฎหมายอยู่เป็นประจำ ซึ่งปีนี้มีนโยบายลดอุบัติเหตุจึงต้องดำเนินการกวดขันจับกุมอย่างเต็มที่ "ส่วนมาตรฐานแสงสว่างไฟหน้ารถเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต้องร่วมกันพิจารณาว่าจะ ต้องปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากความเข้มของแสงไฟซีนอนยังมี ปัญหาทางกฎหมายที่อาจควบคุมไม่ถึง" ผบก.จร.บช.น. กล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายกฎหมาย กองบังคับการตำรวจจราจร กล่าวว่า กฎหมายกำหนดให้แสงไฟหน้ารถไม่เกิน 55 วัตต์ แต่แสงไฟซีนอน ซึ่งเป็นระบบใหม่เรียกหน่วยวัดความเข้มแสงว่าลักซ์ ไม่ระบุไว้ในกฎหมาย ที่ผ่านมามีการประชุมหารือถึงเรื่องนี้หลายครั้ง เพื่อ แก้ไขกฎหมายให้แสงไฟซีนอนมีความสว่างที่ไม่เกินมาตรฐานและปลอดภัยต่อการขับ ขี่ ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า มาตรฐานสากลในประเทศยุโรปกำหนดให้ตำแหน่งติดตั้งไฟหน้ารถต้องไม่เกิน 1.2 เมตร แต่ในประเทศไทยกำหนดให้ไม่เกิน 1.35 เมตร ซึ่งสูงกว่าต่างประเทศ จึงทำให้เป็นปัญหามาก โดยเฉพาะรถยนต์ประเภทกระบะหรือโฟร์วีล เมื่อบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก รถยนต์จะเงยสูงขึ้นไปอีก ทำให้ทิศทางของ แสงไฟหน้ารถรบกวนรถยนต์คันอื่นๆ เรื่องนี้กลับถูกมองข้ามและไม่แก้ไขให้ตรงตามมาตรฐานสากล "ปัจจุบันระบบตรวจสอบสภาพรถยนต์ยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านเทคนิคและ เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน การติดตั้งไฟหน้ารถอย่างผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่ทำ ได้ง่าย และเกิดธุรกิจขายอุปกรณ์แต่งรถจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ผมเสนอว่าควรที่จะปรับปรุงกฎหมายในด้านตำแหน่งไฟหน้ารถให้ได้มาตรฐานเท่า สากล คือ ไม่เกิน 1.2 เมตร และยกระดับมาตรฐานการตรวจสภาพรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น" นพ.ธนะพงศ์ กล่าว ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ รถพวกนี้ตอนไม่บรรทุก ไฟหน้าก็สูงอยู่แล้ว (ตำแหน่งติดตั้ง) ยิ่งบรรทุก ท้ายห้อยด้วยแล้วละก็ ไฟหน้าส่องเลยหลังคากันเลยทีเดียว ส่วนเรื่อง " ความสว่าง " ของไฟหน้า ควรจะเปลี่ยนวิธีการวัดได้แล้ว ค่าความสว่างของแสง วัดกันด้วย Lumens (ลูเมนส์ ตัวย่อ L) ซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้วัดค่าความเข้มของแสง ซึ่งต้องขยายความว่า หลอดใส้ 55 watt สามารถทำความเข้มแสงได้กี่ L แล้วก็เอาความเข้าแสงเท่านั้นมาเป็นเกณฑ์ อย่าลืมว่า หลอดใส้ กินพลังงาน watt มาเป็นความร้อน จนเกิดแสง หลอด xenon กิน volt ที่สูงมากๆจนเกิดการ Spark ข้ามขั้วจนเกิดแสง มันต่างกัน ถ้าตามกฏหมาย เรากำลังมอง วิธีการทำให้เกิดแสง มากกว่าปริมาณของแสง
ปัญหาคือบางท่านที่ติดไฟซีนอนมา(ไม่รบกวนผู้อื่นนะครับ)เวลาพี่หนวดเรียกพี่หนวดมักไม่ค่อยฟังเหตุผล(จะเล่นกูท่าเดียวเลย) ผมว่าก็ต้องจัดอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงานจราจรด้วยนะครับเพราะบางท่านที่ติดมาไม่ได้รบกวนสายตาใครจริงๆ
น่าจะบังคับใช้ไฟหน้าเป็นแบบโปรเจคเตอร์ ซึ่งควบคุมทิศทางของแสงได้ดี ไม่ให้ทิศทางของแสงฟุ้งกระจาย และอยากให้เกิดการวัดการฟุ้งกระจายของแสงที่แน่นอน เช่น เครื่องวัดความเข็มของแสงต้องตั้งสูงจากพื้นกี่เซนติเมตร ระยะห่างของเครื่องวัดห่างจากหน้ารถขณะทำการวัดออกไปกี่เมตร ความเข็มของแสงที่วัดได้ต้องไม่เกินค่าเท่าไหร่ เอาเป็นมาตรฐานในการตรวจจับแต่ละด่านไปเลย ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบไฟ Xenon ระบบหลอดไส้ความร้อนก็แยงตาได้ครับ ผมว่าจุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่ระบบหลอดไฟที่ให้กำเนิดแสง แต่มันอยู่ที่การควบคุมทิศทางของแสง
ลายลักษณ์อักษร มันไม่ครอบคลุมได้เท่าที่ควร ในกฏหมายจึงมีคำว่า "แล้วแต่ดุลพินิจ" แต่ไอ้ ดุลพินิจ นี่มันก็ต้องมีพื้นฐานจากบรรยาบรรณ ซึ่งหาไม่ได้จากตำรวจไทย ถ้ามีบรรยาบรรณ ดุลพินิจที่ดีก็เกิด จุดนั้นไม่ต้องมานั่งเอากฏหมายมาเถียงกันหรอก ที่ว่ามา ไม่ใช่นิยายนะคับ พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว + อ้างถึง ตอบกลับ