หลังจากมีงานแถลงข่าวเปิดตัวสนามแข่ง ช้าง อินเตอร์เนชั่นเนล เซอร์กิต เมื่อไม่นานมานี้ (ชื่อเดิม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นเนล เซอร์กิต) รายการแข่งแรกที่ได้ประเดิมใช้สนามนี้อย่างเป็นทางการคือ Super GT ซึ่งเป็นรายการจากญี่ปุ่น ที่มีผู้ชมมากรายการหนึ่งของเอเซีย
และเป็นสนามเดียวของรายการ Super GT ที่แข่งสนามนอกประเทศ
ในวันแข่ง มีคนไทยให้ความสนใจกับรายการแข่งนี้มาก อาจจะเนื่องมาจากเป็นครั้งแรกที่มีรายการใหญ่ระดับเอเซียมาแข่งในสนามใหม่ล่าสุดที่ประเทศไทย ไม่ต้องไปชมไกลถึงต่างประเทศ
ในรายการ Super GT จะแบ่งรถแข่งทั้งหมด 2 รุ่น คือรุ่น GT500 และ GT300
ความแตกต่างของ 2 รุ่นนี้คร่าวๆ คือ
GT500 จำกัดแรงม้าไม่เกิน 500 แรงม้า ต้องเป็นรถญี่ปุ่นเท่านั้น มี 3 ยี่ห้อดังนี้ Nissan, Honda, และ Lexus ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ความจุกระบอกสูบ 2,000 ซีซี มีระบบอัดอากาศด้วยเทอร์โบ ใช้ปีนี้เป็นปีแรก จากเดิมเป็นเครื่องยนต์ V8 มีโครงสร้างตัวถังแบบสเปซเฟรม และมีการพัฒนาโครงสร้างของตัวรถแข่งและแอโร่ไดนามิคจากรถ DTM ที่แข่งในประเทศเยอรมัน
GT300 จำกัดแรงม้าไม่เกิน 300 แรงม้า รถยี่ห้อใดๆ ก็ได้ ใช้เครื่องยนต์ที่ติดมากับตัวรถนั้นๆ มีโครงสร้างเหมือนเดิมจากโรงงาน แต่รถแข่งบางคันก็น่าจะมีแรงม้าเกินกว่า 300 แรงม้าออกมาจากโรงงาน ซึ่งน่าจะมีแต้มต่อ (handicap) สำหรับความแตกต่างดังกล่าว รายละเอียดตรงนี้ถ้ามีเวลาจะหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ในภายหลัง
ในการแข่ง ทั้งสองรุ่นจะแข่งพร้อมกัน โดยปล่อยให้รุ่น GT500 ออกตัวไปก่อน และตามด้วยรุ่น GT300 จุดสังเกตง่ายๆ ระหว่าง 2 รุ่นนี้คือไฟหน้ารถและสติกเกอร์เบอร์แข่ง ถ้าเป็นไฟหน้าสีขาวและเบอร์แข่งสีขาว คือ GT500 แต่ถ้าเป็นสีหน้าสีเหลืองและเบอร์แข่งสีเหลืองจะเป็นรุ่น GT300
ส่วนรูปแบบการแข่ง จะแข่งกันทั้งหมด 66 รอบ รถแข่งแต่ละคันจะมีนักแข่งจำนวน 2 คน สลับกันขับระหว่างครึ่งแรกกับครึ่งหลังของการแข่ง
ช่วงแรกวันพฤหัสที่ 2 ตุลาคม จะเป็นการเซ็ทอัพสนามแข่ง รถแข่ง และซ้อมการเซอร์วิสรถแข่งหน้าพิทเลน
ทางสนามแข่งได้พาสื่อมวลชนแนะนำจุดถ่ายภาพบริเวณรอบๆ สนามแข่ง
ระหว่างที่ผู้จัดแข่งได้ขับรถสำรวจแทร็ค พบเห็นเต่าเดินอยู่ในสนาม จึงได้จอดรถเพื่อเก็บเต่าไปปล่อยที่อื่น
สัมภาษณ์นักแข่งคนไทยที่ได้สิทธิ์ลงแข่งในรายการ Super GT
วันศุกร์ที่ 3 เป็นวันซ้อมของ Super GT และรถแข่ง Support race
นักแข่งในทีมฮอนด้า ได้ลองใช้งานของที่ระลึกจากประเทศไทย ที่ได้รับในงานแถลงข่าวของทีมฮอนด้า
ก่อนจะลงซ้อมนักแข่งและทีมงานได้เดินรอบสนาม เพื่อดูไลน์ ดูจุดที่น่าสนใจ เมื่อวันพฤหัสก็เดินอยู่หลายครั้ง ขยันเดินจริงๆ
สังเกตให้ดี รถ Toyota Prius คันนี้กำลังดูดอากาศในระบบแอร์เพื่อจะเติมน้ำยาแอร์
แม่บ้านญี่ปุ่น
อุปกรณ์วัดความเร็วลม
เตรียมตัวซ้อมครั้งแรก
ทีมรถแข่งจากประเทศไทย i-mobile AAS
ทีมรถแข่งจากประเทศไทย Toyota Thailand
ช่างญี่ปุ่น
เครื่องตรวจจับความเร็วหน้าพิทเลน มีตัวเลขความเร็วบอกไว้ด้วย นักแข่งจะได้รู้ความเร็วที่ตัวเองใช้อยู่ในขณะนั้น (จำกัดไม่เกิน 60 กม./ชม.)
วัดอุณหภูมิความร้อนของพื้นผิวแทร็ค เพื่อเก็บข้อมูลในการเซ็ทอัพรถ และเลือกยางที่จะใช้
ช่างภาพญี่ปุ่น
ถ้าหลุดลงบ่อกรวด รถแข่งจะไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ลากกลับมาวิ่งต่อไปได้
ช่างญี่ปุ่น
นักข่าวญี่ปุ่น
วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม มีกิจกรรมพิทวอร์คและจับเวลารอบคัดเลือก (คลอลิฟาย)
ช่วงพิทวอร์ค ให้ผู้ชมและช่างภาพได้ถ่ายรูปและรับของที่ระลึกจากทีมแข่งต่างๆ
นักแข่งญี่ปุ่น
วันเกิดใครละ
งานแถลงข่าว Super GT
รอบคัดเลือก (คลอลิฟาย) จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม GT500 และ GT300
ตรวจสภาพรถหลังจากคลอลิฟาย
ทีมที่ทำเวลาในอันดับที่หนึ่งในแต่ละรุ่น
ในรุ่น GT500 เบอร์ 46 ทีม S Road MOLA GT-R ใช้รถแข่ง NISSAN GT-R เครื่องยนต์ NR20A ขับโดย Masataka Yanagida และ Satoshi Motoyama
ในรุ่น GT300 เป็นทีมรถแข่งจากประเทศไทย เบอร์ 99 ทีม i MOBILE AAS ใช้รถแข่ง PORSCHE 911 GT3 R เครื่องยนต์ M97/79 ขับโดย Alexandre Imperatori และ V.Inthraphuvasak (วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์)
ในช่วงเย็นมีแข่งในรุ่น Toyota Viso One Make Race
และรุ่น Altis One Make Race
รวมรูปภาพและผลการแข่งรายการ Super GT 2014 ณ สนาม ช้าง อินเตอร์เนชั่นเนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์
การสนทนาใน 'International Motorsport' เริ่มโดย Circuit, 12 ตุลาคม 2014
ความคิดเห็น
การสนทนาใน 'International Motorsport' เริ่มโดย Circuit, 12 ตุลาคม 2014
-
แท็ก: