ผมลองต่อ LED ขนาดเล็ก 2 ตัวเข้าด้วยกัน แล้วต่อผ่าน R ตัวเดียว ปรากฏว่ามันไม่ติดอ่ะคับ มันเป็นเพราะอะไรเหรอครับ R กะ LED ซื้อมาครับ ร้านเค้าหยิบให้ จริงๆผมจะต่อ 4 หลอด ร้านเค้าบอกว่า 4 หลอด ต่อ R ตัวเดียวก็ได้ แต่ผมถามว่า ถ้าผมทำแบบ 2 หลอด ออก R 1 ตัว แล้วค่อยเอาทั้ง 2 ชุด หลังผ่าน R แล้วมาต่อกันอีกทีได้ไหม เค้าก็ว่าได้อ่ะคับ .....
ดูไม่เป็นอ่ะคับ เค้าหยิบมาให้เลย..... ผมเองก็ดันไม่ได้ลอง 1 หลอดต่อ 1 R ก่อนซะด้วย ดันพักขา 2 หลอดเชื่อมกันไปซะแล้ว แย่จัง..... ถ้าให้แน่ ต้องลองรื้องาน แล้วลองต่อ 1 ต่อ 1 ดูก่อนใช่ไหมครับ ผมไม่รู้ค่า R น่ะครับ รู้แต่ว่า มันขนาดเท่าๆกะ R ที่เค้าต่อสำเร็จกะ LED ที่หลอดละ 15 บาท อ่ะคับ
- - ลองเอา LED 1 หลอด ต่อกะ R 1 ตัว ก็ไม่ติดอ่ะ พอต่อตรง (ตรงกะแบ๊ตมือถึอ) มันติดอ่ะ ... ยังไงเนี้ยยย ร้านหยิบ R ค่าสูงไปมาให้เหรอครับ ปล. LED ผม หลอดเล็ก ครึ่งนึง ของหลอดที่ขายทั่วๆไปอ่ะคับ แต่ลักษณะเดียวกัน
โทษนะครับ ใช้อะไรเป็นแหล่งจ่ายตัว LED ครับ ถ้าเป็นแบตเตอรี่ จะเป็นแหล่งจ่ายไฟตรง 12 โวลต์ แล้วทีนี้มาดูการต่อ ตัว Resister(ตัวต้านทาน) ถ้าสังเกตุดีๆ ขาของ LED จะไม่เท่ากันใช่ไหมครับ ที่จุดสำคัญของมันก็คือ ขายาวๆ จะต้องต่อเข้ากับแบตเตอรี่ที่เป็นขั้วบวกนะครับ จะต่อ R ก่อนหรือหลัง LED ก้ได้ ขาที่เหลือเข้าขั้วลบครับ ปล. ค่า R มากน้อยนั้น มีความสำคัญก็คือ LED สว่างมากน้อยครับ ถ้าค่ามาก แสงก็จออกมาน้อยครับ ทางกลับกัน ถ้า R ค่าน้อย แสงก็อาจจะสว่างมากนะครับ (แต่น้อยมากไม่ดีครับ หลอดจะขาด) ถ้าใช้แบตเตอรี่ 12 โวลต์ ไปที่ร้านบอก ของซื้อ R ค่า 470 โอห์ม (โอห์มคือหน่วยของ R ครับ) ลองดูครับสว่างแน่นนอน
ไม่ได้ต่อจากแบ็ตโดยตรงอ่ะคับ คือผมจะเอาไปต่อพ่วงออกจากไฟหรี่หน้ารถอีกทีน่ะครับ แต่ตอนที่นั่งทำที่ห้อง ผมลองกะแบ็ตมือถือน่ะครับ..... ตอนไม่ได้ต่อ R ก็ติดดี พอต่อ R เข้าไป มันก็ไม่ติดอ่ะคับ ทีแรกก็คิดว่าเป็นเพราะแบ๊ตมือถือไฟน้อย ก็เลยลงเอาไปต่อกะแบ็ตรถดู ก็ไม่ติดอ่ะคับ.... สุดท้ายคิดว่า R เสีย ก็เลยลองตัด R ที่เค้าต่อสำเร็จมากะ LED ที่ใหญ่กว่า ก็ไม่ติดเหมือนกันอ่ะคับ .... งง
ผมเอา ขา + ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ ขา + ของหลอดที่ 2 ขา - ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ ขา - ของหลอดที่ 2 ขา + ของหลอดที่ 3 บักกรีกะ ขา + ของหลอดที่ 4 ขา - ของหลอดที่ 3 บักกรีกะ ขา - ของหลอดที่ 4 แล้วเอาขา + จาก 1-2 มาต่อเข้า R1 แล้วเอาขา + จาก 3-4 มาต่อเข้า R2 แล้วเอาขา + จาก 1-2-R1 มาต่อเข้า แหล่งจ่ายไฟขั้ว + แล้วเอาขา + จาก 3-4-R2 มาต่อเข้า แหล่งจ่ายไฟขั้ว + แล้วเอาขา - จาก 1-2 มาต่อเข้า แหล่งจ่ายไฟขั้ว - แล้วเอาขา - จาก 3-4 มาต่อเข้า แหล่งจ่ายไฟขั้ว - ครับ... แหล่งจ่ายไฟก็ แบ็ตมือถือบ้าง ... แบ๊ตรถบ้าง อ่ะคับ ปล.ตอนนี้ลองแบบ 1 หลอด ต่อ 1 R ก็ไม่ติดอ่ะ - -
ผิดครับ ต้อง ขา + ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ ขา - ของหลอดที่ 2 ขา - ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ R แล้วต่อไฟ - จากแบต ขา + ของหลอดที่ 2 บักกรีกะ ไฟ + ของแบต ต่อ LED 2 ตัว R ไม่ควรเกิน 400 โอมห์ ** ต่อ LED ตัวเดียวตรง ๆ กับไฟแบต ต่อผิดขั้วนิดเดียวขาดเงียบเลย **
ต่อ ตรงก็ สว่าง นี ครับ (วิ นึงได้ มั้ง) แล้ว ก็ ขาด เลย ส่วน พวก โลภ มากอย่างผม อนุกรม 2 หลอด ก็ R100 โอห์ม ผลคือ จาก สี เขียว กลายเป็น สี เหลือง (ออกเขียว ครับ)
แต่ว่า ผมลองหลอดเดียว ต่อ R ตัวเดียว มันก็ไม่ติดอ่ะคับ (แต่หลอดไม่ขาดนะคับ) กำลังคิดว่าเสาร์นี้จะไปซื้อใหม่ๆอ่ะ เพราะตัดซะสั้นแล้วอ่ะคับ วิธีที่บอกว่า ขา + ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ ขา - ของหลอดที่ 2 ขา - ของหลอดที่ 1 บักกรีกะ R แล้วต่อไฟ - จากแบต ขา + ของหลอดที่ 2 บักกรีกะ ไฟ + ของแบต อันนี้คือที่เรียกว่า อนุกรม หรือเปล่าอ่ะคับ... ผมอยากต่อแบบว่า หลอด 1 ขาด หลอด 2 ยังติดอยู่ ต้องต่อแบบไหนเหรอคับ ขอบคุณครับผม
ตอนนี้เปลี่ยนแผนไปใช้ LED ใหญ่ ที่เค้าติด R มาให้แล้วอ่ะคับ ผลงานไม่น่าพอใจเท่าไร เพราะหลอดใหญ่ ติดขวางไม่ได้ เลยต้องติดแนวตั้ง ทำให้มีลำไฟวิ่งลงล่าง แย่ๆจัง ขี้เกรียจรื้อแล้วอ่ะ .....
ขนานซิครับ อิสระ แต่ละดวง ผมไม่รู้คุณ LED กี่ mm ผมจะบอกว่าสมควรใช้ R ค่าเท่าไหร ถ้าจะให้ดี ถ่ายรูปให้ดูหน่อยครับ ผมจะบอกว่า R ถูกไหม แล้วต่อยังไง [email protected]
ขอบคุณมากครับ สำหรับความช่วยเหลือ แต่พอดีว่า ตอนนี้หันไปใช้ LED สำเร็จแล้วอ่ะคับ เอาไว้ ผมทำใหม่ ถ้าร้านหยิบมั่วมาอีก จาถ่ายรูปมาถามครับผม ขอบคุณมากครับ
อันแอลอีดีนะครับ ขายาวๆเรียกว่า แอนโนด ขาสั้นๆ เรียก แคโทด ขายาวๆต่อไฟบวก ขาสัน้ต่อไฟลบครับ ต่อผิดมันจะไม่ขาด ในระยะแรงดันเบรคโอเวอร์นะครับ แต่ถ้าต่อถูกแล้วไฟเกิน มันจะเปล่งแสงเหมือนกันแต่วูปเดียวครับ หายวับไปเลย 55555+ อัพๆๆๆๆๆๆๆ ครับ เออนะ ด้วยความที่ว่า แอลดีอาร์ ต่างขนาด กระแสไม่เท่ากัน สามารถต่อได้ 2 แบบครับ เห้อ อาร์ตัวเดียวต่อ เป็น 100 หลอดก้อได้ เหอๆแล้วแต่การใช้อ่ะครับ การใช้ แอลดีอารื เราจะจ่ายไฟให้มัน ( ไบแอส )1.7-2.2 โวลต์ครับ กระแสก้อ 20 -40 มิลลิแอมป์ ตามขนาดครับ ก้อผมจะสรุปขนาดให้ฟังนะครับ ขนาด 2-5 มิลใช้ อาร์ 1 เคโอห์ม ที่ 12 โวลต์ (จำกัดกระแสล่ะนะครับ) แรงดันตกคร่อมจะเท่ากับประมาณ 2 โวลต์ 10 มิลขึ้นไป ใช้ 880 โอห์มนะครับ เพราะตัวใหญ่กินเยอะหน่อย ครับ อันนี้เป็นการต่อขนานกันนะครับ อาร์ที่ใช้ก้อใช้ 1/4 วัตต์ นะครับ ต่อได้ประมาณ 20 หลอดได้ ถ้า 1/2วัตต์ ก้อได้ประมาณ 40 หลอดครับ 1วัตต์ ต่อไปเหอะ 80หลอดนู่นๆ อยากให้สว่างเพิ่มก้อลดอารืได้ในระยะ 100-200 โอห์มนะครับ ต่อมามาแบบอนุกรมนะครับ คือ เอาขาบวกไปต่อขาลบของอีกตัว อันนี้ เป็นการจำกัดแรงดันครับ ค่าทอาร์ที่ใช้จะลดลงด้วยเพราะแรงดันจะเพิ่มเป็น จำนวน n ของค่าหลอดครับ คือ 1 หลอด 2 โวลต์โดยประมาณ 2 หลอดก้อจะได้ 4 โวลต์ ถ้า 6 หลอด 12 โวล์ตพอดีเลย (อย่าลองนะครับเป็นแค่ทิดสะดี )ปฏิบัติเจงๆให้ต่ออาร์ 150 โอห์มที่ 1/4 วัตต์ลงไปด้วยนะครับ กันขาด สรุปครับ ต่อแบบขนานดีที่สุดครับ อนุกรมไม่น่าใช้ครับ เพราะแอลอีดี ขาดหลอดเดียว มันจะดับยกชุดครับ ยังไงก้อ เอาขนานระกันนะครับ ยุ่งยากหน่อย แต่เวิคร์ๆๆๆๆๆๆๆ มอร์
ศัพท์อิเล็กมาแว้ว 555+ เอางี้ครับผมคิดง่ายๆนะ จ่ายกระแสให้หลอด 11.3mA พอ ที่จะทำให้หลอดสว่างและยังปลอดภัย(ไม่ขาดง่าย) วิธีคำนวณนะครับ ต่อ LED2 หลอด ก็ได้ เอา LED มาต่อขนานกันนะครับ เอาแบบที่คุณต่อน่ะเหละ +1 ต่อ+2 และ -1 ต่อ-2 แล้วเอาขา +1 ต่อ R ค่าประมาณ 500โอมห์ 500 Ohm จะได้กระแส ( (12 - 0.7 ) / 500 ) / 2 )= 11.3 mA ต่อ LED1 หลอด ( (แรงดันจากแบต - แรงดันตกคล่อมของLED) / ค่าความต้านทาน ) / จำนวนLED) ถ้าต่อหลายตัวไม่แนะนำให้คำนวนแบบนี้นะครับ เพราะ LED แต่ละหลอด เวลาใช้งานจริง จะมีค่าความต่างของความต้านทาน/แรงดัน ทำให้บางหลอดได้รับกระแสมากกว่าหลอดอื่น รวมถึงตัว R นั้นจะมีค่าจำกัดกระแสอยู่ ซึ่งหมายถึงค่ากระแสที่ไหลผ่านRนั้นจะได้มากสุดที่ระดับหนึ่ง ถ้าต้องการกระแสมากกว่านั้นก็ไม่ได้ ก็เหมือนท่อน้ำอะครับ มีท่อเล็กแต่ต้องการน้ำมาก ก็ไม่ไหว
ขอถามหน่อยคับ คือว่า ถ้าไม่ใช้ R 1K สามารถใช้ R ค่าเท่าไร ได้บ้าง คับ เพราะมันไม่ค่อยสว่าง งะ คับ ชอบคุณมากคับ
ลองเอารูปมาให้ดูครับ เปิดไฟกลางคืนไฟติดหรี่พอเห็น เวลาเบรคก็ไฟติดสว่างขึ้น วงจรก็แค่ใช้สายไฟขาเข้าวงจรสามสายคือไฟหรี่ 1 ไฟเบรค 2และลบ(กราวน์)3 ไฟขาออกจากวงจรต่อไปที่หลอดก็สองสายคือไฟบวก 6 กับ ลบ(กราวน์) 7 ใช้ความต้านทานค่าประมาณ(100 โอห์มกับ 150 โอห์ม 1/2 วัตต์)ตามรูป และก็ไดโอดหนึ่งตัว (1N4001) ขา 4 ของวงจรต่อกับขา 6 ชุดหลอด,ขา 5 ของวงจรต่อกับขา 7 ชุดหลอด ลองดูแล้วกัน เอาไปดัดแปลงเพิ่มเติมเองละกัน พยายามวาดรูปแล้วอ่ะ ปล.ค่าความต้านทานมาก ความสว่างก็น้อย กระแสที่จ่ายให้หลอด LED ก็น้อยตามไป (กระแสที่พอเหมาะสว่างดี ก็ประมาณ 15-30 มิลิแอมป์วัดด้วยมัลติมิเตอร์)แล้วแต่รุ่น,สี ของหลอด LED ที่ใช้ด้วย แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2009 + อ้างถึง ตอบกลับ