เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
NV Club
>
อยากแรง แต่งเครื่องยนต์เดิมอย่างไร (เจอมา เลยเอามาฝากคับ)
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="wutnv, post: 512565, member: 2242"]อยากแรง แต่งเครื่องยนต์เดิมอย่างไร</p><p>รถยนต์ที่จำหน่ายในไทย โดยเฉพาะที่ประกอบในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นตัวถังเดียวกันที่จำหน ่ายในประเทศใหญ่ๆ ส่วนใหญ่มีความแรงแค่ระดับพื้นฐาน ด้วยเหตุผลของจำนวนการผลิต และความสามารถในการดูแลและซ่อมแซม ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องยนต์พลังแรงมักต้องใช้เทคโนโลยี และต้นทุนสูง</p><p><br /></p><p>โดยมีเหตุผลหลักมาจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา การใช้รถยนต์จึงมีไว้สำหรับการเดินทางเป็นหลัก แรงหรือไม่แรงก็พาไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน ผู้ใช้รถยนต์ในยุคก่อนจึงถูกปลูกฝังว่า เครื่องยนต์ไม่ต้องแรงก็ได้ ขอให้ดูแลไม่ยุ่งยากและไม่สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิ งเป็นพอ</p><p><br /></p><p>ผู้ผลิตก็เลยต้องเดินไปตามแนวทางนั้นมาจนถึงปัจจุบัน นี้ เช่น รถยนต์ระดับกลางในไทย ใช้เครื่องยนต์รุ่นสูงสุดในระดับ 1,600 ซีซี แคมชาฟท์เดี่ยว 16 วาล์ว พร้อมระบบวีเทค หัวฉีด 127 แรงม้า แต่ในต่างประเทศ 1,600 ซีซี เท่ากัน แต่รุ่นสูงสุดเป็นแบบทวินแคม 16 วาล์ว พร้อมระบบวีเทค ฯลฯ แรงถึง 185 แรงม้า พร้อมกับความไฮเทคสุดๆ</p><p><br /></p><p>สาเหตุที่คนไทยมีความต้องการด้านความแรงเพิ่มขึ้น นอกจากเกิดขึ้นด้วยความทันสมัยของข่าวสารจากต่างประเ ทศแล้ว ยังเกิดขึ้นจากความคุ้นเคยของผู้ขับเอง ไม่ว่าเครื่องยนต์จะแรงหรือไม่ก็ตาม เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ก็มักเกิดความคุ้นเคยกับความแรงของเครื่องยนต์ ประกอบกับการเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์ตามปกติ จึงเกิดความต้องการให้เครื่องยนต์แรงขึ้น</p><p><br /></p><p>ความแรงของเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้มีประโยชน์ในด้านการเพิ่มความเร็วสูงสุดเป็นหล ัก เพราะดีผลที่ได้มากอยู่ที่อัตราเร่ง ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่เริ่มออกตัวไปตลอดทุกช่วงควา มเร็ว และช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการเร่งแซงที่ฉับไวขึ้น ด้วย</p><p><br /></p><p>แต่งเครื่องยนต์เดิม</p><p>โดยมีหลักการโดยรวม คือ ถ้าจะให้ได้ผลมาก ต้องเพิ่ม 4 อย่าง ทั้งอากาศ น้ำมัน และไฟจุดระเบิด แล้วเสริมด้วยการไล่ไอเสียเป็นอย่างที่ 4 ถ้าเพิ่มเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีขอบเขตต่ำกว่าการทำแบบครบๆ</p><p><br /></p><p>มีข้อดี คือ ไม่เสียประวัติในสมุดทะเบียน เพราะรถยนต์ที่ถูกเปลี่ยนเครื่องยนต์มักถูกสงสัยเมื่ อมีการขายต่อว่า เปลี่ยนเพราะถูกถลุงจนพังหรือเหตุผลอื่น วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความแรงเพิ่มขึ้นไม่ มาก, กลัวห้องเครื่องยนต์ช้ำ, เครื่องยนต์เดิมยังมีสภาพดีอยู่, วิเคราะห์ดูแล้วว่าพอแต่งขึ้น หรือครื่องยนต์แรงๆ ที่ต้องการเปลี่ยนมีราคาแพงมาก โดยมี 2 รูปแบบหลักในการแต่ง คือ แต่งเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก หรือ แต่งล้วงลึกถึงไส้ใน</p><p><br /></p><p>แต่งเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก</p><p>เครื่องยนต์ยุคใดก็ตาม การแต่งเพิ่มความแรงเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก โดยไม่แตะต้องฝาสูบและเสื้อสูบ มักทำได้ไม่มาก แต่สะดวก โดยแต่ละอุปกรณ์ใหม่ที่ใส่เข้าไปแทนอุปกรณ์เดิม ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้กี ่เปอร์เซ็นต์ เช่น ไส้กรองอากาศแบบเปลือยหรือเฮดเดอร์ในระบบระบายไอเสีย ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ตายตัว เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์เดิมนั้นแย่แค่ไหน ถ้าแย่มาก เมื่อใส่อุปกรณ์ใหม่ที่ดีๆ เข้าไปแทน ย่อมให้ผลมาก แต่ถ้าของเดิมดีอยู่แล้ว ก็ย่อมดีขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย</p><p><br /></p><p>ไม่เพิ่มระบบอัดอากาศ</p><p>โดยหลักการพื้นฐาน คือ การประจุไอดีเข้าสู่เครื่องยนต์ โดยใช้แรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบเป็นหลัก จึงต้องพยายามทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อากาศต้องไหลผ่านจากภายนอกเข้าสู่กระบอกสูบ มีการอั้นการไหลน้อยที่สุด</p><p><br /></p><p>ส่วนใหญ่สามารถเพิ่มอากาศด้วยอุปกรณ์ภายนอกได้น้อยแล ะให้ผลดีขึ้นไม่มาก โดยมีอุปกรณ์หลักที่ทำได้ คือ ไส้กรองอากาศ เช่น เปลี่ยนเป็นไส้กรองอากาศแบบเปลือยหรือ ไส้กรองพิเศษในกล่องหม้อกรองอากาศเดิม และหนักสุดกับการใส่ปากแตรเข้าไปโดยไม่มีไส้กรองอากา ศ</p><p><br /></p><p>ไส้กรองอากาศแบบเปลือย</p><p>นับเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร เพราะไม่แพง, ติดตั้งง่าย, สวยงาม และให้ความรู้สึกว่าน่าจะแรง จากรูปทรงของไส้กรองอากาศแบบเปลือยที่สามารถรับอากาศ ได้โดยรอบ และน่าจะปล่อยให้อากาศไหลผ่านได้ง่ายกว่าไส้กรองอากา ศแบบมาตรฐาน ที่ติดตั้งอยู่ในกล่องปิด</p><p><br /></p><p>ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่มีเทอร์โบหรือระบบอัดอ ากาศใดๆ ไส้กรองอากาศแบบเปลือยอาจเพิ่มหรือลดความแรงของเครื่ องยนต์ก็ได้ ไม่ใช่ใส่เข้าไปแล้วจะแรงเสมอไป แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานเดิม อั้นการไหลของอากาศแค่ไหน และไส้กรองอากาศแบบเปลือยโล่งแค่ไหน ไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อแต่งในส่วนนี้แล้ว จะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์</p><p><br /></p><p>มุมมองที่ว่า ชุดไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานจากผู้ผลิตรถยนต์นั้นปิดทึ บซ่อนอยู่ในกล่องอับ แล้วจะทำให้การดูดอากาศไม่สะดวกนั้น ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงนัก เพราะกล่องไส้กรองอากาศมีห้องพักอากาศขนาดใหญ่พอสมคว ร และมีการต่อท่อมาดักอากาศจากด้านหน้าของรถยนต์ จึงมีอุณภูมิต่ำ (โมเลกุลของอากาศหนาแน่นกว่าอากาศร้อน) และมีแรงส่งปะทะของอากาศเข้ามาเมื่อรถยนต์แล่น โดยรวมแล้วไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานจึงไม่น่าจะอั้นการ ไหลของอากาศเท่าไรนัก</p><p><br /></p><p>นอกจากความโล่งหรืออัตราการไหลผ่านของอากาศของตัวไส้ กรองอากาศ ที่จะมีผลต่อความแรงของเครื่องยนต์แล้ว ยังเกี่ยวของกับตำแหน่งการติดตั้งซึ่งต้องรับลมปะทะจ ากด้านหน้าได้ดี และอากาศที่ผ่านเข้าไม่ควรร้อน รวมถึงประสิทธิภาพการกรองฝุ่นด้วย ถ้าเครื่องยนต์แรงขึ้นแต่สึกหรอเร็วขึ้นเพราะฝุ่นเข้ าได้ง่าย ก็คงไม่ดี</p><p><br /></p><p>การใช้ไส้กรองอากาศแบบเปลือย จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อมีการติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สาม ารถรับอากาศเย็น และรับอากาศปะทะจากด้านหน้าได้มากที่สุด ถ้าเป็นการติดตั้งไว้ในมุมอับในห้องเครื่องยนต์ แม้ตัวไส้กรองอากาศแบบเปลือยจะรับอากาศได้รอบตัว แต่ถ้าเป็นอากาศร้อนและขาดการไหลปะทะที่ดี บางครั้งพบว่าแย่กว่าไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานก็มี</p><p><br /></p><p>จากการทดสอบด้วยเครื่องมือวัดแรงม้า-ไดนาโมมิเตอร์ กับเครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว หัวฉีด 1,300 ซีซี ที่ไม่ได้มีการปรับแต่งส่วนอื่น ไม่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศ โดยติดตั้งไส้กรองอากาศแบบเปลือยแทนและมีท่อดักอากาศ จากด้านหน้ารถยนต์ตามปกติด้วย ในจำนวน 4-5 รุ่นของไส้กรองอากาศแบบเปลือย พบว่าไม่มีรุ่นใดเพิ่มแรงม้าให้กับเครื่องยนต์เลย และบางรุ่นใส่แล้วทำให้แรงม้าตกก็ยังมี</p><p><br /></p><p>ผลของการทดสอบไม่ใช่บทสรุปว่า ไส้กรองอากาศแบบเปลือยจะไม่ให้ผลดีขึ้นในทุกเครื่องย นต์ อาจเป็นเพราะไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานของรถยนต์รุ่นนั้ นโล่งเพียงพออยู่แล้ว ในขณะที่ไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานของรถยนต์รุ่นอื่นอาจ จะอั้นกว่า แต่ก็พอช่วยให้ประเมินได้ว่า ถ้าเปลี่ยนเฉพาะไส้กรองอากาศแบบเปลือย ก็ไม่น่าจะให้ผลดีขึ้นมาก โดยเฉพาะถ้าติดตั้งในตำแหน่งที่รับอากาศร้อนและไม่มี อากาศไหลปะทะ</p><p><br /></p><p>ในเครื่องยนต์บางรุ่นที่ติดตั้งไส้กรองอากาศแบบเปลือ ยเข้าไปแทน อาจได้ผลดีให้พอสัมผัสได้ เช่น อัตราเร่งลื่นขึ้นบ้าง ซึ่งก็เป็นไปได้จริง โดยจะชัดเจนเฉพาะในช่วงรอบเครื่องยนต์สูงๆ เป็นหลัก</p><p><br /></p><p>ไส้กรองอากาศแบบแผ่นพิเศษ</p><p>สำหรับใส่แทนแผ่นไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานเดิม โดยใส่ในกล่องเดิม ได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าไส้กรองอากาศแบบเปลือยมากน ัก เพราะติดตั้งสะดวกและมั่นใจได้ว่ายังสามารถรับอากาศเ ย็นและไหลปะทะจากด้านหน้ารถยนต์ตามปกติ ดูผ่านๆ แล้วพบว่าน่าจะเด่นกว่าเรื่องการยอมให้อากาศไหลผ่านไ ด้ดีขึ้น ซึ่งจะดีขึ้นแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าของเดิมแย่หรือขอ งใหม่ดีขึ้นต่างกันแค่ไหน ส่วนใหญ่พบว่าช่วยให้แรงขึ้นได้ไม่มาก</p><p><br /></p><p>สาเหตุที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนไส้กรองอากาศแบบพิเศษเข้าไปแล้วเครื่องย นต์แรงขึ้นเล็กน้อย เพราะไส้กรองอากาศเดิมนั้นตันหรือหมดสภาพไปแล้ว หรือไส้กรองอากาศแบบเปลือยมีเสียงดูดอากาศดังขึ้นมาก เมื่อกดคันเร่งหนักๆ แล้วจึงมีเสียงดูดอากาศดังสะใจ หรือมีการแต่งเครื่องยนต์ด้วยอุปกรณ์อื่นไปพร้อมกัน จนไม่สามารถแยกได้ว่า ความแรงที่เพิ่มขึ้นมานั้นได้มาจากอุปกรณ์ใด</p><p><br /></p><p>ไม่ว่าจะใช้ไส้กรองอากาศแบบไหน อย่าลืมว่าไส้กรองอากาศก็ตันได้หลังผ่านการใช้งานไปร ะยะหนึ่ง ซึ่งสามารถทราบได้จากระยะทางที่แต่ละผู้ผลิตไส้กรองอ ากาศกำหนดไว้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของฝุ่นในอากาศและสภาพการจร าจรด้วย ว่าควรจะลดระยะทางที่เหมาะสมในการใช้งานลงมาอีกเท่าไ ร แล้วถึงจะเป่าไล่ฝุ่น ล้าง หรือเปลี่ยน ไส้กรองอากาศแบบเปลือย บางรุ่นล้างแล้วต้องเคลือบน้ำยาพิเศษ บางชนิดล้างแล้วใช้ได้เลย และบางชนิดต้องเปลี่ยนแผ่นกรองโดยล้างไม่ได้</p><p><br /></p><p>สำหรับเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเทอร์โบหรือระบบอัด อากาศ การเปลี่ยนไส้กรองอากาศเป็นแบบเปลือยหรือเฉพาะแผ่นกร อง อาจได้ผลมากกว่าเครื่องยนต์ธรรมดา เพราะมีการดูดอากาศมากกว่า แต่มักจะได้ผลมากขึ้นเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันที่จะ อัดเข้าสู่เครื่องยนต์ (BOOST-บูสท์) ในรอบสูงๆ หรือมีการเปลี่ยนตัวเทอร์โบ เพราะส่วนใหญ่พบว่าไส้กรองอากาศเดิมจะอั้นเมื่อมีการ เพิ่มบูสท์ โดยอย่าลืมว่า โล่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องรับอากาศเย็นและมีการไหลปะทะของอากาศที่ดี</p><p><br /></p><p>ปากแตร</p><p>เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ที่ติดตั้งแทนไส้กรองอากาศ อยู่หน้าสุดของระบบทางเดินของไอดี มีรูปทรงเหมือนกับปากของแตรบานโค้งออก ไม่ต้องมีไส้กรองอากาศขวางและมีปากแตรโค้งๆ ช่วยรีดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้ได้มากที่สุด นิยมใช้ในรถแข่งบางประเภทที่ไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่น เพราะสนามแข่งมีฝุ่นน้อย และเครื่องยนต์สำหรับแข่งก็มีอายุการใช้งานสั้นอยู่แ ล้ว</p><p><br /></p><p>ดังนั้นสำหรับเครื่องยนต์ที่ยังใช้งานบนถนนทั่วไปที่ เต็มไปด้วยฝุ่น จึงไม่ควรใส่ปากแตรแทนไส้กรองอากาศ เพราะเมื่อฝุ่นเล็ดลอดเข้าไป จะทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นลงมาก ไม่คุ้มกับกำลังที่เพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย</p><p><br /></p><p>เมื่อเพิ่มอากาศแล้ว ในบางกรณีก็ต้องหาวิธีเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงตามไปด้ว ย มิฉะนั้นอัตราส่วนผสมของไอดีอาจบางเกินกว่าที่เครื่อ งยนต์จะให้กำลังได้สูงสุด หรือทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ได้เพิ่มอากาศขึ้นมากนัก เครื่องยนต์จะมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นโดยอัตโ นมัติ หรือหาวิธีเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นไม่ยาก</p><p><br /></p><p>เพิ่มระบบอัดอากาศ เทอร์โบ & ซูเปอร์ชาร์จ & ไนตรัสออกไซด์</p><p>มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน สูงทั้งค่าใช้จ่าย ความแรง และความยุ่งยาก เครื่องยนต์ที่ไม่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศมาจากโรงง าน ส่วนใหญ่ถ้าอัตราส่วนการอัดในกระบอกสูบไม่เกิน 9.5-10 ต่อ 1 (ถ้าเกินก็ลดอัตราส่วนการอัดได้ไม่ยาก แค่เสริมปะเก็นฝาสูบ 2 ชั้นหรือหนาขึ้น) ก็สามารถติดตั้งระบบอัดอากาศเข้าไปเพื่อรีดกำลังเพิ่ มออกจากเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไส้ในเลย</p><p><br /></p><p>แต่มีข้อแม้ว่า ต้องใช้แรงดันของอากาศที่จะส่งเข้าสู่ท่อร่วมไอดีไม่ สูง (บูสท์ต่ำ) ซึ่งส่วนใหญ่ควรอยู่ในระดับ 3-6 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, อัตราส่วนผสมของไอดีต้องไม่บาง ซึ่งอาจต้องมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปให้เหมา ะสมกับอากาศที่เพิ่มขึ้น และจังหวะการจุดระเบิดต้องเหมาะสม โดยรวมแล้วต้องไม่เกิดการน็อก-ชิงจุดระเบิดตลอดการใช้งาน เพราะนั่นคือต้นเหตุของความเสียหายของไส้ใน เช่น ลูกสูบแตกหรือฝาสูบแตก และผู้ขับต้องไม่แช่รอบสูงนานหรือกระแทกกระทั้นนัก แม้เครื่องยนต์ไม่พังแต่ก็ต้องยอมรับว่าจะมีการสึกหร อเร็วขึ้นจากปกติบ้าง</p><p><br /></p><p>ถ้าเป็นเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จ ก็มีให้เลือกทั้งแบบชุดสำเร็จจากต่างประเทศของสำนักแ ต่งชื่อดัง มั่นใจได้ในคุณภาพ การรับประกัน และสะดวก แต่ราคาแพง ชุดละกว่า 100,000 บาท หรือช่างไทยซึ่งสรรหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาติดตั้งให้ ค่าใช้จ่ายไม่แพง โดยประมาณอยู่ที่ 30,000-80,000 บาท แต่ต้องเลือกช่างและอุปกรณ์ที่ดี เพราะมีปะปนกัน ทั้งทำแล้วไม่ทน-พัง หรือทั้งถูกทั้งแรงกว่าชุดสำเร็จจากต่างประเทศ ช่างไทยแต่งแรงในยุคนี้มีหลายคนที่เก่งไม่แพ้ต่างประ เทศ</p><p><br /></p><p>เทอร์โบ</p><p>เป็นการใช้ของเหลือทิ้ง นำไอเสียมาผ่านกังหันไอเสีย (เทอร์ไบน์) เพื่อให้หมุนเป็นต้นกำลังพากังหันไอดี (คอมเพรเซอร์) ที่ติดตั้งบนแกนเดียวกันอีกด้านหนึ่งให้หมุนเพื่ออัด อากาศเข้าสู่เครื่องยนต์</p><p><br /></p><p>มีจุดเด่น คือ ไม่กินกำลังของเครื่องยนต์ และสามารถหาติดตั้งได้ทั้งจากชุดสำเร็จจากต่างประเทศ ของสำนักแต่งชื่อดัง หรือด้วยฝีมือช่างไทย</p><p><br /></p><p>มีจุดด้อยอยู่เล็กน้อย คือ ถ้ามีขนาดของเทอร์โบเหมาะสมกับซีซีของเครื่องยนต์ ก็หนีไม่พ้นอาการรอรอบ คือ เทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศ (บูสท์) ตั้งแต่เครื่องยนต์หมุนรอบปานกลางขึ้นไป ส่วนในรอบต่ำนั้นก็ยังมีอัตราเร่งเหมือนตอนที่ยังไม่ ติดตั้งเทอร์โบ ซ้ำยังแย่กว่าอยู่เล็กน้อย เพราะการระบายไอเสียไม่คล่องเหมือนเดิม จากการที่มีกังหันไอเสียขวางอยู่ และถ้ามีการลดอัตราส่วนการอัดลงจากเดิม ก็ยิ่งทำให้อัตราเร่งแย่ลงไปอีกเล็กน้อย จนกว่าเทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศในรอบปานกลางขึ้นไป ถึงจะแรงแบบลืมจุดด้อยไปเลย</p><p><br /></p><p>ซูเปอร์ชาร์จ</p><p>ใช้สายพานซึ่งต่อมาจากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์เ ป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนอุปกรณ์อัดอากาศ มีจุดเด่น คือ สามารถควบคุมให้มีการอัดอากาศได้ตั้งแต่รอบต่ำขึ้นไป ทำให้มีการตอบสนองด้านอัตราเร่งที่ฉับไว และไม่ต้องรอรอบ</p><p><br /></p><p>จุดด้อย คือ กินกำลังของเครื่องยนต์อยู่เล็กน้อย เพราะต้องแบ่งกำลังมาใช้หมุนซูเปอร์ชาร์จ รอบสูงจัดๆ ก็สู้เทอร์โบไม่ได้ และส่วนใหญ่เป็นชุดสำเร็จจากต่างประเทศของสำนักแต่งช ื่อดัง จึงมีราคาแพง และหาซื้อของเก่ามาเทียบใช้ได้ยากกว่าเทอร์โบ</p><p><br /></p><p>ไนตรัสออกไซด์</p><p>ใช้อากาศไม่ธรรมดาที่บรรจุอยู่ในถังขนาดเล็กต่อสายอั ดเข้าสู่ท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์ โดยเป็นอากาศที่มีเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจน ซึ่งช่วยในการเผาไหม้มากกว่าอากาศปกติ ผสมอยู่กับก๊าซเฉื่อย-ไนโตรเจน ที่ช่วยควบคุมการเผาไหม้ ไม่ให้รุนแรงเกินไปจนชิ้นส่วนในเครื่องยนต์เสียหาย</p><p><br /></p><p>จุดเด่น คือ มีชิ้นส่วนน้อย แค่ติดตั้งถังเก็บไนตรัสออกไซด์ เดินท่อก๊าซเข้าสู่หัวฉีดที่ติดตั้งเข้ากับท่อร่วมไอ ดีพร้อมเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม แล้วติดตั้งปุ่มควบคุมการฉีด ก็พร้อมใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำอะไรกับชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ หากอัดไนตรัสออกไซด์ในแรงดันและปริมาณต่ำเป็นช่วงเวล าสั้นๆ (3-10 วินาที) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่แพง 25,000-40,000 บาท</p><p><br /></p><p>จุดด้อย คือ เมื่อใช้ไนตรัสออกไซด์หมดแล้วต้องหาซื้อมาเติมใหม่ และถ้าไม่เปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ให้แข็งแรง ขึ้น (คล้ายกับการเตรียมรับบูสท์จากเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร ์จ) ก็จะไม่สามารถอัดไนตรัสได้ในปริมาณมากและนาน บางเครื่องยนต์อัดไนตรัสออกไซด์ได้ครั้งละ 2-5 วินาทีเท่านั้น เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจพัง ! เช่น ลูกสูบแตก ปะเก็นฝาสูบแตก ก้านสูบขาด ฯลฯ</p><p><br /></p><p>ส่วนใหญ่ไนตรัสออกไซด์มักถูกใช้เป็นไม้ตาย หลังจากอัดเทอร์โบ-ซูเปอร์ชาร์จหรือแต่งเครื่องยนต์กันสุดๆ แล้วยังไม่สามารถแซงขึ้นหน้าคู่แข่งได้ ก็อัดเพิ่มในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่ใส่เฉพาะไนตรัสออกไซด์เพียงอย่างเดียว</p><p><br /></p><p>เครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบอัดอากาศอยู่แล้ว</p><p>เครื่องยนต์ทั้งแบบที่ติดตั้งเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์ จมาจากโรงงานผู้ผลิต มักมีการควบคุมแรงดันของอากาศ (บูสท์) ที่จะอัดเข้าสู่เครื่องยนต์ไว้ในอัตราที่ไม่สร้างควา มเสียหายกับเครื่องยนต์ ไม่ว่าผู้ขับจะกระแทกกระทั้นหนักเพียงไร</p><p><br /></p><p>ดังนั้นบูสท์ที่ถูกควบคุมไว้จึงไม่สูงนัก สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อยโดยที่เครื่องยนต์ ยังพอรับได้ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ปรับบูสท์เพิ่มนั่นเอง</p><p><br /></p><p>โดยมีข้อแม้ว่า ไม่ควรปรับบูสท์เพิ่มมาก (เพิ่มจากเดิม 2-5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และต้องควบคุมให้มีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นอย่า งเหมาะสมกับอากาศ หรือไม่ให้ไอดีบางเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดการชิงจุดระเบิด (น็อก) จนเครื่องยนต์เสียหาย</p><p><br /></p><p>ไม่สามารถสรุปได้ว่า เครื่องยนต์รุ่นใดจะปรับบูสท์เพิ่มได้เท่าไรโดยไม่พั ง แต่ก็พอบอกได้ว่า ถ้าเพิ่มขึ้นสัก 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้วและน้ำมันเชื้อเพลิงไม่บางเกินไป เครื่องยนต์ก็พอทนได้แบบไม่แช่รอบสูงยาวๆ แล้วก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อปรับบูสท์เพิ่มแล้วจะต้องเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิธีไหน เพราะบางเครื่องยนต์จะเพิ่มให้เองโดยอัตโนมัติ แต่บางเครื่องยนต์ต้องหาวิธีเพิ่มเอง</p><p><br /></p><p>ไม่ว่าจะปรับบูสท์เพิ่มขึ้นเท่าไร โดยไม่แตะต้องไส้ในเครื่องยนต์ พึงระลึกไว้เสมอว่า ทำได้ แต่น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเพียงพอ ต้องไม่ให้มีการชิงจุดระเบิด และไม่ควรแช่ยาว เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์พังได้</p><p><br /></p><p>น้ำมันเชื้อเพลิง</p><p>ผู้ที่ต้องการเพิ่มความแรงของเครื่องยนต์ มักพุ่งความสนใจไปที่จุดนี้ เพราะคิดแค่ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงต้องถูกเผาไหม้ ยิ่งใส่เข้าไปได้มากย่อมแรงขึ้น โดยมองข้ามไปว่า ถ้าไม่เพิ่มอากาศเข้าไปด้วย ก็จะเพิ่มน้ำมันได้ไม่มากและมีขอบเขตจำกัด</p><p><br /></p><p>จริงอยู่ที่การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงก็น่าจะทำให้แรง ขึ้นได้ แต่น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีอากาศมาผสมในอัตราส่วนที่เ หมาะสม เพื่อให้มีการจุดระเบิดและเผาไหม้สมบูรณ์ แต่ไม่ใช่เพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไร้ขอบเขตได้แล้วจ ะแรง ถ้าอย่างนั้นหากเทน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปเป็นถังๆ โดยไม่เพิ่มอากาศด้วย ก็คงจะแรงกระฉูดไปแล้ว</p><p><br /></p><p>เครื่องยนต์จะแรงขึ้นได้ ต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศในอัตราส่วนที่เหมาะส ม ไม่ให้มีอัตราส่วนผสมของไอดีบางหรือหนาเกินไป เพื่อให้อากาศช่วยเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างสม บูรณ์</p><p><br /></p><p>เครื่องยนต์เดิมๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ควบคุมให้มีการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงใน อัตราสูงสุดที่จะทำให้เครื่องยนต์แรงสุด โดยผู้ผลิตมักลดระดับลงมาเล็กน้อย เพื่อให้เครื่องยนต์แรงแค่พอสมควร แต่ประหยัดและมีมลพิษต่ำ หรือเรียกว่าส่วนผสมไอดีบางไว้หน่อยนั่นเอง จึงยังพอแต่งต่อเพื่อเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้อีกเล็ กน้อย</p><p><br /></p><p>ดังนั้นการเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเครื่อง ยนต์ จึงมีขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน เช่น เครื่องยนต์เดิมไอดีบางมาก ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากหน่อย แต่ถ้าเครื่องยนต์เดิมไอดีเกือบจะหนาสุดอยู่แล้ว ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อย เพราะถ้าไอดีหนาเกินไป แทนที่จะแรงเครื่องยนต์กลับแรงตก กินน้ำมันเชื้อเพลิง และควันดำ หรือเรียกว่าน้ำมันท่วมนั่นเอง การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ควรหนากว่าประมาณ 1 ต่อ 11-12 ของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ</p><p><br /></p><p>การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงมีหลายวิธี แยกเป็น 2 รูปแบบเครื่องยนต์หลัก คือ คาร์บูเรเตอร์กับหัวฉีด แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน</p><p><br /></p><p>เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ ถ้าจะเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่เปลี่ยนขนาดหรือเพิ่มจำนวนคาร์บูเรเตอร์ ก็สามารถเพิ่มได้เพียงการเปลี่ยนนมหนูน้ำมันเชื้อเพล ิงใหญ่ขึ้นหรือเพิ่มเบอร์ใหญ่ขึ้นนั่นเอง และต้องเข้ากับหลักการที่ว่าไม่สามารถเพิ่มมากได้</p><p><br /></p><p>โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่มีการเพิ่มอากาศ จะเพิ่มขนาดของนมหนูน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 0.10-0.20 มิลลิเมตร หรือเรียกแบบกลายๆ ตามสไตล์ช่างไทยว่า 10-20 เบอร์เท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้อัตราส่วนผสมของไอดีอาจหนาเกินไป หรือน้ำมันท่วมจนเครื่องยนต์แรงตกนั่นเอง</p><p><br /></p><p>เครื่องยนต์แบบหัวฉีด สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหลากวิธีสารพัดอุปกร ณ์ เช่น ความนิยมกับการเปลี่ยนโปรแกรม ชิพ (CHIP) หรือกล่องอีซียู ซึ่งส่วนใหญ่จะแรงขึ้นไม่มาก หากโปรแกรมเดิมเป็นไปตามแนวทางปกติก็จะแรงขึ้นได้น้อ ย เพราะผู้ผลิตมักไม่ยอมให้บางมาก แต่ถ้าเดิมเครื่องยนต์บางมาก ก็แรงขึ้นได้มาก โดยทั่วไป 5-10 เปอร์เซ็นต์ ก็สูงสุดแล้ว เพราะถ้าเพิ่มขึ้นมากๆ อัตราส่วนผสมของไอดีก็จะหนาเกินไปจนเครื่องยนต์แรงตก เช่นกัน</p><p><br /></p><p>ถ้าคิดจะเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ทำอย่างอื่ น หรือเรียกกันกลายๆ ว่า เปลี่ยนชิพ (CHIP) ใหม่-โปรแกรมใหม่ ก็ให้นึกถึงการเปลี่ยนนมหนูใหญ่ๆ ในระบบคาร์บูเรเตอร์ไว้ว่า ไอดีหนาขึ้นได้ไม่มาก นอกจากเครื่องยนต์เดิมนั้นมีไอดีบางมาก</p><p><br /></p><p>ไฟจุดระเบิด</p><p>แรงมากย่อมดีโดยไม่มีเสีย (นอกจากเงิน) แต่ถ้าไม่มีการเพิ่มให้มีทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและอาก าศหนาแน่นขึ้นมาก การเพิ่มพลังไฟในการจุดระเบิด เพื่อให้หัวเทียนมีประกายไฟโดยไม่แต่งระบบอื่นก็เกือ บจะไร้ประโยชน์ ถ้าเดิมนั้นจุดระเบิดได้แรงพออยู่แล้ว</p><p><br /></p><p>โดยต้องขึ้นอยู่กับว่าระบบไฟจุดระเบิดนั้นแรงเพียงพอ กับน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศที่ถูกคลุกเคล้าในกระบอก สูบหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วถ้าเพิ่มเฉพาะกำลังไฟจุดระเบิด เครื่องยนต์จะแรงขึ้นน้อยมาก อย่างมากก็แค่อัตราเร่งลื่นๆ ขึ้นเท่านั้นเอง แต่ถ้ามีการเพิ่มทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศจนไอดี หนาแน่นขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟจุดระเบิดย่อมต้องทำควบ คู่กัน</p><p><br /></p><p>การแต่งระบบไฟจุดระเบิด เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของคอยล์ ใช้สายหัวเทียนความต้านทานต่ำ หัวเทียนแพลตินัม ฯลฯ แต่ถ้าเพิ่มขึ้นไปในขณะที่อุปกรณ์เดิมก็เพียงพออยู่แ ล้ว เครื่องยนต์ก็จะแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างมากก็แค่ลื่นๆ ขึ้นเท่านั้น</p><p><br /></p><p>หลายกรณีที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนหัวเทียนหรือสายหัวเทียนแบบพิเศษเข้าไปแ ล้ว ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น เป็นเพราะอุปกรณ์เดิมนั้นแย่หรือหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเปลี่ยนหัวเทียนเป็นแบบมาตรฐานหรือแบบพิเศษ ก็ย่อมดีขึ้น</p><p><br /></p><p>ไล่ไอเสีย</p><p>การไล่ไอเสียออกจากเครื่องยนต์ให้หมดจดและรวดเร็วที่ สุดย่อมมีแต่ผลดี และสามารถเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์ได้ เสมือนกับการทำให้ท่อน้ำทิ้งของบ้านไหลลื่นที่สุด</p><p><br /></p><p>สำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปที่ไม่ได้ตกแต่งส่วนอื่น ถ้ามีการเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบไอเสียให้ดีขึ้น เช่น ที่เรียกกันกลายๆ ว่า ตีเฮดเดอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาทดแทนเฉพาะท่อร่วมไอเสีย พร้อมกับหม้อพักไส้ตรงแบบโล่งๆ พบว่าถ้าเดิมไม่อั้นการระบายไอเสียมาก ก็จะได้ผลดีขึ้นน้อยมาก ไม่น่าให้แรงม้าจากเดิมเกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะบังเอิญว่าระบบท่อไอเสียเดิมนั้นอั้นการระบา ยมากๆ</p><p><br /></p><p>ไม่ว่าจะอยากแรงด้วยวิธีไหนหรืออุปกรณ์ใด พึงระลึกไว้เสมอว่า แรงม้า กับ แรงโม้ นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ขายมักจะโฆษณาชวนเชื่อว่า ใส่เข้าไปจะแรงขึ้นเท่านั้นเท่านี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วส่วนใหญ่ก็มีแค่ลมปากหรือความรู้สึ ก ความแรง-แรงม้าที่แท้จริง ต้องพิสูจน์ได้ด้วยตัวเลขหรือเครื่องมือ ไม่ใช่แรงโม้</p><p><br /></p><p>****ขอบคุณ site นึงที่ไปเจอ ไม่เอ่ยนะคับ เป็นฟามลับทางราชการ <img src="styles/default/xenforo/clear.png" class="mceSmilieSprite mceSmilie8" alt=":D" unselectable="on" unselectable="on" /> </p><p>แต่ขอบคุณในบอร์ดเค้าเรียบร้อยและ <img src="styles/default/xenforo/clear.png" class="mceSmilieSprite mceSmilie8" alt=":D" unselectable="on" unselectable="on" />[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="wutnv, post: 512565, member: 2242"]อยากแรง แต่งเครื่องยนต์เดิมอย่างไร รถยนต์ที่จำหน่ายในไทย โดยเฉพาะที่ประกอบในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นตัวถังเดียวกันที่จำหน ่ายในประเทศใหญ่ๆ ส่วนใหญ่มีความแรงแค่ระดับพื้นฐาน ด้วยเหตุผลของจำนวนการผลิต และความสามารถในการดูแลและซ่อมแซม ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องยนต์พลังแรงมักต้องใช้เทคโนโลยี และต้นทุนสูง โดยมีเหตุผลหลักมาจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา การใช้รถยนต์จึงมีไว้สำหรับการเดินทางเป็นหลัก แรงหรือไม่แรงก็พาไปถึงจุดหมายได้เหมือนกัน ผู้ใช้รถยนต์ในยุคก่อนจึงถูกปลูกฝังว่า เครื่องยนต์ไม่ต้องแรงก็ได้ ขอให้ดูแลไม่ยุ่งยากและไม่สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิ งเป็นพอ ผู้ผลิตก็เลยต้องเดินไปตามแนวทางนั้นมาจนถึงปัจจุบัน นี้ เช่น รถยนต์ระดับกลางในไทย ใช้เครื่องยนต์รุ่นสูงสุดในระดับ 1,600 ซีซี แคมชาฟท์เดี่ยว 16 วาล์ว พร้อมระบบวีเทค หัวฉีด 127 แรงม้า แต่ในต่างประเทศ 1,600 ซีซี เท่ากัน แต่รุ่นสูงสุดเป็นแบบทวินแคม 16 วาล์ว พร้อมระบบวีเทค ฯลฯ แรงถึง 185 แรงม้า พร้อมกับความไฮเทคสุดๆ สาเหตุที่คนไทยมีความต้องการด้านความแรงเพิ่มขึ้น นอกจากเกิดขึ้นด้วยความทันสมัยของข่าวสารจากต่างประเ ทศแล้ว ยังเกิดขึ้นจากความคุ้นเคยของผู้ขับเอง ไม่ว่าเครื่องยนต์จะแรงหรือไม่ก็ตาม เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ก็มักเกิดความคุ้นเคยกับความแรงของเครื่องยนต์ ประกอบกับการเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์ตามปกติ จึงเกิดความต้องการให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ความแรงของเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้มีประโยชน์ในด้านการเพิ่มความเร็วสูงสุดเป็นหล ัก เพราะดีผลที่ได้มากอยู่ที่อัตราเร่ง ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่เริ่มออกตัวไปตลอดทุกช่วงควา มเร็ว และช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการเร่งแซงที่ฉับไวขึ้น ด้วย แต่งเครื่องยนต์เดิม โดยมีหลักการโดยรวม คือ ถ้าจะให้ได้ผลมาก ต้องเพิ่ม 4 อย่าง ทั้งอากาศ น้ำมัน และไฟจุดระเบิด แล้วเสริมด้วยการไล่ไอเสียเป็นอย่างที่ 4 ถ้าเพิ่มเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีขอบเขตต่ำกว่าการทำแบบครบๆ มีข้อดี คือ ไม่เสียประวัติในสมุดทะเบียน เพราะรถยนต์ที่ถูกเปลี่ยนเครื่องยนต์มักถูกสงสัยเมื่ อมีการขายต่อว่า เปลี่ยนเพราะถูกถลุงจนพังหรือเหตุผลอื่น วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความแรงเพิ่มขึ้นไม่ มาก, กลัวห้องเครื่องยนต์ช้ำ, เครื่องยนต์เดิมยังมีสภาพดีอยู่, วิเคราะห์ดูแล้วว่าพอแต่งขึ้น หรือครื่องยนต์แรงๆ ที่ต้องการเปลี่ยนมีราคาแพงมาก โดยมี 2 รูปแบบหลักในการแต่ง คือ แต่งเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก หรือ แต่งล้วงลึกถึงไส้ใน แต่งเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก เครื่องยนต์ยุคใดก็ตาม การแต่งเพิ่มความแรงเฉพาะอุปกรณ์ภายนอก โดยไม่แตะต้องฝาสูบและเสื้อสูบ มักทำได้ไม่มาก แต่สะดวก โดยแต่ละอุปกรณ์ใหม่ที่ใส่เข้าไปแทนอุปกรณ์เดิม ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้กี ่เปอร์เซ็นต์ เช่น ไส้กรองอากาศแบบเปลือยหรือเฮดเดอร์ในระบบระบายไอเสีย ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้ 5 เปอร์เซ็นต์ตายตัว เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์เดิมนั้นแย่แค่ไหน ถ้าแย่มาก เมื่อใส่อุปกรณ์ใหม่ที่ดีๆ เข้าไปแทน ย่อมให้ผลมาก แต่ถ้าของเดิมดีอยู่แล้ว ก็ย่อมดีขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย ไม่เพิ่มระบบอัดอากาศ โดยหลักการพื้นฐาน คือ การประจุไอดีเข้าสู่เครื่องยนต์ โดยใช้แรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบเป็นหลัก จึงต้องพยายามทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อากาศต้องไหลผ่านจากภายนอกเข้าสู่กระบอกสูบ มีการอั้นการไหลน้อยที่สุด ส่วนใหญ่สามารถเพิ่มอากาศด้วยอุปกรณ์ภายนอกได้น้อยแล ะให้ผลดีขึ้นไม่มาก โดยมีอุปกรณ์หลักที่ทำได้ คือ ไส้กรองอากาศ เช่น เปลี่ยนเป็นไส้กรองอากาศแบบเปลือยหรือ ไส้กรองพิเศษในกล่องหม้อกรองอากาศเดิม และหนักสุดกับการใส่ปากแตรเข้าไปโดยไม่มีไส้กรองอากา ศ ไส้กรองอากาศแบบเปลือย นับเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร เพราะไม่แพง, ติดตั้งง่าย, สวยงาม และให้ความรู้สึกว่าน่าจะแรง จากรูปทรงของไส้กรองอากาศแบบเปลือยที่สามารถรับอากาศ ได้โดยรอบ และน่าจะปล่อยให้อากาศไหลผ่านได้ง่ายกว่าไส้กรองอากา ศแบบมาตรฐาน ที่ติดตั้งอยู่ในกล่องปิด ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่มีเทอร์โบหรือระบบอัดอ ากาศใดๆ ไส้กรองอากาศแบบเปลือยอาจเพิ่มหรือลดความแรงของเครื่ องยนต์ก็ได้ ไม่ใช่ใส่เข้าไปแล้วจะแรงเสมอไป แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานเดิม อั้นการไหลของอากาศแค่ไหน และไส้กรองอากาศแบบเปลือยโล่งแค่ไหน ไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อแต่งในส่วนนี้แล้ว จะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้กี่เปอร์เซ็นต์ มุมมองที่ว่า ชุดไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานจากผู้ผลิตรถยนต์นั้นปิดทึ บซ่อนอยู่ในกล่องอับ แล้วจะทำให้การดูดอากาศไม่สะดวกนั้น ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงนัก เพราะกล่องไส้กรองอากาศมีห้องพักอากาศขนาดใหญ่พอสมคว ร และมีการต่อท่อมาดักอากาศจากด้านหน้าของรถยนต์ จึงมีอุณภูมิต่ำ (โมเลกุลของอากาศหนาแน่นกว่าอากาศร้อน) และมีแรงส่งปะทะของอากาศเข้ามาเมื่อรถยนต์แล่น โดยรวมแล้วไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานจึงไม่น่าจะอั้นการ ไหลของอากาศเท่าไรนัก นอกจากความโล่งหรืออัตราการไหลผ่านของอากาศของตัวไส้ กรองอากาศ ที่จะมีผลต่อความแรงของเครื่องยนต์แล้ว ยังเกี่ยวของกับตำแหน่งการติดตั้งซึ่งต้องรับลมปะทะจ ากด้านหน้าได้ดี และอากาศที่ผ่านเข้าไม่ควรร้อน รวมถึงประสิทธิภาพการกรองฝุ่นด้วย ถ้าเครื่องยนต์แรงขึ้นแต่สึกหรอเร็วขึ้นเพราะฝุ่นเข้ าได้ง่าย ก็คงไม่ดี การใช้ไส้กรองอากาศแบบเปลือย จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อมีการติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สาม ารถรับอากาศเย็น และรับอากาศปะทะจากด้านหน้าได้มากที่สุด ถ้าเป็นการติดตั้งไว้ในมุมอับในห้องเครื่องยนต์ แม้ตัวไส้กรองอากาศแบบเปลือยจะรับอากาศได้รอบตัว แต่ถ้าเป็นอากาศร้อนและขาดการไหลปะทะที่ดี บางครั้งพบว่าแย่กว่าไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานก็มี จากการทดสอบด้วยเครื่องมือวัดแรงม้า-ไดนาโมมิเตอร์ กับเครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว หัวฉีด 1,300 ซีซี ที่ไม่ได้มีการปรับแต่งส่วนอื่น ไม่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศ โดยติดตั้งไส้กรองอากาศแบบเปลือยแทนและมีท่อดักอากาศ จากด้านหน้ารถยนต์ตามปกติด้วย ในจำนวน 4-5 รุ่นของไส้กรองอากาศแบบเปลือย พบว่าไม่มีรุ่นใดเพิ่มแรงม้าให้กับเครื่องยนต์เลย และบางรุ่นใส่แล้วทำให้แรงม้าตกก็ยังมี ผลของการทดสอบไม่ใช่บทสรุปว่า ไส้กรองอากาศแบบเปลือยจะไม่ให้ผลดีขึ้นในทุกเครื่องย นต์ อาจเป็นเพราะไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานของรถยนต์รุ่นนั้ นโล่งเพียงพออยู่แล้ว ในขณะที่ไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานของรถยนต์รุ่นอื่นอาจ จะอั้นกว่า แต่ก็พอช่วยให้ประเมินได้ว่า ถ้าเปลี่ยนเฉพาะไส้กรองอากาศแบบเปลือย ก็ไม่น่าจะให้ผลดีขึ้นมาก โดยเฉพาะถ้าติดตั้งในตำแหน่งที่รับอากาศร้อนและไม่มี อากาศไหลปะทะ ในเครื่องยนต์บางรุ่นที่ติดตั้งไส้กรองอากาศแบบเปลือ ยเข้าไปแทน อาจได้ผลดีให้พอสัมผัสได้ เช่น อัตราเร่งลื่นขึ้นบ้าง ซึ่งก็เป็นไปได้จริง โดยจะชัดเจนเฉพาะในช่วงรอบเครื่องยนต์สูงๆ เป็นหลัก ไส้กรองอากาศแบบแผ่นพิเศษ สำหรับใส่แทนแผ่นไส้กรองอากาศแบบมาตรฐานเดิม โดยใส่ในกล่องเดิม ได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าไส้กรองอากาศแบบเปลือยมากน ัก เพราะติดตั้งสะดวกและมั่นใจได้ว่ายังสามารถรับอากาศเ ย็นและไหลปะทะจากด้านหน้ารถยนต์ตามปกติ ดูผ่านๆ แล้วพบว่าน่าจะเด่นกว่าเรื่องการยอมให้อากาศไหลผ่านไ ด้ดีขึ้น ซึ่งจะดีขึ้นแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าของเดิมแย่หรือขอ งใหม่ดีขึ้นต่างกันแค่ไหน ส่วนใหญ่พบว่าช่วยให้แรงขึ้นได้ไม่มาก สาเหตุที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนไส้กรองอากาศแบบพิเศษเข้าไปแล้วเครื่องย นต์แรงขึ้นเล็กน้อย เพราะไส้กรองอากาศเดิมนั้นตันหรือหมดสภาพไปแล้ว หรือไส้กรองอากาศแบบเปลือยมีเสียงดูดอากาศดังขึ้นมาก เมื่อกดคันเร่งหนักๆ แล้วจึงมีเสียงดูดอากาศดังสะใจ หรือมีการแต่งเครื่องยนต์ด้วยอุปกรณ์อื่นไปพร้อมกัน จนไม่สามารถแยกได้ว่า ความแรงที่เพิ่มขึ้นมานั้นได้มาจากอุปกรณ์ใด ไม่ว่าจะใช้ไส้กรองอากาศแบบไหน อย่าลืมว่าไส้กรองอากาศก็ตันได้หลังผ่านการใช้งานไปร ะยะหนึ่ง ซึ่งสามารถทราบได้จากระยะทางที่แต่ละผู้ผลิตไส้กรองอ ากาศกำหนดไว้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของฝุ่นในอากาศและสภาพการจร าจรด้วย ว่าควรจะลดระยะทางที่เหมาะสมในการใช้งานลงมาอีกเท่าไ ร แล้วถึงจะเป่าไล่ฝุ่น ล้าง หรือเปลี่ยน ไส้กรองอากาศแบบเปลือย บางรุ่นล้างแล้วต้องเคลือบน้ำยาพิเศษ บางชนิดล้างแล้วใช้ได้เลย และบางชนิดต้องเปลี่ยนแผ่นกรองโดยล้างไม่ได้ สำหรับเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเทอร์โบหรือระบบอัด อากาศ การเปลี่ยนไส้กรองอากาศเป็นแบบเปลือยหรือเฉพาะแผ่นกร อง อาจได้ผลมากกว่าเครื่องยนต์ธรรมดา เพราะมีการดูดอากาศมากกว่า แต่มักจะได้ผลมากขึ้นเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันที่จะ อัดเข้าสู่เครื่องยนต์ (BOOST-บูสท์) ในรอบสูงๆ หรือมีการเปลี่ยนตัวเทอร์โบ เพราะส่วนใหญ่พบว่าไส้กรองอากาศเดิมจะอั้นเมื่อมีการ เพิ่มบูสท์ โดยอย่าลืมว่า โล่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องรับอากาศเย็นและมีการไหลปะทะของอากาศที่ดี ปากแตร เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ที่ติดตั้งแทนไส้กรองอากาศ อยู่หน้าสุดของระบบทางเดินของไอดี มีรูปทรงเหมือนกับปากของแตรบานโค้งออก ไม่ต้องมีไส้กรองอากาศขวางและมีปากแตรโค้งๆ ช่วยรีดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้ได้มากที่สุด นิยมใช้ในรถแข่งบางประเภทที่ไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่น เพราะสนามแข่งมีฝุ่นน้อย และเครื่องยนต์สำหรับแข่งก็มีอายุการใช้งานสั้นอยู่แ ล้ว ดังนั้นสำหรับเครื่องยนต์ที่ยังใช้งานบนถนนทั่วไปที่ เต็มไปด้วยฝุ่น จึงไม่ควรใส่ปากแตรแทนไส้กรองอากาศ เพราะเมื่อฝุ่นเล็ดลอดเข้าไป จะทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นลงมาก ไม่คุ้มกับกำลังที่เพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เมื่อเพิ่มอากาศแล้ว ในบางกรณีก็ต้องหาวิธีเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงตามไปด้ว ย มิฉะนั้นอัตราส่วนผสมของไอดีอาจบางเกินกว่าที่เครื่อ งยนต์จะให้กำลังได้สูงสุด หรือทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ได้เพิ่มอากาศขึ้นมากนัก เครื่องยนต์จะมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นโดยอัตโ นมัติ หรือหาวิธีเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นไม่ยาก เพิ่มระบบอัดอากาศ เทอร์โบ & ซูเปอร์ชาร์จ & ไนตรัสออกไซด์ มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน สูงทั้งค่าใช้จ่าย ความแรง และความยุ่งยาก เครื่องยนต์ที่ไม่มีการติดตั้งระบบอัดอากาศมาจากโรงง าน ส่วนใหญ่ถ้าอัตราส่วนการอัดในกระบอกสูบไม่เกิน 9.5-10 ต่อ 1 (ถ้าเกินก็ลดอัตราส่วนการอัดได้ไม่ยาก แค่เสริมปะเก็นฝาสูบ 2 ชั้นหรือหนาขึ้น) ก็สามารถติดตั้งระบบอัดอากาศเข้าไปเพื่อรีดกำลังเพิ่ มออกจากเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไส้ในเลย แต่มีข้อแม้ว่า ต้องใช้แรงดันของอากาศที่จะส่งเข้าสู่ท่อร่วมไอดีไม่ สูง (บูสท์ต่ำ) ซึ่งส่วนใหญ่ควรอยู่ในระดับ 3-6 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, อัตราส่วนผสมของไอดีต้องไม่บาง ซึ่งอาจต้องมีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปให้เหมา ะสมกับอากาศที่เพิ่มขึ้น และจังหวะการจุดระเบิดต้องเหมาะสม โดยรวมแล้วต้องไม่เกิดการน็อก-ชิงจุดระเบิดตลอดการใช้งาน เพราะนั่นคือต้นเหตุของความเสียหายของไส้ใน เช่น ลูกสูบแตกหรือฝาสูบแตก และผู้ขับต้องไม่แช่รอบสูงนานหรือกระแทกกระทั้นนัก แม้เครื่องยนต์ไม่พังแต่ก็ต้องยอมรับว่าจะมีการสึกหร อเร็วขึ้นจากปกติบ้าง ถ้าเป็นเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จ ก็มีให้เลือกทั้งแบบชุดสำเร็จจากต่างประเทศของสำนักแ ต่งชื่อดัง มั่นใจได้ในคุณภาพ การรับประกัน และสะดวก แต่ราคาแพง ชุดละกว่า 100,000 บาท หรือช่างไทยซึ่งสรรหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาติดตั้งให้ ค่าใช้จ่ายไม่แพง โดยประมาณอยู่ที่ 30,000-80,000 บาท แต่ต้องเลือกช่างและอุปกรณ์ที่ดี เพราะมีปะปนกัน ทั้งทำแล้วไม่ทน-พัง หรือทั้งถูกทั้งแรงกว่าชุดสำเร็จจากต่างประเทศ ช่างไทยแต่งแรงในยุคนี้มีหลายคนที่เก่งไม่แพ้ต่างประ เทศ เทอร์โบ เป็นการใช้ของเหลือทิ้ง นำไอเสียมาผ่านกังหันไอเสีย (เทอร์ไบน์) เพื่อให้หมุนเป็นต้นกำลังพากังหันไอดี (คอมเพรเซอร์) ที่ติดตั้งบนแกนเดียวกันอีกด้านหนึ่งให้หมุนเพื่ออัด อากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ มีจุดเด่น คือ ไม่กินกำลังของเครื่องยนต์ และสามารถหาติดตั้งได้ทั้งจากชุดสำเร็จจากต่างประเทศ ของสำนักแต่งชื่อดัง หรือด้วยฝีมือช่างไทย มีจุดด้อยอยู่เล็กน้อย คือ ถ้ามีขนาดของเทอร์โบเหมาะสมกับซีซีของเครื่องยนต์ ก็หนีไม่พ้นอาการรอรอบ คือ เทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศ (บูสท์) ตั้งแต่เครื่องยนต์หมุนรอบปานกลางขึ้นไป ส่วนในรอบต่ำนั้นก็ยังมีอัตราเร่งเหมือนตอนที่ยังไม่ ติดตั้งเทอร์โบ ซ้ำยังแย่กว่าอยู่เล็กน้อย เพราะการระบายไอเสียไม่คล่องเหมือนเดิม จากการที่มีกังหันไอเสียขวางอยู่ และถ้ามีการลดอัตราส่วนการอัดลงจากเดิม ก็ยิ่งทำให้อัตราเร่งแย่ลงไปอีกเล็กน้อย จนกว่าเทอร์โบจะเริ่มอัดอากาศในรอบปานกลางขึ้นไป ถึงจะแรงแบบลืมจุดด้อยไปเลย ซูเปอร์ชาร์จ ใช้สายพานซึ่งต่อมาจากเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์เ ป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนอุปกรณ์อัดอากาศ มีจุดเด่น คือ สามารถควบคุมให้มีการอัดอากาศได้ตั้งแต่รอบต่ำขึ้นไป ทำให้มีการตอบสนองด้านอัตราเร่งที่ฉับไว และไม่ต้องรอรอบ จุดด้อย คือ กินกำลังของเครื่องยนต์อยู่เล็กน้อย เพราะต้องแบ่งกำลังมาใช้หมุนซูเปอร์ชาร์จ รอบสูงจัดๆ ก็สู้เทอร์โบไม่ได้ และส่วนใหญ่เป็นชุดสำเร็จจากต่างประเทศของสำนักแต่งช ื่อดัง จึงมีราคาแพง และหาซื้อของเก่ามาเทียบใช้ได้ยากกว่าเทอร์โบ ไนตรัสออกไซด์ ใช้อากาศไม่ธรรมดาที่บรรจุอยู่ในถังขนาดเล็กต่อสายอั ดเข้าสู่ท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์ โดยเป็นอากาศที่มีเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจน ซึ่งช่วยในการเผาไหม้มากกว่าอากาศปกติ ผสมอยู่กับก๊าซเฉื่อย-ไนโตรเจน ที่ช่วยควบคุมการเผาไหม้ ไม่ให้รุนแรงเกินไปจนชิ้นส่วนในเครื่องยนต์เสียหาย จุดเด่น คือ มีชิ้นส่วนน้อย แค่ติดตั้งถังเก็บไนตรัสออกไซด์ เดินท่อก๊าซเข้าสู่หัวฉีดที่ติดตั้งเข้ากับท่อร่วมไอ ดีพร้อมเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม แล้วติดตั้งปุ่มควบคุมการฉีด ก็พร้อมใช้งานได้ โดยไม่ต้องทำอะไรกับชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ หากอัดไนตรัสออกไซด์ในแรงดันและปริมาณต่ำเป็นช่วงเวล าสั้นๆ (3-10 วินาที) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่แพง 25,000-40,000 บาท จุดด้อย คือ เมื่อใช้ไนตรัสออกไซด์หมดแล้วต้องหาซื้อมาเติมใหม่ และถ้าไม่เปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ให้แข็งแรง ขึ้น (คล้ายกับการเตรียมรับบูสท์จากเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร ์จ) ก็จะไม่สามารถอัดไนตรัสได้ในปริมาณมากและนาน บางเครื่องยนต์อัดไนตรัสออกไซด์ได้ครั้งละ 2-5 วินาทีเท่านั้น เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจพัง ! เช่น ลูกสูบแตก ปะเก็นฝาสูบแตก ก้านสูบขาด ฯลฯ ส่วนใหญ่ไนตรัสออกไซด์มักถูกใช้เป็นไม้ตาย หลังจากอัดเทอร์โบ-ซูเปอร์ชาร์จหรือแต่งเครื่องยนต์กันสุดๆ แล้วยังไม่สามารถแซงขึ้นหน้าคู่แข่งได้ ก็อัดเพิ่มในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่ใส่เฉพาะไนตรัสออกไซด์เพียงอย่างเดียว เครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบอัดอากาศอยู่แล้ว เครื่องยนต์ทั้งแบบที่ติดตั้งเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์ จมาจากโรงงานผู้ผลิต มักมีการควบคุมแรงดันของอากาศ (บูสท์) ที่จะอัดเข้าสู่เครื่องยนต์ไว้ในอัตราที่ไม่สร้างควา มเสียหายกับเครื่องยนต์ ไม่ว่าผู้ขับจะกระแทกกระทั้นหนักเพียงไร ดังนั้นบูสท์ที่ถูกควบคุมไว้จึงไม่สูงนัก สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อยโดยที่เครื่องยนต์ ยังพอรับได้ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ปรับบูสท์เพิ่มนั่นเอง โดยมีข้อแม้ว่า ไม่ควรปรับบูสท์เพิ่มมาก (เพิ่มจากเดิม 2-5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และต้องควบคุมให้มีการเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นอย่า งเหมาะสมกับอากาศ หรือไม่ให้ไอดีบางเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดการชิงจุดระเบิด (น็อก) จนเครื่องยนต์เสียหาย ไม่สามารถสรุปได้ว่า เครื่องยนต์รุ่นใดจะปรับบูสท์เพิ่มได้เท่าไรโดยไม่พั ง แต่ก็พอบอกได้ว่า ถ้าเพิ่มขึ้นสัก 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้วและน้ำมันเชื้อเพลิงไม่บางเกินไป เครื่องยนต์ก็พอทนได้แบบไม่แช่รอบสูงยาวๆ แล้วก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อปรับบูสท์เพิ่มแล้วจะต้องเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิธีไหน เพราะบางเครื่องยนต์จะเพิ่มให้เองโดยอัตโนมัติ แต่บางเครื่องยนต์ต้องหาวิธีเพิ่มเอง ไม่ว่าจะปรับบูสท์เพิ่มขึ้นเท่าไร โดยไม่แตะต้องไส้ในเครื่องยนต์ พึงระลึกไว้เสมอว่า ทำได้ แต่น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเพียงพอ ต้องไม่ให้มีการชิงจุดระเบิด และไม่ควรแช่ยาว เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์พังได้ น้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ที่ต้องการเพิ่มความแรงของเครื่องยนต์ มักพุ่งความสนใจไปที่จุดนี้ เพราะคิดแค่ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงต้องถูกเผาไหม้ ยิ่งใส่เข้าไปได้มากย่อมแรงขึ้น โดยมองข้ามไปว่า ถ้าไม่เพิ่มอากาศเข้าไปด้วย ก็จะเพิ่มน้ำมันได้ไม่มากและมีขอบเขตจำกัด จริงอยู่ที่การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงก็น่าจะทำให้แรง ขึ้นได้ แต่น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีอากาศมาผสมในอัตราส่วนที่เ หมาะสม เพื่อให้มีการจุดระเบิดและเผาไหม้สมบูรณ์ แต่ไม่ใช่เพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไร้ขอบเขตได้แล้วจ ะแรง ถ้าอย่างนั้นหากเทน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปเป็นถังๆ โดยไม่เพิ่มอากาศด้วย ก็คงจะแรงกระฉูดไปแล้ว เครื่องยนต์จะแรงขึ้นได้ ต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศในอัตราส่วนที่เหมาะส ม ไม่ให้มีอัตราส่วนผสมของไอดีบางหรือหนาเกินไป เพื่อให้อากาศช่วยเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างสม บูรณ์ เครื่องยนต์เดิมๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ควบคุมให้มีการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงใน อัตราสูงสุดที่จะทำให้เครื่องยนต์แรงสุด โดยผู้ผลิตมักลดระดับลงมาเล็กน้อย เพื่อให้เครื่องยนต์แรงแค่พอสมควร แต่ประหยัดและมีมลพิษต่ำ หรือเรียกว่าส่วนผสมไอดีบางไว้หน่อยนั่นเอง จึงยังพอแต่งต่อเพื่อเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้อีกเล็ กน้อย ดังนั้นการเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละเครื่อง ยนต์ จึงมีขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน เช่น เครื่องยนต์เดิมไอดีบางมาก ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากหน่อย แต่ถ้าเครื่องยนต์เดิมไอดีเกือบจะหนาสุดอยู่แล้ว ก็สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อย เพราะถ้าไอดีหนาเกินไป แทนที่จะแรงเครื่องยนต์กลับแรงตก กินน้ำมันเชื้อเพลิง และควันดำ หรือเรียกว่าน้ำมันท่วมนั่นเอง การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ควรหนากว่าประมาณ 1 ต่อ 11-12 ของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ การเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงมีหลายวิธี แยกเป็น 2 รูปแบบเครื่องยนต์หลัก คือ คาร์บูเรเตอร์กับหัวฉีด แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ ถ้าจะเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่เปลี่ยนขนาดหรือเพิ่มจำนวนคาร์บูเรเตอร์ ก็สามารถเพิ่มได้เพียงการเปลี่ยนนมหนูน้ำมันเชื้อเพล ิงใหญ่ขึ้นหรือเพิ่มเบอร์ใหญ่ขึ้นนั่นเอง และต้องเข้ากับหลักการที่ว่าไม่สามารถเพิ่มมากได้ โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่มีการเพิ่มอากาศ จะเพิ่มขนาดของนมหนูน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 0.10-0.20 มิลลิเมตร หรือเรียกแบบกลายๆ ตามสไตล์ช่างไทยว่า 10-20 เบอร์เท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้อัตราส่วนผสมของไอดีอาจหนาเกินไป หรือน้ำมันท่วมจนเครื่องยนต์แรงตกนั่นเอง เครื่องยนต์แบบหัวฉีด สามารถเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหลากวิธีสารพัดอุปกร ณ์ เช่น ความนิยมกับการเปลี่ยนโปรแกรม ชิพ (CHIP) หรือกล่องอีซียู ซึ่งส่วนใหญ่จะแรงขึ้นไม่มาก หากโปรแกรมเดิมเป็นไปตามแนวทางปกติก็จะแรงขึ้นได้น้อ ย เพราะผู้ผลิตมักไม่ยอมให้บางมาก แต่ถ้าเดิมเครื่องยนต์บางมาก ก็แรงขึ้นได้มาก โดยทั่วไป 5-10 เปอร์เซ็นต์ ก็สูงสุดแล้ว เพราะถ้าเพิ่มขึ้นมากๆ อัตราส่วนผสมของไอดีก็จะหนาเกินไปจนเครื่องยนต์แรงตก เช่นกัน ถ้าคิดจะเพิ่มเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ทำอย่างอื่ น หรือเรียกกันกลายๆ ว่า เปลี่ยนชิพ (CHIP) ใหม่-โปรแกรมใหม่ ก็ให้นึกถึงการเปลี่ยนนมหนูใหญ่ๆ ในระบบคาร์บูเรเตอร์ไว้ว่า ไอดีหนาขึ้นได้ไม่มาก นอกจากเครื่องยนต์เดิมนั้นมีไอดีบางมาก ไฟจุดระเบิด แรงมากย่อมดีโดยไม่มีเสีย (นอกจากเงิน) แต่ถ้าไม่มีการเพิ่มให้มีทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและอาก าศหนาแน่นขึ้นมาก การเพิ่มพลังไฟในการจุดระเบิด เพื่อให้หัวเทียนมีประกายไฟโดยไม่แต่งระบบอื่นก็เกือ บจะไร้ประโยชน์ ถ้าเดิมนั้นจุดระเบิดได้แรงพออยู่แล้ว โดยต้องขึ้นอยู่กับว่าระบบไฟจุดระเบิดนั้นแรงเพียงพอ กับน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศที่ถูกคลุกเคล้าในกระบอก สูบหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วถ้าเพิ่มเฉพาะกำลังไฟจุดระเบิด เครื่องยนต์จะแรงขึ้นน้อยมาก อย่างมากก็แค่อัตราเร่งลื่นๆ ขึ้นเท่านั้นเอง แต่ถ้ามีการเพิ่มทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศจนไอดี หนาแน่นขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟจุดระเบิดย่อมต้องทำควบ คู่กัน การแต่งระบบไฟจุดระเบิด เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของคอยล์ ใช้สายหัวเทียนความต้านทานต่ำ หัวเทียนแพลตินัม ฯลฯ แต่ถ้าเพิ่มขึ้นไปในขณะที่อุปกรณ์เดิมก็เพียงพออยู่แ ล้ว เครื่องยนต์ก็จะแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างมากก็แค่ลื่นๆ ขึ้นเท่านั้น หลายกรณีที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนหัวเทียนหรือสายหัวเทียนแบบพิเศษเข้าไปแ ล้ว ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น เป็นเพราะอุปกรณ์เดิมนั้นแย่หรือหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเปลี่ยนหัวเทียนเป็นแบบมาตรฐานหรือแบบพิเศษ ก็ย่อมดีขึ้น ไล่ไอเสีย การไล่ไอเสียออกจากเครื่องยนต์ให้หมดจดและรวดเร็วที่ สุดย่อมมีแต่ผลดี และสามารถเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์ได้ เสมือนกับการทำให้ท่อน้ำทิ้งของบ้านไหลลื่นที่สุด สำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปที่ไม่ได้ตกแต่งส่วนอื่น ถ้ามีการเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบไอเสียให้ดีขึ้น เช่น ที่เรียกกันกลายๆ ว่า ตีเฮดเดอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาทดแทนเฉพาะท่อร่วมไอเสีย พร้อมกับหม้อพักไส้ตรงแบบโล่งๆ พบว่าถ้าเดิมไม่อั้นการระบายไอเสียมาก ก็จะได้ผลดีขึ้นน้อยมาก ไม่น่าให้แรงม้าจากเดิมเกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะบังเอิญว่าระบบท่อไอเสียเดิมนั้นอั้นการระบา ยมากๆ ไม่ว่าจะอยากแรงด้วยวิธีไหนหรืออุปกรณ์ใด พึงระลึกไว้เสมอว่า แรงม้า กับ แรงโม้ นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ขายมักจะโฆษณาชวนเชื่อว่า ใส่เข้าไปจะแรงขึ้นเท่านั้นเท่านี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วส่วนใหญ่ก็มีแค่ลมปากหรือความรู้สึ ก ความแรง-แรงม้าที่แท้จริง ต้องพิสูจน์ได้ด้วยตัวเลขหรือเครื่องมือ ไม่ใช่แรงโม้ ****ขอบคุณ site นึงที่ไปเจอ ไม่เอ่ยนะคับ เป็นฟามลับทางราชการ :D แต่ขอบคุณในบอร์ดเค้าเรียบร้อยและ :D[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
NV Club
>
อยากแรง แต่งเครื่องยนต์เดิมอย่างไร (เจอมา เลยเอามาฝากคับ)
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...