>>> Knowledge Base <<<

การสนทนาใน 'EK Group' เริ่มโดย ksaEK97, 6 กุมภาพันธ์ 2008

< Previous Thread | Next Thread >
  1. อำ

    อำ New Member Member

    3
    1
    0
    อย่ารู้เรื่องหัวเทียนอ่ะคับ เครื่อ D16Y8 มั่งคับ ควรใช้ยี่ห้ออะไรดีอ่ะครับ
     
    ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้
  2. kajima

    kajima New Member Member

    50
    4
    0
    หัวเทียนสำหรับเครื่อง D16Y8 มี 2 รุ่นครับ จะเป็นของ NGK ZFR5F-11 และ DENSO KJ16CR-L11 (ตาม manual นะครับ)
     
    ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้
  3. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    กดพับกระจกมองข้างแล้วเด้งๆๆมาลองซ่อมดูครับ

    เมื่อวานกดพับแล้วมันเด้งๆๆๆกว่าจะพับได้...เลยแกะออกมาจัดการซะ
    เลยถ่ายรูปมาฝากเผื่อใครกะลังหงุดหงิดจัยกะเรื่องนี้อยู่จะได้ลองทำดูครับไม่ยาก
    ปัญหามักเกิดจากแกนเฟืองขับสายพานมันหลุดจากรูของมันง่ายมาก
    ทำให้สายพานหมุนฟรีดังแต๊กๆ
    เกิดได้จากที่เราพับกระจกเองด้วยมือเร็วเกินไปพอดังปั๊กๆๆพี่เขาก็เด่งขึ้นมาแล้วครับ
    อยู่ที่ว่ามันจะหลุดขึ้นมาหรือเปล่ว ไม่เกี่ยวกับสายพานยืดครับเพราะ
    สายพานเป็นฟันขบเฟืองตลอด


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    By S-O-N-G
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ธันวาคม 2008
  4. juntcivic

    juntcivic New Member Member

    1,549
    34
    0
    อยากทราบเรื่องแปลงโฉม จาก 96 เป็น 99 อ่ะครับช่วยจัดให้ทีนะครับ
    ปล.เดี่ยวผมจะลองหาไปเรื่อยๆจำได้ว่าเคยมี ขอบคุณครับ
     
  5. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยที่บทความนี้ที่ผมทำออกมาค่อนข้างจะช้าซะนิด เพราะเข้าหน้าร้อนมารอบนึงแล้ว เนื่องด้วยติดภาระกิจหลายๆอย่าง และมี D.I.Y. Project ไฟส่องเท้า (ตามสัญญาครับ) มาคั่นนิดหนึ่ง ก็ขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยละกันครับ บทความนี้ค่อนข้างจะยาวมากๆ นะครับเหนื่อยหน่อยกว่าจะอ่านจบ

    ขอพูดโดยรวมก่อน
    วันนี้จะว่ากันด้วยเรื่องแอร์ครับ แต่ไม่ใช่ระบบแอร์พวกคอมเพรสเซอร์, คอยล์ร้อน, คอยล์เย็น, ไดร์เออร์ อะไรทำนองนี้ครับ เพราะบทความพวกนี้หาอ่านได้โดยทั่วไปแล้ว แต่ผมจะเจาะลึกลงไปว่ากันด้วย "หน้าปัดแอร์หรือกรอบแอร์" แบบต่างๆกันให้หายสงสัยกัน ไม่ว่าจะสไลด์, 1 ปุ่ม, 3 ปุ่ม(ทั้งออโต้และไม่ออโต้) ว่าหน้าตามันเป็นยังไง ต้องมี ต้องใช้อะไรเพิ่มบ้าง ติดแล้วเป็นยังไง ได้อะไรบ้าง เสียอะไรบ้าง

    เริ่มกันเลย
    อืม!! อีกนิดนะครับ คือว่าก็อย่างทุกๆบทความที่ผมทำก็ต้องบอกว่า "ผมก็คนธรรมดาทั่วๆไป (ไม่ใช่ Guru แค่กรูอยากรู้) ผมไม่ใช่ช่าง แค่คนที่รักรถ อยากรู้เรื่องรถ ศึกษาข้อมูลต่างๆเรื่องรถ" ดังนั้นถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องหรือขาดตกตรงไหนก็เสริมได้เลยครับ และขออนุญาตเจ้าของรูปที่ผมเอามาไว้ ณ.ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นความรู้ให้หลายๆคนนะครับ

    เริ่มจริงๆล่ะ :D
    1. ส่วนประกอบอื่นๆก่อน
    เอาของที่ต้องมีก่อนละกันครับ ในที่นี้ไม่ใช่กรอบแอร์นะ คงสงสัยว่าทำไมไม่พูดถึงกรอบแอร์ก่อน ก็เพราะว่ามันจะได้มองเห็นถาพได้ง่ายกว่า เดี๋ยวผมพูดถึง ตัวโน้น ตัวนี้จะไม่เข้าใจ มานั่งนึกภาพอยู่มันจะเข้าใจยากครับ และจะได้อ้างถึงได้เวลาพูดถึงกรอบแอร์แต่ละประเภท มาดูกันครับ

    1.1 ตู้แบ่งลมที่มี Heater จะเรียกชุดนี้ว่าตู้ Air Mix
    โดยหน้าตาของมันแล้วก็เหมือนๆกับตู้แบ่งลมบ้านเรานี้ครับ แต่มีส่วนที่เพิ่มมาคือคอยล์ร้อน, สายลิงค์ และก็มอเตอร์ดึงสายลิงค์เพื่อเปิดวาล์วน้ำ(1.4)เข้าคอยล์ร้อน
    - ตัวตู้แบ่งลมที่มีฮีตเตอร์และสายลิงค์(เส้นสีน้ำเงิน)
    [​IMG]

    - ถอดแยกชิ้นออกมาก็จะเป็นแบบนี้
    [​IMG]

    - ดูกันชัดๆคอยล์ร้อนที่ทำจากทองแดง (จับนิดจับหน่อยครีบล้มง่ายมาก)
    [​IMG]

    1.2 ตู้คอยล์เย็น
    จริงๆแล้วตู้ตัวนี้ไม่ต้องหาเพิ่มก็ได้ ใช้ของบ้านเรานี่ล่ะ ที่ไม่เหมือนกันกับของนอกคือจะมีช่องใส่ Air Filter ด้วย
    ขอพูดเรื่องการติดตั้งเป็นข้อคิดซะนิดนะว่าในการติดตั้งนั้นจะมีการเพิ่มเซนเซอร์ (1.6) เข้าไปในตู้นี้ด้วย 1 ตัว ทีนี้ก็จะได้รู้แล้วว่าตู้แอร์เราเน่าขนาดไหนแล้ว ควรจะเปลี่ยนใหม่หรือแค่ถอดออกมาล้างทำความสะอาดก็ได้แล้ว ถ้าต้องถอดมาล้างก็แน่นอนครับ น้ำยาแอร์ต้องเปลี่ยนใหม่ ผมว่าถ้าชัวว์ๆว่าตู้แอร์เราต้องเปลี่ยนหรือวาล์วตันแล้วก็หาตู้นอกมาเลยดีกว่า เพราะตู้นอกสวยๆก็ไม่น่าเกิน 1500 บ. ได้ครบหมดทั้งเซนเซอร์(1.6)ด้วย แต่ถ้าเอาตู้เดิมแล้วเปลี่ยนวาล์วก็ประมาณ 800 บ. แล้ว ก็คิดเอานะครับแค่แนะนำ ดูกันเลยดีกว่า เพราะเริ่มจะยาวอีกแล้ว :D
    - ตัวตู้แอร์ + Thermister ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุด Trermostat (1.6)
    [​IMG]

    - ถาดใส่ Air Filter
    [​IMG]

    1.3 เสื้อน้ำ (จริงๆไม่รู้เรียกว่าอะไร ใครรู้ช่วยบอกที ผมเรียกนี่ไปก่อนละกัน)
    เสื้อน้ำจะเป็นตัวแบ่งน้ำร้อนในระบบหล่อเย็นที่ออกมาจากเครื่องยนต์เพื่อเข้าไปยังตู้ฮีตเตอร์ครับ
    สำหรับในเครื่องแคมเดี่ยว(D) นั้นจำเป็นต้องหาตัวนี้เพิ่มครับ แต่สำหรับในเครื่องแคมคู่(B) นั้นไม่จำเป็นต้องหา เพราะมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่มันมีท่อปิดไว้เท่านั้นครับ
    - หน้าตาแบบนี้ล่ะ อันนี้ของผมดูเก่าโปราณไปยังไม่ได้ล้าง แต่ใช้ได้ครับ
    [​IMG]

    - หลังติดตั้งแล้วครับ (ชุดที่ Ground Wire สีฟ้ายึดอยู่)
    [​IMG]

    1.4 วาล์วน้ำ
    วาล์วน้ำจะทำหน้าที่เปิด-ปิดน้ำร้อนจากระบบหล่อเย็นเข้าฮีตเตอร์ โดยในการเปิด-ปิดนั้นจะใช้สายลิงค์ที่มาจากตู้แบ่งลมซึ่งจะมีมอเตอร์ควบคุมอยู่อีกต่อหนึ่ง
    - วาล์วน้ำที่มีสายลิงค์จากตู้แบ่งลมมาควบคุมการเปิด-ปิด
    [​IMG]

    - ชัดๆ ใกล้ๆ ครับ
    [​IMG]

    1.5 ท่อน้ำเข้า-ออกตู้ Heater
    หน้าที่ของมันก็เป็นการนำน้ำหล่อเย็น(น้ำร้อน)ที่ได้จากเสื้อน้ำ(1.3) เข้าไปยังฮีตเตอร์ในตู้แอร์มิกซ์
    - ท่อน้ำทั้งหมดจะมี 3 ท่อน คือน้ำเข้า 2 ท่อน(มีวาล์วน้ำคั่นกลาง) และท่อน้ำออก 1 ท่อนครับ
    [​IMG]

    - จุดที่ต้องเจาะตัวรถเพื่อให้ท่อฮีตเตอร์และสายลิงค์โผล่ออกมาครับ
    [​IMG]

    - จุดที่บางคนสงสัยว่าท่อน้ำที่ออกจากเครื่องเพื่อเข้าฮีตเตอร์มันอยู่ตรงไหน (มันอยูใต้จานจ่ายครับ อันนี้ถ่ายจากด้านหลังเครื่องฝั่งไอดี)
    [​IMG]

    1.6 Thermostat (เทอร์โมสตัท)
    เทอร์โมสตัทนี้จะติดตั้งอยู่ภายในตู้แอร์หรือตู้คอยล์เย็นครับ ลึกเข้าไปด้านในประมาณ 6 ซม. และต้องติดตั้งอยู่ด้านขาออกของลมครับ
    เทอร์โมสตัทโดยหน้าที่ของมันแล้วจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในตู้แอร์(คอยล์เย็น) ไม่ให้เย็นเกินไป เนื่องจากถ้าเย็นจนถึงเป็นน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็นแล้วจะทำให้แรงลมที่มาจากโบเวอร์จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จะลมไม่สามารถผ่านแผงคอยล์เย็นได้ ก็จะทำให้ไม่มีลมออกที่ช่องแอร์ซิครับงานนี้ บอกแนวทางไว้ให้ถ้าลมที่ช่องแอร์ใครค่อยๆเบาลงเรื่อยๆ เวลาเปิดนานๆ ก็ลองเช็คตัวเทอร์โมสตัทดูครับ
    ลงลึกอีกนิดนะครับกับตัวเทอร์โมสตัท (คงจะไม่เบื่อกันก่อนนะ) เทอร์โมสตัทนั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
    ส่วนแรก จะเป็นส่วนของ Thermister (เทอร์มิสเตอร์) จะมาจาก Thermo + Resistor เรียกง่ายๆก็ตัวต้านทานความร้อนครับ คือค่าความต้านทานภายในของมันจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ โดยตัวที่อยู่ในตู้แอร์แท่งดำๆนั่นล่ะครับ ตัวเทอร์มิสเตอร์
    ส่วนที่สอง จะเป็นส่วนของสวิทช์ตัดต่อการทำงานของเทอร์โมสตัทครับ ภายในของตัวนี้จะเป็นทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ on หรือ off โดยมีตัวเทอร์มิสเตอร์เป็นตัวกำหนดกระแส bias ให้ครับ
    ตัวนี้แค่นี้ล่ะเดี๋ยวจะไม่เข้าใจและกลายเป็นน่าเบื่อกระทู้ซะอีก

    - รูปตัวเซนเซอร์ก็ดูในข้อ 1.2 (ตู้คอยล์เย็น) นะครับ ตัวดำๆ ยาวๆ มีสายไฟ 2 เส้นนั้นล่ะ ค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จะอยู่ประมาณ 7 กิโลโอห์ม(ขณะปิดแอร์)

    1.7 Exterior Temperature Sensor
    ตัวเซนเซอร์ตัวนี้จะอยู่ตรงกันชนหน้าครับ หลังป้ายทะเบียน หน้าที่ของเซนเซอร์ตัวนี้ก็จะวัดอุณหภูมิภายนอกห้องโดยสาร เพื่อเป็นการกำหนดการเปิด-ปิดวาล์วน้ำ(1.4) ให้น้ำร้อนเข้าฮีตเตอร์ และจะเป็นตัวกำหนดการเปรียบเทียบหรือชดเชยอุณหภูมิในส่วนลมเย็น(แอร์)ที่ต้องทำงานครับ ซึ่งมันเป็นอัลกอริทึม (algorithm) ของระบบครับ ผมไม่ทราบ :D
    เซนเซอร์ตัวนี้จะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ให้ค่าออกมาเป็นความต้านทาน โดยที่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงค่าความต้านทานจะสูงขึ้น (แปรผกผันกัน) ครับ
    - ตำแหน่งติดตั้งครับ อยู่หลังป้ายทะเบียน (รถยังไม่ได้ล้าง ศพแมลงติดเต็มเลย :D )
    [​IMG]

    - หน้าตาก็เป็นแบบนี้ครับ ของผมตอนติดตั้งไม่ได้ยึดสายไฟให้แน่ เวลาขับโดนลมปะทะ นานๆไปสายไฟขาดในครับต้องปลอกสายแล้วบัดกรีใหม่ครับ ของเพื่อนๆก็ดูหน่อยล่ะกันเดี๋ยวจะเป็นเหมือนผม
    [​IMG]

    - วัดค่ากันเลยครับ จะได้รู้ค่ามัน ต่อไปถ้าระบบแอร์ผิดปกติก็จะได้รู้ว่ามันเพี้ยนไปหรือเปล่า
    การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานนั้นจะเป็นไปอยู่ช้าๆ ถึงแม้อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหัน เนื่องจากการขับรถอาจจะเจอน้ำ เจอแดด เจอร่มเงา เป็นช่วงๆอาจจะสั้น หากเซนเซอร์ไวเกินไปจะทำให้ระบบแอร์ทำงานหนัก เพราะมันจะพยายามเปลี่ยนระบบตามอุณหภูมิด้านนอกมากเกินไป
    อันนี้วัดตอนเช้าแดดอ่อนๆ ไม่ร้อน ค่าจะอยู่ประมาณ 1.2 กิโลโอห์ม
    [​IMG]

    วัดกลางคืนอากาศเย็นๆหน่อย(อุณหภูมิต่ำลง)จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลโอห์ม ลองเอาไปจุ่มน้ำเย็นๆในอ่างบัวดู อยู่ประมาณ 1.7 กิโลโอห์ม :p
    [​IMG]

    วัดตอนกลางวันแดดร้อนๆเที่ยงๆ (อุณหภูมิสูงขึ้น) จะอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลโอห์ม

    1.8 Interior Temperature Sensor
    ตัวเซนเซอร์ตัวนี้จะอยู่ตรงช่องที่หัวเข่าซ้ายคนขับครับ หน้าที่ของเซนเซอร์ตัวนี้ก็จะวัดอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร (เน้นด้านคนขับเป็นหลัก) และ เซนเซอร์ตัวนี้ก็เหมือนกันกับตัวก่อนคือจะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ให้ค่าออกมาเป็นความต้านทาน โดยที่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงค่าความต้านทานจะสูงขึ้น (แปรผกผันกัน) ส่งเข้าประมวลผลด้วยเช่นกัน อืม!! จะเบื่อกันหรือเปล่านะ เริ่มจะออกวิชาการอีกแล้ว :D ไปดูตัวจริงๆ กันดีกว่า
    - มันอยู่ตรงนี้ล่ะ หลังช่องครับ อากาศภายในห้องโดยสารส่วน
    [​IMG]

    - การดึงอุณหภูมิภายในห้องโดยสารมาก็จะมีท่อดูดอากาศต่อด้านหลัง โดยอากาศจะผ่านเข้าด้านหน้า(สี่เหลี่ยม) ออกด้านหลัง (กลม)
    [​IMG]

    - คนเบื้องหลัง เฮ้ย!! เซนเซอร์เบื้องหลัง ที่มาของอุณหภูมิที่สบายๆ ในห้องโดยสาร
    [​IMG]

    - เอามันออกมาให้ชัดๆ คงไม่ถึงกับต้องแยกชิ้นส่วนนะ ตุ่มกลมๆที่เห็นอยู่ตรงกลาง(กล้องโทรฯ ไม่ชัดเท่าไหร่ ขออภัย) อันเท่าหัวไม้ขีดไฟ นั้นล่ะครับเซนเซอร์มัน
    [​IMG]

    - วัดกันเห็น ๆ ที่อุณหภูมิต่างๆ อันนี้วัดตอนเช้า อากาศเย็นมีลมพัด ซึ่งเซนเวอร์ตัวนี้จะไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภุมิมากกว่า Exterior Temperature Sensor มาก
    30 องศา = 1.6 กิโลโอห์ม
    29 องศา = 1.8 กิโลโอห์ม
    25 องศา = 5.5 กิโลโอห์ม
    24 องศา = 6.2 กิโลโอห์ม
    [​IMG]

    เอาล่ะพอแค่นี้เซนเซอร์ตัวนี้ ยังมีตัวเด็ดๆในมึนหัวตึ๊บ!! อีกเยอะครับ :D

    1.9 UV Sensor
    เซนเชอร์ตัวนี้จะอยู่ที่บนคอนโซนหน้าครับ โดยจะทำหน้าที่รังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet,UV) ซึ่งรังสีนี้มันก็อยู่ในแสงแดดนี่ล่ะ เอาเป็นว่าผมเรียกว่าเซนเซอร์วัดแสงละกัน ทุกวันนี้แสง UV จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะชั้นบรรยากาศถูกทำลายมากขึ้น เราจึงช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ อุ๊ย!! นอกเรื่องแล้ว กลับมาๆๆ :D เหตุที่ต้องวัดแสงนี้ เพราะแสงสามารถส่องผ่านกระจกหน้ารถเข้ามาได้ (จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับฟีล์มกรองแสงด้วย) เมื่อตกกระทบกับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆภายในรถก็จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นบนผิววัตถุนั้น โดยเฉพาะพวกคอนโซนดำ 555 + ยิ่งแสงมาก(แดดแรง) ก็จะเกิดความร้อนมาก ก็จะนำค่าที่ได้จากการวัดไปประมวลผลอีกทีร่วมกับเซนเชอร์อื่นๆ คงไม่ต้องเอาอัลกอริทึม (algorithm) มานะ เพราะผมเองก็ไม่รู้ :D :D :D เซนเซอร์นี้พูดมายาวแล้ว เดี๋ยวเบื่อกันซะก่อน ดูตัวจริงเลยดีกว่าครับ
    - ตำแหน่งติดตั้งครับ จุดนี้ล่ะรับแดดกันเต็มๆ
    [​IMG]

    - ตัวเป็นๆ แบบนี้ล่ะครับ
    [​IMG]

    - แยกชิ้นออกมาดูกัน ชัดๆ ครับ ด้านซ้ายก็กรอบมัน ตรงกลางเป็น filter กรองรังสีอื่นๆที่ไม่ใช่ UV ออกไป(บ้าง)และป้องกันการกระแทกหัวเซนเซอร์ ส่วนด้านขวาคือหัวเซนเซอร์ครับ (ดูบอบบางมาก)
    [​IMG]

    - นี้ล่ะตัวเซนเซอร์มันครับ หลักการก็คล้ายๆกับโซล่าเซลล์ (Solar Cell) นั้นเอง คือจะเปลี่ยนแสงเป็นพลังงานในรูปแรงดันครับ เอาเข้าใจง่ายๆก็เหมือนเครื่องคิดเลขที่ใช้แสงเป็นพลังงาน
    [​IMG]

    - วัดกันเห็น ๆ (อีกแล้ว) เซนเซอร์ตัวนี้มีการทำงานที่ค้านข้างไวแสงมากครับ
    แดดจ้า = 495 mV.
    แดดอ่อนตอนเช้า = 470 mV.
    ไม่มีแดด = 270 mV.
    ในเงามืด = 60 mV.
    กลางคืน = 0 V.
    [​IMG]

    ก็แค่นี้นะครับสำหรับเซนเซอร์ตัวนี้ ผมไม่ลงลึกถึงวัสดุหรือสารที่เอามาทำเดี๋ยวมันจะยาวน่าเบื่อไป เอาแบบขำๆก็พอ :D :D :D

    1.10 Relay (รีเลย์)
    มันก็คือสวิทช์นี้ล่ะครับ โดยจะป้อนไฟ 12 โวลล์ผ่านขดลวดเข้าไปสร้างสนามแม่เหล็กดึงให้หน้าคอนเท็คของสวิทช์ติดกัน ลักษณะก็เป็นรีเลย์ 4 ขาธรรมดาทั่วไปครับ
    ตัวรีเลย์นี้จะทำหน้าที่เฉพาะตอนที่จะให้พัดลมในตู้โบเวอร์ทำงานเต็ม 100 % เท่านั้น ส่วนระดับความเร็วของโบเวอร์อื่นๆ จะเป็นหน้าที่ของ Power Transistor (1.11) ครับ
    - อันนี้ของผมหน้าตาโบราณจริงๆ สนิมก็ขึ้น แต่ใช้ได้ครับ ของ DENSO made in japan เหมือนกัน :D
    [​IMG]

    1.11 Power Transistor
    หน้าที่ของตัวนี้ก็คือมาแทนที่ขดลวดต้านท้านที่อยู่ภายในตู้โบเวอร์ครับ
    พูดถึงของเดิมก่อนนะ ของเดิมจะเป็นคอยล์ต้านทานแบบ 3 ขดต่ออนุกรมกันอยู่ ก็จะได้ความแรงลม 4 ระดับตามที่กรอบแอร์มี (ระดับ 4 แรงสุดจะไม่ผ่านคอยล์ต้านทาน)
    ที่นี้ก็มาดู power transistor บ้าง ตัวนี้จะติดอยู่กับซิงค์ระบายความร้อนด้วยและติดตั้งลงในตู้โบเวอร์ (แทนที่ของเดิม) เหตุที่ต้องติดตั้งลงในตู้โวเวอร์ก็เพราะทั้งคอยล์ต้านทานและpower transistor มันจะเกิดความร้อนขึ้นขณะมันทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายก็ต้องอาศัยลมจากโบเวอร์ช่วยระบายให้เย็นลงครับ
    Power Transistor ที่ใช้จะเป็นเบอร์ 2SD1460 ชนิด NPN และตัวถังแบบ TO-3 ครับ ก็ไม่ต้องใส่ใจอะไรมากแค่บอกให้รู้ไว้แค่นั้นครับ เดี๋ยวจะเข้าหลักการมากไปอีก ดูกันต่อเลยดีกว่าครับ
    - เดิมๆที่อยู่ในตู้โบเวอร์บ้านเราจะเป็นแบบนี้ครับ เป็นคอยล์ต้านทานครับ (ตัวที่ตั้งยืนพิงอยู่)
    [​IMG]

    - อันนี้ล่ะครับ อยู่ในตู้โบเวอร์ครับ ของผมก็เก่าๆ โบราณอีกแล้ว แต่ใช้งานได้ดีครับ :D หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ครับทรานซิสเตอร์ ตัวถัง TO-3
    [​IMG]

    1.12 ชุดสายไฟ
    ตัวนี้ถ้าจะไม่พูดถึงเลยก็ไม่ได้ เดี๋ยวมันจะเหมือนขาดๆอะไรไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ส่วนที่สำคัญมาก ประมาณว่ามีก็ดีไม่มีก็ได้ เพราะชุดสายไฟนั้นถ้าช่างที่ชำนาญแล้วจะสามารถตัดแต่งดัดแปลงจากชุดสายไฟเดิมได้ครับ แต่ที่ต้องมีแน่ๆ คือ "ปลั๊ก" ครับ ปลั๊กต่างๆ เช่นปลั๊กของชุดกรอบแอร์ ปลั๊กเซนเซอร์ ปลั๊กมอเตอร์ต่างๆ แต่ก็อย่างว่านั่นล่ะครับ ไม่มีก็ได้แต่คงไม่น่าดูและยากต่อการ service หรือกับคนที่ชอบรื้อรถเล่น D.I.Y อะไรเล่นๆ (ผมก็คนหนึ่ง) :D
    - ชุดสายไฟผมไม่มีรูปให้ดู(ขออภัย) เพราะไม่อยากรื้อ เดี๋ยวจะงานใหญ่ไป :D

    สรุปก่อนจบ (1.)
    เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกันครับ กว่าจะจบตอนนี้ได้ รื้อรถตัวเองซะเลย (ไม่เป็นไรครับ รื้อเล่นอยู่บ่อย :D ) เพื่อผมพยายามให้เพื่อนๆมองเห็นภาพจริงๆว่ามันเป็นยังไง รูปก็เลยเยอะไปหน่อย จริงๆก็เยอะกว่านี้ครับ แต่ต้องตัดออกไปบ้างเดี๋ยวมันจะโหลดนานไป
    จริงๆส่วนที่ 1. นี้มันมีรายละเอียดเยอะมากๆ ถ้าเอาแบบลงลึกเกินไปมันจะน่าเบื่อเปล่าๆ อยากให้อ่านแบบไม่เครียด ไม่ต้องลงวิชาการมากครับ
    จบส่วนนี้แล้วมีอะไรสงสัยหรือผมผิดพลาดตรงไหนก็แจ้งได้เลยครับ

    By MugenTypeR
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ธันวาคม 2008
  6. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    กรอบแอร์ประเภทต่างๆ

    2. กรอบแอร์ประเภทต่างๆ
    สามารถแบ่งออกเป็นแบบไหนบ้างมาดูกันครับ ส่วนเรื่องลายภายนอกจะเคฟล่า หรือดำ หรือลายไม้ ไม่พูดถึงนะ และก็จะเป็นเวอร์ชั่น LEV หรือ Vi-RS หรือ TypeR ก็ไม่พูดถึงเหมือนกัน จะเอาที่ระบบเป็นสำคัญครับ
    ก่อนอื่นก็ต้องบอกกันให้คิดก่อนนะครับว่า กรอบแอร์นั้นมีทั้งแบบสำหรับรถพวงมาลัยขวาและพวงมาลัยซ้าย ซึ่งบางคนอาจจะลืมนึกถึงส่วนนี้ไป บางทีเห็นลงประกาศขายอยู่แต่ไม่มีรูปให้ดู ซื้อมาอาจจะมีฮากันล่ะครับ แต่จริงๆแล้วมันก็สามารถใช้งานกันได้เหมือนกันมีอยู่ก็แค่อันเดียวและก็เป็นระบบเดียวเท่านั้นที่(ผมคิดว่า)ไม่น่าจะใช้ได้ แต่ก็คงไม่เกินความสามารถช่างไทยครับ เดี๋ยวมาดูกันครับว่าแบบไหน

    - แบบนี้ครับ พวงมาลัยซ้ายแต่ใช้กรอบแอร์พวงมาลัยขวา มันก็ใช้ได้ครับแต่ตำแหน่งปุ่มมันจะไม่เหมาะ ควบคุมยาก(ต้องเอื้อมนิด) การเข้าถ้าปุ่มจะช้ากว่า
    [​IMG]

    - เทียบให้เห็นๆว่ามีทั้งสำหรับพวงมาลัยซ้ายและขวา
    [​IMG]

    ขอพูดเรื่องแบบออโต้กับไม่ออโต้ก่อนนะครับว่าต่างกันยังไง ส่วนจะใช้อะไรบ้างก็จะไปลงในรายละเอียดของแต่ละแบบครับ
    - แบบไม่ออโต้ แบบนี้จะไม่มีในส่วนของการประมวลผลหรือตรวจวัดอุณหภูมิ ดังนั้นระดับความร้อน-เย็นที่ออกมาจะได้จาก mix ในตู้แบ่งลมหรือตู้ air mix นั่นเอง ซึ่งในช่วงจังหวะหรือเวลาบางครั้งเราจะรู้สึกว่าแอร์เย็นหรือร้อนไปทั้งๆที่เราปรับปุ่มอุณหภูมิไว้เท่าเดิม เช่นกลางวันต้องปรับลดลง(เร่งเย็น) กลางคืนต้องปรับเพิ่มขึ้น (เร่งอุ่น) ก็จากที่ผมบอกว่าไม่มีส่วนที่จะมาคอยประมวลผลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม(ปัจจัยอื่นๆ เช่นแสงแดด, ฝน หรือฤดูกาล) ไงครับ มันจะมีแต่สิ่งที่อยู่ในตู้แอร์(Thermostat)เท่านั้นที่เอามาคิด ไม่รู้ว่าจะเข้าใจหรือเปล่านะครับ เดี๋ยวลองอ่านต่อแบบออโต้ดูครับเผื่อจะพอเห็นภาพขึ้นมาบ้าง

    - แบบออโต้ แบบนี้จะเพิ่มส่วนของการตรวจสอบอุณหภูมิภายนอกมาใช้ในการประมวลผลในการทำงานของแอร์ด้วย โดยระบบแอร์จะพยายามรักษาระดับอุณหภูมิให้ได้เท่ากับตัวเลขที่เราปรับไว้ตรงปุ่มปรับอุณหภูมิ (ในความเป็นจริงระบบต้องสมบุรณ์จริงๆถึงจะได้ตามนั้น) โดยจะมีเซนเซอร์ที่จะมาเกี่ยวข้องอีก 3 ตัวคือ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.8) และ UV Sensor(1.9) และในส่วนควบคุมที่กรอบแอร์ก็จะใช้คนละแบบกันกับแบบไม่ออโต้ การทำงานทั้งหมดจะมีการปรับลด-เพิ่ม-ชดเชย อุณหภูมิกัน และไม่ใช่แค่นั้นในการกระจายทิศทางลมหรือช่องแอร์มีการปรับอยู่ตลอดเวลา(ในโหมดออโต้) เพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทั่วห้องโดยสาร

    2.1 แบบสไลต์ แบบนี้จะเป็นของปี 96-98 ครับ
    - สไลด์เดิมๆแบบบ้านเรา ไม่พูดอะไรมากล่ะกันนะครับ เพราะรู้กันอยู่แล้ว การทำงานของมันก็ใช้ระบบ Thermostat ในการควบคุมอุณหภูมิ และไม่มีตัวฮีตเตอร์
    - สไลด์ตัวนอก (ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของ Type R ที่เข้ามา) ตัวนี้หน้าตาก็ไม่ต่างจากของบ้านเรามากนัก (ไม่ใช่ที่ลายนะ) ที่ต่างก็จะเป็นที่ตัวนอกนั้นจะมีส่วนของการควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ระบบ air mix คือมันจะมีส่วนของฮีตเตอร์มาเกี่ยวข้องและทำงานร่วมกับ Thermostat ด้วย ทำให้การควบคุมอุณหภูมินั้นอยู่ที่การผสมลมร้อนและลมเย็นด้วยกัน โดยมีสายเคเบิลลิงค์เชื่อมโยงไปยังตู้แอร์มิกซ์ ตรงนี้ล่ะครับ ที่ผมบอกว่ากรอบแอร์บางประเภทซ้าย-ขวามาแทนกันไม่ได้ แต่ช่างไทยก็อย่างว่าครับ "ไม่ใช่ปัญหา" ส่วนใหญ่แล้วกรอบแอร์แบบนี้ที่เอามาใช้ในบ้านเราก็ไม่มีส่วนแอร์มิกซ์จะเหลือแต่ ระบบ Thermostat อย่างเดียว แต่นี้การทำงานก็เหมือนกับแบบสไลด์เดิมๆแบบบ้านเราแล้วครับ ก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง ก็คงพอเข้าใจนะครับ
    มาเปรียบเทียบกันนะครับว่าต่างกันยังไง ให้ดูที่ส่วนควบคุมอุณหภูมิครับ ของบ้านเราจะมีเฉพาะแถบสีน้ำเงิน(ความเย็น) แต่ส่วนของนอกจะมีแถบสีแดง(ความร้อน) เพื่อผสมเป็นสัดส่วนในตู้ air mix เข้าใจนะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจให้นึกถึงนี้หลายๆคนเข้าใจแน่ๆ ให้นึกถึงอ่างอาบน้ำในโรงแรม (อ่างที่อื่นผมไม่รู้ :p ) อยากได้น้ำร้อน-เย็นแค่ไหนก็ผสมเอา ทีนี้ปิ๊งๆๆขึ้นมาล่ะซิ :D เอาขำๆพอ มาดูรูปกันเลยดีกว่าครับ
    [​IMG]

    ระบบ
    - ออโต้ ==> กรอบแอร์แบบสไลด์นี้ไม่มีแบบออโต้ครับ
    - ไม่ออโต้ ==> หากเป็นกรอบแอร์แบบของบ้านเราก็คงไม่ต้องทำอะไรกับมันหรอกครับ แต่ถึงเป็นของนอกมาถ้าจะไม่เอาไม่เต็มระบบก็สามารถเปลี่ยนแทนของเดิมได้เลย แต่ถ้าจะเป็นเต็มระบบก็ต้องมาส่วนของตู้ air mix+heater และสายลิงค์ครับ แต่ส่วนใหญ่คนที่เปลี่ยนก็จะไม่ค่อยทำเพิ่ม ถ้าคิดจะทำเพิ่มส่วนใหญ่ไปเล่นแบบ 1 ปุ่มกับ3 ปุ่มซะมากกว่าครับ

    ก็ขอพอแค่นี้นะครับสำหรับแบบสไลด์ ถึงแม้รายละเอียดจะยังมีอีกเยอะ แต่เดี๋ยวมันจะออกไปทางวิชาการไป มันจะน่าเบื่อที่จะอ่านเปล่าๆครับ

    2.2 แบบ 3 ปุ่ม 2 DIN แบบนี้จะเป็นของปี 99-00 ครับ
    จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบอีกครับคือแบบออโต้กับไม่ออโต้ ทั้งสองหน้าตาต่างกันตรงไหนและมีทำงานต่างกันยังไงบ้าง
    เอาหน้าตาก่อนละกันครับ ตำแหน่งปุ่มจะเหมือนกันครับ แต่ถ้าดูแต่ละปุ่มจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว เรียงทีละปุ่มนะ
    ปุ่มที่ 1 (บน) เป็นปุ่มโหมด ในของออโต้จะมีตำแหน่งเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่งคือคำว่า Auto
    ปุ่มที่ 2 (กลาง) เป็นปุ่มอุณหภูมิ ในของแบบออโต้จะมีตัวเลขบอกอุณหภูมิแต่แบบไม่ออโต้จะมีแถบสีน้ำเงิน-แดงหรือเรียกว่าแถบแอร์มิกซ์ครับ
    ปุ่มที่ 3 (ล่าง) เป็นปุ่มสปีดโบเวอร์ ในของออโต้ ความแรงลมจะมีคำว่า Auto
    อันด้านซ้ายแบบไม่ออโต้ ส่วนอันด้านขวาแบบออโต้ครับ
    [​IMG]

    ระบบ
    - แบบ 3 ปุ่มไม่ออโต้ แบบนี้ในส่วนของระบบจะเหมือนกับกรอบแอร์แบบสไลด์ของตัวนอกนะครับ จะต่างกันนิดหน่อยตรงที่แบบสไลด์จะใช่สายลิงค์ของตู้ air mix เชื่อมต่อกับปุ่มเลื่อนสไลด์โดยตรง แต่แบบ 3 ปุ่มจะใช้มอเตอร์แทนครับ
    ด้านการติดตั้ง
    - เต็มระบบ ใช้ของในหัวข้อที่ 1 เกือบทุกตัวจะยกเว้นแค่ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.8) และ UV Sensor(1.9)
    - ไม่เต็มระบบก็เหมือนกับแบบเต็มระบบครับ และมีส่วนที่เอาออกเพิ่มคือ ตู้แบ่งลมที่มี Heater(1.1), เสื้อน้ำ(1.3), วาล์วน้ำ(1.4) และท่อน้ำร้อนเข้า-ออกตู้ Heater(1.5)

    - แบบ 3 ปุ่มออโต้ ก็จะมีเซนเซอร์เพิ่มเข้ามา 3 ตัวจากที่กล่าวมาด้านบน (ต้นหัวข้อ 2)
    ด้านการติดตั้ง
    - เต็มระบบ ใช้ของในหัวข้อที่ 1ครบหมดทุกตัวเลยครับ
    - ไม่เต็มระบบ แบบไม่เต็มระบบของ 3 ปุ่มนี้ยังไงก็ควรมีเซนเซอร์ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.8) และ UV Sensor(1.9) 3 ตัวนี้ด้วย และที่เอาออกก็เหมือนกับแบบ 3 ปุ่มไม่ออโต้ครับ คือเอาในส่วนของระบบ Heater ออก แต่จะไม่สามารถปรับลด-เพิ่มอุณหภูมิที่ปุ่มปรับได้ ถึงยังไงก็สามารถแปลงได้ โดยใช้ระบบ Thermostat เข้ามาแท็ปเอา มันค่อนข้างจะอธิบายยากครับ ให้คิดอย่างนี้ล่ะกันคือระบบไม่ออโต้จะใช้ Thermostat เป็นการกำหนดการทำงานของคอมแอร์ แต่ระบบออโต้จะใช้ Processor ในการกำหนดการทำงานของคอมแอร์ โดยเอาสัญญาณจากเซนเซอร์แต่ละตัวมาประมวลผลอีกที เพราะฉนั้นในการแปลงก็คือเอาระบบ Thermostar เข้ามาแทนที่ครับ สงสัยยิ่งอธิบายจะยิ่งงงนะ จบแค่นี้ล่ะ :D

    อื้ม!! ลืมไป เสริมตรงนี้ล่ะกัน คือในแบบ 3 ปุ่มนี้ ส่วนของท่อแอร์นั้นต้องมีการแก้ไขนะครับ เพราะช่องไม่ตรงกัน โดยจะหาตรงรุ่นมาหรือตัดต่อของเดิมเอาก็ได้ครับ

    2.3 แบบ 1 ปุ่ม
    แบบนี้ทั้งหมดก็จะเป็นออโต้ครับ หน้าตาก็จะมีเยอะหน่อยเช่น มีจอเนฯ, แบบ 1 DIN และแบบ 1 DIN ที่ Biut-in วิทยุมาด้วย ในส่วนของการทำงานของแอร์ก็จะเหมือนกันหมดจะต่างที่ Option มันมากกว่าครับ
    - 1 ปุ่ม 1 DIN
    [​IMG]

    - 1ปุ่ม จอเนฯ
    [​IMG]

    การแสดงผล การทำงานของแอร์ระหว่าจอเนฯกับ 1 DIN
    [​IMG]

    ระบบ
    - แบบปุ่มเดียวนี้มีเฉพาะออโต้เท่านั้น ดังนั้นการทำก็เหมือนๆกับแบบ 3 ปุ่มออโต้ครับ

    แถมๆครับ ในแบบจอเนฯนี้ มีของเล่นเยอะมากครับที่จะมาพ่วงกับมันได้แก่ ชุดเนวิเกเตอร์(มีแผ่นแผนที่+กล่องเนวิเกเตอร์ตัวรับ GPS), ตัวเล่นคาสเซตเทป, ตู้ CD Changer และ ชุด TV Tuner ครับ

    3. สิ่งที่ได้มาและสิ่งที่เสียไป
    - สิ่งที่ได้มาคือการหลุดพ้นจากของเดิมๆติดรถ (ไม่ใช่ประเด็นเท่าไหร่ :D )
    การปรับปรุงหรือตรวจเช็คระบบแอร์ใหม่ไปในตัว (ถ้าทำแบบเต็มมีตู้ Heater นะ)
    ในส่วนประโยขน์ของการมีตู้ Heater นั้น ก็ช่วยในช่วงฤดูหนาวได้ดีครับออกจากห้องแอร์ที่ทำงานมาก็อยากหาที่อุ่นอยู่ซะหน่อย :)
    เรื่องของการกระจายความเย็น (ในโหมดออโต้) ก็สามารถทำได้ดี
    -สิ่งที่เสียไปก็แน่นอนครับเรื่องเงินอยู่แล้ว
    การบำรุงรักษาก็ต้องมีมากว่าแน่นอน
    รถช้ำนิดหน่อยยิ่งมีตู้ Heater ด้วยก็ต้องเจาะรถ และต่อเสื้อน้ำที่เครื่อง(บล็อค D เท่านั้น) เพิ่มด้วย

    4. ข้อควรระวังนิดหน่อย
    ในการติดตั้งแบบเต็มระบบคือมีตู้ Heater ด้วยนั้น ก็จะมีการแบ่งน้ำในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์มาใช้ด้วย ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ในช่วงแรกๆหลังการติดตั้งมา ต้อง!! หมั่นดูน้ำในระบบหล่อเย็นด้วย เดี๋ยวจะเกิดอาการเครื่องฮีทกันอีก ไม่ใช่เฉพาะต้องทำแอร์เท่านั้น แค่การเปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำของรถทั่วไปก็ต้องหมั่นดูน้ำด้วยเช่นกันครับ

    ก่อนจบ. ก็เช่นเคยครับ บทความนี้ที่ผมทำขึ้นมาก็หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ชาว EK Gruop บ้างนะครับ ผมพยายามที่จะทำออกมาแบบอ่านสบายๆ อ่านแล้วไม่เครียด อย่าให้มันออกวิชาการมากไป ถึงแม้ว่าในรายละเอียดนั้นจะมีอีกค่อนข้างจะเยอะมากๆๆ ผมคงไม่ลงถึงการติดตั้ง การ wiring หรอกนะครับ การทำบทความนี้ผมใช้เวลานานพอสมควร ทั้งในเรื่องรูปถ่าย การวัดทดสอบอุปกรณ์มาให้ดู การเขียนบทความขึ้น อะไรหลายๆอย่าง เหนื่อยเลยครับบทความนี้ แต่ก็ชอบที่จะทำมาให้อ่านกันครับ และก็เหมือนเดิม ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยครับ และอีกอย่างล่ะกันคือบทความนี้ก็น่าจะอยู่ในส่วนของ >>> Knowledge Base <<< แต่ที่ผมลงไว้ที่กระทู้ธรรมดาเพราะหลายๆคนจะไม่ค่อยได้สนใจหรือไม่สังเกตุในหัวข้อที่ติดหมุดกันเท่าไหร่ จึงขออนุญาติลงไว้ที่นี้ให้ได้อ่านกันซักพักก่อน หลังจากกระทู้ตกไปแล้วก็คงต้องรบกวนผู้ดูแลระบบย้ายขึ้นไปไว้ที่ Knowledge Base ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ เอาล่ะจบได้แล้ว

    จบ......ซะที

    By MugenTypeR
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ธันวาคม 2008
  7. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    การขับรถที่ผมคิดว่าประหยัดน้ำมันมากที่สุดและสึกหรอน้อยที่สุด

    การขับรถที่ผมคิดว่าประหยัดน้ำมันมากที่สุดและสึกหรอน้อยที่สุด

    เอ๊ะฉันก็ขับรถมานานแล้วนายเป็นใครยังจะมาสอนกันขับรถอีก อย่าถึงขนาดนั้นเลยนะครับไม่บังอาจหรอก ก็อย่างว่าถ้าผมเป็นพวกเศรษฐีมีเงินขับรถคันโตๆเครื่องยนต์ใหญ่ๆราคาน้ำมันก็คงไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใดหรืออยากเปลี่ยนรถใหม่ตอนไหนก็ได้ แต่บังเอิญว่าผมดันเกิดมาจนน้ำมันแต่ละหยดจึงมีค่ามากและอยากใช้รถนานๆเพราะไม่มีเงินถุงเงินถังที่จะไปเปลี่ยนคันใหม่ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่จะให้รถที่มีอยู่ได้ใช้งานอย่างประหยัดและทนทานให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปให้มากที่สุด จริงๆแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องลึกลับหรือต้องปิดบังอะไรเลยยิ่งบางเรื่องเขาพิสูจน์กันมาแล้วว่าเป็นจริงครับเพียงแต่นำมาเล่าสู่กันฟังสำหรับท่านที่ยังไม่ทราบหรือเคยทราบแล้วแต่ลืมหรือท่านที่อาจจะยังไม่รวยนัก(ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่าในที่นี้)อยากประหยัดเหมือนผมครับ ทีนี้ก็มาดูกันว่าผมทำอะไรบ้าง

    1.อันดับแรกก็เริ่มจากการขั้นตอนเติมน้ำมันก่อน ก็มาจากหลักวิทยาศาสตร์ชั้นประถมเรื่องการขยายตัวของมวลสารที่แปรผันตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น พูดง่ายๆคือถ้าอากาศร้อนก็จะทำให้อะไรๆมันขยายตัวนั่นเองรวมทั้งน้ำมันด้วย ดังนั้นการเติมน้ำมันจึงควรเติมเวลาที่อากาศเย็น เวลาที่ดีที่สุดคืออยู่ในช่วง 00.00-06.00 น.ครับ รองลงมาก็ช่วง 22.00-00.00 น.และช่วง 06.00-09.00 น. สรุปคือ ตั้งแต่ สี่ทุ่มถึงเก้าโมงเช้าคือช่วงเวลาที่เติมน้ำมันแล้วจะได้ปริมาณมากกว่าช่วง 09.00-22.00 น.เพราะว่าน้ำมันจะยังคงรูปแบบอยู่หรือขยายตัวเพียงเล็กน้อยซึ่งจะประหยัดกว่าช่วง 09.00-22.00 น.อยู่ 2-5เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เช่น ช่วง 09.00-22.00 น.เติมเต็มถัง 40ลิตร แต่ถ้าเติมช่วง 00.00-06.00 น.เต็มถังจะประมาณ 37.5-38.5 ลิตร และถ้าเติมช่วง 22.00-00.00 น.หรือ 06.00-09.00 น.เต็มถังก็แค่ 38-39 ลิตร ก็ลองคำนานดูราคาน้ำมันปัจจุบันดูเองครับว่าประหยัดได้กี่บาทกี่เปอร์เซ็นต์ คนส่วนมากมักจะเติมน้ำมันหลังเลิกงานก่อนเข้าบ้านช่วง 17.00-20.00 น.อันนี้ถ้าเป็นคนช่างสังเกตุหน่อยจะพบว่าตอนเช้าขีดระดับน้ำมันจะตกลงต่ำกว่าตอนที่มาจอด และถ้าเติมตอน 06.00 น.(แต่ไม่เต็มถัง)ขับไปทำงานตอนเที่ยงจะออกไปทานข้าวจะพบว่าขีดระดับจะสูงขึ้นกว่าตอนที่มาจอด อันนี้ผมก็ลองทำแล้วพบว่าเป็นจริงทุกประการ ที่สำคัญคือเวลาเติมน้ำมันเด็กปั๊มมักจะขี้เกียจทอนเศษเงินจึงมักกดยัดเยียดแก๊กๆๆๆๆจนล้นหรือจนพอใจโดยที่จ้าวของรถก็ไม่สนใจ เช่นที่ 487บาทหัวเติมก็ตัดแต่เด็กปั๊มมักจะเข้นให้ถึง 500 บาทเป็นต้น อย่าลืมว่าถังน้ำมันจะมีรูหายใจหรือรูระบายแรงดันในถังการเติมน้ำมันมากเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆเพราะพอมันขยายตัวน้ำมันก็จะถูกปล่อยทิ้งออกไปตอนที่รถวิ่งหรือกระแทก อันนี้ควรสนใจกันบ้างเติมแค่หัวจ่ายตัดหรือเลยไปไม่เกิน 5 บาทก็ยังไม่เสียหาย เพราะจุดนี้เป็นจุดที่เสียหายมากๆเลยกับการเติมน้ำมันมาปล่อยทิ้งเจ้าของปั๊มได้กำไรจากยอดขายที่สูงขึ้น แต่เราขาดทุนเพราะเติมน้ำมันมาทิ้งประมาณครึ่งลิตร

    2.ลำดับต่อมาก็มาที่ขั้นตอนการสตาร์ทรถและอุ่นเครื่อง ทำไมต้องอุ่นเครื่องก็เพราะว่าเครื่องยนต์ที่ดีและสึกหรอน้อยที่สุดประหยัดที่สุดจะทำงานอยู่ในช่วง 90-95 เซลเซียส แต่ด้วยความเร่งรีบของสังคมปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่มักจะขึ้นรถสตาร์ทเครื่องติดแล้วก็ขับออกไปเลยขณะที่เครื่องเย็นอยู่การหล่อลื่นจึงยังไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องใช้กำลังฉุดลากมากกว่าปกตินอกจากจะเปลืองน้ำมันแล้วยังสึกหรอมากด้วย บางคนก็ใจเย็นเหลือเกินติดเครื่องทิ้งไว้นาน 4-5นาทีกว่าจะออกรถซึ่งก็อาจจะเกินความจำเป็นไปหน่อยมันดีต่อเครื่องยนต์แต่ก็สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ และวิธีที่เหมาะสมของการอุ่นเครื่องคือ ต้องปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดก่อนสตาร์เครื่อง(ลดโหลดของเครื่องยนต์ให้น้อยที่สุด)และต้องอุ่นเครื่องไว้ 30-60 วินาทีในหน้าร้อนหรือ 45-90 วินาทีในหน้าหนาวหรืออากาศเย็นให้เข็มความร้อนขึ้นมาถึงขีดต่ำสุดก็เพียงพอแล้วจากนั้นจึงค่อยเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการ บางคนจะถามว่าแล้วขับมาจอดซักพักเครื่องยังร้อนอยู่เวลาจะขับอีกต้องอุ่นเครื่องหรือเปล่า อันนี้ก็ถือว่ายังจำเป็นอยู่เพื่อให้เวลากับน้ำมันหล่อลื่นที่ค้างอยู่ในส่วนต่างๆของระบบที่เริ่มมีความแตกต่างกันของอุณหภูมิกันแล้วได้กลับไปหมุนวนถ่ายเทความร้อนซึ่งกันและกันเพื่อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง เพียงแต่ระยะเวลาในการอุ่นเครื่องใช้แค่ 10-15 วินาทีก็เพียงพอแล้ว

    3.การออกตัว หลายคนยังเป็นประเภทถ้าไม่ได้ยินเสียงล้อบดถนนตอนออกตัวแล้วไม่สบายใจ การออกตัวเป็นหัวใจสำคัญของการประหยัดและลดการสึกหรอด้วยเช่นกัน เพราะเกียร์ 1 คือเกียร์ที่กินน้ำมันมากเป็นอันดับสองรองจากเกียร์ถอยหลัง เพราะต้องใช้แรงฉุดอย่างมหาศาลที่จะลากตังถังจากหยุดนิ่งให้เคลื่อนตัว การออกตัวแรงๆนอกจากจะเปลืองเชื้อเพลิงแล้วยังสึกหรอมาด้วยทั้งยางและเครื่องยนต์ ดังนั้นการออกตัวที่ดีจึงควรทำอย่างนิ่มนวลที่สุด เกียร์ออโต้ก็ควรค่อยๆปล่อยเบรคและกดคันเร่งเบาๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความเร็ว ส่วนเกียร์ธรรมดาก็ค่อยไปล่อยครัชท์แล้วกดคันเร่งเลี้ยงรอบเครื่องไว้ที่ 1000-1200 รอบ ทำได้ดังนี้ก็จะนิ่มนวลประหยัดและสึกหรอต่ำ ไม่ควรออกตัวด้วยเกียร์ 2 มันให้อัตราเร่งสูงกว่าก็จริงแต่การจ่ายน้ำมันก็มากไม่ต่างจากเกียร์ 1 เท่าไหร่แต่ต้องแลกมาด้วยความสึกหรอของเครื่องยนต์ที่มหาศาลเครื่องจะหมดกำลังอัดเร็วกว่าปกติมาก สุดท้ายก็ยิ่งเปลืองน้ำมันแถมควันกลบตูดอีกต่างหาก ไม่นานก็ต้องบูรณะครั้งใหญ่ซึ่งจะเร็วกว่าพวกที่ใช้ตามปกติเป็นแสนโลหรือกว่า 2ปีเลยทีเดียว(เสียตังค์โดยใช่เหตุ)


    4. การขับขี่ หลังจากออกตัวมาแล้วก็ต้องเร่งเครื่อง เกียร์ออโตก็ได้พูดไปแล้วคือกดคันเร่งลงอย่างนิ่มนวลต่อเนื่องและสม่ำเสมอและควรใช้ O/D ในความเร็วสูงซึ่งจะทำให้รอบต่ำลงมาช่วยประหยัดน้ำมัน ส่วนปุ่ม ETC นั้นถ้าไม่ได้เข่งกับใครก็ไม่ควรจะใช้บ่อยนักเพราะมันก็คือการลากเกียร์นั่นเองซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอมากขึ้น เปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นก็ยังส่งผลต่ออายุงานของเกียร์ด้วย ที่นี้มาว่ากันที่เกียร์ธรรมดา การเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นควรจะทำให้เร็วที่สุดและไปถึงเกียร์สูงสุดไวที่สุดโดยการใช้รอบเครื่องเป็นหลักและไม่ควรลากรอบเครื่องสูงเกินไป ดังนี้
    4.1 เครื่องขนาดไม่เกิน 1800CC ควรเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2000 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1000-1200 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2000-2200 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
    4.2 เครื่องขนาด 1800-2200CC ควรเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2200-2500 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1200-1400 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2200-2500 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
    4.3 เครื่องขนาดมากกว่า 2200CC ควรเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่ 2500-2700 รอบ ลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1300-1500 รอบ และเลี้ยงความเร็วที่เกียร์สูงสุดไว้คงที่ที่ 2500-2700 รอบ(จุดใดจุดหนึ่ง)
    4.4 เครื่องที่แบกหอยหรือเทอร์โบมาด้วยก็บวกจากที่กล่าวมาไปอีกไปอีก 500 รอบ
    4.5 เครื่องยนต์ที่เป็นดีเซลซึ่งมีแรงบิดสูงกว่าเครื่องเบนซินก็จะใช้รอบแบบเดียวกับข้อ 4.1
    4.6 เครื่องยนต์ที่เป็นดีเซลที่แบกหอยหรือเทอร์โบมาด้วยก็จะใช้รอบแบบเดียวกับข้อ 4.2
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเร็วที่เกียร์สูงสุดที่ประหยัดน้ำมันและสึกหรอต่ำสุด จะแตกต่างกันไปตามขนาดและประเภทของเครื่องยนต์ ส่วนที่ทางการประชาสัมพันธ์ว่าความเร็วที่ประหยัดและสึกหรอต่ำอยู่ที่ 60-90 กม./ชม.นั้นคือรุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 1800CCและเครื่องดีเซลครับเพราะรถกลุ่มนี้คือรถที่มำจำนวนมากที่สุดในบ้านเรา ส่วนกลุ่มที่เครื่องยนต์มีขนาดใหญ่หรือติดเทอร์โบความเร็วก็จะสูงขึ้นไปตามลำดับเช่นเครื่องขนาด 2000CC ความเร็วประหยัดน้ำมัน(แต่ไม่สูงสุด)อยู่ที่ 110 กม./ชม.เป็นต้น การขับขี่ที่ดีควรรักษาความเร็วที่คงที่ไว้อย่างเสถียรภาพมากที่สุดเท่าที่ทำได้(อันนี้พวกรถที่มีการตั้งความเร็วอัตโนมัติจะได้เปรียบ)


    5. ความเร็วปลายหรือความเร็วสูงสุดในการเดินทาง ถ้ามีการวิ่งระยะยาวๆไกลๆและต้องการใช้ความเร็วสูงแต่ประหยัดน้ำมันและการสึกหรอต่ำ อันนี้ต้องอาศัยธรรมชาติเรื่องแรงเสียดทานและแรงโน้มถ่วงมาช่วย ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะรถคันโตๆน้ำหนักมากๆเท่านั้น จะมีจุดๆหนึ่งที่หน้ายางจะสัมผัสถนนเต็มหน้าพอดีและตั้งฉาก(ไม่เหมือนกับที่เห็นว่าเหมือนยางแบนตอนจอดอยู่) คือเหมือนว่าน้ำหนักตัวของรถน้อยลงนั่นคือจุดที่ก่อนที่รถจะลอยตัว(แต่ชาวบ้านมักเรียกรถลอยตัว)ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่รถยังคงเสถียรภาพการเกาะถนนอยู่ รถแต่ละรุ่นจะได้ความเร็วที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถและตัวสปอยด์เลอร์ที่ติดมา จุดนี้หาได้โดยค่อยๆกดคันเร่งเพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงจุดๆหนึ่งจะพบว่าความเร็วรถจะเพิ่มขึ้นเองอย่างรวดเร็วจนต้องถอนคันเร่ง เช่นโดยทั่วไปรถขนาด 2000-2200CC จะอยู่ที่ 130-150 กม./ชม.เมื่อหาความเร็วดังกล่าวได้แล้วเวลาที่เดินทางก็ควรใช้ความเร็วนั้นๆ ส่วนที่บอกว่าไม่เหมาะกับรถเล็กๆนั้นก็เพราะว่าน้ำหนักรถน้อยถ้าขับเร็วก็จะเกิดแรงต้านจนหนีศูนย์ยิ่งเปลืองเชื้อเพลิงและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและความเร็วที่ว่าของรถเล็กๆก็อยู่ราวๆ แค่110-120 กม./ชม.เท่านั้น ยิ่งบางคนไปติดสปอยด์เลอร์มาท่านทราบหรือไม่ว่าสปอยด์เลอร์จะเริ่มทำงานเกิดแรงกดและลมหมุนวนจนเกิดแรงส่งที่ความเร็วเกิน 120 กม./ชม.ขึ้นไป ดังนั้นการใส่สปอยด์เลอร์ในรถเล็กๆจึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้รถและเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ในรถเล็กนั้นนอกจากความสวยงามและประดับไฟเบรคแล้วสปอยด์เลอร์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลยเพราะจะเกิดแรงหนีศูนย์ก่อนสปอยด์เลอร์จะทำงานแทนที่จะช่วยในการทรงตัวกับไปเสริมแรงส่งหนีศูนย์ไปอีก รถเล็กที่ติดสปอยด์เลอร์ในความเร็วสูงจึงควบคุมยากกว่ารถที่ไม่ติดสปอยด์เลอร์ครับ บางคนก็เถียงว่าถ้ามันไม่ดีทำไมมันติดตั้งมาจากโรงงานเลย อันนี้ก็เป็นเรื่องทางธุรกิจครับแต่รุ่นเดียวกันไม่ติดก็มี ผมเคยไปซื้อรถที่บอกว่าแถมสปอยด์เลอร์ด้วยผมบอกว่าถ้าผมไม่เอาสปอยด์เลอร์นี่จะลดราคาให้ผมเท่าไหร่ คำตอบคือ 10000 บาทครับผมก็เลยให้เขาถอดออก ท่านก็ลองพิจรณาดูเองก็แล้วกันเพราะถ้าผมอยากติดจริงๆผมมาหาข้างนอกทำสีด้วยก็ไม่เกิน 5000 บาทหรอกครับ ยิ่งบางรุ่นก็บังคับมาเลยถอดไม่ได้เพราะเจาะรูไว้แต่เราเป็นคนจ่ายตังค์นะครับอย่าลืม การเดินทางไกลควรหยุดพักรถทุก 2 ชม.หรือ 200 กม.การหยุดแต่ครั้งไม่ควรต่ำกว่า 15 นาทีควรจอดในที่ร่มและเปิดฝากระโปรงหน้าไว้เพื่อให้น้ำมันเครื่อง/น้ำมันเกียร์หรือน้ำมันเบรคได้คายความร้อนจะได้กลับมามีคุณสมบัติที่ดีอีกครั้ง


    6. การเบรค ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเบรคที่รุนแรงทางที่ดีควรใช้การลดความเร็วและการลดเกียร์ลงมาเรื่อยๆ พูดง่ายๆก็ใช้ความเร็วให้เหมาะสมนั่นแหละ เพราะการเบรคที่รุนแรงนอกจากการสึกหรอของระบบเบรคแล้ว ยังมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ค้างในห้องเผาไหม้จำนวนมาก(เพราะปล่อยคันเร่งทันทีทันใด)ที่อาจจะซึมผ่านไปผสมกับน้ำมันเครื่องส่งผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติและส่งผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์ตามมา


    7. การถอยรถ ในรถเกียร์อัตโนมัติคงไม่มีปัญหาเท่าไหร่กับการถอยหลังเพราะยังไงก็ต้องหยุดรถให้สนิทอยู่แล้วจึงจะโยกเข้าเกียร์ถอยหลังได้ แต่ในรถเกียร์ธรรมดาควรทำอย่างไร สิ่งที่ควรทำก็คือทำแบบเกียร์อัตโนมัติเขาโดยเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทก่อน แต่ถึงแม้รถจะหยุดสนิทแล้วก็ควรทิ้งระยะเวลาไว้เล็กน้อยประมาณ 3-5 วินาทีก่อนเข้าเกียร์เพื่อให้เวลากับเพลาหรือเฟืองที่ยังมีแรงเฉื่อยอยู่ได้หยุดหมุนเสียก่อน ไม่เช่นนั้นเมื่อต้องหมุนไปอีกทางในทางกลับกันก็จะเกิดการสึกหรออย่างมากและยังเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นที่ต้องใช้แรงฉุดมากขึ้นหรือบางทีก็ส่งเสียงแก๊กๆออกมาทีเดียว ที่ผมทำอยู่ก็ใช้การนับในใจ 1......2.....3.....4.......5 แล้วจึงเข้าเกียร์ถอยหลังซึ่งจะไม่มีเสียงใดๆเล็ดลอดออกมา โดยทั่วไปแล้วเกียร์ถอยหลังจะมีอัตราทดและแรงมากที่สุดกว่าทุกเกียร์(มีไม่กี่รุ่นที่ทำเกียร์ 1 สูงกว่าเกียร์ถอยหลัง)ดังนั้นจึงเป็นเกียร์ที่ใช้น้ำมันมากที่สุดจึงควรนิ่มนวลในการเร่งและปล่อยครัชท์มากที่สุด


    8. การจอดรถ ก่อนถึงที่หมายซัก 100-200 เมตรควรปิดAC หรือคอมเพรสเซอร์ของแอร์เหลือไว้เฉพาะพัดลมเพราะยังคงมีความเย็นในระบบอยู่ การกระทำดังกล่าวนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันแล้ว พัดลมยังช่วยเป่าไล่ความชื้นออกจากตู้แอร์ทำให้ไม่มีกลิ่นอับชื้น ความชื้นในตู้แอร์หมดไปการผุกร่อนของตู้แอร์และระบบก็ลดลง ซ้ำยังไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค-เชื้อราโดยเฉพาะเชื้อริโอจีอีโบลา(ที่กำลังดังเพราะคร่าไปหลายชีวิตแล้ว) เมื่อถึงที่หมายและรถจอดสนิทแล้วก็ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ฟังเสียงว่าพัดลมไฟฟ้าทำงานอยู่หรือเปล่าควรปล่อยให้พัดลมทำงานจนหยุดก่อนจึงดับเครื่องยนต์ อย่าลืมดึงเบรคมือขึ้นด้วยไม่งั้นมีสิทธิ์เป็นข่าวได้เหมือนกัน ที่เห็นมามากคือมักจะเบิ้ลเครื่องหรือเร่งเครื่องขึ้นไปรอบสูงๆก่อนดับเครื่องโดยเข้าใจว่าจะทำให้เครื่องติดง่ายในครั้งต่อไปอันนี้อันตรายต่อเครื่องยนต์มาก เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงจะตกค้างและปนไปอยู่กับน้ำมันเครื่องทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาวะการหล่อลื่นสึกหรอมากขึ้น แถมน้ำมันที่ค้างก็เหมือนการทิ้งไปเปล่าๆ


    9. ต่อมาก็เป็นเรื่องลมยาง ควรจะตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 10 วันครั้ง ที่ผมทำอยู่คือเพื่อกันลืมผมจะเช็ควันที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์ครับ ลมยางก็ต้องได้ตามที่บริษัทผู้ผลิตเขาแนะนำซึ่งส่วนใหญ่จะมีในคู่มือหรือบางรุ่นก็ติดไว้ให้ตามขอบประตูที่รถให้เลย ถ้าลมยางอ่อนเกินไปก็จะทำให้รถซดน้ำมันมากขึ้นและขอบยางก็จะสึกมากขึ้นอายุยางก็ลดลง แต่ถ้าแข็งเกินไปมันประหยัดน้ำมันก็จริงแต่ยางก็จะสึกตรงร่องกลางๆมากเสื่อมเร็วเช่นกันซ้ำร้ายยังส่งผลกระทบไปถึงลูกหมาก ลูกปืนที่จะกลับบ้านเก่าเร็วกว่าปกติ


    10. สุดท้ายก็คงเป็นเรื่องการเก็บสัมภาระไว้ในรถ ไม่ควรเก็บของไว้ในรถมากเกินไปควรเก็บที่จำเป็นจริง(แต่ส่วนใหญ่มักอ้างว่าจำเป็นทั้งนั้น) เพราะของที่ใส่ในรถก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักรถก็ทำให้กินน้ำมันโดยใช่เหตุเช่นกัน


    นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆอีกเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการเดินทางเช่นการศึกษาเส้นทาง การเลือกเส้นทางในการเดินทาง ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่รถติด(มากๆ)หรือเลือกใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุด เป็นต้น สิ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้คงบังคับให้ปฎิบัติไม่ได้หรือทำทั้งหมดก็คงยาก แต่ถ้าฝึกไปเรื่อยๆมันก็จะเป็นนิสัยแล้วค่อยเพิ่มสิ่งที่ยังไม่ไดทำเข้าไปเรื่อยๆ สุดท้ายวันหนึ่งคุณจะพบว่าตัวเองเป็นคนขับรถที่ดี ประหยัดน้ำมันและรถที่ใช้งานอยู่ก็ทนทานไม่จุกจิกเหมือนรถข้างๆบ้านที่ออกมาพร้อมๆกัน ว่างๆก็ช่วยไปบอกต่อเขาหน่อยก็แล้วกันนะครับ
     
  8. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    >>> :D <<<
     
  9. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    การเลือกล้อและยางมาตรฐานล้อและยางที่ควรรู้

    การเลือกล้อและยางมาตรฐานล้อและยางที่ควรรู้


    จากหนังสือยานยนต์ฉบับ 409 ประจำเดือนมิถุนายน 2543

    รถยนต์และการตกแต่งนับเป็นวิวัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่งผนวกกับการดีไซน์สุดหรูที่สอดคล้องกันจนทำให้เกิดไอเดียต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งความคิดริเริ่มในรูปแบบของงานสร้างสรรค์จนรวมไปถึงการตกแต่งที่ยังรอการพิสูจน์ในคุณภาพจากคนรักรถทั้งหลายในปัจจุบันและอนาคต

    ปัจจุบันมีการนำเสนอสินค้าที่มียอดขายดี และมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดสำหรับเจ้าของรถยนต์ในเมืองไทยคือ ล้อแม็ก และ ยาง ซึ่งดูแล้ว เข้าเค้า ว่ามันจะมีตัวเลขการจำหน่ายครองอันดับ 2 ต่อจากรถยนต์เลยทีเดียว สำหรับการเลือกล้อแม็กคงไม่มีอะไรต้องตัดสินใจมากไปกว่าความพอใจและความสวยงาม ตลอดจนบางครั้งจะมีเรื่องของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เท่านี้ก็พอแล้วสำหรับการเลือกใช้ล้อแม็กที่คุณต้องการได้โดยสบายใจ แต่จะเลือกใช้ล้อแม็กแบบไหนล่ะ ? จึงจะเหมาะสมกับรถกับสภาพถนนในบ้านเรา เพราะปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีถนนดี ๆ ให้วิ่งกันนักเพราะพวกที่ชอบขุดชอบเจาะยังคงมีอยู่มากมายที่ไม่ยอมปรับผิวถนนให้เหมือนเดิม ไม่รู้มันจะเจาะกันไปถึงไหน ? (ขอโทษครับที่บ่น)

    มาเข้าเรื่องกันต่อดีกว่า สำหรับเจ้าล้อแม็กนี้ท่านคงจะทราบกันดีว่าคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยของมันคืออะไร แต่ขอถามซักนิดซิว่า

    คุณชอบอะไร แบบไหน และเพื่อการใช้งานแบบไหนนั้นและที่ต้องการอยากรู้ เมื่อรู้แล้วก็เชิญซื้อกันตามสบายเพราะของอย่างนี้มันขึ้นอยู่ที่ความพอใจของแต่ละบุคคลไม่ใช่ว่าจะบังคับกันได้แต่อีกนั้นและที่ยังงั้ย ยังไงก็ต้องบอกอยู่ดีคือ ล้อแม็กบางครั้งสวยแต่รูปจูบไม่หอม เพราะไม่สามารถจะใส่กับรถของเราได้ ด้วยเหตุผลอะไรต้องมาคุยกัน

    *การเลือกล้อแม็กนั้นจะต้องดูเรื่องของ P.C.D. หรือ Pitch Circle Diameter คือระยะห่างระหว่างน็อตของล้อแม็กหรือ Offset ที่ควรจะต้องตรงกับสเป็คของรถมิฉะนั้นอาจจะมีปัญหาตามมาได้ ในส่วนอื่นคงไม่มีอะไรมากนอกเสียจากคุณจะทำการดัดแปลงรูน็อตหรือรอง สเปเซอร์ เพื่อให้เข้ากับล้อแม็กชุดที่อยากจะได้ เรียกว่าเป็นการดัดแปลงรถให้เข้ากับล้อไม่ใช่ไปหาซื้อล้อที่เข้ากับรถ แปลกมั๊ยล่ะคนเรา ?

    มาในเรื่องของการเลือกใช้ยางกันบ้าง ในเรื่องของการเลือกใช้ก็มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ยกตัวอย่างการดูวัน/เดือน/ปี ที่ผลิตเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเราเองไปเจอกับยาง เก่าเก็บ สมัยนี้มียางรถยนต์เกิดขึ้นมาเยอะมาก ควรระวังในเรื่องของสินค้าค้างสต๊อคและยางที่เสื่อมคุณภาพ รวมทั้งร้านรวงที่ดูแล้วอาจจะไม่ค่อยเอาใจใส่ในเรื่องการเก็บสต๊อค วางไว้เกะกะหรือตามเรื่องตามราว ยางที่ว่าเก็บอย่างไม่ถูกวิธีก็จะทำให้สินค้าด้อยคุณภาพลงอาทิ ยางไม่กลม เป็นต้น

    วิธีสังเกตง่าย ๆ เช่น ยางเส้นนั้น ๆ ดูด้วยสายตาออกจะบิด ๆ เบี้ยว ๆ มีตำหนิขอบยางแตกลายงา สียางดูจืดผิดปกติ และรู้สึกว่าดอกยางจะแข็งผิดจากความจริงที่ยางเป็นอยู่เพราะฉะนั้นควรตรวจดูให้ถี่ถ้วนก็จะตัดสินใจซื้อเพราะว่าเสียสตางค์หลาย ๆ ครั้งคงไม่สนุกสักเท่าไร

    ในเรื่องของ ขนาด ของยางว่าจะต้องใส่กันแบบไหน ขนาดไหน ถึงจะเหมาะสม อ๋อ! ง่ายมาก อย่างเช่น ล้อขอบ 13 x 5.5 หรือ 6.5 ก็คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความกว้างวัดเป็นหน่วย นิ้วฟุต สเป็คยางที่เหมาะสมจะเท่ากับ 175/70 R 13 หรือไม่ก็เป็น 185/70/R13 เป็นต้น แต่ถ้าต้องการเพิ่มขนาดล้อให้ใหญ่ขึ้นก็อาจจะลดซีรี่ส์ยางลงไป 10% คือ ถ้าเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของวงล้อขึ้นมาอีก 1 นิ้ว ซีรี่ส์จะลดไป 10% ของความสูงของแก้มยาง แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เป็นรถวัยรุ่นชอบให้ดูเตี้ยนิด ๆ ก็อาจเปลี่ยนมาใช้ยางซีรี่ส์ต่ำ ๆ เช่น วงล้อขอบ 17 x 6.5 ยางควรจะเป็น 205/50 ZR 17 เป็นต้น

    แต่อย่าลืมล่ะว่ายางแต่ละเส้นมันจะมีรหัสที่บอกค่าความเร็วที่ยางสามารถรับได้ อย่างเช่น SR, VR.ZR ซึ่งผู้ผลิตยางจะแจ้งไว้เพื่อให้ทราบว่ายางของเขาเหมาะสมกับการนำไปใช้ในรถประเภทไหน รถบ้านธรรมดาคงไม่ต้องถึงกับไปใช้ยางรหัส ZR ที่สามารถรับความเร็วได้ถึง 300 กม./ชม. และแน่นอนว่ามันจะราคาแพงกว่ายางทั่ว ๆ ไปด้วย

    อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือ อายุการใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้รถของแต่ละท่านด้วย ยางส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 25,000 30,000 กม. บางครั้งอาจจะน้อยกว่านี้เพราะเจ้าของรถพาไปใช้งานย่านทุรกันดารบ่อย ๆ รถบางคันถูกซื้อมาเก็บ ไม่ค่อยได้วิ่ง พอถึง 2 ปี ก็น่าจะเปลี่ยนยางชุดใหม่ได้แล้วเพราะคุณภาพของเนื้อยางจะเปลี่ยนไป เกิดอาการแข็งกระด้าง เลี้ยวที่หยุดทีก็จะส่งเสียงร้องดังเอี๊ยดอ๊าดเสียดหูแถมยังลื่นอีกต่างหาก นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายมากสำหรับยางที่ไม่มีดอกและยางที่หมดอายุ ขับ ๆ ไปอาจจะเกิดอาการ ยางแตก ให้ต้องลุ้นว่าจะออกหัวหรือออกก้อย

    ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่ตรวจตราสภาพของยางและตรวจเช็คแรงดันลมยางเป็นประจำเสมอเพื่อความปลอดภัยในยามใช้งานพวกที่นิยมใช้ล้อแม็กวงโต ๆ กับยางซีรี่ส์ต่ำ ๆ ลงหลุมแรง ๆ หน่อยเดียวก็ล้อคดต้องเสียตังค์เปลี่ยนใหม่ ถ้าหาลายเดิมไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด

    -------------------------------------------------------------------------------------------
    * พี ซี ดี PCD คืออะไร?

    [​IMG]

    ร ะ ย ะ พี.ซี.ดี (P. C. D)
    P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็กซ์ โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม แล้ววัดผ่าน เส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูน๊อต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง

    รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5 - 6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ

    มีหลายคน มักสงสัยว่าทำไมรูน๊อตที่ใช้ยึด ล้อแม็ก เข้ากับดุมล้อ ถึงได้มีค่า PCD แตกต่างกันออกไป
    ในอดีตที่ผ่านมาก็มีผู้ผลิตรถยนต์ หลายค่ายทั้งเอเชีย, ยุโรป หรือ อเมริกา เองก็ดี ได้ทำการคิดค้นและออกแบบแตกต่างกันออกไป ตามแต่ความคิดอ่าน ของแต่ละค่าย ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตกาล เขาใช้หน่วยเป็นนิ้ว แต่ต่อมา ในบางประเทศที่คุ้นเคยกับระบบเมตริก ก็มักใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตรแทน จึงมีการเรียกแตกต่างกันไป แต่จริงแล้ว ค่าของ PCD ก็มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นเอง


    การวัดระยะ PCD ด้วยตนเอง

    หากเราต้องการทราบว่า ล้อแม็ก ของเรานั้น มีระยะ PCD เท่าไร ? เราสามารถวัดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นก็ต้องมี อุปกรณ์ ที่ต้องใช้วัด เช่น ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร ก็ได้เช่นกัน


    ล้อ 4 รู / 8 รู

    การวัดสามารถวัดโดย วัดที่หน้าแปลนของ ดุมล้อ ด้านหลัง โดยทาบไม้บรรทัด จากจุด (A) ไปถึงจุด (B) ดูระยะว่าเป็นเท่าไร เช่น อ่านค่าได้เท่ากับ 100 มม. นั่นก็คือระยะ PCD ของ ล้อแม็กซ์ วงนั้น นั่นเอง

    [​IMG]


    ล้อ 5 รู / 10 รู

    การวัดสำหรับ ล้อแม็ก ที่มี 5 รู หรือ 10 รู นั้น ต้องมีการคำนวนเล็กน้อย

    (A) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูดุมล้อ Center Bore
    (B) คือระยะระจากขอบรู ดุมล้อ กับขอบรูยึดน๊อต
    (C) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูยึดน๊อต
    สูตรการคิด ระยะ PCD = ( A หาร 2 ) + B + ( C หาร 2 )
    ตัวอย่าง
    A = 110, B = 58.5 และ C = 13
    ( 55 ) + (58.5) + ( 6.5 )
    รวมแล้ว = 120 ดังนั้นตัวเลขที่ได้ก็คือ ค่า PCD นั่นเอง

    * หรืออาจใช้สูตร A+(2B)+C แทนก็ได้


    [​IMG]


    ล้อ 6 รู

    การวัดสำหรับ ล้อแม็ก 6 รู จะคล้ายกับ 4 รู โดยวัดในแนวเส้นตรงจากขอบด้านในของรูยึดน๊อต ตรงมายังขอบด้านนอกของรูยึดน๊อตฝังตรงข้าม ผ่านรู ดุมล้อ ทำการวัดจากจุด (A) มายังจุด (B) อ่านค่าได้เท่าไร ก็คือ ค่า PCD นั้นเอง

    [​IMG]

    ------------------------------------------------------------------------------------------

    ออฟเซ็ต ( Offset , ET )

    คืออะไร ? .... ค่า Offset คือค่าระยะห่าง ระหว่าง เส้นแบ่งครึ่งล้อ ตามแนวขวาง กับ หน้าแปลนของล้อ (Hub Mounting Surface) โดยมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร

    ค่า Offset ส่งผลอะไรกับรถของเรา ? ค่า Offset จะส่งผลโดยตรงกับระยะหรือตำแหน่งของล้อ ว่าจะยื่นออก หรือ หุบเข้า ไปในตัวรถของท่าน ดังนั้น การเลือกล้อที่มีค่า Offset ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงมีความจำเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว

    [​IMG]

    ค่า Offset ของล้อ ที่เราจะพูดถึง โดยปกติระบุเป็น 3 ค่าด้วยกันคือ

    ค่าออฟเซ็ต เท่ากับศูนย์ Zero Offset (0)

    คือค่า ระยะห่างของ หน้าแปลนล้อ ( Hub Mounting Surface ) ตรงกับ เส้นแบ่งครึ่งของ ล้อตามแนวขวางของล้อพอดี

    [​IMG]


    ค่า ออฟเซ็ต เป็นบวก Positive (+)

    คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อโดยมีทิศทางไปนอกตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็นบวก(+) เช่น +20, +30, +38, +45 เป็นต้น ซึ่งมักพบกับล้อที่ใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเสียส่วนใหญ่

    [​IMG]


    ค่าออฟเซ็ต เป็นลบ Negative (-)

    คือระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อ หรือพูดง่ายๆ ว่าหน้าแปลนของล้อมีระยะเกินเส้นแบ่งครึ่งล้อไปในทิศทางเข้าในตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็น (-) เช่น -5, -10, -20 เป็นต้น ซึ่งรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซ็ตเป็นลบหรือก็บวกไม่มาก

    [​IMG]

    เรื่องนี้หากมีการเลือกค่า offset ที่ไม่ตรงกับรถนั้นๆ ก็จะมีผลกระทบตามมาเช่นกัน หรือหากมีการเปลี่ยนขนาดความกว้างของล้อ ค่า Offset ก็เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหรือรู้ถึงค่า Offset สำหรับรถของท่านควรมีตัวเลขอยู่ที่เท่าไร ? เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาให้แก่ตัวรถของท่าน

    เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าล้อของเรามีค่า Offset เท่าไร ?

    การดูค่า offset ล้อแม็ก ของเราด้วยตนเอง
    โดยปกติ ล้อแม็ก ส่วนใหญ่ จะมีตัวเลขบ่งบอกไว้ที่ตัวล้อเองเลย ซึ่งเรามักสังเกตุเห็น ตัวเลขที่มักจะตามตัวอักษร เช่น " ET 38 " ก็หมายถึง offsET 38 นั่นเอง หรือบางที ก็อาจมีเฉพาะตัวเลขลอยๆ ไม่มีตัวอักษรนำหน้าก็มี เช่น " 45 " ก็หมายถึง Offset = 45 เหมือนกัน ดูตัวอย่าง ที่รูปภาพด้านล่าง

    [​IMG]

    แต่หากดูที่ล้อแล้ว ไม่ปรากฎ ตัวอักษรหรือตัวเลขดังกล่าว เราก็มีวิธีหาค่า Offset ได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้เครื่องวัดและการคำนวณประกอบกัน ซึ่งเราจะนำมาเล่าให้ฟังต่อไป

    ตอนต้นเราพูดเรื่องการดูหรือหาค่า Offset ที่ล้อไปแล้ว แต่ตอนนี้ หากเราอยากทราบว่า รถของเรา มาตรฐานเดิมที่ล้อแม็กของเรา มีค่า Offset เท่าไร ? ก็ต้องดูที่ สมุดคู่มือประจำรถ หรือหากไม่มี ก็สามารถสอบถามได้ โดยกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่างนี้

    และนี่ เป็นค่า Offset ของรถที่ถามกันมาบ่อยๆ เราจึงนำมาบอกกัน

    [​IMG]

    ------------------------------------------------------------------------------------------
    การยึด ล้อแม็กซ์ เข้ากับตัวรถ

    การประกอบ หรือ การขัน ล้อแม็ก เข้ากับรถของท่าน

    หลังจากที่เราได้ถอดล้อ ออกจากตัวรถแล้ว ไม่ว่าจะนำไป ซ่อม หรือ ถอดเปลี่ยนยาง ก็แล้วแต่ ในการประกอบ ล้อแม็กซ์ กลับเข้าที่ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งโดยปกติความแน่น (Tightening) ของการขันน็อต ( Nuts ) หรือสกรู ( Bolts ) ควรอยู่ในค่าที่กำหนดดูได้จากตารางด้านล่าง และ รูปแบบการถอดใส่ ล้อแม็กซ์ ก็ควรเป็นไปตามรูปแบบ ที่แสดงไว้ ก็จะเป็นการรักษาสภาพ ล้อ และความปลอดภัยของเราด้วยเช่นกัน

    [​IMG]

    รูปแสดงการลำดับถอด-ใส่ Bolts และ Nuts

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    -----------------------------------------------------------------------------------

    ประเภทของ ล้อแม็กซ์

    ชนิดหรือประเภทของ ล้อแม็กซ์ โดยดูจากโครงสร้างหรือรูปทรง ซึ่งได้จำแนก ล้อแม็ก ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

    ล้อแม็ก แบบชิ้นเดียว ( 1 Piece Wheel ) เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk ถูกสร้างขึ้นมาเป็นชิ้นเดียว

    [​IMG]

    ล้อแม็ก แบบประกอบ ( Assembly Wheel )เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk มาประกอบกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

    1) ล้อแม็ก 2 ชิ้น ( 2 piece Wheel ) เป็นล้อที่มี 2 ชิ้นส่วนมาประกอบกันคือ Rim กับ Disk

    [​IMG]

    2) ล้อแม็ก 3 ชิ้น ( 3 pieces Wheel ) เป็นล้อที่ประกอบเชื่อมส่วนที่เป็น Rim 2 ส่วน กับ Disk เข้าด้วยกัน

    [​IMG]

    3) ล้อแม็ก ชนิดซี่ลวด ( Wire Wheel ) คล้ายล้อของจักรยาน

    [​IMG]


    ที่มา : Click
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 พฤษภาคม 2008
  10. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    >>> ตั้งไฟหน้าด้วยตัวเราเอง <<<

    >>> ตั้งไฟหน้าด้วยตัวเราเอง <<<


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. kungking5

    kungking5 New Member Moderator

    1,661
    287
    0
    เบรคหน้า H22(พีรูท) O/D(โอดิสซี่) แปลงใส่ EK/SI ทำไงมาอ่านกัน

    ก่อนที่จะลงมือทำ ก็ต้องเช็ค อุปกรณ์ ก่อนนะคับ
    1 คอม้า+เบรค ที่ตัวรถเดิม ที่จะแปลงได้ต้องเป็น รหัส 16CL14VN ดูรหัสที่คาริบเปอร์เดิมได้เลย ล้อต้องเป็นขนาด 15" ขึ้นไป อ๊อปเซ็ทไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ ล้อลายยอดฮิทRX ติดก้านแม็ค
    2 คาริบเปอร์+จานเบรค ที่จะนำมาแปลงได้ต้องถอดมาจาก พีรูท เครื่อง H22A(รูน็อท 4รู114) หรือ โอดิสซี่ปี96(รูน็อท 5รู114) แอคคอร์ท98-00เครื่องF23B(รูน็อท 4รู 114) เวลาไปเดินหา ก็สัเกตุรหัส ที่คาริบเปอร์ ต้องเป็น 17CL15VN ราคายกคอม้าประมาณ 3000-3500 บาท ส่วนใหญ่ตามเชียงกงขายยกคอม้า แต่ถ้ามีความสามารถเจรจาขอซื้อเฉพาะชุดคาริบเปอร์+จานเบรคได้ก็ดีคับ เพราะคอม้าใส่ EK/Si ไม่ได้คับ รูน็อทล้อไม่ต้องสนใจเพราะยังไงต้องมาเจาะใหม่ อยู่ดี จานเลือกหนาๆ ผ้าแนะนำเบิกใหม่ เพราะของที่กองอยู่เชียงกง มักจะโดนน้ำมัน ต่างๆ ถ้าผ้าเบรคโดนน้ำมัน มันก็จะอม เอามาใช้ไม่ดีคับ
    ----------------------------------------------
    วิธีทำหรือดัดแปลง
    1 ส่งจานทั้ง2 ใบไปเจาะรูน็อทล้อใหม่ เป็น 4/100(ขนาดเดิม EK/Si) ตามโรงกลึง ถ้าย่านฝั่งธน
    แนะนำ สวนมะลิการช่าง เจาะอย่างเดียว คู่ละ 300-500 บาท ถ้า เซาะร่องเฉียงด้วยคู่ละ 1200 บาท(5/7/9 ร่องราคาเดียวกัน)
    2 ถอดคาริบเปอร์ + ขายึดคาริบเปอร์ +จานเบรค เดิม
    3 เจาะจานเรียบร้อย ก็เอาจานมาใส่แทนของเดิม ก่อนเป็นอันดับแรก หาน็อทล้อรูยาวตลอดขันล็อคจานเบรคไว้ให้แน่น
    4 นำชุดคาริบเปอร์ที่จะใส่เข้าไปใหม่ แยก คาริบเปอร์กับขายึดคาริบเปอร์และผ้าเบรคออกจากกัน
    5 นำขายึดคาริบเปอร์ ใส่เข้ากับคอม้ายึดให้แน่น เพื่อเทียบระยะจานเบรค เมื่อใส่เข้าไป จะเห็นได้ว่า รูน็อทตรงกัน จานเบรค จะเบียดเข้าไปด้านใน ไม่อยู่กกึ่งกลางของขาคาริบเปอร์ เราจะต้อง นำขาคาริบเปอร์ ไปสไลด์จุดยึดให้บางลง โดยใช้วิธีสังเกตุระยะ ด้านที่มันห่าง(ด้านนอก) และด้านที่มันชิดกัน(ด้านใน)แล้วกะคำนวนเอา ว่าเราควรจะปาดขาคาริบเปอร์ลงไปเท่าใดเพื่อให้ขาคาริบเปอร์เลื่อนเข้าไปด้านใน อาจจะ 2มม.2.5มม3มม ก็แล้วแต่(ไม่เกิน3.5มม.) กะให้จานมันอยู่กึ่งกลางของ ขาคาริบเปอร ์
    6 นำขาคาริบเปอร์ ส่งโรงกลึง ปาดหรือสไลท์ จุดยึด ให้ได้ระยะที่เราต้องการ โดยการสไลด์หรือปาด
    จะไม่ปาดหรือสไลด์ทั้งขา จะสไลด์หรือปาดส่วนของบริเวณรูน็อทที่ประกบกับคอม้าเท่านั้น
    7 เมื่อได้ ขาคาริบเปอร์ ที่ปาดขาลงแล้ว ให้นำไปประกอบกับคอม้า และผ้าเบรค หมุนจานเบรคดูว่าจานเบรค มันติดหรือเบียดส่วนไหนของขาคาริบเปอร์หรือไม่(ส่วนใหญ่จานจะเบียดแผ่นกันฝุ่นด้านใน ให้ใช้ไขควงปากแบนงัดปรับแต่งให้ห่างจานเบรค) ถ้าหมุนได้ปกติแล้วก็ประกอบคาริบเปอร์
    ไล่ลมระบบเบรค ใหม่หมด ทั้งด้านหน้าและหลัง ประกอบล้อดูระยะห่างก้านล้อแม็กกับขาคาริบเปอร์ด้านนอก ล้อRX ไม่ใส่สเปเซอร์ติดก้านแน่นอน ต้องเจียร์ขาคาริบเปอร์ด้านนอกออกนิดนึง ลายอื่นต้องเทียบดู แล้วลองวิ่งเทสดูว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่
    ----------------------------------------------------------
    ข้อควรระวัง
    1 การปาดหรือสไลด์ให้บางลง แนะนำให้ทำทีละน้อย เช่นกะระยะหรือวัดค่าได้ประมาณ 2.5มม. ให้สไลด์หรือปาด ที่ 2.0มม.ก่อน แล้วนำมาประกอบกับดุมเพื่อเช็คระยะอีกครั้ง เพราะถ้ากะระยะหรือวัดพลาด ปาดขามากเกินไป แก้ไขไม่ได้คับ ถ้าปาดหรือสไลท์น้อยไป แก้ไขเพิ่มเติมได้คับ ความแข็งแรงของขาคาริบเปอร์ที่บางลง อยู่ที่วิจารณญาณของเจ้าของรถแต่ละท่าน ในการพิจารณา แต่ข้อมูลที่มีอยู่ ไม่เคยพบว่า ขาคาริบเปอร์หักหรือแตก จากการดัดแปลงและใช้งานปกติ
    2 การเจาะจาน ถ้าไม่ได้เซ็นเตอร์ ล้ออาจสั่นหรือมีเสียงในขณะใช้งานได้
    3 ตรวจสอบการทำงาน ของแม่ปั้มเบรคชุดบน ให้อยู่ในสภาพใช้งานปกติ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
    4 การลงมือทำ ต้องความรู้ทางด้านช่างบ้างพอสมควร ถ้ายังเปลี่ยนผ้าเบรคด้วยตนเองไม่ได้ อย่าลงมือทำเองคับ

    ----------------------------------------------------------
    แถมทางลัดสำหรับผู้ที่ต้องการ อัพเกรด ระบบเบรคแบบง่ายๆ ไม่ต้องดัดแปลงเลยตือ
    ใช้ ชุดคาริบเปอร์+จานเบรค ของ ORTHIA(เครื่องB20B)รหัสคาริบเปอร์ 17CL14VN ยกคอม้าใส่กับ EK/Si ได้เลย น็อทล้อ4รู100 เหมือนเดิม
    จาน ขนาดเท่ากับ B16A คาริบเปอร์ใหญ่กว่า B16A การใช้งาน OKคับ
    -----------------------------------------------------------
    ปล.อาจมีวิธีการดัดแปลง ที่ดีและง่ายกว่านี้ ซึ่งผมไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อนๆท่านใด มีประสพการณ์
    จะมาแชร์ความรู้ เพิ่มเติมหรือติชม เพื่อสาธารณะประโยชน์แห่งบอร์ด EK นี้ เชิญตามสะดวกคับ

    ----------------------------------------------------------
    Credit: K.noomth
     
  12. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    ☆☆ มาดูวิธีการหุ่มผ้าคาร์บอนแท้ๆ แบบง่ายๆ กันครับ ☆☆

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ความเดิมตอนที่แล้วโดยคุณโจ (ksaEK97) เรื่อง >>> ทำเคฟล่า ง่ายนิสส์เดียว มาลองทำกันดูครับ <<<

    แต่เนื่องด้วยผมสนใจเกี่ยวกับคาร์บอน-เคฟล่าแท้ๆก็เลยพยายามหาข้อมูล หาหนังสือและก็หาของมาลองทำดูครับ วันนี้ก็ได้ผลงานออกมาแล้วครับ แต่ยังไม่เกี่ยวกับรถนะครับ แค่เอาขั้นตอนคร่าวๆมาให้ชมกันว่าเค้าทำกันยังไง เผื่อว่าใครอยากจะทำบ้าง แต่บอกก่อนนะ ที่ผมทำมานี้ส่วนของรายละเอียดคนที่ทำงานพวกนี้อยู๋อาจจะบอกว่าไม่ถูกต้อง ยังไงก็วิธีไหนถูกก็บอกๆแบ่งปันความรู้กันบ้างนะครับ

    ก่อนเริ่ม : 1. การทำชิ้นงานคาร์บอน-เคฟล่าออกมาซักชิ้นนั้นมันก็จะมีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นครับ คือ การสร้างต้นแบบ การสร้างแม่แบบ และการสร้างชิ้นงานครับ แต่ละขั้นตอนมันก็จะมีรายละเอียดปรีกย่อยอีกเยอะครับ แต่ที่ผมจะมาทำในวันนี้ไม่เข้าพวกที่กล่าวมาทั้ง 3 ขั้นตอนข้างต้น จะแค่เหมือนๆกับขั้นตอนที่สองคือการสร้างแม่แบบ เพียงแต่เราไม่ได้ใช้น้ำยาลอกแบบ PVA ครับ
    2. ก็ขอบอกก่อนว่าขั้นตอนต่างๆในการผสมสารต่างๆและขั้นตอนการทารอบที่ 1 และ 2 ต้องรัดกุมมากๆ และวางขั้นตอนไว้ให้ดีว่าจะต้องทำอะไรก่อน-หลังเพราะถ้าหลุดขั้นตอนอาจจะได้เริ่มทำใหม่หมดและเสียของ

    เริ่มกันเลยดีกว่าครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา อ้อ!! รูปอาจจะเยอะหน่อยนะครับ เพื่อความเข้าใจละกัน แต่บ้างขั้นตอนก็ไม่สามารถถ่ายรูปได้ เพราะสาเหตุเดิมๆครับ คือทำคนเดียวมือไม่ว่างครับ ก็ขออภัยละกันครับ

    ก่อนอื่นก็มาดูสารต่างๆ ก่อนครับว่าต้องมีอะไรบ้าง เริ่มจากซ้ายขวดใหญ่ได้แก่ เรซิ่น อซิโตน เรซิ่นเคลือบ และโมโนสไตรีน จากซ้ายขวดเล็กได้แก่ กาวร้อน ตัวทำแข็ง และตัวม่วง
    [​IMG]

    อุปกรณ์การตวงปริมาณและก็ไว้ใส่สารที่ผสมแล้วครับ จะเอาอะไรก็ได้ที่สามารถตวงระดับ 1 ซีซี ได้สะดวกครับ
    [​IMG]

    อุปกรณ์ วัด ตัด ขัด ทา ก็ตามที่เห็นในรูปครับ มีอะไรอื่นใช้ได้ก็เอามาครับ เช่นตะไปเล็ก มีกและกรรไกรที่คมๆกว่าในรูปก็ดีครับ กระดาษทราบก็ไล่ตั้งแต่เบอร์ 100 ไปถึง 1000 ครับ(ผมหาได้แถวบ้าน 180 400 1000)
    [​IMG]

    อันนี้ก็หนูลองยาครับ มันเป็นที่พักข้อมือสำหรับคีย์บอร์ดไมโครซอฟครับ ดูไม่เกี่ยวกับรถเท่าไหร่ แต่เดี๋ยวรอบหน้ารู้แล้วว่าจะเอาอะไร เดี๋ยวจะเอามาให้ชมอีกครับ
    [​IMG]

    อืมบอกไปว่าสิ่งสำคัญที่ต้องมีอีกคือผ้าคาร์บอนครับ ก็แล้วแต่สะดวกใครจะเอาลายไหน จะคาร์บอนหรือเคฟล่าร์ครับ การตัดผ้าก็ให้เหลือขอบหน่อย (ในรูปเหลือน้อยไป)
    [​IMG]

    เมื่อได้แนวที่จะตักแล้วก็เอากระดาษกาวมาติดแล้วตัดผ่ากลางกระดาษกาวไปครับเพื่อป้องกันผ้าคาร์บอนขอบแตก
    [​IMG]

    ได้มาแล้วครับ ผ้าขนาดที่ต้องการ ตัวขอบผ้าก็ไม่แตกครับ
    [​IMG]

    งานที่จะทำบางชิ้นจะมีการเคลือบกันรอยและกันคราบอะไรติด ก็เอากระดาษทรายขั้นผิวหน้าออกไปก่อนครับ สังเกตุเพิ่มด้านบนรูปผมมีอุปกรณ์หยดสารมาเพิ่มครับ
    [​IMG]

    เมื่อผ้าพร้อม ชิ้นงานพร้อม เครื่องมือทาพร้อม เครื่องมือตัดพร้อม สถานที่พร้อม (ไม่มีฝุ่นและลมแรงแต่อากาศถ่ายเท) พูดง่ายๆ คือทุกอย่างต้องพร้อมถึงจะเริ่มผสมสาร

    ก็มาเริ่มที่การผมสมสารเลยครับ

    ปริมาณการผสมสารไม่สามารถบอกได้ตายตัวครับ ไม่ใช่กั๊กไว้ แต่เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นอุณหภูมิ ความชื้น ฝีมือคนทำ ระยะเวลา ทั้งหมดมันเกี่ยวข้องกันหมดครับ

    ตรงนี้อ่านให้ละเอียดนะ ค่อนข้างสำคัญ โดยมีหลักการคือ ตวงเรซิ่นที่จะสามารถทาได้ 2 รอบ คือเคลือบผิวชิ้นงานกับเคลือบผ้าคาร์บอนหลังหุ้มแล้ว เช่นชิ้นนี้ทารอบละ 40 ซีซี. ก็ตวงมา 80 ซีซี. (ผมใช้ขวดสีชา ขนาด100 ซีซี. ตวง) เมื่อตวงได้แล้วก็มาผสมตัวเร่งหรือตัวม่วงครับในอัตรา 0.2% ครับ หรือประมาณ 0.16 ซีซี. (ใช้หลอดหยด 20 หยด = 1 ซีซี.)แล้วคนให้เข้ากันจนสีเรซิ่นเปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนๆ จากนั้นก็ผสมโมโนสไตรีนเพื่อให้เรซิ่นไม่ข้นเกินจะได้ทาหรือพ่นง่าย อัตราส่วนไม่เกิน 10% ครับ แล้ว
    ก็คนให้เข้ากันอีกครั้งครับ เมื่อมาถึงตรงนี้แล้วก็แบ่งตัวสารที่ผสมไว้แล้วนี้เป็น 2 ส่วนเลยเพื่อจะได้ทาใน 2 รอบ ตัวทำแข็งหรือ hardener จะใส่เมื่อตอนจะทาเท่านั้น
    [​IMG]

    เมื่อได้สารที่ผสมแล้ว2 ส่วน ส่วนแรกก็เอามาทาเคลือบผิว (40 ซีซี.) ก่อนอื่นต้องเตรียมแปลงไว้อย่างน้อย 2 อัน(กันพลาด) และเท อซิโตนใส่กระป๋องหรือภาชนะสำหรับล้างแปรงไว้ก่อน (จะใช้ทินเนอร์แทนก็ได้) เพราะแปรงทาจะแข็งในเวลาไม่เกิน 1 นาที (ถ้าแข็งก็ทิ้งเลยอย่าเสียดาย) ที่นี้เมื่อจะเริ่มทาแล้วก็เติมสารตัวทำแข็งหรือ hardener ลงไปประมาณ 2-3 % หรือประมาณ 0.8 ซีซี. (ใช้หลอดหยด 20 หยด = 1 ซีซี.) เมื่อหยดเสร็จแล้วก็รีบและก็รีบคนสารให้เข้ากันแล้วก็ลงมือทาเลยครับช้าไม่ได้แล้ว พยายามทาให้เสมอกัน ไล่ทาตั้งแต่หัวๆ กลางๆ หางๆ ชิ้นงาน ถ้าทาแล้วไม่พอก็ให้กลับไปทาทับทันทีห้ามไปทาตรงอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาทาเพราะมันจะเหนียวทาทับไม่ได้แล้ว สรุปก็คือทาให้เรียบแล้วก็ทั่วครับและห้ามทาซ้ำ (แต่ถ้าใช้กาพ่นก็ยังพ่นทับได้ครับ) ทาเสร็จแล้วก็เอาแปรงลงล้างอซิโตนทันที ส่วนเรซิ่นที่เหลือจากการทาก็เททิ้งครับ เพื่อเตรียมตัวสารอีกครึ่งที่ผสมไว้ทาในรอบต่อไปอีก
    [​IMG]

    มาถึงตรงนี้ก็คือรอให้ชิ้นงานเริ่มเข้าระยะใกล้แข็ง (ห้ามแข็งครับ) โดยเอามือแต๊ะๆเบาๆที่ชิ้นงานหรือตรงที่เราทำหยดไว้ตอนทาก็ได้ ถ้ายังเหนียวยืดติดมือก็รอต่อไป ระหว่างรอก็เตรียมเรซิ่นอีกครึ่งไว้ เตรียมแปรง อะไรต่างๆไว้เหมือนตอนที่จะทารอบแรกครับ แต่ยังไม่ต้องผสมตัวทำแข็งนะ (ขอย้ำหน่อย)
    [​IMG]

    รอแล้วก็รอ เอาผ้าคาร์บอนมาวางไว้เป็นกำลังใจหน่อย เพราะกว่าจะผ่านการทารอบแรกได้ก็เหนื่อยครับ
    [​IMG]

    เงาแว็ป!! เลย ไม่ต้องหุ้มแล้วมั้ง แค่นี้ก็สายแล้ว 555++
    [​IMG]

    รอจะถึงระยะใกล้แข็ง โดยเอามือแต๊ะๆ จะไม่เหนียวเหนาะหนะเป็นยางยืดติดมือมา แต่จะเป็นรอยนิ้วมือเมื่อกดลง
    [​IMG]

    เมื่อได้ระยะที่ไม่เหนียวหนืดแล้วกดเบาๆเป็นรอยนิ้วมือก็เริ่มเอาผ้าคาร์บอนมาหุ้มได้แล้วครับ โดยวางผ้าลงยังไม่ต้องกดผ้า เพราะถ้ากดผ้าติดแล้วดึงลายผ้าจะย่นหรือถึงกับลายเสียไปเลย จัดผ้าให้ดีๆ ลายให้สวย อย่าให้ขอบที่เป็นกระดาษกาวอยู่บนชิ้นงาน เพราะส่วนนี้ เราไม่ได้ลอกกระดาษกาวออก แต่จะตัดทิ้งครับ จัดผ้าได้ที่แล้วก็เริ่มกดลงครับ ห้ามรีด ห้ามลูบ กดได้อย่างเดียว แล้วก็ห่อขอบมาไว้ด้านหลังชิ้นงานไว้แบบนี้ (รกไปหน่อย) ก็ให้รอบขอบชิ้นงานครับ เอาการร้อนหยดๆ ให้ติดก็ได้ครับ แต่อย่าเยอะนะ เดี๋ยวมันต้องแก๊ะออกอีก จะเอากระดาษกาวติดด้านหลังชิ้นงานก่อนตั้งแต่แรกๆเลยก็ได้ครับ กาวร้อนจะได้ไม่ต้องติดชิ้นงาน

    ชิ้นงานนนี้เป็นชิ้นที่ขอบผ้าไม่เข้าหากันจะง่ายหน่อย แต่ถ้าเป็นแบบที่ขอบผ้าต้องเข้าหากัน เช่นรูปทรงกระบอกอันนี้จะยากครับเพราะขอบผ้าไม่สามารถติดกระดาษกาวกันขอบผ้าแตกได้ต้องใช้ฝีมือเยอะในการวางผ้าไม่ให้ขอบแตก
    [​IMG]

    หลังจากห่อ เก็บผ้าด้านหลังเสร็จ ด้านหน้าก็เป็นแบบนี้ครับ อ้อ!! ลืมบอกไปครับ ระยะเวลาการห่อผ้าอย่าให้นานเกินจนเรซิ่นที่เคลือบไว้ชั้นแรก(ใต้ผ้า)แห้งนะ เดี๋ยวทาเรซิ่นรอบสองตัวเรซิ่น 2 ชั้นจะไม่ประสานกันโดยมีผ้าคั่นกลาง
    [​IMG]

    หุ้มผ้าเสร็จก็ลงมือทารอบสองครับ นำเรซิ่นที่ผสมแล้ว (ที่แบ่งครึ่งจากรอบแรก) มาผสมตัวทำแข็งลงไปอีก อัตราส่วนก็เหมือนเดิมครับ แต่ถ้าคิดว่าแข็งเร็วไปก็ลดลง 2-3 หยด ผสมเสร็จแล้วก็รีบคนให้เข้ากันแล้วก็ทาเลยครับ การทาก็เหมือนรอบแรกครับ คือทาให้เสมอกันมาที่สุด จะได้ไม่ต้องขัดเยอะ และอย่าทาซ้ำโดยเว้นระยะห่างเกิน ทาเสร็จก็อย่าลืมล้างแปรงเลยนะครับ (ไม่งั้นเดี๋ยวได้ทิ้งอีกอัน)
    [​IMG]

    ก็รอครับ รอให้มันเแห้ง จริงๆแล้วชิ้นงานบางอันก็ไม่ต้องรอให้แห้งครับ เช่นชิ้นงานที่เป็นแผ่นแบนหรือโค้งหรืออะไรก็ได้ที่ไม่ต้องเอาผ้าไปซุกไว้ด้านหลังแบบชิ้นนี้ เพราะชิ้นนี้ไม่มีที่ให้จับถือมาเพื่อตัดขอบผ้าที่เลยเกินขอบชิ้นงานออก ลองนึกถึงแผ่นแบนเรียบ

    เมื่อเรซิ่นเริ่มแข็งแต่ยังไม่แข็ง(ยังสามารถเอามีดตัดได้)ก็เอามีดเล๊าะตัดผ้าตามขอบชิ้นงานส่วนที่เกินขอบออกไปครับ
    [​IMG]

    แต่ชิ้นนี้มันเป็นอย่างนี้ก็เลยตัดยากครับ รอให้มันแห้งแล้วกัน (งานนี้ขัดกันเหนื่อยแน่ แถมเครื่องขัดก็ไม่มี)
    [​IMG]

    ลงมือขัดเลยครับ แล้วแต่สะดวกจะหาเครื่งอมืออะไรมาก็ได้ แต่ผมใช้แค่มีดคัตเตอร์กับตะไบเล็กครับ
    [​IMG]

    งานนี้เล๊อะอย่าบอกใคร และที่จะบอกคือคันครับถ้าใครเคยโดนใยแก้วที่เหลืองๆที่เค้าใส่ในตู้ลำโพงเมื่อก่อน (ไม่ใช้แบบสังเคราห์สีขาวนะ) นั้นล่ะครับ คันแบบนั้นเลย อ้อ!! ควรหาหน้ากากปิดจมูกสวมด้วยนะครับ ส่วนผมก็สวมมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
    [​IMG]

    ตัดขอบเกินด้านหลังออกก็เป็นแบบนี้ครับ
    [​IMG]

    ส่วนด้านหน้าก็เป็นแบบนี้ครับ ไม่ต้องตกใจที่มันไม่เรียบ แต่ถ้ามากกว่านี้ก็ทำใจหน่อยนะ เพราะขัดกันเหนื่อยแน่ๆ (ถ้าไม่มีเครื่องขัด)
    [​IMG]

    เริ่มขั้นตอนขัดกระดาษทราย+น้ำเลยครับเริ่มขัดตั้นแต่กระดาษทรายเบอร์หยาบๆก่อนแล้วค่อยไล่ไปถึงเบอร์ 1000 ครับ โดยเบอร์หยาบขัดให้ที่ขรุขระไม่เรียบออกไปให้หมด
    [​IMG]

    ขัดแล้วก็ให้เรียบออกมาประมาณนี้ครับ
    [​IMG]

    จากนั้นก็เริ่มผสมสารอีกรอบครับ โดยใช้สูตรเดิมแต่เปลี่ยนจากเรซิ่นธรรมดาเป็นเรซิ่นเกรดเคลือบ แล้วก็เริ่มทาอีกเหมือนเดิมครับ
    [​IMG]

    ก็เหมือนเดิมครับ คือรอ รอ แล้วก็รอให้มันแห้งสนิท หรือจะทิ้งไว้ให้แห้งซักวันก็ดีครับ
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อชิ้นงานแห้งสนิทดีแล้วก็มาแต่งส่วนที่เรซิ่นเยิ้มออกครับ
    [​IMG]

    แล้วก็ได้เหนื่อยกันอีกแล้ว ก็คือขัด ขัด แล้วก็ขัดกระดาษทรายตั้งแต่เบอร์หยาบไปถึงละเอียด
    [​IMG]

    หลังจากกระดาษทรายเบอร์ 180
    [​IMG]

    หลังจากกระดาษทรายเบอร์ 400
    [​IMG]

    และหลังจากกระดาษทรายเบอร์ 1000
    [​IMG]

    มาถึงการขัดสุดท้ายคือใช้น้ำยาขัดสีรถครับ ก็แล้วแต่จะเลือกเอาครับ ของผมมีแบบนี้ทั้งขัดและเคลือบเลย
    [​IMG]

    ขัดกันให้เงา ขัดกันจนเราพอใจก็เป็นอันเสร็จครับ
    [​IMG]

    แล้วก็เอามาประกอบเข้าที่เหมือนเดิม ได้ออกมาแบบนี้ครับ จากการเอาไปใช้งานรู้สึกสบายข้อมือขึ้นเพราะผิวมันเรียบขึ้นและทำความสะอาดง่าย
    [​IMG]

    [​IMG]

    สรุปครับ อันนี้ก็เป็นวิธีการหุ้มผ้าคาร์บอนเรียกว่าแบบขำๆ สนุกๆแล้วกัน เพราะถ้าจะทำจริงๆจังๆมันต้องมีรายละเอียดอะไรอีกเยอะครับ เครื่องมือก็ไม่ใช่แค่นี้ และอีกอย่างเรื่องการหุ่มนั้นก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากก็แค่สวยขึ้นมาบ้าง ถ้าจะให้ได้ประโยชน์มันก็ต้องขึ้นตัวชิ้นงานนั้นมาเลย
    (สร้างแบบ สร้างโมลด์ สร้างชิ้นงาน) แต่เดี๋ยวงานหน้าจะลองขึ้นชิ้นงานดูเลยครับ ขอดูก่อนว่าจะเอาอะไรดี

    จบ. :) by MugenTypeR
     
  13. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    ....??????͡???͹???ѹ????ͧ???????СѺ????ͧ¹?? ???л????? ?????????ҡ?? ?????Ҿ?ͧ????ͧ¹????

    ?Ѩ??µ?ҧ?㹡?????͡???ʹѧ???...

    ...1.??Ҥ???˹״ ????????ͧ????ѹ????ͧ
    ...2.?ô?ͧ????ѹ????ͧ
    ...3.?ҵðҹ?ͧ????ѹ????ͧ

    ...??Ҥ???˹״ Viscosity...
    ...?ͧ???Ƿء??Դ??ҧ???յ???÷??ᵡ??ҧ?ѹ ??ͤ?Ҥ???˹״ (Viscosity) ???ͤ?????ҹ?ҹ??????

    ???յ???????????س????? ??????˹??¡???Ѵ ???к?????ԡ CST ૹ?ԡ??, ˹??? SUS, SSU ?Թҷ?????ŵ?,
    ????Ѵ????˹״?ͧ????ѹ????ͧ ?????????仵????ѡ?ҡ? ?֧???????ʶҺѹ?Ԩ?? ?Ѵ??Ҥ???˹״ ??з??͡?????ҵðҹ??????????¡?ͧʶҺѹ??ҧ? ??
    ...API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
    ...SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
    ...US - MILITARY CLASSIFICATION - ʶҺѹ?ҧ???âͧ???Ѱ????ԡ?
    ...ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
    ...CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

    ....???????ѹ????ͧ (???? 0 ? 60)...
    ...????Ѵ??Ҥ???˹״???Ѵ?ѹ??? 100 ͧ???????? ?????͡???繤?Ҥ???˹״ ᷹????͡???繵???Ţ???¡??? ????ͧ????ѹ????ͧ (Number) ??????????ҵðҹ?ҡ?????͹?ѹ?????š ?ء?ʶҺѹ?֧??᷹??Ҥ???˹״ ?͡???繵???Ţ??ٻ?ͧ????ͧ????ѹ????ͧ ?? 60, 50, 40, 30, 20, 10 ??? 5 ??ҵ???Ţ????ҡ????դ???˹״?ҡ ????Ţ????????դ???˹״????????ӴѺ

    ....??? W ??????? ...
    ????ѹ????ͧ?ࢵ???ͧ˹?? ???ա???Ѵ??ҧ?͡??աẺ ??͡???Ѵ??????ҹ?ҹ?????? ???Ѵ??????س????Ե?ӡ??? 20 ͧ???????? ???ŧ?Ҩ??֧?ش???͡?秵???? 0 ͧ?? ???֧??ӡ??? ? 30 ͧ???????? ???յ???ѡ???к?????繵???ѡ?? W ???? WINTER ??
    0W = ????ö????????????????ӡ??? ? 30 ͧ???????? ????????
    5W = ????ö???????????????֧ ? 30 ͧ???????? ????????
    10W= ????ö???????????????֧ ? 20 ͧ???????? ????????
    15W= ????ö???????????????֧ ? 10 ͧ???????? ????????
    20W= ????ö???????????????֧ 0 ͧ???????? ????????

    ...?ô?ͧ????ѹ????ͧ Single Grad & Multi Grad...

    ...????ѹ????ͧ㹻Ѩ?غѹ???͡?? 2 ?ô???¡ѹ???
    ...1. ????ѹ????ͧ?ô????? Single Grad ???? Mono Grad ??͹???ѹ????ͧ????դ?????Ҥ???˹״????????Ѻ੾???س?????˹????ҹ?? ??੾???س??????٧ ???س?????????????ŧ ????˹״?????????? ?Ѻ?ͧ??ʶҺѹ???Ǥ?? SAE ?蹹???ѹ????ͧ???? SAE 50 ???? SAE 40 ?Ѩ?غѹ?????Ҩ??ѧ?բ?????? ???ҫ?????????ҡ ????СѺ????ͧ¹???ͺ??? ????ͧ¹????????? ??л????ࢵ??͹

    ...2. ????ѹ????ͧ?ô??? Multi Grad ????ѹ????ͧ??ŵ??ô ?繹???ѹ????ͧ???????ö????¹?ŧ
    ??Ҥ???˹״?? ????س??????٧ ???դ????? ???س????Ե??ŧ???ѧ????ö?????????????????? ???¡??????ժ?ǧ?س????ԡ????ҹ?????ҧ??? ???????????????Ѻ??????͡??ء?س????? ??觨??к??? 2 ????Ţ ???ѡ?? W ?繵?Ǥ?蹡?ҧ?? SAE 20W50 ???? API 15W40 ?繵? ?Ѩ?غѹ????ѹ????ͧẺ?????Ẻ???????? ????բ??㹷?ͧ??Ҵ?????? ??????Ѻö??????? ??л?????ࢵ˹????? ????ѧ????ö??ҹ??ء??????ҡ??

    ...?ҵðҹ?ͧ????ѹ????ͧ ູ??? (S)& ???? (C)...

    ....????ѹ????ͧ?????Ѻö¹?? ?????͡?? 2 ?ҵðҹ ????ѡɳС??????????ԧ?ͧ????ͧ¹??????繪?Դ ?????չ ???? ????????????ԧ ????????ͧ¹?????ͧ??Դ ???ա???͡Ẻ???ᵡ??ҧ?ѹ ?ա??駡????????ͧ????ͧ??????ԧ ??ҧ???????? ?????õ???ҧ??ѧ??????????????????͹?ѹ ????ѹ????ͧ?֧??ͧ?????û?ا?? ???? Additive ???????????Ѻ????ͧ¹?????л????? ????ѭ?ѡɳ??á?˹??ҵðҹ??е?ҧ?ѹ ????????ʶҺѹ???繼???˹? ...

    .....???ҧ?ҵðҹ API ???ж????ҹ???ѹ????ͧ????ҧ???㹺?ҹ??ҡ??? 80 ?????繵?????ҵðҹ API ??? ???ʴ?????ͧ??????ٻ?ͧǧ??? (ⴹѷ)
    ????ҧ??л?ͧ ?????ʴ?????ͧ?????????????ҧ?Ѵਹ....

    ....?ҵðҹ API
    ....????ѹ????ͧ????Ѻ????ͧ¹??ູ?Թ ?????ѡ?ù?˹????? S (Service Stations Classifications) ??????ҡ SA ???ҵðҹ????ѹ????ͧ????????????á? ???????Ѳ????л?Ѻ????¹?ҵðҹ????٧?ҡ??鹵??෤?????訹?Ѩ?غѹ SM ?????????ҵðҹ?٧?ش

    ....????ѹ????ͧ????Ѻ????ͧ¹????? ?????ѡ?ù?˹????? C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) ??????ҡ?ҵðҹ CA ? CB ??㹻Ѩ?غѹ?ҵðҹ?٧?ش?ͧ????ѹ????ͧ????Ѻ????ͧ¹????Ť?? CI-4 ??ǹ?Ţ 4 ?????¶֧?Ѻ??????ͧ¹??Ẻ 4 ?ѧ???

    ....?ѧ??鹡???ʴ?????ҵðҹ??ҧ??л?ͧ ???ա???кؤ?Ң?鹵鹴??? ˹??§ҹ?Ѻ?ͧ?ҵðҹ ?? API ???ǵ?????´??? ?ѡ?ä???ҵðҹ ?蹶???繹???ѹ????ͧ???????СѺ????ͧ¹??ູ??? ?ѡ?ù?˹?Ҩ??繵?? S?
    ???ǵ????????Ҷ?ҹ????Ѻ????ͧ¹????Ũ??դ???ҵðҹ?? C? ?繵? ?ѡ??㴢?鹡?͹ ???????繹???ѹ????ͧ???????СѺ????ͧ¹????????ԧ???....

    ...????ѹ????ͧ???Ъ?鹤س?Ҿ?ж١?Ѳ???????????????Ѻ????ͧ¹????????? ?ѧ???仹??...
    API ູ?Թ ????ͧ¹?? ?? ?.?. API ???? ????ͧ¹?? ?? ?.?.
    SA ??Ѻ????ͧ¹????????
    ...?Ѩ?غѹ??ԡ?????? CA ??Ѻ????ͧ¹???????? ?Ѩ?غѹ??ԡ??????
    SB CB
    ...SC 2507 ? 2510 ???????ͧ¹?????ɵúҧ??? CC
    ?ѧ??Ѻ????ͧ¹?????ɵúҧ???
    ....SD 2511 ? 2513 CD ??Ѻ????ͧ¹??Դ????⺪??? ???ͧҹ˹ѡ?? ??й????Ѻ ????ѹ???š??жѹ?٧
    ...SE 2514 ? 2522
    ??þѲ??????ͧ¹??????բ?Ҵ???ŧ ???ѧ?Ѵ ?????????ͺ ????س??????٧??? CE 2526
    ?????Ŵ?ѵ?ҡ????????ͧ????ѹ????ͧ
    ...SF 2523 ? 2531 CF-4 2533
    ??Ѻ????ͧ¹???ͺ?Ѵ ??? ??????鹡?û????Ѵ??????ԧ
    ...SG 2532 ? 2536
    ??????鹡?û????Ѵ??????ԧ CF 2537
    ??Ѻ????ͧ¹?? INDIRECT INJECTION ??й???ѹ???ŷ???ա??жѹ?٧
    ...SH 2537 ? 2539 CG-4 2537
    ??Ѻ????ͧ¹???ͺ?Ѵ ?ҹ˹ѡ ?????????ͺ?٧ ????ѹ???š??жѹ???
    ...SJ 2540 ? 2544 CH-4 2541
    ??Ѻ????ͧ¹???ͺ?Ѵ ?ҹ˹ѡ ?????????ͺ?٧??? ????????ѹ???ŷ???? ???жѹ??? ( ?Ѩ?غѹ??˹?????٧???? 0.05 %)
    ...SL
    ??鹤س?Ҿ?٧?ش????Ѻ????ͧ¹?? ູ?Թ???????
    ??С????????? 1 ?.?. 2544 CI-4 ??鹤س?Ҿ?٧?ش????Ѻ????ͧ¹????? ??????? ????ҹ?ҵðҹ?ž?ɷ??????Ǵ??? ??С????????? 5 ?.?. 2545


    ....???Ҩ??????ҵðҹ?ҵ?ͧ?Ѵ???áѹ??ҧ...
    ..1.??Ҥ?????ǧ????? (Specific Gravity @ 60o/60oF) ?ͧ????ѹ????ͧ??????????? ?Ѻ????ѹ????ͧ??͹??

    ..2.??Ҥ???˹״ Viscosity Kinematic @ 40oC, cSt. ??? Viscosity Kinematic @ 100oC, cSt. ?繡???Ѵ??Ҥ???˹״??????鹷?? 40 ͧ???????? ???֧?س????? 100 ͧ???????? ??º????͡????? Number ????????ͧ????ѹ????ͧ??ҧ?

    ..3.??ҴѪ?դ???˹״ (Viscosity Index - VI) ?·??ͺ????????????????Ѫ?դ???˹״ ?ѧ??????????ö????????ѹ????ͧ?դ???˹״?ҡ??? ???ͤ???˹״????ŧ??????س??????٧??? ???º??º????ѹ????ͧ??͹??ҹ ?????ѧ??ҹ

    ..4.?ش?Һ? (Flash Point ) ????ѹ????ͧ??ͧ????Ҿ ???????????? ????ء?Դ信?͹????س????ԡ?˹? ???????? 160 -320 ͧ???????? ???????Ѻ???????ʢͧ????ѹ????ͧ ????ѹ????ͧ??????
    ???ըش?Һ? ???????¡??????? ????س????Ե?? ???˵ط?????ѹ????ͧ????µ?????? ?ش?Һ??ѧ???????Ѻ?ҹ??ü?Ե ?ͧ????ѹ????ͧ??鹰ҹ????

    ..5.????ҳ??? (Water Content) 㹹???ѹ????ͧ????仨??չ?Ӽ?????? ?繵?ǡ?á??????Դ ??÷ӻ?ԡ????ҡѺ ??û?ͧ?ѹ????֡??? (ZDDP) ?ӻ?ԡ????ҡ??????????? ???Ấ?????? ????????˹״?ͧ????ѹ????ͧ????¹?ŧ?ͧ?? ?ҵðҹ??ӷ??л??????ͧ????Թ?????? 0.2

    ..6.??Ҥ????繴?ҧ (Total Base Number - TBN) 㹹???ѹ????ͧ?????仨??դ???繡ô??????硹??? ??????????ҹ???Դ??ԡ??????????ǡѺ?͡??ਹ (Oxidation) ?????繡ô??????? ??Сô???դ????ѹ???µ?ͪ????ǹ?ͧ???? ?ѧ??????????????س?Ҿ ?֧?????ѡɳ??繴?ҧ ??????????ҹ???? ????ҳ?????繴?ҧ??Ŵŧ ?繼??µç?Ѻ???ء????ҹ?ͧ????ѹ????ͧ ???¡??Ҥ?? TBN (Total Base Number)

    ..7.????ҳ?ҡ?????????ྐྵ෹ (n - Pentane Insoluble) ??ͤ?ҡ???????ǡѺ?͡??ਹ ??觨з?????Դ??Һ?ҧ?˹??? ????˹״?ͧ????ѹ????ͧ??????? ??觢??????Ѻ????????س???ѵԢͧ????ѹ????ͧ....

    ...??͸Ժ??..?????ҹ??ҡ??ҧ??л?ͧ????ѹ????ͧ..
    ...Fully Synthetic = ????ѹ????ͧ?ѧ??????Ẻ??????...
    ...PREMIUM GRADE SEMI ? Synthetic = ?繹???ѹ????ͧẺ????ѧ?????? ?ô????????...
    ...FOR NGV, LPG & GASOLINE = ????Ѻ????ͧ¹?? Ẻ????? NGV ???? LPG ???????ͧ¹??ູ??ŷ????...

    ...SAE 5W-30 = ?ҵðҹ???????? ?Ѻ?ͧ??ʶҺѹ SAE ???? 30 ??ҵ?ҹ?ҹ??????? 5W ???? ? 30 ͧ????????...
    ...SAE 10W-40 = ?ҵðҹ???????ʨҡʶҺѹ SAE ???? 40 ??ҵ?ҹ?ҹ??????䢷?? 10W ???? -20 ͧ????????...

    ...API SM/CF = ????ҵðҹ?Ѻ?ͧ??ʶҺѹ API 㹡????Ѻ????ͧ¹??ູ??? ??дѺ SM ??ǹ?????Ѻ????ͧ¹???????дѺ CF ??ҹ??...

    ....???ء????ҹ?ͧ????ѹ????ͧ...
    ...????ѹ????ͧ????Ͷ١??ҹ??????????????س?Ҿŧ??????? ???ͧ?ҡ????????ͧ?ô ???????ҷ???´?ҧ㹹???ѹ????ͧ ????????ͧ??? ??ûл??Ѻ??蹼????????ʹ?Ҩҡ????ͧ?ҡ?? ??Һ????㹡???????? ?????????Шҡ????֡??ͧ͢????ͧ¹?? ?ѧ??鹹???ѹ????ͧ?֧??ͧ???Ѻ???????¹???? ??͹???س???ѵ?㹡????????? ??Фس???ѵ???蹨?????????Ҿ ???ͻ?ͧ?ѹ?ѹ???·???Դ?Ѻ????ͧ¹?? ????¤س???ѵ? ??Ъ?Դ?ͧ????ѹ????ͧ???ᵡ??ҧ?ѹ...

    ...????ѹ????ͧ???????????????????????...
    ????ѹ????ͧ??ǹ?ҡ???ѵ?شԺ ?Ҩҡ????ѹ????????Ҩҡ?????ҵ? ??????????????س???ѵԵ?ҧ? ???????ö?ٴ?????? ????ѹ????ͧ????è?????????͹?ҧ??? ????ѧ??????Դ?? ???????ء?ä???Ҿ?????? 1- 3 ?? ??ǹ????ѹ????ͧ????Դ?????? ???????ء????ҹ??????ѡ??͹ ??? 2 ? 6 ??͹ ??ǹ????ѹ????ͧ????Դ?? ?????????Դ?Ҩж???????ҹ?????

    ...?ѧࡵ???ҧ????ҹ???ѹ????ͧ???????????????????Ҿ...
    ???????¹???¹???ѹ????ͧ?ء???駵?ͧ?ա?è??ѹ?֡ ?ѹ??? ??͹ ?? ????Ţ??????????? ?????·ء???? ???????繡?äӹdz??˹????????¹???? ??????ͧ?ѧ????ö?ѧࡵ??ó?ӧҹ???????¹仢ͧ ??????????蹹???ѹ????ͧ????????????????Ҿ????
    ...1 ???§????ͧ¹??ѧ???
    ...2. ?ѵ????????ŧ ?״ŧ???ҧ??????ͧ
    ...3. ?Թ????ѹ??????ԧ?ҡ???
    ...4. ?բͧ????ѹ????ͧ????¹?
    ...5. ????ѹ????ͧ???ѡɳТ鹢?? ?????ʢ??

    ??˹????????¹???¢ͧ????ѹ????ͧ????ʹ???

    ????ѹ????ͧ?????? ?ô SA ? SC / CA ? CE
    ...???ա?˹????????¹???·?? 3,000 ???????? ??????Թ 5,000 ????????...

    ????ѹ????ͧ????ѧ?????? ?ô SG ? SM / CF4 ? CG4
    ...???ա?˹????????¹???·?? 5,000 ???????? ?֧ 1,0000 ???????? ??????Թ 15,000 ????????
    ????ѹ????ͧ?????? ??С???ѧ?????? + ??????͹???ѹ????ͧ?ô?٧
    ????ѹ????ͧ???????????? ?Ҩ?դ???٧?????ҵðҹ ???ع???ѹ????ͧ???????ҡ 5,000 ???????? ???繡??? 10,000 ???????? ???Ͷ???繡???ѧ??????????????ء??????¹???? ??? 10,000 ???????? ??????? 20,000 ???????? ????????آͧ????ͧ ?֧?դ??????¡??????¹???·?? 10,000 ? 15,000 ????????...

    ????ѹ????ͧ?ѧ?????? ?ô SJ - SM / CH4 - CI4
    ...??ԧ???ǹ???ѹ????ͧ?ѧ????????????ء????ҹ??ǹҹ?Ѻ?ʹ???????? ?????ء????ҹ?ͧ????ͧ????ѹ????ͧẺ?ҵðҹ?????? ??????????? 15,000 ???????? ?֧ 20,000 ???????? ?֧??????˹????????¹???¹???ѹ????ͧẺ?ѧ?????????????? 10,000 ???????? ?֧ 20,000 ????????...

    ???????¡?˹????????¹???¢ͧ????ѹ????ͧ ?Ҩ??ͧ?ա??????¹?ŧ??????ǡ??ҡ?˹? ?????Ҿ?????ҹ?ѧ???
    ...1.?Ѻö??¹????дѺ????٧ ????Ҩ?Ҵ??Ҩ??չ?ӻл???????????ͧ¹????
    ...2.??ҹ?????????ء???ѹ ö¹??㹷????㹷ҧ??? ?????繻?Ш?
    ...3.?˹?ҽ? ????ͧ??ö?Ѻ?????½??????繻?Ш? ???͢Ѻö??¹?ӷ????????繻?Ш?
    ...4.????ͧ¹?????? ????ա??????¢ͧ????ѹ????ͧ?٧ ?????????????ʹ????һл??????ҡ
    ...5.????ͧ¹???ͺ?Ѵ ????ͧ??ҹ?ͺ?Ѵ???????? ??????͹?٧ ??е?ͧ??????????ǹ?֡??͹??·???ش
    ...6.????ͧ¹????Դ??駡?ͧ????? ???Ҵ??Ҩн?蹼??л???????????ͧ¹?????ҡ???һ???
    ...7.????ͧ¹?????ͧ??ä????????٧?ش ???ҧ?ǡö?? ??觵?ͧ????????? ?س???ѵԢͧ????ѹ????ͧ??ͧ???Ŵŧ??????????繵?????


    >>> ?????Ũҡ?س Pol2 <<<
     
  14. POL2

    POL2 New Member Member

    377
    68
    0
    เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆครับ.....เอามาฝาก...@@รักจะเล่นเครื่องแรง..อ่านซะหน่อย.!!!.."อุ่นเครื่องนั้นสำคัญไฉน"@@....
    การสึกหรอที่รุนแรง ในการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น มีคนเพียงไม่กี่คนจะทราบว่าในการใช้รถแต่ละเที่ยว การสึกหรอเกิดขึ้นสูงมากถึง 95 % ใน ตอนเริ่มเดินเครื่องขณะเครื่องเย็น หลังจากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนถึงเกณฑ์ปกติแล้วการ สึกหรอมีน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่าลืมไปได้เลย ด้วยเหตุนี้วิศวกรจึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยง การเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็น หรือเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นให้สั้นที่สุด โดยออกแบบให้มี กลไกในการอุ่นเครื่องให้ร้อนได้เร็ว แนะนำผู้ขับขี่ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้เครื่องร้อนเร็วและสึก หรอน้อยที่สุด
    การสึกหรอของเครื่องยนต์ขณะเย็นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
    ...แทบทุกคนจะตอบว่า เพราะน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาหล่อเลี้ยงไม่ทันตอบอย่างนี้ ถูกแผ่ว ๆ ได้ 5 คะแนน ใน 100 คะแนน ลองมาดูสูตรทางเคมีข้างล่างนี้
    ...C8 H 18 + 12.5 O 2 8 CO 2 9 H 2O
    เชื้อเพลิง (ออกเทน) +ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ
    ....น้ำมันเชื้อเพลิง 1 ลิตร เมื่อติดไฟแล้วจะได้น้ำ 1 ลิตร (หรือใกล้เคียง) หลายท่านคงเคยเห็นน้ำไหลออกมาจากท่อไอเสียตอนติดเครื่องใหม่ ๆ ขณะที่เครื่องยังเย็นอยู่หลังจากเครื่องร้อนแล้วน้ำจะหายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในห้อง เผาไหม้ ภายใต้กำลังอัด และขณะที่ผนังสูบ (Cylinder Wall) ยังเย็นอยู่ ทำให้น้ำที่เกิดจาก ปฏิกิริยาทางเคมีนี้กลั่นตัวจับที่ผนังสูบ และไปทำลายฟิล์ม น้ำมันหล่อลื่น ทำให้เกิดการเสียดสี ของโลหะกับโลหะ ระหว่างผนังสูบกับลูกสูบ และแหวนลูกลูบเกิดความฝืดและการสึกหรอสูง ทำให้ เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพทางกลไก (Mechanical efficiency) ต่ำมากในช่วงนี้ เมื่ออุณหภูมิของผนังสูบสูงขึ้น 130 องศาฟาเรนไฮต์ หรือสูงกว่า น้ำที่เกิดขึ้นจะไม่กลั่นตัว คงเป็นไอน้ำออกไปกับไอเสีย ฟิล์มน้ำมันหล่อลื่นจะกลับคืนมา ความฝืดลดลงการสึกหรอลดลง ประสิทธิภาพทางกลไกดีขึ้น จนเมื่อผนังสูบมีอุณหภูมิถึงระดับปกติที่เรียกว่า Operating Temperature ของเครื่องยนต์ การสึกหรอจะมีน้อยมากจนเรียกได้ว่าตัดทิ้งได้ ตอบอย่างนี้ได้ 100 คะแนนเต็ม....
    ....การสึกหรอของเครื่องยนต์ในลักษณะนี้ เป็นได้กับเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ทุกชนิด ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล....
    .....ส่วนอื่น ๆ ของเครื่องยนต์ที่เป็นเพลา เช่นเพลาข้อเสือ เพลาก้านต่อ ไม่มีการสึกหรอ และไม่เกี่ยวข้องกับการสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์ ขณะเย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อน อยู่ที่ การสึกหรอตอนเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นเครื่องยนต์จึงมีจุดอ่อนอยู่ที่ การสึกหรอของผนังสูบ ลูกสูบ แหวนลูกสูบ สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีวัดกำลังอัดในสูบเมื่อมีการสึกหรอมาก ๆ กำลัง อัดในสูบจะต่ำลงสูบที่ 1 เป็นบริเวณที่น้ำเย็นจากหม้อน้ำไหลเข้ากำลังอัดจะต่ำที่สุด และค่อย เพิ่มมากขึ้นในสูบที่ 2 - 3 - 4 สูบสุดท้ายจะเป็นบริเวณที่น้ำร้อนไหลออกไปเข้าหม้อน้ำ กำลังอัดจะสูงกว่าสูบอื่น ๆ

    ....อันตรายจากการกลั่นตัวของน้ำมีอย่างไรบ้าง....
    ....1. เกิดการสึกหรอที่ผนังสูบ ลูกสูบและแหวนลูกสูบ ตามที่กล่าวแล้ว
    ....2. น้ำจะไหลลงไปในห้องข้อเสื้อปนกับน้ำมันหล่อลื่น ทำให้เป็นเมือกเหนียวและทำลาย สารเพิ่มคุณภาพ (Additive) ในน้ำมันหล่อลื่น แต่น้ำนี้จะระเหยออกไปได้เมื่อเครื่องยนต์ร้อน นานเพียงพอ(คนที่ใช้รถในระยะทางสั้นๆทุกวัน...ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์)
    ....3. กำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นออกไซด์เมื่อเผาไหม้ และเมื่อรวมตัวกับน้ำจะเป็น กรดกำมะถัน (ซัลฟูริก)
    ......SO2 + 2H2 O = 2H 2SO4

    ....ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ + น้ำ = กรดกำมะถัน

    ...ทำให้น้ำมันหล่อลื่นเป็นกรด ดังนั้นน้ำมันหล่อลื่นทุกชนิดจะเป็นด่างไว้ก่อน โดยใส่สาร เพิ่มคุณภาพที่เป็นด่างเข้าไป เพื่อสู้กับกรดที่จะตามมา...
    ....4. กรดกำมะถัน จะไปกัดท่อไอเสียทำให้ผุกร่อน เมื่อน้ำไปกลั่นตัวที่ท่อไอเสีย

    ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะเย็นแต่ละครั้งนานเพียง 5-10 นาทีเท่านั้นสำหรับบ้านเราที่เป็นเมืองร้อน ในเมืองหนาวจะใช้เวลามากกว่า..... เมื่อ 4-5 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดค่ากำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลดลงมาเป็น 10 เท่าของค่ากำมะถันในน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวกำหนดราคาน้ำมันด้วย ทำให้น้ำมันแพงขึ้น มีการพูดกันว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้สูงเกินไปหรือเปล่า ? แต่การผุกร่อนของท่อไอเสียลดลงอย่างเห็นได้ชัด

    ....มีกลไกอะไรในเครื่องยนต์ที่ช่วยในการอุ่นเครื่อง (Warm up)....
    เครื่องของรถยนต์ไม่มีอุปกรณ์ในการอุ่นน้ำก่อนเดินเครื่อง แต่มีกลไกที่เมื่อเดินเครื่อง แล้วช่วยให้ร้อนได้เร็ว เครื่องยนต์สมัยใหม่ที่ใช้หัวฉีดควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จะมีลิ้น Air Valve เปิด - ปิด ด้วยอุณหภูมิแบบ Thermowax เริ่มเปิดเมื่อ 140 องศาฟาเรนไฮต์ยิ่งเย็น มากก็จะเปิดกว้างมาก เพื่อให้อากาศเข้าเครื่องยนต์มาก ดังนั้นการเริ่มเดินเครื่องยนต์ขณะที่ อากาศเย็น เช่น ในตอนเช้าจะหมุนเร็วกว่าในตอนบ่ายที่อากาศอุ่นกว่าเครื่องยนต์เดิน เบาใน ตอนนี้เรียก Fast Idle คอมพิวเตอร์จะจ่ายน้ำมันมาก อัตราส่วนผสมแก่ (Rich Mixture) เพื่อช่วยเผาเครื่องยนต์ให้ร้อนเร็วนั่นเอง หลังจากเครื่องยนต์อุ่นขึ้น Air Valve จะเริ่มหรี่ลง คอมพิวเตอร์จะลดอัตราส่วนผสมให้จางลง (Lean Mixture) รอบเครื่องยนต์ค่อย ๆ ลดลงจน อุณหภูมิถึง 140 องศาฟาเรนไฮต์ลิ้น Air Valve จะปิด รอบเครื่องยนต์จะลดลงมาเป็นปกติ ประมาณ 800 รอบ / นาทีเรียกว่า Normal Idle กรรมวิธีในการอุ่นเครื่องจบลงตรงนี้ แต่ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป จนถึงอุณหภูมิทำงานตามปกติ Thermostat เป็น กลไกอีกอันหนึ่งที่ช่วยในการ Warm Up เครื่องยนต์และรักษาอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์ โดยการควบคุมการไหลวนเวียนของน้ำหล่อเย็น

    .....ขับขี่อย่างไรให้ร้อนได้เร็วและสึกหรอน้อยที่สุด......
    Do not try to warm up the engine by letting the vehicle stationary, drive off straight away, do not race the engine....เป็นคำแนะนำที่จำมาจากหนังสือคู่มือการใช้รถ จำไม่ได้ว่ายี่ห้ออะไรการจอดอุ่นเครื่องอยู่กับที่เป็นวิธีการที่ล้าสมัย เพราะทำให้เครื่องร้อนช้าจึง แนะนำว่า ท่านควรเตรียมการทุกอย่างให้พร้อม เมื่อติดเครื่องแล้วจะต้องขับออกไปภายใน 10 วินาทีเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน แต่การขับในช่วงนี้เป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อน เครื่องยนต์ควร ทำงานเบา รอบเครื่องยนต์ไม่ควรเกิน 2000 รอบ / นาที ใช้ความเร็วสม่ำเสมอรถเกียร์ อัตโนมัติ จะไม่เข้าเกียร์ 4 หรือเกียร์ Overdrive จนกว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์เลย 130 องศาฟาเรนไฮต์ ไปแล้ว ซึ่งได้โปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ และเมื่อใดที่อุณหภูมิของเครื่อง ยนต์ถึงเกณฑ์ปกติ ท่านจะขับอย่างไรก็ได้ตามนิสัยการขับ (Driving Habit) ที่ท่านชอบ เพราะ ในช่วงนี้การสึกหรอจะมีน้อยมาก

    .....กรณีตัวอย่างที่น่ารู้.....
    .....1. ตอนเย็นหลังจากเลิกงานแล้วท่านขับรถกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจอดรถแล้วไปอาบน้ำพัก ผ่อน จนค่ำแล้วก่อนเข้านอนนึกขึ้นได้ว่าจอดรถไว้หน้าบ้าน จึงลงมาติดเครื่องยนต์ขับรถเข้าไป จอดในโรงรถ Robert Sikorsky เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่าการสึกหรอในช่วงนี้เทียบเท่า กับการขับรถปกติเป็นระยะทางถึง 800 กิโลเมตร ตัวเลขนี้เชื่อได้ว่ามาจากผลการทดสอบจริง แต่ไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิของอากาศขณะนั้น
    .....2. ถ้าบ้านของท่านเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีรถหลายคันใช้ร่วมกัน ควรเลือกใช้รถคัน ที่เพิ่งผ่านการใช้งานมาใหม่ ๆ ที่เครื่องยังอุ่นอยู่
    .....3. ถ้าท่านจะซื้อรถใช้แล้ว อย่าใช้เลขระยะทางเป็นตัวกำหนดสภาพรถแต่อย่างเดียวควร ตรวจสอบพฤติกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น บ้านอยู่ห้องแถวกลางคืนเอารถเข้าจอดในบ้าน เช้าเลื่อนออกไปจอดริมถนน ต้องเลื่อนรถไป- มา เพื่อหาที่จอด
    มีรถหลายคันบางคันไม่ค่อยได้ใช้ติดเครื่องเพื่อชาร์จแบตเตอรี่อยู่กับที่เป็นประจำ รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ.......

    ....คงจะพอเป็นองค์ความรู้ให้กับพี่ๆน้องๆ...ได้บ้าง...เพราะผมเคยเห็นหลายกระทู้ที่เคยถามเกี่ยวกับน้ำที่ออกท่อไอเสียบ้าง...การอุ่นเครื่องบ้าง...เลยค้นตำราเก่าๆเอามาให้ได้อ่านกัน.....


    ...อ้างอิงจากการที่โพสกันมา.....เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องเหนียวได้.....
     
    kungking5 ถูกใจสิ่งนี้
  15. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    ....เห็นมีหลายคำถาม...ที่เกียวกับการใช้งานเกียร์..Auto...เลยอยากแชร์ความรู้...ความเข้าใจ...ของการใช้งาน...การดูแลรักษา...ความทนทาน...และ...จุดเด่น/ดี....ของเกียร์..Auto...ตามประสบการณ์..และความเข้าใจของผม....มาเล่าให้ฟังกันครับ.....ใครมีความเข้าที่แตกต่าง...สามารถ...เสนอข้อมูลมาได้นะครับ...

    ....การใช้งาน..เกียร์..Auto...

    ....การขับรถเกียร์...Auto... จะต้องใช้เท้าขวาข้างเดียวเท่านั้น....เท้าขวาจะสัมพันธ์....ในขณะที่เหยียบเบรค...แล้วก็ไปเหยียบคันเร่ง...เมื่อไม่เหยียบคันเร่งก็ต้องไม่เหยียบเบรค....สลับกัน.... เท้าซ้ายห้ามยุ่งเกี่ยวโดยเด็ดขาด...(คนที่ขับเกียร์...M/T....บ่อยๆ...ต้องระวังให้ดี)....

    .....สัญญลักษณ์แป้นเกียร์..Auto...ในรถทั่วๆ ไป....
    ....B]P[/B]...คือเกียร์ที่ใช้เวลาจอดรถเพื่อไม่ให้รถ เคลื่อนที่ รถจะหยุดคล้ายๆ กับดึงเบรคมือ.....แต่ว่าแทนเบรคมือไม่ได้....ถ้าจอดอยู่ใน ตัว P แล้ว ก็ควรจะดึงเบรคมือร่วมไปด้วย...
    ....R... เกียร์ถอยหลังเกียร์ถอยหลัง.... จะ เข้าได้ก็เฉพราะรถต้องหยุดนิ่งๆ โดยเราต้องเหยียบเบรคเอาไว้...
    .... N... คือเกียร์ ว่าง รถจะไม่วิ่ง....แต่ต้องเหยียบเบรคเอาไว้ก่อนเพื่อไม่ให้รถเคลื่อนที่...
    .... D... เดินหน้า...4..เกียร์...หรือ..5..เกียร์..สำหรับบางรุ่น...
    ....O/D...โอเวอร์ไดร์ฟ...ใช้สำหรับการเร่งแซง...หรือ...ให้เครื่องยนต์..เกิด..Engine Brake...

    ....ต่อจากตัว..D..ลงมาบางค่าย..จะใช้..3-2-L...หรือ...D3-D2-L......B]

    ...3-2-1../...D3-D2-D1...ขาแรงทั้งหลาย...คงรู้ดี...เป็นSpeedเกียร์..ที่จะบังคับให้..รอบการทำงานของเครื่อง..ไม่สัมพันธ์..ต่อการเปลี่ยนเกียร์ปกติ(D)...เลื่อนเกียร์ไปที่..ตำแหน่งใด..ก็จะทำให้..ใช้เกียร์ได้เท่านั้น...โดยที่เครื่องยนต์จะไม่มีการเปลี่ยนเกียร์เอง...(สามารถลากรอบได้ทะลุRedlineเลย)...แต่จุดประสงค์ของมันคือ..ต้องการให้เกียร์สร้างแรงบิด..ให้สามารถใช้วิ่ง..ขึ้น-ลง..ทางชัน...ขึ้นเขา....บรรทุก...ลากจูง...


    ....ตรงนี้เอง..ที่ความเข้าใจของแต่ละคน...มักไม่ตรงกัน...ว่า...เกียร์..Auto..มักพังเพราะ..การเล่นเกียร์....

    ....ไม่จริง....

    ...เกียร์...Auto...มันพังเพราะแรงบิด....ไม่ใช่รอบเครื่อง....

    ...เกียร์...Auto...จะส่งผ่านกำลังโดย....น้ำมันและล็อกอัพคลัท...ดังนั้นมันจะไม่กระตุกแรงจนเกียร์กระจายเหมือนคลัทแห้ง....เกียร์ออโต้เป็น Planetary gear ทั้งหมด.....

    ....หมายความว่า....แต่ละเกียร์จะไม่ใช่เพืองสองอันขบกัน.....แต่เป็นเพืองห้าตัวขบกันในแต่ละเกียร์....ดังนั้นความคงทนจะสูงกว่ามาก....แม้ตัวจะเล็กกว่า.....เกียร์ของรอก..กับ...เครน...ที่รับน้ำหนักเป็นร้อยตันก็ใช้...Planetary....ทั้งนั้นครับ....

    .....รถแดรกของ..อเมริกา...สองพันกว่าแรงม้าก็เป็นเกียร์ออโต้.....ใช้สับเอง2-3เกียร์...ตามใจชอบ....รถ F1 พันกว่าแรงม้า...เป็นเกียร์ออโต้แบบกดปุ่ม....ลากเกียร์เอง....มาเป็นสิบปี...แล้วครับ...มันยังไม่พังเลย...

    ....สาเหตุ...และปัจจัยหลัก...ที่ทำให้..เกียร์..Auto...ไป..ก่อนวัยอันควร...ก็น่าจะมาจาก...

    1...เมื่อต้องใช้แรงบิดสูง...เป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ...เช่น...ลากรถอีกคัน...ให้ใช้ความเร็วต่ำ...และเกียร์ลดลง1เกียร์เสมอ....

    2...ขึ้นเขา-ลงเขาบ่อยๆ....น้ำมันเกียร์จะใหลไปกองที่ด้านหน้าและด้านหลังของห้องเกียร์.....ทำให้...แรงดันน้ำมันของชุดคลัทไม่คงที่......พอแก้ได้คือ....น้ำมันเกียร์เพิ่มอีก 1 ลิตร....กันเหนียว....เพื่อให้แรงดันน้ำมันของชุดคลัทคงที่.....ไม่ให้แรงดันต่ำจนคลัทลื่นและสีกันจนไหม้ในห้องเกียร์....

    3....ขึ้นเขา-ลงเขา...ลากของ...บ่อยๆ....ล็อกอัพคลัท....ในลูกตุ้มทอร์คคอนเวอร์เตอร์.....ต้องทำงานหนักกว่าปกติ...เป็นเวลานานถ้าเป็นของเก่าใช้งานนานแล้ว.....ความหนาลดลง....ก็มีโอกาสไหม้ได้....ถ้าน้ำมันระบายความร้อนไม่ดี.....ดังนั้นออยคูลเลอร์ของเกียร์ต้องใหญ่พอ......ที่จะรับมือควาร้อนมากกว่าปกติได้ ....พวกที่ชอบเอาออยคูลเลอร์ไปซุกใต้กันชนไม่รับลมปะทะรถมักจะเสร็จทุกราย....ใช้งานหนักน้ำมันเกียร์ไหม้ดำปี๋....

    4....ถ้าออยคูลเลอร์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ....เวลาเครื่องร้อนจัดเพราะน้ำในหม้อน้ำแห้งเมื่อไร....ก็ตาม....น้ำมันเกียร์จะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว.....แม้จะเพิ่งเปลี่ยนมาก็ไม่รอด.....ให้ถ่ายน้ำมันเกียร์ทิ้งทุกครั้งที่เครื่องโอเวอร์ฮีต.....

    5....ลุยน้ำสูงจนท่วมห้องเกียร์....เมื่อห้องเกียร์โดนน้ำ.....อากาศในห้องเกียร์มันจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว....และดูดน้ำเข้าห้องเกียร์.....ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกครั้ง.....ที่รถลุยน้ำมาทันที....เพราะน้ำเข้าแล้วชุดคลัทจะบวมและพังอย่างรวดเร็ว......แม้จะเข้าไม่มากก็สามารถพังได้.....ไม่เหมือนเกียร์..M/T...ที่ยังใจเย็นได้ ถ้าน้ำเข้าน้อยๆขับไม่กี่สิบกิโลน้ำก็เดือดหายไปเอง.....ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันให้เปลืองเงิน....

    6....ขี้เหนียว....ไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมน้ำมันเกียร์....ทุกๆ...8,000-15,000 km.


    ....สารพันธ์..ข้อข้องใจ...สำหรับรถ..เกียร์..Auto...ครับ....คงจะเป็นประโยชน์บ้าง....



    ที่มา คุณ POL2
     
  16. acare ek

    acare ek New Member Member

    50
    15
    0
    สุดยอดครับพี่ความรู้ขั้นเทพ
     
    ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้
  17. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    >>> คู่มือและรายละเอียดการติดตั้ง Weather Guard for EK <<<

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  18. nong_kaju

    nong_kaju New Member VIP

    417
    41
    0
    น่าจะเอาวิธีแปลงกันโครง eg มารวมใว้ในนี้นะครับพี่โจ จะได้ไม่ต้องหาครับ
     
    iodineman ถูกใจสิ่งนี้
  19. ari

    ari New Member Member

    670
    185
    0
    ให้ตายเหอะ เพิ่งเคยเข้ามาดูกระทู้นี้
    มันสุดยอดความรู้ โครตๆๆเลย
    ขอบคุณ ข้อมูลดีๆของทุกๆคน โดยเฉพาะ น้องโจ...คุณทำได้เจ๋งมากๆๆๆๆ
    อยาก+ให้100+เลย:D
     
    ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้
  20. abbtom

    abbtom New Member Member

    22
    1
    0
    กระทู้นี้ดีมากๆ ครับ ยกนิ้วให้สองมือเลยครับ
     
    ksaEK97 ถูกใจสิ่งนี้
  21. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    >>> D.I.Y. DIY-Gauge Cluster ที่เป็นเกียร์ Auto (Only) < <<


    >>> หลายท่านที่ซื้อไมล์ (Gauge Cluster) ที่เป็นเกียร์ Auto (ยกเว้นรุ่น Vi-RS) ขอเมืองนอกเมืองนามา แล้วนำมาใส่ในเมืองไทย ดั๊นเกิดปัญหา ไฟโชว์ตัว P และ ตัว N ติดพร้อมกันในเวลาที่บิดลูกกุญแจ :eek: (ปกติจะติดแค่ ไฟโชว์ตัว P เท่านั้น) โดยเวลาเข้าเกียร์มาที่ เกียร์ N ไฟโชว์จะดับ:eek: เอ่แล้วเราจะทำยังไงหล่ะ นั้นตามนี้เลยครับ

    1. ก่อนอื่นถอดไมล์ (Gauge Cluster) ออกมาก่อนแล้วจะเห็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาว

    [​IMG]

    [​IMG]

    2. ทำการถอดกล่องสีขาวออก (จะมีขาล็อกทั้งสี่ด้านใช้ไขควงงัดเบาๆ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    3. ถอดแผงวงจรออกมา

    [​IMG]

    [​IMG]

    4. ถึงตอนสำคัญแย้ว จะต้องนำอุปกรณ์บางตัวออกและนำเข้า ดังนี้
    4.1 นำออก -> TR5, D8, J3
    4.2 ใส่เพิ่ม -> J1, J2

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สุดท้ายแบบขั้นสูงหน่อยครับ เอาออกเยอะหน่อย แต่แน่นอนกว่าครับ ล้านเปอร์เซ็นต์

    [​IMG]


    +++ ในที่นี้จะไม่มีการตัดลายปริ้นวงจรครับ แค่ทำตามด้านบน ก็โอเคแล้วครับ ถ้าใครพอทราบเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ น่าจะไม่ยากครับ (มีข้อเสริมหรือชี้แนะรบกวนเพิ่มเติมด้วยนะครับ) แต่ถ้าไม่กล้าทำด้วยตัวเอง ลองโทรมาปรึกษาได้ครับ +++

    <<<
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2009

  22. อ่านในนี้จบ เท่ากับว่าเป็นเทพไปครึ่งตัวแล้ว

    คอนเฟิร์มว่าความรู้ทั้งนั้นครับ ควรค่าแก่การอ่าน
    และทำความเข้าใจ ก่อนตั้งกระทู้ถามมากมาย
     
  23. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    >>> ใครที่ประสบปัญหาเรื่องถอด SRS ที่พวงมาลัยออก แล้วไม่ได้ถอด Batt ออกก่อนประมาณ 5 นาที เมื่อใส่กลับเข้าไปแล้วจะพบว่าที่หน้าปัดไมล์ (Gauge Cluster) จะมีไฟเติอน SRS ขึ้น อ้าว...แล้วเราจะทำอย่างไรดี มีวิธีมาบอกครับ

    1. เข้าศูนย์ หรือให้ช่างทำ เพื่อเสียตังค์ หรือ
    2. ทำเองโดยมีรายละเอียดดังนี้ :-

    [​IMG]

    [​IMG]

    2.1 ให้บิดสวิทช์กุญแจมาที่ OFF (เค้าบอกว่า ต้องแน่ใจนะ โปรดอย่าลืม)ตามข้อ 1.
    ปล. หาปลั๊กสีเหลืองที่มีสายสองเส้น ตามรูป สังเกตุว่าที่กล่องฟิวส์เหนือเข่าเรา เมื่อถอด Connector ออกมาจะเห็นว่าไม่มีขั๋วไฟฟ้าอยู่ มันเป็นเพียงที่เสียบเพื่อไม่ให้หลุด หรือเสียบเพื่อยึดให้แน่นเท่านั้น)

    2.2 เอาแบบลูกทุ่งเลยนะ หาสายไฟมาเส้นนึง (เพื่อแทน SCS SERVICE CONNECTOR 07PAZ - 0010100)

    2.3 นำสายไฟที่เตรียมมา จั๊มเข้าไปที่ปลั๊ก MEMORY ERASE SIGNAL (MES) CONNECTOR (2P) (GRY, GRY) or (GRN, GRN) ตามข้อ 2.

    2.4 ให้บิดสวิทช์กุญแจไปที่ ON (II) แต่ไม่ต้อง Start นะจ้ะ เดี๋ยวจะงานเข้า เอาแบบที่บิดแล้วไฟที่หน้าปัดไมล์มันขึ้นก็พอ ตามข้อ 3.

    2.5 เมื่อ ON แล้วจะสังเกตที่ไมล์ ไฟ SRS จะติดอยู่ประมาณ 6 วินาที แล้วมันจะดับ ให้ทำการดึงสายไปออกภายใน 4 วินาที (ดึงออกข้างเดียวก็ได้นะจ้ะ) ตามข้อ 4.

    2.6 เมื่อเราดึงสายไฟออกแล้ว ไฟโชว์มันจะกลับมาติดอีกครั้ง ให้รีบนำสายไฟที่ถอดเมื่อกี้ กลับเสียบอีกครั้ง ภายใน 4 วินาที ตามข้อ 5.

    2.7 จากนั้นไฟโชว์มันจะดับอีกครั้ง ให้ทำการดึงสายไปออกภายใน 4 วินาที (ดึงออกข้างเดียวก็ได้นะจ้ะ) ตามข้อ 6.

    2.8 ถ้าไฟโชว์ SRS กระพริบสองครั้ง นั้นหมายถึงกระบวนการลบได้สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่โชว์ ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่อีกครั้ง ตามข้อ 7.

    2.9 จากนั้นให้บิดสวิทช์กุญแจมาที่ตำแหน่ง OFF ทิ้งไว้ประมาณ 10 วินาที (ซัก 15 วินาที ก็ได้นะจ้ะ) ตามข้อ 8.

    2.10 ทดลองโดยการ Start รถดู ถ้าไฟไม่โชว์ก็เป็นอันว่าเรียบร้อยโรงเรียนเราเอง จากนั้นก็ดับเครื่องเก็บอุปกรณ์ต่างๆให้เข้าที่เหมือนเดิม

    ขอให้โชคดีในการทำนะจ้ะ บ๊าย บาย
    <<<

    ข้อมูลเพิ่มเติม

    http://www.geocities.com/myintegra96/srs.html
     
  24. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    ☆☆ D.I.Y : Strut Bar [ตอนที่ 1 : ค้ำหลังล่าง] ☆☆

    เกริ่นนำ : สำหรับ Project นี้ก็ค่อนข้างใช้เวลาทำนานหน่อยครับ คิดว่าจะให้เสร็จก่อนสิ้นปีที่แล้วก็ไม่เสร็จจนได้ เพราะดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจเท่าไหร่เพราะฝนตก แต่จริงๆฝนตกก็ทำอยู่ในโรงรถได้ แต่ปัญหาก็คือไม่สะดวกที่จะถ่ายรูป Step การทำมาให้ท่านๆดูกัน เนื่องจากกล่องที่ใช้ถ่ายเป็นกล้อง PDA Phone HTC P3300 ไม่มี Flash และรูปที่ได้มาก็ไม่ชัดเหมือนเมื่อก่อนที่ใช้ Nokia N70 ครับ แต่ก็เอาเถอะครับ วันนี้อย่างน้อยก็เสร็จได้ Up ขึ้นเว็ปซะที

    Concept : ถ้าใครที่เคยอ่านที่ผม D.I.Y ผ่านๆมาก็คงรู้ว่าคอนเซ็ปของการจะทำอะไรขึ้นมาวักอย่างก็คือ ราคาประหยัด ทำไม่ยากเกินความสามารถตัวเอง และทำออกมาแล้วต้องสวยและเนียนกว่าจ้างคนอื่นทำ

    ก่อนเริ่ม : จริงๆแล้วในส่วนของ Porject นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ภาค อันนี้เป็นถือเป็นภาคแรก ซึ่งจริงๆแล้ววางไว้ว่าจะให้เป็นภาค 2 แต่มันก็มาเสร็จก่อนภาคแรกครับ ยังไงภาคที่ 2 และ 3 ก็จะตามมาติดๆครับ ซึ่งทั้ง 3 ภาคนี้เป็น Project ต่อเนื่องนะครับ และในภาค 1 นี้ขอนำเสนอ "ค้ำหลังล่าง" ครับผม

    เริ่มลงมือ : ของ 2 สิ่งหลักๆที่เป็นที่มาของโปรเจ็คค้ำหลังล่างนี้ ดูแล้วเหมือนไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว วางทิ้งไว้ในห้องเก็บของ เข้าไปทีไรรู้สึกว่ารกจัง ในใจก็คิดอยู่เสมอว่าจะทำอะไรกับมันดีนะ ชั่งกิโลขายดีหรือเปล่า และพอดีช่วงนั้นมีกระทู้เกี่ยวกับพวกค้ำโช๊ค-ค้ำตัวถังต่างๆขึ้นมา ก็เลยเอาของที่ดูไร้ค่านี่ล่ะมาทำ (Recycle) เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ (รูปอาจจะเยอะนะครับ เพราะจะขอพิมพ์น้อยๆหน่อย เวลามีน้อย)

    1. ค้ำโช้คของไทยที่เคยประจำอยู่ในรถ เอาไปทำสีขาวเล่นๆ มารอบหนึ่งแล้ว แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาใส่ค้ำเหลี่ยมของ DC2 แล้วเลยไม่ได้ใช้ ทิ้งไว้รกห้องเก็บของอยู่นาน
    [​IMG]

    2. นำมาตัดด้วยเครื่องตัดเป็น 3 ท่อนดังในรูปครับ
    [​IMG]

    3. ชิ้นที่นำมาใช้สำหรับโปรเจ็คนี้ก็คือชิ้นที่เป็นคานกลางยาว
    [​IMG]

    4. อันนี้เป็นอลูมิเนียมแท่งครับ ขนาด 1.5 นิ้ว ยาว 15 ซม. กว่า อุตสาห์ขนจากกรุงเทพ ใช้กลึงทำดุมล้อหุ่นยนต์แข่งขัน (ตอนนั้นบ้าทำหุ่นยนต์แข่ง) ชิ้นนี้ก็ทำอะไรเองกับมันไม่ได้เพราะไม่มีเครื่องมือ ต้องอาศัยโรงกลึงเอาครับ
    [​IMG]

    5. จัดการวาดแบบที่จะส่งโรงกลึงเพื่อทำเป็นตัวยึดคานค้ำล่างกับตัวน๊อตยึดคานปีกนกหลัง ซึ่งแบบที่วาดนี้ผมเลือกเอาของ Cusco ครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าน่าจะเป็นแบบที่ทนต่อแรงดึงเยอะและโรงกลึงแถวๆบ้านน่าจะทำได้เพราะสามารถใช้เฉพาะเครื่องกลึงอย่างเดียว ไม่ต้องถึงขึ้น Milling หรือ CNC และอีกเหตุผลหนึ่งที่เอาแแบนี้ เพราะผมชอบ Cusco อยู่แล้ว :D 5555++
    [​IMG]

    6. ก็ส่งแบบให้โรงกลึงครับ มีการปรับแต่งแบบบ้างนิดหน่อย โดยเพิ่มความหนาขึ้นมาอีก 1 มม.จากแบบที่วาดไว้ ก็ได้ออกมา 2 ชิ้นตามต้องการ และในการกลึงงานครั้งนี้ยังมีอลูมีเลียมเหลืออยู่อีก ก็เลยจัดการกลึงเครื่องมือขึ้นมาอย่างหนึงซึ่งจะต้องนำไปใช้ในโปรเจ็คต่อไปครับ แต่ตอนนี้ของปิดไว้ก่อนแล้วกันครับว่าโปรเจ็คอะไร :D :D :D
    [​IMG]

    7. ได้งานมาแล้วก็ต้องมีการขัด-ตัด-แต่ง ด้วยตะไบ-กระดาษทราบบ้างเล็กน้อยครับ
    [​IMG]

    8. แค่ 3 ชิ้นนี้ล่ะครับ สำหรับตัวค้ำหลังล่าง
    [​IMG]

    9. ตอนแรกที่คิดๆไว้ว่าจะออกแบบมาแบบนี้ครับ คือไม่ต้องมีการดัดคานให้ตรงและวางตัวคานในแนวนอน แต่มันจะให้ผลออกมา 2 อย่างคือ การรั้งดึงของคานจะน้อยลงเพราะคานสามารถให้ตัวได้ กับ ในการเชื่อมคานกับชิ้นที่กลึงมาต้องมาการบากปลายคานให้โค้งเว้ารับด้วยเพื่อความสวยงามและแข็งแรง
    [​IMG]

    10. จากข้อ 9. ก็เลยต้องเปลี่ยนแบบใหม่ เอาตัวคานวางในแนวตั้งแทน แบบเดียวกับ Cusco ซึ้งตอนนี้ก็แก้ปัญหาที่ไม่ต้องบากปลายคานให้โค้งเว้าแล้ว แต่ตัวคานยังโค้งอยู่ มาถึงตรงนี้ในใจคิดๆ ทำไปทำมามันจะออกแนว Cusco อยู่แล้ว งั้นก็เอา Cusco ก็ Cusco เอามันให้เหมือนไปเลยแล้วกัน :D :D :D
    [​IMG]

    11. นำคานกลางไปโรงกลึงอีกรอบ จัดการดัดให้ตรงด้วยแท่นไฮโดรลิก
    [​IMG]

    12. เมื่อทุกอย่างครบแล้วก็มาดูที่รถบ้าง จัดการวัดระยะของน๊อตยึดคานปีกนกทั้ง 2 ตัวว่าห่างกันกี่มิลลิเมตร โดยวัดจากเซนเตอร์น๊อตทั้ง 2 ตัว เอาแบบแม่นยำหน่อยนะครับ เพราะรูยึดที่ตัวคานค้ำหลังล่างที่เราทำจะเจาะรูแค่รูเดียว ไม่มีการขยายรู ของผมวัดได้ 531 มม. ครับ (รถบางคันอาจจะไม่เท่ากัน ของ Cusco ก็เลยทำรูร้อยน๊อตให้เป็นแนวยาว)
    [​IMG]

    13. วางและวัดระยะจากรูร้อยน๊อตทั้ง 2 ด้าน
    [​IMG]

    14. คำนวณระยะที่ต้องตัวตัวคานให้ได้ยาวพอดี อันนี้สำคัญครับถ้าไม่อยากคว้านรูที่จะร้อยน๊อต
    [​IMG]

    15. คำนวณได้โดยนำเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวที่เรากลึงมา (จากรูปเป็นด้านล่าง) หารด้วย 2 ก็จะได้ระยะรัศมี
    ถ้าตามของผม เส้นผ่านศุนย์กลาง = 38 มม. ก็จะได้ 19 มม. (38/2) แต่ด้วยมันมี 2 อันก็จะได้เป็น 19x2 = 38 มม. อยู่ดีครับ
    เพราะฉนั้นความยาวคานที่เราจะต้องตัดคือ 531 มม.(ระยะน็อต) - 38 มม. = 493 มม.
    งง !! กันหรือเปล่านะ :)
    [​IMG]

    16. ลงมือตัดครับ ระยะต้องแม่นจริงๆ เพราะถ้ายาวหรือสั้นไปมันจะมีปัญหาตอนเชื่อมต่อกันแล้วความยาวไม่ได้ตามต้องการ
    [​IMG]

    17. ตัดออกมา มีเศษที่เหลือแค่นี้ครับ
    [​IMG]

    18 . ขัดสีตรงหัวที่จะเชื่อมออก แล้วก็วิ่งไปโรงกลึงอีกรอบ
    [​IMG]

    19. ถ้าโรงกลึงก็จับวางแล้วก็เชื่อมอาร์กอนเลย ใช้เวลาไม่นาน เพราะระยะความยาวต่างๆได้ทำไว้ถูกต้องหมดแล้ว
    [​IMG]

    20. ผลการเชื่อมที่ออกมา ลายเกล็ดเชื่อมใหญ่ไปนิด เนื่องจากลวดอลูมิเนียมเส้นเล็กที่จะใช้เชื่อมหมดครับ แต่ผลออกมาก็สวยรับได้ครับ
    [​IMG]

    21. ดูชัดๆกับแนวเชื่อมครับ
    [​IMG]

    22. จากนั้นก็เริ่มลงมือขัดสีเดิมออกทั้งหมดครับเพื่อเตรียมทำสีใหม่
    [​IMG]

    23. ผลการขัดด้วยหัวขัดแปรงทองเหลือง
    [​IMG]

    24. ขัดต่อด้วยกระดาษทรายเบอร์ 240 แล้วต่อด้วยเบอร์ 1000 ให้เรียบ
    [​IMG]

    25. รายการของการทำสีมีอยู่ 4 กระป๋องแค่นี้ครับ ประกอบด้วย สีรองพื้นเบอร์ 232B, สีเบอร์ H-2, สีเบอร์ Y-48 และแลกเกอร์เบอร์ 230 ที่เห็นอยู่สีเบอร์ H-2กับเบอร์ Y-48 ต่างเป็นโทนสีออกน้ำเงินเพราะผมเองยังไม่เคยลองดูว่าสีใหนใกล้สี Cusco มากกว่า
    [​IMG]

    26. เมื่อวันที่เริ่มมีแดด (รอมานานมาก ช่วงนั้นฝนตกทุกวัน) ก็ลงมือพ่นสีรองพื้นด้วยเบอร์ 232B โดยพ่น 2 รอบ รอบแรกบางๆ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที แล้วก็พ่นรอบที่ 2 แล้วก็ทิ้งไว้อีก 20 นาทีครับ
    [​IMG]

    27. เมื่อสีรองพื้นแห้งดีแล้วก็ลงมือพ่นสีเลยครับ อืม! ในขั้นตอนที่ 26 นั้น ก็เอาสีที่จะพ่นในข้อนี้มาเขย่าแล้วก็ตากแดดไว้ให้กระป๋องร้อนด้วยนะครับ ผลก็คือได้อะอองสีขณะพ่นที่เล็กกว่าปกติ เนื่องจากถ้ากระป๋องร้อนแรงดันภายในจะเพิ่มขึ้น เอาเป็นว่าเป็นเทคนิคหนึ่งแล้วกันครับ การพ่นก็ให้กดหัวพ่นนอกชิ้นงานแล้วลากผ่านชิ้นงานครับ สีที่ได้ก็จะเสมอกัน แต่ยังไงก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนครับ อ้อ!!! ขั้นตอนนี้ผมใช้สีเบอร์ H-2 นะครับ
    [​IMG]

    28. หลังจากพ่นเสร็จ 2 รอบครับ ซึ่งดูแล้วผมเองไม่พอใจเท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่ามันจะออกน้ำเงินเข้มไป ถ้าคิดจะเอาแบบ Cusco แล้วก็ต้องเอาให้เหมือน เพราะ Cusco รู้สึกว่าจะต้องออกฟ้าๆน้ำเงินๆยังไงไม่รู้ ถ้าพี่โส(SO_EK) อยู่ใกล้คงไปถามพี่เค้าแล้วล่ะ ท่านนี้ Cusco Spec ครับ 5555+++
    [​IMG]

    29. ผลจากการไม่พอใจในสีก็เริ่มต้นใหม่อีก ขัดดออกให้หมด (กลับไปทำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 22. ใหม่) แต่ถ้าของใครพอใจสีนี้แล้วก็ไปพ่นแลกเกอร์ได้เลยครับ
    [​IMG]

    30. ผ่านไปครึ่งชั่วโมง เหนื่อยเหมือนกันกับการขัดใหม่
    [​IMG]

    31. เริ่มต้นพ่นสีรองพื้นใหม่อีกรอบครับ ก็ทำอย่างเช่นเคย
    [​IMG]

    32. ทีนี้ก็เปลี่ยนจะสีเบอร์ H-2 มาเป็น Y-48 ครับ ผลที่ออกมากลายเป็นสีฟ้าจ๋าไปเลย ก็งงๆครับว่าทำไมมันไม่เหมือนกันสีที่สติดเกอร์ข้างกระป๋อง พอมาดูที่ฝากระป๋องเค้าระบุว่าสีเบอร์ Y-48 ต้องใช้สีรองพื้นเบอร์ Y-264 งานนี้เกิดอาการเซ็ง! เลย แล้วเจ้า Y-264 หน้าตามันยังไงเนี่ย มาถึงตรงนี้ผมมีทางเลือกอยู่ 3 ทางคือ
    1. เลิกล้มโปรเจ็ค แต่ทำมาถึงนี้แล้วเลิกก็บ้าเลยล่ะครับ จริงมั้ย
    2. ลอกสีใหม่อีกรอบ (วิ่งกลับขั้นตอนที่ 22. อีก) เพื่อจะพ่นรองพื้นเบอร์ Y-264 และต้องเข้าไปซื้อสีรองพื้นที่หาดใหญ่(ไป-กลับ 50 กม.) อีก
    3. ลุยต่อไปโดยวิธีการพ่นผสมสี H-2 ลงไป แต่ต้องพ่นด้วยความปราณีตและใจเย็นๆหน่อย

    ตกลงเอาข้อ 3 ครับ
    [​IMG]

    33. ผลงานที่ได้จากการพ่นครับ ตรงใจเลย โดยพ่นเติมสีเบอร์ H-2 ลงไปทีละนิด พ่นในระยะที่ห่างจากชิ้นงานมากกว่าปกติ จนได้สีที่ต้องการแล้ว จากนั้นก็ตากแดดให้สีแห้งแล้วพ่นแลกเกอร์อีกชั้นก็เป็นอันเสร็จเรื่องการทำสีครับ
    [​IMG]

    34. มาถึงขั้นตอนการติดตั้ง ผมเลือกที่จะติดตั้งเองครับ ซื้อเครื่องมือผมก็ต้องซื้อเพิ่มอีก 3 ชิ้น คือ ขาตั้งแบบ 3 ขา 2 อัน และลูกบล็อคขันเบอร์ 14 อีก 1 ตัวครับ เครื่อมือพวกนี้ซื้อไว้ก็ไม่เสียหายครับ ยังไงสำหรับผมก็ยังใช้งานได้เรื่อยๆครับ
    [​IMG]

    35. จัดการยกรถขึ้นบนขาตั้งและถอดล้อหลังออกเพื่อความสะดวกในการทำงาน และด้านความปลอดภัยเนื่องจากจะไม่มีการเข้าไปใต้รถเป็นอันขาด การขันก็จะใช้ด้ามบล็อคยาวในการขันน็อต
    [​IMG]

    36. ถอดน๊อตยึดปีกนกหลังออกด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตัวคานปีกนกเลื่อนออกจะเบ้ารูเดิม จะได้ง่ายในตอนใส่กลับ
    [​IMG]

    37. น๊อตยึดบู๊ชปีกนกหลังถอดออกมาแล้วก็ร้อยเข้าตัวค้ำหลังล่าง แล้วก็ขันน๊อตกลับเช่นเดิมแต่ยังไม่ต้องแน่เพราะต้องใส่อีกด้านหนึ่งก่อน
    [​IMG]

    38. จากนั้นก็มาเริ่มทำอีกด้านเช่นเดียวกัน
    [​IMG]

    39. เมื่อร้อยน๊อตทั้ง 2 ฝั่งเข้าเรียบร้อยแล้วก็ลงมือขันน๊อดนั้นให้แน่นครับ
    [​IMG]

    40. ผลจากการคำนวณระยะที่แม่นยำก็คือไม่ต้องคว้านรูน็อตและน๊อตก็อยู่ตรงกลางพอดี
    [​IMG]

    41. มาดูอีกด้านครับ
    [​IMG]

    42. หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยครับ สวยงามเชียว :D :D ท่านลองสังเกตุดูที่ตัวรถตรงกลางคานเดิมครับ ไม่รู้อู่ไหนเอา"ไอ้เข้"ยกรถผมซะบุบเข้าไปเลย เหล็กมันอ่อนขนาดนั้นเลยเหรอ ถ้าอย่างนี้ใส่ค้ำหลังล่างมันก็ช่วยให้ตัวถังรถแข็งขึ้นจริงหรือเปล่าครับ
    [​IMG]

    43. อีกรูปก่อนจบครับ (โรงรถรกไปหน่อย มีของไว้ทำโปรเจ็ค D.I.Y เยอะ แต่ไม่ค่อยมีเวลา :cry: )
    [​IMG]

    สรุป : ก็เป็นอันเสร็จครับกับค้ำหลังล่างอันนี้ ผลงานที่ออกมาก็ถือว่าพอใจมาก(สำหรับผม) ขอสรุปเป็นส่วนๆ ดังนี้นะครับ

    - ส่วนเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการทำครั้งนี้ขอบอกว่าน้อยมากๆ เพราะวัสดุผมมีอยู่แล้วที่ต้องซื้อเพิ่มก็คือสีสเปรย์ 3 กระป๋อง(แลกเกอร์ผมมีเหลืออยู่ 1 กระป๋อง)และก็ค่าโรงกลึงในการกลึง-การเชื่อม เบ็คเสร็จอยู่ที่ประมาณ 7xx บาทครับ

    - ส่วนในเรื่องระยะเวลาการทำนั้นอย่างที่บอกตอนแรกว่าสำหรับผมนั้นนานหน่อย เพราะติดด้วยงานหลักที่ทำอยู่และเรื่องดินฟ้าอากาศจนมาถึงต้องเขียน Step การ D.I.Y ด้วย จึงกว่าจะออกมาค่อนข้างนาน

    - ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพก่อนและหลังติดตั้ง อันนี้คงยังตอบไม่ได้เพราะยังไม่ได้ลองเลย และสุดท้ายการติดตั้งพวกค้ำต่างๆมันก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนด้วย เพราะบางคนบอกว่าต่าง บางคนบอกว่าไม่ต่าง (อาจจะมีส่วนอื่นเป็นองประกอบด้วย เช่นโช็ค บู๊ช-ลูกหมากและช่วงล่าง) ยังไงหลังจากได้ลองแล้วจะมารายงานผลอีกที

    จบ : โปรเจ็คภาคแรกนี้ก็ขอจบแค่นี้นะครับ เพื่อที่จะทำในส่วนของภาคที่ 2 ต่อไป มีข้อสงสัยหรือปัญหาอะไรก็สอบถามได้ ส่วนใครจะทำบ้างเสร็จแล้วก็เอามาชมบ้างนะครับ

    ขอบคุณครับ :)

    >>> by MugenTypeR <<<
     
  25. MOO - VTEC

    MOO - VTEC New Member Member

    2,228
    74
    0
    มีวิธีเช็คโค๊ดระบบ ABS และวิธีดูด้วยว่ามันผิดปกติยังไงครับ
    ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
    และอีกอย่าง JASMA มันย่อมาจากอะไรครับ
     
  26. OaT_DBS

    OaT_DBS New Member Moderator

    538
    170
    0
    ข้อมูลจาก http://www.club1500cc.net/forums/index.php?topic=23191.0

    JASMA คือ อะไร ???



    ทำความเข้าใจกันก่อน........

    ๋JASMA ย่อมาจาก The Japan Automotive Muffler Association เปรียบเสมือน หน่วยงานที่คอยกำกับดูแล/ตรวจสอบ/ควบคุม ท่อไอเสียที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยภายใต้ พรบ.จราจรทางบกของญี่ปุ่น




    เริ่ม ใช้เมื่อ ค.ศ.1990 เพื่อแสดงว่า โรงงานผลิตท่อไอเสียที่สมัครใจเข้ารับการตรวจสภาพความดัง ได้ผ่าน "มาตรฐานของ JASMA" และจะมี เลขทะเบียน ปรากฎอยู่ รถทุกประเภท ทุกแบบเครื่องยนต์ ต้องผ่านการตรวจสภาพความดังตามมาตรฐานที่ JASMA กำหนด ซึ่งมาตรฐานความดังสูงสุดที่หน้าเครื่องจะอยู่ที่ 95db(A) และด้านท้ายเครื่องที่ 98db(A) ตาม พรบ.มลภาวะทางเสียง ปี Heisei 10 (ปีของญี่ปุ่น) ค่ามาตรฐานอาจแตกต่างกันที่ ค่ามาตรฐานเสียงสูงสุด (หากท่อไอเสียนั้นได้ผลิตก่อน พรบ.ฯ กำหนด จะสูงสุดที่ 100db(A)) ซึ่งการทดสอบนั้นจะถูกบันทึกลงในฐานของมูลของ JASMA สามารถตรวจสอบที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ




    คล้าย กับเพลทที่ปรากฎอยู่ด้านบน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ.1998 ตามข้อกำหนดนั้น สามารถติดเพลทได้เมื่อผ่านมาตรฐาน JASMA ซึ่งมาตรฐานความดังสูงสุดที่หน้าเครื่องจะอยู่ที่ 95db(A) และด้านท้ายเครื่องที่ 98db(A) ซึ่งเพลท R98 JASMA นั้นอยู่บนพื้นฐานมาตรฐานความปลอดภัยที่ได้แก้ไข พรบ.มลภาวะทางเสียง ในปี Heisei 10




    ผลิตภัณฑ์ หลากชนิดหลั่งไหลเข้าสู่ท้องตลาดหลังจากที่ได้ระงับข้อกำหนด และผู้ผลิต หรืตัวแทนจำหน่าย ที่ผลิตภัณฑ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียน จะติดเพลทชนิดนี้ตามที่สมาชิกของสมาคมได้ลงมติว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม/สมาคม ได้ถูกนำออกมาโดยสมาคม เพลทนี้จะติดให้กับสินค้าที่ตัดสินว่าได้ผ่านมาตรฐานมลภาวะทางเสียง และสมาชิกกลุ่มผ่านมาตรฐานมลภาวะทางเสีย ตามที่รัฐบาลกำหนดในการรับผิดชอบของตนในฐานะผู้ผลิตที่แยกออกจากกลุ่ม/สมาคม




    อ้างอิง: http://www.jasma.org/
     
  27. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    + +มาเสริมความแข็งแรง ให้ยางแท่นเครื่องกันครับ + +

    อย่าปล่อยให้ยางแท่นเครื่องขาดครับ เรามาเสริมความแข็งแรงกัน
    มีประโยชน์ครับ กับรถที่ใช้ครัชทองแดง แรงสั่นสะเทือนจะมีสูง
    ยางแท่นเครื่องเรา อาจจะขาดง่าย หรือ ถ้าสั่นมากๆ เครื่องให้ตัวได้มากๆ ก็
    ไม่ดีแน่ รถธรรมดาก็ทำได้นะครับ ช่วยยืดอายุการใช้งาน ยางแท่นเครื่อง
    ไม่ให้เราต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

    ถ้าเราใช้ยางตัน หรือบูชยูริเทน ก็ดีครับ แต่มันราคาสูง บางทีถ้าใช้
    ในชีวิตประจำวัน รถมันอาจจะสั่นเกินไป เพราะยางแท่นเครื่องให้ตัวได้น้อย
    เราเลยมาทำแบบนี้ประยุกเอากัน

    1.เตรียมเครื่องมือครับ หาสายพาน timing เก่าๆ ก็ได้ ซิลิโคน กรรไกร

    แล้วก็ถอดแท่นเครื่องออกมาซะ อันนี้ รถใครรถมันครับ ไม่เหมือนกัน

    2.จุดที่วง คือจุดที่มันจะขาดครับ ถ้าขาด ก็หลายตังอยู่นะ ยางตัวนึง รีบทำซะก่อนจะสาย
    ถ้ามันขาดแล้ว เปลี่ยนใหม่ก่อนทำนะครับ

    3-4.ล้างทำความสะอาดซะ ไม่งั้น ซิลิโคนมันจะไม่ติดครับ
    รูป


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    5. จุดที่วงนี่หละครับ ที่เรา จะทำให้มันตัน โดยจะยัด สายพานเข้าไป

    [​IMG]

    6.ตัดสายพานครับ กะให้พอดี กับ ขนาดของรู แต่ละอัน มันไม่เท่ากานน
    [​IMG]

    7.ยัดเข้าไปแล้ว เป็นอย่างนี้ ถ้ามันยัดยาก ก้เอาไขขวงแบน กดๆๆ เข้าไปเอา
    [​IMG]

    8.คราวนี้ ก็เอา ซิลิโคน ยิงอัดลงไปซะทิ้งไว้ให้แห้ง เท่านี้ ก็จะกลาย เป็นยางแท่นเครื่องซิ่ง
    [​IMG]
    ที่แข็งแรง ทนทนากว่าเก่า เสริม สมรรถนะการขับขี่อีกด้วยยย

    เสริมนิดนึง ถ้าทำควรมีเวลาให้ซิลิโคนเซ็ตตัวนานๆนะครับ ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันยิ่งดี
    เพราะเราดูข้างนอกแล้ว ซิลิโคนมันแห้ง แต่ข้างในมันยังไม่แห้งครับ

    หลังจากทำได้ซักพัก เป็นที่พอใจครับ ทำแท่นเครื่องแบบนี้ อู่บางอู่ก็รับทำครับ แต่ราคาเอาเรื่องเลย
    ผมลองทำเองเห็นว่ามันไม่น่ายากและใช้งบไม่กี่ตังค์เอง เลยลองเอามาแบ่งปันกันดู ตอนนี้หลังจากทำมานาน
    ออกตัวรถสั่น กึก กึก ตลอด แต่ยางแท่นเครื่อง ยังกิ๊บๆ ครับ :)



    By *+*DOME-VTEC *+*
     
    แก้ไขล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กุมภาพันธ์ 2009
  28. ksaEK97

    ksaEK97 New Member Member

    628
    333
    0
    DIY เปลี่ยนจุกยางซึลแคมฝั่งไอเสีย

    อาการน้ำมันไหลเยิ้มบริเวณฝั่งจานจ่ายโดยเฉพาะบริเวณตามรูป นอกจากจะมาจาก ซีลจานจ่ายแล้วสาเหตุที่เป็นไปได้มากมาจาก จุกยางฝั่งไอเสีย(เฉพาะแคมคู่)เสื่อมสภาพทำให้น้ำมันเครื่องรั่วซึมออกมา ซึ่งสามารถไปเบิกได้ที่ศูนย์ราคาประมาณ 200 บาท ของแต่งก็มีนะ เช่น skunk หรือยี่ห้ออื่นๆ แต่ราคาก็จะแพงกว่าหลายเท่าตัวนะครับ

    อุปกรณ์
    1.ประแจปอนด์
    2.ตัวทีเบอร์ 10
    3.ไขควงปากแบน
    4.กาว ทีบอนด์
    5.จุกยางปิดหัวแคมฝั่งไอเสีย เบิกศูนย์

    [​IMG]

    1.เริ่มจาก ถอดฝาครอบสายหัวเทียนโดยถอดน๊อตตรงกลาง 4 ตัว
    2.ถอดปลั๊กสายหัวเทียนจากรูแต่ละสูบ แล้วเอาไปหลบไว้บริเวณอื่น
    3.ถอดน๊อตที่ฝาครอบวาล์ว 8 ตัว
    4.ถอดฝาครอบวาล์ว
    เสร็จแล้วจะได้ตามรูป และงานต่อไปจะต้องถอดเพลทล็อคประกับแคมด้านบนตามรูปคลายน็อตจนสุดและก็เสียบคาไว้ก่อนเอาไว้เอาออกมาทั้งยวงที่เดียวจะได้กันหายด้วย

    [​IMG]

    ถอดน๊อตประกับแคมซึ่งตอนถอดก็คลายตามรูปไขว้ไปมาจากในออกนอกตามตำราที่เขาแนะนำไว้

    [​IMG]

    พอถอดเพลทล็อคประกับแคมแล้ว ประกับแคมอันซ้ายมือสุดคืออันที่จะต้องถอดอันเดียวซึ่งมีจุกยางติดอยู่

    [​IMG]

    จะได้ตามรูปหลังจากถอดประกับแคมอันซ้ายแล้ว

    [​IMG]

    สิ่งที่ถอดออกมาแล้วก็เอามาวางเรียงกันไว้กันสูญหาย
    จากรูปจะเห็นจุกยางอันเก่าและอันใหม่ที่จะต้องใส่เข้าไปแทน

    [​IMG]

    ทากาวทีบอนด์ที่จุกยาง และร่องประกับก่อนประกอบกลับเข้าไป

    [​IMG]

    ประกบประกับแคมอันซ้ายสุดกลับเข้าไป

    [​IMG]

    ประกอบเพลทล็อคประกับแคมกลับเข้าไปขันเข้าจากในออกนอกแบบไขว้เหมือนตอนถอดโดยน๊อต 10 ตัวตรงกลางใช้ทอล์ค 20 ft.lbs ส่วน 4 ตัวเล็กด้านนอกใช้ทอล์ค 7 ft.lbs ตามตำรากำหนดไว้โดยค่อยๆ ไล่จากปอนด์น้อยๆ ก่อนหลายๆรอบ

    หลังจากนั้นก็ประกอบฝาครอบวาล์วกลับเป็นอันเสร็จสิ้นครับ พร้อมออกไปซิ่งได้ที่นี้ก็ไม่มีน้ำมันไหลเยิ้มแล้วครับ

    [​IMG]

    by RTNET
     
  29. earth_ek96

    earth_ek96 New Member Member

    513
    9
    0
    สุดยอดความรู้ครับขอบคุณครับ
     
  30. MOO - VTEC

    MOO - VTEC New Member Member

    2,228
    74
    0
    ขอรหัสกล่อง ECU ของฮอนด้าแต่ละรุ่นด้วยครับ
    ขอบคุณครับ
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้