เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Motorsport Forum
>
Formula 1
>
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถ Formula 1
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="TUMKUNG_naraka, post: 769466, member: 31393"]<font size="4"><b>การฝึกซ้อม และ ลงแข่งรอบคัดเลือก (Practice and qualifying)</b></font></p><p><br /></p><p>ในการแข่งขันแต่ละสนาม นักแข่งแต่ละคน จะได้รับอนุญาตให้นำรถลงฝึกซ้อมได้ไม่นับรวมการแข่งขันจริงคนละ 6 ครั้งด้วยกัน แบ่งเป็น ซ้อม 2 ครั้งๆละ 1 ชั่วโมงในวันศุกร์ (ยกเว้น โมนาโก กรังด์ปรีซ์ ที่จะเป็นวันพฤหัสบดี) และซ้อมอีก 2 ครั้งๆละ 45 นาทีในวันเสาร์ บวกกับ 1 รอบคัดเลือกวันเสาร์ และอีก 1 รอบคัดเลือกวันอาทิตย์</p><p><br /></p><p>หากนักแข่งคนใดไม่ต้องการนำลงรถทำการฝึกซ้อม ไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดกติกาแต่อย่างใด แต่สำหรับรอบคัดเลือกนั้น จะต้องเข้าร่วมทุกคน โดยในรอบคัดเลือกนั้น นักแข่งจะต้องพยายามทำเวลาให้ดีที่สุดในรอบที่เรียกว่า ฟลายอิ้งแล็บ (flying lap) โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะนำ flying lap จากวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ มาใช้ในการจัดลำดับการออกสตาร์ทในวันแข่งจริง</p><p><br /></p><p>สำหรับลำดับการวิ่งในรอบคัดเลือกนั้น จะแตกต่างกันสำหรับวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ โดยวันเสาร์นั้นจะใช้อันดับจากการแข่งขันในสนามก่อนหน้านี้ โดยผู้ทำอันดับดีที่สุดจะได้สิทธิ์ลงทำเวลารอบคัดเลือกก่อน ขณะที่วันอาทิตย์ จะสลับให้ผู้ทำเวลาแย่ที่สุดในวันเสาร์ ได้ลงทดสอบเวลาเป็นคันแรกบ้าง ทั้งนี้ในการแข่งขันรอบคัดเลือก นักแข่งจะโดนแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยๆ โดยแต่ละกลุ่มย่อยจะมีนักแข่งกลุ่มละ 5 คนด้วยกัน</p><p><br /></p><p>กติกายังระบุไว้อีกว่าในการทำเวลารอบคัดเลือกนั้น จะไม่อนุญาตให้มีรถ 2 คันลงทำเวลา flying lap ได้พร้อมกัน นอกจากนี้หากแข่งคนไหนไม่สามารถนำรถออกจากพิตได้เมื่อถึงกำหนด จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งรอบคัดเลือกในช่วงนั้นทันที</p><p><br /></p><p>สำหรับนักแข่งที่รถมีปัญหาในจังหวะที่อยู่ในช่วง out-lap (ในการวิ่งรอบคัดเลือกจะถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกันก็คือ in-lap, flying-lap และ out-lap) ให้ถือว่าต้องออกจากการคัดเลือกในช่วงนั้นทันที และนักแข่งคนถัดไปจะนำรถลงสนามได้ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณจากเจ้าหน้าที่สนาม </p><p><br /></p><p>ขั้นตอนการออกสตาร์ท (Race start procedure)</p><p>นักแข่งทุกคนและทีมแข่งทุกทีม จะต้องปฏิบัติตามกติการอย่างเคร่งครัดสำหรับขั้นตอนการออกสตาร์ท </p><p><br /></p><p>โดยปกติแล้ว การเตรียมตัวสำหรับการออกสตาร์ทจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งนักแข่งแต่ละคนจะมีโอกาสได้ทดสอบความพร้อมเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะนำรถไปประจำตำแหน่งออกสตาร์ทของตัวเอง โดยหากนักแข่งคนไหนต้องการทดสอบรถเพิ่มเติม และจำต้องวิ่งผ่านกลุ่มรถที่อยู่ที่กริด (ตำแหน่งออกสตาร์ท) ให้นักแข่งคนนั้นนำรถวิ่งผ่านพิตเลนทุกครั้ง</p><p><br /></p><p>ก่อนหน้าที่ฟอร์เมชั่น แล็ป จะเริ่มต้นขึ้น พิตเลน จะถูกปิดเป็นเวลา 15 นาที หากนักแข่งคนไหนยังอยู่ในพิตเลน ใหถือว่านักแข่งคนนั้นจะต้องออกสตาร์ทจากพิตเลนแทน </p><p><br /></p><p>10 นาทีก่อนออกสตาร์ทจริง ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องยกเว้นเจ้าหน้าที่ทีม, คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และ นักแข่ง จะถูกกันออกจากกริดสตาร์ท และขณะที่เหลือเวลาอีก 5 นาทีนั้น รถทุกคันต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการออกสตาร์ท หากรถมีปัญหาเกิดขึ้น ให้นักแข่งนำรถไปต่อท้ายแถว หรือ ให้ออกสตาร์ทจากพิตเลนแทน</p><p><br /></p><p>ขณะที่เหลืออีก 1 นาที รถทุกคันจะต้องติดเครื่องยนต์ให้พร้อม และขณะที่เหลือเวลา 15 วินาทีโดยประมาณก่อนไฟเขียวจะติด ผู้ที่อยู่ในสนามยกเว้นนักแข่งจะต้องออกจากสนาม</p><p><br /></p><p>เสี้ยววินาทีที่ไฟเขียวออกสตาร์ทจะกระพริบนั้น หากนักแข่งคนใดเกิดเหตุสุดวิสัย จะต้องยกมือแจ้งเหตุทันที โดยหลังจากรถทุกคันได้สตาร์ทจากกริดไปแล้ว เจ้าหน้าที่สนามจะรีบนำรถคันดังกล่าวกลับไปที่พิตเลน ในช่วงนี้หากนักแข่งสามารถสตาร์ทรถได้ใหม่ขณะยังไม่เข้าพิต ก็จะได้รับอนุญาตให้แข่งต่อไปได้ทันที </p><p><br /></p><p>ในระหว่างที่อยู่ในฟอร์เมชั่นแล็ปนั้น ห้ามไม่ให้มีการแซงกันเป็นอันขาด เว้นเสียแต่ว่าจะมีรถที่เกิดเหตุขัดข้องเกิดขึ้น รถคันหลังที่ตามมาถึงจะสามารถแซงผ่านไปได้ เช่นเดียวกันหากรถที่เกิดปัญหาสามารถวิ่งต่อไปได้ ก็จะได้รับอนุญาตให้แซงหน้าเพื่อกลับไปอยู่ในตำแหน่งออกจากกริดสตาร์ทตามเดิม</p><p><br /></p><p>เรื่องของสภาพอากาศก็มีผลต่อการออกสตาร์ทเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นหากว่ามีฝนตกเกิดขึ้นก่อนการออกสตาร์ท 5 นาที ทีมแข่งแต่ละทีมก็จะได้เวลาพิเศษ 15 นาทีโดยประมาณเพื่อสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ยางที่เหมาะสม </p><p><br /></p><p>หากว่าสภาพอากาศอยู่ในขั้นที่วิกฤติ หรือ เลวร้ายสุดๆ ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน อาจจะตัดสินใจยกเลิกขั้นตอนการออกสตาร์ท และอาจตัดสินให้กลับมาออกสตาร์ทกันใหม่หากว่าสภาพอากาศกลับสู่สภาวะปกติ นอกจากนี้ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน อาจจะยอมให้มีการออกสตาร์ทกันโดยมีรถเซฟตี้คาร์วิ่งนำหน้าได้เช่นกัน</p><p><br /></p><p>รถเซฟตี้ คาร์ (Safety car)</p><p>รถเซฟตี้ คาร์นั้น ชื่อของมันก็บอกหน้าที่ และ ความหมายไว้อย่างชัดเจนดีอยู่แล้ว ก็คือมีหน้าที่ช่วยให้สนามแข่งขันอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และ ปลอดภัยสำหรับการแข่งขันตลอดโปรแกรมการแข่ง ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถเซฟตี้ คาร์ มักจะเป็นอดีตนักแข่งรถที่มากไปด้วยประสบการณ์ โดยบนรถเซฟตี้ คาร์ นี้ จะมีผู้สังเกตุการณ์การแข่งจาก FIA นั่งควบคู่ไปด้วย และ จะทำการรายงานผ่านวิทยุสื่อสารทันทีหากว่ามีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น </p><p><br /></p><p>ทั้งนี้หากมีอุบัติเหตุที่ไม่ร้ายแรงเกิดขึ้นถึงกับต้องยกเลิกการแข่งขัน แต่อาจจะดูหนักกว่าการใช้ธงเหลือง รถเซฟตี้ คาร์ ก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในทันที เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้นักแข่งที่อยู่ในสนามชะลอความเร็วของรถลง</p><p><br /></p><p>ในช่วงของฟอร์เมชั่น แล็ป รถเซฟตี้ คาร์ จะวิ่งนำหน้าขบวน โดยรถที่ตามกันมานั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการแซงกัน โดยหากไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น รถเซฟตี้ คาร์ จะส่งสัญญาณพร้อมไปที่ข้างสนาม เพื่อเป็นสัญญาณให้รถที่วิ่งตามหลังกันมาสามารถแซงขึ้นหน้าไปได้</p><p><br /></p><p>นอกจากนี้ หากสภาพอากาศไม่ปกติ รถเซฟตี้ คาร์ จะต้องลงมาวิ่งนำหน้ารถทุกคนในสนาม เช่นเดียวกับที่รอบทุกรอบที่มีรถเซฟตี้ คาร์ วิ่งนำหน้า ให้ถือเป็นการนับรอบโดยปกติ</p><p><br /></p><p>การตรวจสอบ และ ชั่งน้ำหนัก (Scrutineering and weighing)</p><p>รถทุกคันจะต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อดูว่าเป็นไปตามข้อบังคับ และ กติกาที่ตกลงกันไว้หรือเปล่า โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน มีสิทธิ์เรียกตรวจสอบรถทุกคันได้ในทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ</p><p><br /></p><p>โดยปกติแล้ว รถทุกคันจะได้รับการตรวจสอบหลังการประชุมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในวันพฤหัสบดี (อาจจะเป็นวันพุธ หากเป็นรายการ โมนาโก กรังด์ปรีซ์) และในระหว่างที่ทำการตรวจสอบ จะห้ามไม่ให้นำรถออกจากจุดตรวจเพื่อกระทำการอื่นเป็นอันขาด </p><p><br /></p><p>นอกเหนือจากการตรวจสอบ ถอดชิ้นส่วนต่างเช็คดูความเรียบร้อยแล้ว การชั่งน้ำหนัก ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่รถทุกคันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (โดยปกติแล้ว น้ำหนักรถ+น้ำหนักนักแข่งจะอยู่ที่ต่ำสุดไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัม และอาจเพิ่มเป็น 605 กิโลกรัมในช่วงของการวิ่งรอบคัดเลือก)</p><p><br /></p><p>หากรถคันใดมีน้ำหนักต่ำกว่าที่กำหนด ก็อาจจะถูกยกเลิกเวลาในรอบคัดเลือก และอาจจะหนักถึงขั้นให้พ้นจากการแข่งขันในสนามนั้นๆ </p><p><br /></p><p>รถสำรอง และ เครื่องยนต์ (Spare cars and engines)</p><p><br /></p><p>ในกติกาที่ FIA บัญญัติเอาไว้นั้น เขียนไว้อย่างชัดเจนว่านักแข่งแต่ละคน จะมีรถสำหรับการฝึกซ้อม,ทดสอบ,ลงแข่ง ได้คนละไม่เกิน 4 คันโดยทั่วไปแล้วทีมแข่งมักจะนำรถสำรองพ่วงมาด้วย โดยนักแข่งแต่ละคนจะมีรถสำรองของตัวเองคนละ 1 คัน ซึ่งในการจะใช้รถสำรองเหล่านี้ ก็ยังมีข้อบังคับตามมาอีกมากมาย</p><p><br /></p><p>ก่อนหน้าที่จะลงทดสอบเวลารอบคัดเลือกวันแรกนั้น นักแข่งแต่ละคนจำเป็นต้องระบุรถที่จะใช้จริง และ สำรอง รวมทั้งสิ้น 2 คันไว้อย่างชัดเจน</p><p><br /></p><p>หากนักแข่งรายใดจำเป็นต้องนำรถสำรองออกมาใช้หลังจากการวิ่งรอบคัดเลือกผ่านพ้นไปแล้ว นักแข่งรายนั้นจะต้องไปออกสตาร์ทจริงจากพิตเลนแทน </p><p><br /></p><p>และเมื่อการแข่งขันจริงเริ่มต้นไปแล้ว นักแข่งจะไม่สามารถสลับไปใช้รถสำรองได้อีก ไม่ว่าจะในกรณีใดๆก็ตาม</p><p><br /></p><p>ในส่วนของเครื่องยนต์ก็มีข้อบังคับที่ควรรู้ และ ศึกษาไว้เช่นกัน กล่าวคือ นักแข่งทุกคนจะสามารถใช้เครื่องยนต์ได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นสำหรับการแข่งขัน 2 รายการติดต่อกัน หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์จริงๆ และต้องเปลี่ยนก่อนหน้าที่จะมีการวิ่งรอบคัดเลือกวันแรก นักแข่งรายดังกล่าวจะต้องโดนปรับอันดับในการออกสตาร์ทจริงจากเดิมลงไปอีก 10 อันดับ </p><p><br /></p><p>หากนักแข่งรายใด ต้องการเปลี่ยนเครื่องหลังจากการทดสอบเวลาวันแรกผ่านพ้นไปแล้ว นักแข่งรายนั้นจะต้องไปต่อท้ายขบวนโดยอัตโนมัติในการออกสตาร์ทการแข่งขันจริง</p><p><br /></p><p>สำหรับนักแข่งที่ต้องออกจากการแข่งขันกลางคัน นักแข่งรายนั้นจะสามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการทำผิดกติกาแต่อย่างใด </p><p><br /></p><p>การยกเลิกการแข่งขันกลางคัน และ การกลับมาแข่งขันต่อหลังเกิดเหตุใดให้ต้องระงับไป (Suspending and resuming a race)</p><p><br /></p><p>หากการแข่งขันจำเป็นต้องยกเลิก หรือ ยุติ เพราะมีอุบัติเหตุหนัก หรือ เพราะสภาพสนามแข่งชำรุดเสียหาย ธงแดงจะถูกโบกสะบัดให้นักแข่งได้รู้ โดยนักแข่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการแซงกันได้ในระหว่างที่มีธงแดง ขณะเดียวกันทางออกของพิตเลนจะถูกปิดชั่วคราว </p><p><br /></p><p>ในกรณีที่นักแข่งคนใดพยายามฝ่าฝืนกติกา ด้วยการแซงรถคันอื่นในขณะที่มีธงแดงเกิดขึ้นนั้น นักแข่งรายดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษด้วยกฏ drive-through penalty </p><p><br /></p><p>เมื่อมีธงแดง รถเซฟตี้ คาร์ จะกลับสู่สนาม และ วิ่งน้ำหน้ารถทุกคัน ขณะเดียวกันหากรถคันใดจำเป็นต้องมีการซ่อมแซม หรือ ปรับเปลี่ยนใดๆ เจ้าหน้าที่ทีมจะสามารถลงมาดูแลรถดังกล่าวถึงขอบสนามได้โดยไม่ผิดกติกา แต่ห้ามไม่ให้มีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่เป็นอันขาด</p><p><br /></p><p>อย่างไรก็ดีหากมีรถคันไหนที่บังเอิญอยู่ในพิตพอดีกับจังหวะที่มีธงแดงเกิดขึ้น รถคันนั้นยังสามารถเติมน้ำมันได้ตามปกติ[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="TUMKUNG_naraka, post: 769466, member: 31393"][SIZE="4"][B]การฝึกซ้อม และ ลงแข่งรอบคัดเลือก (Practice and qualifying)[/B][/SIZE] ในการแข่งขันแต่ละสนาม นักแข่งแต่ละคน จะได้รับอนุญาตให้นำรถลงฝึกซ้อมได้ไม่นับรวมการแข่งขันจริงคนละ 6 ครั้งด้วยกัน แบ่งเป็น ซ้อม 2 ครั้งๆละ 1 ชั่วโมงในวันศุกร์ (ยกเว้น โมนาโก กรังด์ปรีซ์ ที่จะเป็นวันพฤหัสบดี) และซ้อมอีก 2 ครั้งๆละ 45 นาทีในวันเสาร์ บวกกับ 1 รอบคัดเลือกวันเสาร์ และอีก 1 รอบคัดเลือกวันอาทิตย์ หากนักแข่งคนใดไม่ต้องการนำลงรถทำการฝึกซ้อม ไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดกติกาแต่อย่างใด แต่สำหรับรอบคัดเลือกนั้น จะต้องเข้าร่วมทุกคน โดยในรอบคัดเลือกนั้น นักแข่งจะต้องพยายามทำเวลาให้ดีที่สุดในรอบที่เรียกว่า ฟลายอิ้งแล็บ (flying lap) โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะนำ flying lap จากวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ มาใช้ในการจัดลำดับการออกสตาร์ทในวันแข่งจริง สำหรับลำดับการวิ่งในรอบคัดเลือกนั้น จะแตกต่างกันสำหรับวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ โดยวันเสาร์นั้นจะใช้อันดับจากการแข่งขันในสนามก่อนหน้านี้ โดยผู้ทำอันดับดีที่สุดจะได้สิทธิ์ลงทำเวลารอบคัดเลือกก่อน ขณะที่วันอาทิตย์ จะสลับให้ผู้ทำเวลาแย่ที่สุดในวันเสาร์ ได้ลงทดสอบเวลาเป็นคันแรกบ้าง ทั้งนี้ในการแข่งขันรอบคัดเลือก นักแข่งจะโดนแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยๆ โดยแต่ละกลุ่มย่อยจะมีนักแข่งกลุ่มละ 5 คนด้วยกัน กติกายังระบุไว้อีกว่าในการทำเวลารอบคัดเลือกนั้น จะไม่อนุญาตให้มีรถ 2 คันลงทำเวลา flying lap ได้พร้อมกัน นอกจากนี้หากแข่งคนไหนไม่สามารถนำรถออกจากพิตได้เมื่อถึงกำหนด จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งรอบคัดเลือกในช่วงนั้นทันที สำหรับนักแข่งที่รถมีปัญหาในจังหวะที่อยู่ในช่วง out-lap (ในการวิ่งรอบคัดเลือกจะถูกแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกันก็คือ in-lap, flying-lap และ out-lap) ให้ถือว่าต้องออกจากการคัดเลือกในช่วงนั้นทันที และนักแข่งคนถัดไปจะนำรถลงสนามได้ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณจากเจ้าหน้าที่สนาม ขั้นตอนการออกสตาร์ท (Race start procedure) นักแข่งทุกคนและทีมแข่งทุกทีม จะต้องปฏิบัติตามกติการอย่างเคร่งครัดสำหรับขั้นตอนการออกสตาร์ท โดยปกติแล้ว การเตรียมตัวสำหรับการออกสตาร์ทจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งนักแข่งแต่ละคนจะมีโอกาสได้ทดสอบความพร้อมเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะนำรถไปประจำตำแหน่งออกสตาร์ทของตัวเอง โดยหากนักแข่งคนไหนต้องการทดสอบรถเพิ่มเติม และจำต้องวิ่งผ่านกลุ่มรถที่อยู่ที่กริด (ตำแหน่งออกสตาร์ท) ให้นักแข่งคนนั้นนำรถวิ่งผ่านพิตเลนทุกครั้ง ก่อนหน้าที่ฟอร์เมชั่น แล็ป จะเริ่มต้นขึ้น พิตเลน จะถูกปิดเป็นเวลา 15 นาที หากนักแข่งคนไหนยังอยู่ในพิตเลน ใหถือว่านักแข่งคนนั้นจะต้องออกสตาร์ทจากพิตเลนแทน 10 นาทีก่อนออกสตาร์ทจริง ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องยกเว้นเจ้าหน้าที่ทีม, คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และ นักแข่ง จะถูกกันออกจากกริดสตาร์ท และขณะที่เหลือเวลาอีก 5 นาทีนั้น รถทุกคันต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการออกสตาร์ท หากรถมีปัญหาเกิดขึ้น ให้นักแข่งนำรถไปต่อท้ายแถว หรือ ให้ออกสตาร์ทจากพิตเลนแทน ขณะที่เหลืออีก 1 นาที รถทุกคันจะต้องติดเครื่องยนต์ให้พร้อม และขณะที่เหลือเวลา 15 วินาทีโดยประมาณก่อนไฟเขียวจะติด ผู้ที่อยู่ในสนามยกเว้นนักแข่งจะต้องออกจากสนาม เสี้ยววินาทีที่ไฟเขียวออกสตาร์ทจะกระพริบนั้น หากนักแข่งคนใดเกิดเหตุสุดวิสัย จะต้องยกมือแจ้งเหตุทันที โดยหลังจากรถทุกคันได้สตาร์ทจากกริดไปแล้ว เจ้าหน้าที่สนามจะรีบนำรถคันดังกล่าวกลับไปที่พิตเลน ในช่วงนี้หากนักแข่งสามารถสตาร์ทรถได้ใหม่ขณะยังไม่เข้าพิต ก็จะได้รับอนุญาตให้แข่งต่อไปได้ทันที ในระหว่างที่อยู่ในฟอร์เมชั่นแล็ปนั้น ห้ามไม่ให้มีการแซงกันเป็นอันขาด เว้นเสียแต่ว่าจะมีรถที่เกิดเหตุขัดข้องเกิดขึ้น รถคันหลังที่ตามมาถึงจะสามารถแซงผ่านไปได้ เช่นเดียวกันหากรถที่เกิดปัญหาสามารถวิ่งต่อไปได้ ก็จะได้รับอนุญาตให้แซงหน้าเพื่อกลับไปอยู่ในตำแหน่งออกจากกริดสตาร์ทตามเดิม เรื่องของสภาพอากาศก็มีผลต่อการออกสตาร์ทเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นหากว่ามีฝนตกเกิดขึ้นก่อนการออกสตาร์ท 5 นาที ทีมแข่งแต่ละทีมก็จะได้เวลาพิเศษ 15 นาทีโดยประมาณเพื่อสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ยางที่เหมาะสม หากว่าสภาพอากาศอยู่ในขั้นที่วิกฤติ หรือ เลวร้ายสุดๆ ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน อาจจะตัดสินใจยกเลิกขั้นตอนการออกสตาร์ท และอาจตัดสินให้กลับมาออกสตาร์ทกันใหม่หากว่าสภาพอากาศกลับสู่สภาวะปกติ นอกจากนี้ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน อาจจะยอมให้มีการออกสตาร์ทกันโดยมีรถเซฟตี้คาร์วิ่งนำหน้าได้เช่นกัน รถเซฟตี้ คาร์ (Safety car) รถเซฟตี้ คาร์นั้น ชื่อของมันก็บอกหน้าที่ และ ความหมายไว้อย่างชัดเจนดีอยู่แล้ว ก็คือมีหน้าที่ช่วยให้สนามแข่งขันอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และ ปลอดภัยสำหรับการแข่งขันตลอดโปรแกรมการแข่ง ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถเซฟตี้ คาร์ มักจะเป็นอดีตนักแข่งรถที่มากไปด้วยประสบการณ์ โดยบนรถเซฟตี้ คาร์ นี้ จะมีผู้สังเกตุการณ์การแข่งจาก FIA นั่งควบคู่ไปด้วย และ จะทำการรายงานผ่านวิทยุสื่อสารทันทีหากว่ามีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น ทั้งนี้หากมีอุบัติเหตุที่ไม่ร้ายแรงเกิดขึ้นถึงกับต้องยกเลิกการแข่งขัน แต่อาจจะดูหนักกว่าการใช้ธงเหลือง รถเซฟตี้ คาร์ ก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในทันที เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้นักแข่งที่อยู่ในสนามชะลอความเร็วของรถลง ในช่วงของฟอร์เมชั่น แล็ป รถเซฟตี้ คาร์ จะวิ่งนำหน้าขบวน โดยรถที่ตามกันมานั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการแซงกัน โดยหากไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น รถเซฟตี้ คาร์ จะส่งสัญญาณพร้อมไปที่ข้างสนาม เพื่อเป็นสัญญาณให้รถที่วิ่งตามหลังกันมาสามารถแซงขึ้นหน้าไปได้ นอกจากนี้ หากสภาพอากาศไม่ปกติ รถเซฟตี้ คาร์ จะต้องลงมาวิ่งนำหน้ารถทุกคนในสนาม เช่นเดียวกับที่รอบทุกรอบที่มีรถเซฟตี้ คาร์ วิ่งนำหน้า ให้ถือเป็นการนับรอบโดยปกติ การตรวจสอบ และ ชั่งน้ำหนัก (Scrutineering and weighing) รถทุกคันจะต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อดูว่าเป็นไปตามข้อบังคับ และ กติกาที่ตกลงกันไว้หรือเปล่า โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน มีสิทธิ์เรียกตรวจสอบรถทุกคันได้ในทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ โดยปกติแล้ว รถทุกคันจะได้รับการตรวจสอบหลังการประชุมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในวันพฤหัสบดี (อาจจะเป็นวันพุธ หากเป็นรายการ โมนาโก กรังด์ปรีซ์) และในระหว่างที่ทำการตรวจสอบ จะห้ามไม่ให้นำรถออกจากจุดตรวจเพื่อกระทำการอื่นเป็นอันขาด นอกเหนือจากการตรวจสอบ ถอดชิ้นส่วนต่างเช็คดูความเรียบร้อยแล้ว การชั่งน้ำหนัก ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่รถทุกคันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (โดยปกติแล้ว น้ำหนักรถ+น้ำหนักนักแข่งจะอยู่ที่ต่ำสุดไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัม และอาจเพิ่มเป็น 605 กิโลกรัมในช่วงของการวิ่งรอบคัดเลือก) หากรถคันใดมีน้ำหนักต่ำกว่าที่กำหนด ก็อาจจะถูกยกเลิกเวลาในรอบคัดเลือก และอาจจะหนักถึงขั้นให้พ้นจากการแข่งขันในสนามนั้นๆ รถสำรอง และ เครื่องยนต์ (Spare cars and engines) ในกติกาที่ FIA บัญญัติเอาไว้นั้น เขียนไว้อย่างชัดเจนว่านักแข่งแต่ละคน จะมีรถสำหรับการฝึกซ้อม,ทดสอบ,ลงแข่ง ได้คนละไม่เกิน 4 คันโดยทั่วไปแล้วทีมแข่งมักจะนำรถสำรองพ่วงมาด้วย โดยนักแข่งแต่ละคนจะมีรถสำรองของตัวเองคนละ 1 คัน ซึ่งในการจะใช้รถสำรองเหล่านี้ ก็ยังมีข้อบังคับตามมาอีกมากมาย ก่อนหน้าที่จะลงทดสอบเวลารอบคัดเลือกวันแรกนั้น นักแข่งแต่ละคนจำเป็นต้องระบุรถที่จะใช้จริง และ สำรอง รวมทั้งสิ้น 2 คันไว้อย่างชัดเจน หากนักแข่งรายใดจำเป็นต้องนำรถสำรองออกมาใช้หลังจากการวิ่งรอบคัดเลือกผ่านพ้นไปแล้ว นักแข่งรายนั้นจะต้องไปออกสตาร์ทจริงจากพิตเลนแทน และเมื่อการแข่งขันจริงเริ่มต้นไปแล้ว นักแข่งจะไม่สามารถสลับไปใช้รถสำรองได้อีก ไม่ว่าจะในกรณีใดๆก็ตาม ในส่วนของเครื่องยนต์ก็มีข้อบังคับที่ควรรู้ และ ศึกษาไว้เช่นกัน กล่าวคือ นักแข่งทุกคนจะสามารถใช้เครื่องยนต์ได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นสำหรับการแข่งขัน 2 รายการติดต่อกัน หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์จริงๆ และต้องเปลี่ยนก่อนหน้าที่จะมีการวิ่งรอบคัดเลือกวันแรก นักแข่งรายดังกล่าวจะต้องโดนปรับอันดับในการออกสตาร์ทจริงจากเดิมลงไปอีก 10 อันดับ หากนักแข่งรายใด ต้องการเปลี่ยนเครื่องหลังจากการทดสอบเวลาวันแรกผ่านพ้นไปแล้ว นักแข่งรายนั้นจะต้องไปต่อท้ายขบวนโดยอัตโนมัติในการออกสตาร์ทการแข่งขันจริง สำหรับนักแข่งที่ต้องออกจากการแข่งขันกลางคัน นักแข่งรายนั้นจะสามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการทำผิดกติกาแต่อย่างใด การยกเลิกการแข่งขันกลางคัน และ การกลับมาแข่งขันต่อหลังเกิดเหตุใดให้ต้องระงับไป (Suspending and resuming a race) หากการแข่งขันจำเป็นต้องยกเลิก หรือ ยุติ เพราะมีอุบัติเหตุหนัก หรือ เพราะสภาพสนามแข่งชำรุดเสียหาย ธงแดงจะถูกโบกสะบัดให้นักแข่งได้รู้ โดยนักแข่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการแซงกันได้ในระหว่างที่มีธงแดง ขณะเดียวกันทางออกของพิตเลนจะถูกปิดชั่วคราว ในกรณีที่นักแข่งคนใดพยายามฝ่าฝืนกติกา ด้วยการแซงรถคันอื่นในขณะที่มีธงแดงเกิดขึ้นนั้น นักแข่งรายดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษด้วยกฏ drive-through penalty เมื่อมีธงแดง รถเซฟตี้ คาร์ จะกลับสู่สนาม และ วิ่งน้ำหน้ารถทุกคัน ขณะเดียวกันหากรถคันใดจำเป็นต้องมีการซ่อมแซม หรือ ปรับเปลี่ยนใดๆ เจ้าหน้าที่ทีมจะสามารถลงมาดูแลรถดังกล่าวถึงขอบสนามได้โดยไม่ผิดกติกา แต่ห้ามไม่ให้มีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่เป็นอันขาด อย่างไรก็ดีหากมีรถคันไหนที่บังเอิญอยู่ในพิตพอดีกับจังหวะที่มีธงแดงเกิดขึ้น รถคันนั้นยังสามารถเติมน้ำมันได้ตามปกติ[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Motorsport Forum
>
Formula 1
>
ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถ Formula 1
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...