เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Toyota Car Clubs
>
RT Club
>
มีข่าวมาฝากเกี่ยวกับ ปตท.
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="rv26, post: 1037423, member: 2770"]เจาะลึกขุมทรัพย์พลังงาน ปตท.หมกเม็ดคนไทย! อุ้ม 'บอร์ด-พลพรรค'รวยอื้อ</p><p> </p><p><br /></p><p>โดย ผู้จัดการ 360&deg; รายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2552 09:03 น.</p><p><br /></p><p> </p><p><br /></p><p> </p><p><br /></p><p> </p><p><br /></p><p> </p><p><br /></p><p> เกาะติดธุรกิจพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาล</p><p> ภายใต้กลไก ของ ปตท.ที่มี นักการเมือง-บิ๊กข้าราชการไม่กี่คนเป็นผู้คุมชะตาชีวิตคนไทย</p><p> หลายคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน?</p><p> จนกลายเป็นเรื่องเหลือเชื่อ !ที่ต่างชาติซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทยได้ถูกกว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศ</p><p> ทั้งที่ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่ส่งผลให้ไทย มีตัวเลขส่งออกพลังงานเป็นอันดับ 1 ของสินค้าส่งออกอยู่หลายปี</p><p> ส.ว.สายเอ็นจิโอ เตรียมขับเคลื่อนทวงคืนผลประโยชน์ชาติจากปตท.อีกครั้งหนึ่งมูลค่านับแสนล้านบาท......</p><p> </p><p> สำหรับประชาชนคนไทยแล้ว คงไม่มีเรื่องไหนที่ทำให้ต้องเจ็บปวดแบบหนักหนาสาหัสเท่ากับการที่ต้องมานั่งซื้อน้ำมัน และไฟฟ้าราคาแพงใช้ ทั้งๆ ที่ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานของไทยนั้นมีอยู่จำนวนมาก จนกระทั่งไทยมีตัวเลขส่งออกพลังงานเป็นอันดับ 1 ของสินค้าส่งออกอยู่หลายปี อย่างปี 2550 ไทยส่งออกน้ำมันดิบสูงถึง 78 ล้านบาร์เรล แถมด้วยการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในประเทศไทยที่ลงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นระยะๆ</p><p> </p><p> รันทดคนไทยซื้อน้ำมัน</p><p> แพงกว่าต่างชาติ</p><p> </p><p> ที่น่าเจ็บใจคือ คนไทยก็ยังไม่รู้ว่า ต่างชาติสามารถซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นในประเทศไทยได้ในราคาที่ถูกกว่าที่คนไทยซื้อเสียอีก</p><p> </p><p> แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า เหตุผลที่คนไทยต้องซื้อแพงเนื่องเพราะภาครัฐได้กำหนดให้โรงกลั่นไทยขายน้ำมันสำเร็จรูปให้คนไทยตามราคาตลาดสิงค์โปร์ ซึ่งต้องบวกค่าโสหุ้ยในการขนส่ง และค่าประกันภัยจากสิงคโปร์มาไทยด้วย ราคาดังกล่าวจึงเทียบเท่าการนำเข้าทั้งที่ไม่ได้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเลย</p><p> </p><p> ในทางกลับกันโรงกลั่นไทยส่งออกน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่า คือใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ นอกจากจะไม่บวกค่าขนส่งและค่าประกันภัยแล้ว ยังสามารถลบค่าโสหุ้ยในการขนส่งและค่าประกันภัยลงอีก เพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดสิงคโปร์</p><p> </p><p> อีกทั้งที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลยังเอื้อผลประโยชน์ให้กับปตท.ในการรับซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากปากหลุม ราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลกจำนวนมากอีกด้วย</p><p> </p><p> 'ปตท.มีอำนาจซื้อจากปากหลุมได้รายเดียวเพราะท่อส่งจากอ่าวไทยหรือทะเลมายังโรงแยกเป็นของปตท. จึงซื้อได้ในราคาถูก จากนั้น ปตท.ก็ทำสินค้าราคาตลาดโลกมาขายคืนให้ประชาชน ปัญหาคือส่วนต่างตรงนี้ไปอยู่กับใคร เดิมรัฐลงทุนท่อส่งมหาศาลก็เพื่อให้ปตท.ซื้อในราคาต่ำ เพื่อนำน้ำมันมาขายในราคาต่ำๆให้ประชาชน แต่เพราะปตท.แปรรูปไปแล้วจึงต้องการทำกำไรให้ผู้ถือหุ้น ก็เลยทำให้ราคาน้ำมัน และก๊าซเทียบราคาตลาดโลก เพื่อให้ได้กำไรสูงๆ ประชาชนก็ถูกเอาเปรียบทั้งๆ ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติเป็นของประชาชนเอง'</p><p> </p><p> คำถามคือทรัพยากรด้านพลังงานของคนไทยนี้มีจำนวนมหาศาล เกินความต้องการใช้ แถมมีเหลือเพื่อส่งออกเสียอีก แต่ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่มีราคาแพงกว่าราคาตลาดโลกที่แพงหูฉี่?</p><p> </p><p> ประเด็นปัญหาดังกล่าว แหล่งข่าวอธิบายว่า เป็นเพราะทรัพยากรของไทยได้ถูกเปลี่ยนมือจากองค์กรรัฐวิสาหกิจไปสู่มือบริษัทเอกชนที่แปรรูปไปแล้วอย่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในราคาถูกๆ เพราะรัฐ แถมด้วยกระบวนการฮั้วอย่างเต็มรูปแบบของ 3 ฝ่ายคือ บริษัทเอกชน (ปตท.) ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และนักการเมือง ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ช่วยเหลือ ปตท. จนปตท.กลายเป็นธุรกิจที่ผูกขาดเบ็ดเสร็จ ขณะที่เอกชนพลังงานรายอื่นตายเรียบ</p><p> </p><p> แต่ที่น่าเจ็บปวดที่สุดคือคนในฝ่ายนักการเมืองและข้าราชการที่เข้าข่าย Conflict of interest ร่วมมือกันในการเอาเปรียบประชาชนไทยอย่างสมบูรณ์แบบ!</p><p> </p><p> ก้าวย่าง ปตท.</p><p> สู่ผู้มีอิทธิพลตัวจริง</p><p> </p><p> หากย้อนมาดูถึงเหตุผลว่าทำไม ปตท. จึงกลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานแบบผูกขาด และเป็นผู้มีอิทธิพลตัวจริงจะพบว่า ข้อได้เปรียบของ ปตท.คือเป็นองค์กรที่เกิดมาจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีวัตถุประสงค์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ มากระจายสู่มือประชาชนแบบเป็นธรรมและให้ประชาชนไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ อย่างคุ้มค่าและมีราคาไม่แพง</p><p> </p><p> ที่ผ่านมา ในฐานะรัฐวิสาหกิจ เงินภาษีจึงถูกผันเข้าสู่การบริหารทรัพยากรธรรมชาติของ ปตท. ไม่ว่าจะเป็น การสร้างท่อส่งก๊าซ การสร้างโรงแยกก๊าซ (ก่อนเข้าตลาดมี 5 โรงแยกก๊าซ) งบประมาณขุดเจาะ สำรวจ ฯลฯ อีกมากมายซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทย</p><p> </p><p> ที่น่าสังเกตคือในช่วงที่ปตท.กำลังจะแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.และบริษัทลูกซึ่งถือเป็นสมบัติของประชาชน แต่ปตท.ก็มีการกระทำที่ตรงข้าม และไม่ได้พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน เห็นได้ชัดจากกรณีการตีราคาบริษัทลูกต่างๆ ของปตท. ปตท.ได้ทำการจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินให้ตีราคาบริษัทลูกต่ำๆ โดยใช้วิธีส่วนได้ส่วนเสีย แทนที่จะใช้วิธีราคาทุน</p><p> </p><p> โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด หรือ RRC มีราคาทุนอยู่ที่ 12,591.24 ล้านบาท จากการลงทุนของโรงกลั่นน้ำมันระยองที่ผ่านมา แต่ ปตท.ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาฯ ตีราคาตามส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีการนำอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในขณะนั้นมาช่วยคิดคำนวณ</p><p> </p><p> 'ช่วงนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจาก 25 บาท เปลี่ยนเป็น 50 บาท เขาไปตีว่า RRC ขาดทุน จึงมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท แต่ที่จริงแล้ว RRC ไม่ได้อยู่ในฐานะที่เจ๊งจนมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท เพราะทุกวันนี้ก็ยังกลั่นน้ำมันได้ ดังนั้นวิธีคิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียที่ถูกต้อง คือต้องบอกว่าหาก RRC มีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ก็ต้องตีราคาให้ RRC ที่ 2 หมื่นล้านบาทถึงจะถูกต้อง เพราะหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเพิ่มจาก 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ก็ต้องคิดราคาทุนของบริษัทลูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่นี่ไม่ใช่ เพราะดันไปคิดให้มูลค่าเป็น 0 เท่ากับบริษัทที่เจ๊ง'</p><p> </p><p> เช่นเดียวกับบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ที่มีวิธีคิดราคาทุนอยู่ที่ 1,268.10 ล้านบาท หรือบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรื อ THAPPLINE มีวิธีราคาทุน 880.52 ล้านบาท ต่างก็ถูกตีราคาตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 0 บาทเช่นกัน</p><p> </p><p> ในขณะที่บางแห่งมีการคิดราคาวิธีส่วนได้ส่วนเสียให้แต่ก็น้อยมากถ้าเทียบกับวิธีราคาทุน เช่น บริษัทไทยออยล์ จำกัด มีวิธีราคาทุน 9,480.74 ล้านบาท มีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 395.51 ล้านบาท หรือ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด หรือ SPRC มีวิธีราคาทุนอยู่ที่ 14,378.41 แต่มีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 1,325.58 ล้านบาท เป็นต้น (ข้อมูลจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544)</p><p> </p><p> 'ปกติแล้วไม่มีเจ้าของบริษัทไหนอยากตีราคาสินทรัพย์ของตัวเองให้ต่ำ เพราะอยากให้บริษัทเข้าตลาดหุ้นในราคาสูง แต่ผู้บริหารปตท.ความที่ไม่ใช่บริษัทของตัวเอง แถมมีหุ้น ปตท.ในมือที่ซื้อมาในราคาถูก ก็อยากให้ราคาหุ้นเข้าเทรดในราคาที่ถูก และให้หุ้นราคาสูงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลเอง ถ้าปตท.เห็นว่าบริษัทลูกมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท ทำไมไม่โอนบริษัทลูกเหล่านั้นกลับมาเป็นของรัฐ แต่กลับให้ปตท.ไปในราคาที่ถูกมากๆ ' แหล่งข่าว ระบุ</p><p> </p><p> นักการเมืองแย่งเค้ก 'ก.พลังงาน'</p><p> </p><p> เมื่อปตท.มีอำนาจในการผูกขาด และมีผลประโยชน์ด้านพลังงานมหาศาล ทำให้ที่ผ่านมา ปตท.และบริษัทลูกมีรายได้สุทธิสูงในระดับหมื่นล้านมาโดยตลอด อีกทั้งมูลค่าหุ้นก็พุ่งฉิวจนสร้างกำไรให้ผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อย</p><p> </p><p> นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงเนื้อหอมในหมู่นักการเมืองด้วย!</p><p> </p><p> โดยในสมัยก่อนนั้น กระทรวงเกรด A ที่คนแย่งกันมาเป็นรัฐมนตรีไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนคือกระทรวงอุตสาหกรรม แต่หลังจากรัฐบาลทักษิณ 1 ได้แยกผลประโยชน์ด้านพลังงานของชาติมาตั้งใหม่เป็นกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานก็เป็นกระทรวงที่เนื้อหอมที่สุดที่ใครก็อยากเป็นรัฐมนตรี ยิ่งช่วงแปรรูปปตท.มาเป็นบริษัทมหาชนเข้าเทรดในตลาดหุ้นด้วยแล้ว นักการเมืองต่างวิ่งกันฝุ่นตลบเพื่อแย่งเค้กก้อนนี้</p><p> </p><p> 'ใครมาเป็นรัฐมนตรีพลังงานจะได้รับผลประโยชน์ที่สูงมาก เพราะกระทรวงพลังงานคุมทั้ง ปตท. ทั้ง กฟผ. อีกทั้งยังเป็นผู้ให้การประมูล IPP,SPP ซึ่งเป็นการประมูลขนาดใหญ่มูลค่ามหาศาลมาก เราเคยคุยกันเล่นๆว่า ในการสร้างโรงไฟฟ้า 1 โรง ผลประโยชน์ที่จะมาตกกับนักการเมืองจะมากกว่าการสร้างถนนเป็น 100 ๆสายเสียอีก ที่ผ่านมาในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละครั้ง จึงมีการเรียกน้ำร้อนน้ำชามากถึง 20% ของมูลค่าโครงการมาแล้ว' แหล่งข่าวในแวดวงพลังงานกล่าว</p><p> </p><p> โดยหลังจากตั้งกระทรวงพลังงานในยุคแรกของปี 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ส่งคนใกล้ชิดอย่าง นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช และนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี มานั่งเป็นเจ้ากระทรวงพลังงานปิดทางนักการเมืองมุ้งอื่นเบ็ดเสร็จ และช่วงนั้นก็มีปัญหาข่าวความไม่เหมาะสมของคนได้หุ้นปตท.ที่มีเบื้องหลังเป็นนักการเมือง 30 คน ซึ่งจากราคาหุ้นที่เข้าเทรดราคาถูกเพียง 35 บาท ก็วิ่งฉิวไปสู่หลักหลายร้อยบาทในเวลาไม่นาน</p><p> </p><p> หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องปล่อยกระทรวงพลังงานให้ไปอยู่ในมือของตระกูลลิปตพัลลภ ตามข้อตกลงด้านการเมือง โดยมี พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ หลังบ้านสุวัจน์ ลิปตภัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และปัจจุบันก็มี น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ซึ่งเป็นพี่เขยของสุวัจน์ มานั่งเป็นรัฐมนตรีพลังงานแทน</p><p> </p><p> 'พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหลีกทางให้ คุณสุวัจน์เลือกว่าจะคุมกระทรวงไหนก่อน ซึ่งคุณสุวัจน์ในเวลานั้นไม่สนใจกระทรวงอื่นเลย นอกจากกระทรวงพลังงาน'</p><p> </p><p> อย่างไรก็ดี ขณะนี้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.กำลังขุดคุ้ยเรื่องความไม่ชอบมาพากล และเตรียมเช็คบิล กรณีกระทรวงพลังงานต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมของสัญญาสัมปทานล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัญญาถึง 5ปี ซึ่งเป็นยุคของพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ นั่งเป็นเจ้ากระทรวงด้วย</p><p> </p><p> แต่โอกาส สตง.เข้ามาขุดคุ้ยกรณีนี้ คงไม่มีใครรู้ดีไปกว่า นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่วันนี้นั่งเป็นเจ้ากระทรวงพลังงานภายใต้เบื้องหลังของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ซึ่งถือเป็นคนแกงค์เดียวกัน เพราะแม้เจ้ากระทรวงพลังงานคนก่อนมีฐานะเป็นภรรยาสุวัจน์ แต่นพ.วรรณรัตน์คนนี้ก็ไม่ใช่คนห่างไกล เพราะมีฐานะเป็นคู่เขย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อยู่ดี การเข้ามาตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของคุณหญิงจารุวรรณในกระทรวงพลังงานตอนนี้ ถึงเรียกได้ว่าต้องเจอกับงานหินพอดู</p><p> </p><p> ปัจุจบันแม้จะมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลมาเป็นประชาธิปัตย์แล้ว แต่กระทรวงพลังงานก็ยังอยู่ในเงื้ออำนาจของกลุ่มสุวัจน์ ลิมปตพัลลภ เช่นเดิม</p><p> </p><p> นอกจากเจ้ากระทรวงพลังงานแล้ว สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ยังได้ส่งคนรู้ใจคือ สมนึก กยาวัฒนกิจ ไปนั่งเป็นประธานบอร์ด บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ท่ามกลางความงุนงงของคนในแวดวงพลังงาน ที่ไม่เคยรู้จักคนชื่อนี้มาก่อน</p><p> </p><p> 'เมื่อกระแสการเมืองแรง ก็จะมีการส่งคนของตัวเองมานั่งในคณะกรรมการต่างๆ ด้วย เพื่อให้มีคนของตัวเองอยู่ทุกแห่ง'</p><p> </p><p> กฎหมายที่ถูกแก้</p><p> อำนาจเบ็ดเสร็จนักการเมือง</p><p> </p><p> นอกจากนี้ในยุคกระทรวงพลังงานในเงื้อมือ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ยังมีการแก้กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะใน พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) ปี 2550</p><p> </p><p> ที่น่าสังเกตคืออำนาจของรัฐมนตรี ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) ปี 2550 มาตรา 22 ที่ระบุว่า รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ ทั้งให้สัมปทานตาม,ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม และต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นอำนาจซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ง่าย</p><p> </p><p> อีกทั้งในมาตรา 22/1 ของกฎหมายฉบับนี้ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยังมีหน้าที่สำคัญ ในการขยายอายุสัมปทาน,อนุมัติการกำหนดพื้นที่ผลิต และอนุญาติให้ขยายเวลาเริ่มผลิตได้อีก ซึ่งแม้แต่คนระดับ อธิบดี ก็มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายบริษัทเอกชนได้ด้วย</p><p> </p><p> โดยเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 มีการอ้างว่า พ.ร.บ.ฉบับปี 2514 มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ 3 เหตุผลคือ โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศเป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน,ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมาก และแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตต่ำลง</p><p> </p><p> 'เมื่อย้อนกลับไปดูตัวเลขต่างๆ พบว่า 3 เหตุผลของการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ไม่ตรงข้อเท็จจริงเท่าไรนัก'แหล่งข่าว กล่าว</p><p> </p><p> เริ่มต้นจากข้อมูลที่ว่าแหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ก็พบข้อมูลว่าแหล่งก๊าซในประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 2,500 MMFFCD หรือ 417,000 บาร์เรลต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3,000 MMSFCD (500,000 bdoe) ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแหล่งอาทิตย์และ JDA ยังไม่ได้มีการดำเนินการผลิตเต็มที่ จากการคำนวณปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยและปริมาณสำรองที่มีพบว่า หากไม่มีการค้นพบแหล่งใหม่ๆ และภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบัน จะมีก๊าซใช้เพียงพออีก 24 ปีทีเดียว</p><p> </p><p> ขณะที่เหตุผลที่อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูงมาก เมื่อไปดูงบกำไร/ขาดทุนของ ปตท.สผ.ย้อนหลัง 5 ปีพบว่า เฉลี่ยะแล้ว ปตท.สผ.มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละ 4% นับเป็นมูลค่าไม่เกิน 3.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่อยู่ในระดับ 2.8 หมื่นล้านบาทก็เทียบกันแทบไม่ติด ซึ่งในส่วนของงบดำเนินการของปตท.สผ.ช่วงหลังที่สูงขึ้นเป็นเหตุผลมาจาก ปตท.สผ.ไปลงทุนที่ต่างประเทศมากขึ้นอีกตาหาก</p><p> </p><p> ส่วนที่บอกว่าแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งมีกำลังการผลิตต่ำลง ตรงนี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะแม้หลายแหล่งจะกำลังการผลิตต่ำลง แต่ก็มีการพบแหล่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด เห็นได้ชัดจากตัวเลขผลผลิตปิโตรเลียมที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี</p><p> </p><p> นอกจากนี้ในส่วนของการเก็บภาษีภาครัฐ พบว่า ในยุคนี้มีระเบียบสัมปทานปิโตรเลียมที่ออกตั้งแต่ปี 2550 ที่เอื้อกับบริษัทเอกชนอย่างมาก โดยเฉพาะ ธุรกิจในเครือปตท. ทั้งในส่วนของภาษีให้มีการเก็บอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได 5-15% และลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้ง มีการแก้ระเบียบพื้นที่สัมปทาน (ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจ) โดยแต่เดิมอนุญาตให้เอกชนมีพื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.โดยจำนวนแปลงสูงสุดไม่เกิน 5 แปลงสำรวจ ปัจจุบันมีการให้พื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจ โดยไม่จำกัดจำนวนแปลงสำรวจด้วย</p><p> </p><p> เปิดรายชื่อ ขรก.</p><p> สวมหมวกบอร์ดเอกชน</p><p> </p><p> ขณะที่ฝ่ายข้าราชการเองนั้น ใครได้ไปเป็นบอร์ดต่างๆ ของบริษัทด้านพลังงาน โดยเฉพาะบริษัท ปตท. และบริษัทลูก ก็ถือว่าโชคดีเป็นที่สุด เพราะค่าตอบแทนของคณะกรรมการ (บอร์ด) ก็ไม่ใช่น้อย</p><p> </p><p> 'ประเด็นที่น่าสนใจคือมันมีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างบทบาทของกรรมการบริษัทที่มีหน้าที่สร้างกำไรสูงสุดให้บริษัท กับ บทบาทของเจ้าพนักงานของรัฐที่จะต้องกำกับดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ กำกับดูแลธุรกิจ สร้างความเป็นธรรมต่อการแข่งขัน และสร้างความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังไปถือหุ้นในธุรกิจเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ตรงนี้นโยบายรัฐที่ออกมาจะเป็นธรรมกับประชาชนได้อย่างไร ในเมื่อหมวกที่ข้าราชการเหล่านี้สวมอยู่อีกใบคือต้องสร้างกำไรมากๆ ให้บริษัทเอกชน ในฐานะบอร์ด' แหล่งข่าวในแวดวงพลังงานกล่าว</p><p> </p><p> เขา ย้ำว่า แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้หน่วยงานของรัฐสามารถไปนั่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้ แต่รายได้ ค่าตอบแทนจากการเป็นกรรมการ รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ เช่นได้สิทธิซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาท้องตลาด มีมูลค่าสูงมาก และยังได้ผลตอบแทนจากส่วนแบ่งของกำไรในรูปแบบโบนัสกรรมการด้วย โดยผู้ที่เป็นกรรมการมีรายได้ประจำแน่นอนคือ เบี้ยกรรมการรายเดือนจำนวน 30,000 บาท และถ้ามีการประชุมจะได้อีกครั้งละ 20,000 บาท รวมๆ แล้วมีมูลค่าเป็นหลักหลายล้านบาทต่อปี ก็อาจเป็นโอกาสที่ทำให้นโยบายรัฐถูกครอบงำจากภาคธุรกิจได้ง่ายเช่นกัน'กฎหมายระบุให้บอร์ดเหล่านี้เป็นกรรมการได้ไม่เกิน 3 แห่ง ที่ผ่านมา บางคนจึงมีการวนกันเป็นบอร์ดบริษัทลูก ปตท. จนครบ 3 แห่งด้วย'</p><p> </p><p> แหล่งข่าวในแวดวงพลังงาน ระบุว่า ข้าราชการระดับสูงที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ในบอร์ดบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้านพลังงานมีหลายคน เริ่มจาก</p><p> </p><p> พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน สวมหมวกบอร์ดเอกชน คือ เป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH ในส่วนนี้มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท มีเงินโบนัสรายปีในปี 2550 อยู่ 3,833,333 บาท ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากกรรมการ 1 คน จากโบนัสในส่วนนี้ทั้งหมด 57.5 ล้านบาท ซึ่งประธานจะได้รับสูงกว่ากรรมการฯ ร้อยละ 25</p><p> </p><p> นอกจากนี้ยังเป็นประธานบอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (EFAI) ที่ผ่านมา พรชัย ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR ซึ่งมีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทด้วย อีกทั้งนอกจากบริษัทที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจมาก่อนแล้ว พรชัย ยังไปนั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) EGCO ซึ่งเป็นเอกชน ด้วย</p><p> </p><p> ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปัจจุบันเป็นรองปลัดกระทรวงพลังงาน มีตำแหน่งสำคัญคือ เป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 37,500 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ตำกว่า 25,000 บาท และยังมีเงินโบนัสรายได้อีก .05% ของกำไรแต่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคน ซึ่ง ณอคุณจะรับโบนัสสูงกว่ากรรมการฯรายอื่นร้อยละ 25</p><p> </p><p> นอกจากนี้ยังเป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท อีกทั้งเป็นประธานอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วย</p><p> </p><p> คุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโอลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท และเงินโบนัสรายปีของปี 2550 อยู่ที่ 0.1% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท</p><p> </p><p> ที่ผ่านมา คุรุจิต ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP อีกด้วย</p><p> </p><p> เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ปัจจุบันเป็นกรรมการบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 37,500 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท และเงินโบนัสปี 2550 ที่ 0.1% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท และยังเป็นกรรมการคณะกรรมการสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย</p><p> </p><p> ไกรฤทธิ์ นิลคูหา รองปลัดกระทรวงพลังงาน ปัจจุบัน เป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP มีค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการบริษัทไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท ค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการตรวจสอบไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท เงินโบนัสรายปี ปี 2550 อยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านบาท</p><p> </p><p> นอกจากนี้ยังเป็นประธานคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม หลายชุด ได้แก่ อนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องราวตามมาตรา 69 และ 70 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างสัมปทานปิโตรเลียมและปัญหากฎหมาย อนุกรรมการบริหารเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในประเทศไทย อนุกรรมการพิจารณากำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ อนุกรรมการพิจารณาและวางแผนการจัดการปิโตรเลียม อนุกรรมการพิจารณาและวางแผนการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อน</p><p> </p><p> พานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชนป มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท มีค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท มีเงินโบนัสรายปี .05% ในปี 2550 ที่ผ่านมาด้วย</p><p> </p><p> วีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการอิสระบริษัท ปตท.สผ. ซ้ำยังเป็นกรรมการอิสระ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน และกรรมการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์</p><p> </p><p> ศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน อดีตเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ด้วย</p><p> </p><p> 'คนเหล่านี้แม้จะไม่มีความผิดตามข้อกฎหมาย แต่เรื่อง Conflict of Interest หรือผลประโยชน์ทับซ้อนก็เป็นเรื่องต้องตอบคำถาม'</p><p> </p><p> ท้ายที่สุดแล้วคงต้องบอกว่า ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่มีมูลค่าอภิมหาศาล จากต้นทุนด้านพลังงานที่ถูกแสนถูกของประเทศไทย</p><p> </p><p> เมื่อข้าราชการจับมือนักการเมืองเอื้อประโยชน์เบ็ดเสร็จให้ภาคเอกชนหมด แล้วสุดท้ายใครกันที่จะอยู่ข้างประชาชน ผู้ถูกเอาเปรียบ!</p><p> </p><p> ************</p><p> </p><p> รสนา-เดินหน้าชน ปตท.</p><p> จับมือ 'คลัง-กพ.'รื้อบอร์ดพลังงาน-ทวงคืนสมบัติชาติ</p><p> </p><p> รสนา-องค์กรผู้บริโภค กระทุ้งรัฐแก้วิกฤตพลังงาน เดินหน้าประสาน 'กพ.-คลัง' รื้อ ระเบียบเฟ้นบอร์ดพลังงาน แก้ปมผลประโยชน์ทับซ้อน พร้อมทวงคืนท่อก๊าซโดยเร็วก่อนปตท.ฟันกำไรค่าผ่านท่อ 4,500ล้านขณะที่ประชาชนเลือดตาแทบกระเด็น...[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="rv26, post: 1037423, member: 2770"]เจาะลึกขุมทรัพย์พลังงาน ปตท.หมกเม็ดคนไทย! อุ้ม 'บอร์ด-พลพรรค'รวยอื้อ โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2552 09:03 น. เกาะติดธุรกิจพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาล ภายใต้กลไก ของ ปตท.ที่มี นักการเมือง-บิ๊กข้าราชการไม่กี่คนเป็นผู้คุมชะตาชีวิตคนไทย หลายคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน? จนกลายเป็นเรื่องเหลือเชื่อ !ที่ต่างชาติซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทยได้ถูกกว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่ส่งผลให้ไทย มีตัวเลขส่งออกพลังงานเป็นอันดับ 1 ของสินค้าส่งออกอยู่หลายปี ส.ว.สายเอ็นจิโอ เตรียมขับเคลื่อนทวงคืนผลประโยชน์ชาติจากปตท.อีกครั้งหนึ่งมูลค่านับแสนล้านบาท...... สำหรับประชาชนคนไทยแล้ว คงไม่มีเรื่องไหนที่ทำให้ต้องเจ็บปวดแบบหนักหนาสาหัสเท่ากับการที่ต้องมานั่งซื้อน้ำมัน และไฟฟ้าราคาแพงใช้ ทั้งๆ ที่ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานของไทยนั้นมีอยู่จำนวนมาก จนกระทั่งไทยมีตัวเลขส่งออกพลังงานเป็นอันดับ 1 ของสินค้าส่งออกอยู่หลายปี อย่างปี 2550 ไทยส่งออกน้ำมันดิบสูงถึง 78 ล้านบาร์เรล แถมด้วยการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในประเทศไทยที่ลงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นระยะๆ รันทดคนไทยซื้อน้ำมัน แพงกว่าต่างชาติ ที่น่าเจ็บใจคือ คนไทยก็ยังไม่รู้ว่า ต่างชาติสามารถซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นในประเทศไทยได้ในราคาที่ถูกกว่าที่คนไทยซื้อเสียอีก แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า เหตุผลที่คนไทยต้องซื้อแพงเนื่องเพราะภาครัฐได้กำหนดให้โรงกลั่นไทยขายน้ำมันสำเร็จรูปให้คนไทยตามราคาตลาดสิงค์โปร์ ซึ่งต้องบวกค่าโสหุ้ยในการขนส่ง และค่าประกันภัยจากสิงคโปร์มาไทยด้วย ราคาดังกล่าวจึงเทียบเท่าการนำเข้าทั้งที่ไม่ได้มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเลย ในทางกลับกันโรงกลั่นไทยส่งออกน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่า คือใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ นอกจากจะไม่บวกค่าขนส่งและค่าประกันภัยแล้ว ยังสามารถลบค่าโสหุ้ยในการขนส่งและค่าประกันภัยลงอีก เพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดสิงคโปร์ อีกทั้งที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลยังเอื้อผลประโยชน์ให้กับปตท.ในการรับซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากปากหลุม ราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลกจำนวนมากอีกด้วย 'ปตท.มีอำนาจซื้อจากปากหลุมได้รายเดียวเพราะท่อส่งจากอ่าวไทยหรือทะเลมายังโรงแยกเป็นของปตท. จึงซื้อได้ในราคาถูก จากนั้น ปตท.ก็ทำสินค้าราคาตลาดโลกมาขายคืนให้ประชาชน ปัญหาคือส่วนต่างตรงนี้ไปอยู่กับใคร เดิมรัฐลงทุนท่อส่งมหาศาลก็เพื่อให้ปตท.ซื้อในราคาต่ำ เพื่อนำน้ำมันมาขายในราคาต่ำๆให้ประชาชน แต่เพราะปตท.แปรรูปไปแล้วจึงต้องการทำกำไรให้ผู้ถือหุ้น ก็เลยทำให้ราคาน้ำมัน และก๊าซเทียบราคาตลาดโลก เพื่อให้ได้กำไรสูงๆ ประชาชนก็ถูกเอาเปรียบทั้งๆ ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติเป็นของประชาชนเอง' คำถามคือทรัพยากรด้านพลังงานของคนไทยนี้มีจำนวนมหาศาล เกินความต้องการใช้ แถมมีเหลือเพื่อส่งออกเสียอีก แต่ทำไมคนไทยต้องใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่มีราคาแพงกว่าราคาตลาดโลกที่แพงหูฉี่? ประเด็นปัญหาดังกล่าว แหล่งข่าวอธิบายว่า เป็นเพราะทรัพยากรของไทยได้ถูกเปลี่ยนมือจากองค์กรรัฐวิสาหกิจไปสู่มือบริษัทเอกชนที่แปรรูปไปแล้วอย่าง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในราคาถูกๆ เพราะรัฐ แถมด้วยกระบวนการฮั้วอย่างเต็มรูปแบบของ 3 ฝ่ายคือ บริษัทเอกชน (ปตท.) ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และนักการเมือง ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ช่วยเหลือ ปตท. จนปตท.กลายเป็นธุรกิจที่ผูกขาดเบ็ดเสร็จ ขณะที่เอกชนพลังงานรายอื่นตายเรียบ แต่ที่น่าเจ็บปวดที่สุดคือคนในฝ่ายนักการเมืองและข้าราชการที่เข้าข่าย Conflict of interest ร่วมมือกันในการเอาเปรียบประชาชนไทยอย่างสมบูรณ์แบบ! ก้าวย่าง ปตท. สู่ผู้มีอิทธิพลตัวจริง หากย้อนมาดูถึงเหตุผลว่าทำไม ปตท. จึงกลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานแบบผูกขาด และเป็นผู้มีอิทธิพลตัวจริงจะพบว่า ข้อได้เปรียบของ ปตท.คือเป็นองค์กรที่เกิดมาจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีวัตถุประสงค์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ มากระจายสู่มือประชาชนแบบเป็นธรรมและให้ประชาชนไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ อย่างคุ้มค่าและมีราคาไม่แพง ที่ผ่านมา ในฐานะรัฐวิสาหกิจ เงินภาษีจึงถูกผันเข้าสู่การบริหารทรัพยากรธรรมชาติของ ปตท. ไม่ว่าจะเป็น การสร้างท่อส่งก๊าซ การสร้างโรงแยกก๊าซ (ก่อนเข้าตลาดมี 5 โรงแยกก๊าซ) งบประมาณขุดเจาะ สำรวจ ฯลฯ อีกมากมายซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทย ที่น่าสังเกตคือในช่วงที่ปตท.กำลังจะแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปตท.และบริษัทลูกซึ่งถือเป็นสมบัติของประชาชน แต่ปตท.ก็มีการกระทำที่ตรงข้าม และไม่ได้พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน เห็นได้ชัดจากกรณีการตีราคาบริษัทลูกต่างๆ ของปตท. ปตท.ได้ทำการจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินให้ตีราคาบริษัทลูกต่ำๆ โดยใช้วิธีส่วนได้ส่วนเสีย แทนที่จะใช้วิธีราคาทุน โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด หรือ RRC มีราคาทุนอยู่ที่ 12,591.24 ล้านบาท จากการลงทุนของโรงกลั่นน้ำมันระยองที่ผ่านมา แต่ ปตท.ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาฯ ตีราคาตามส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีการนำอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในขณะนั้นมาช่วยคิดคำนวณ 'ช่วงนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจาก 25 บาท เปลี่ยนเป็น 50 บาท เขาไปตีว่า RRC ขาดทุน จึงมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท แต่ที่จริงแล้ว RRC ไม่ได้อยู่ในฐานะที่เจ๊งจนมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท เพราะทุกวันนี้ก็ยังกลั่นน้ำมันได้ ดังนั้นวิธีคิดตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียที่ถูกต้อง คือต้องบอกว่าหาก RRC มีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ก็ต้องตีราคาให้ RRC ที่ 2 หมื่นล้านบาทถึงจะถูกต้อง เพราะหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเพิ่มจาก 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ก็ต้องคิดราคาทุนของบริษัทลูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่นี่ไม่ใช่ เพราะดันไปคิดให้มูลค่าเป็น 0 เท่ากับบริษัทที่เจ๊ง' เช่นเดียวกับบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ที่มีวิธีคิดราคาทุนอยู่ที่ 1,268.10 ล้านบาท หรือบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรื อ THAPPLINE มีวิธีราคาทุน 880.52 ล้านบาท ต่างก็ถูกตีราคาตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียเป็น 0 บาทเช่นกัน ในขณะที่บางแห่งมีการคิดราคาวิธีส่วนได้ส่วนเสียให้แต่ก็น้อยมากถ้าเทียบกับวิธีราคาทุน เช่น บริษัทไทยออยล์ จำกัด มีวิธีราคาทุน 9,480.74 ล้านบาท มีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 395.51 ล้านบาท หรือ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด หรือ SPRC มีวิธีราคาทุนอยู่ที่ 14,378.41 แต่มีการคิดวิธีส่วนได้ส่วนเสียเพียง 1,325.58 ล้านบาท เป็นต้น (ข้อมูลจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2544) 'ปกติแล้วไม่มีเจ้าของบริษัทไหนอยากตีราคาสินทรัพย์ของตัวเองให้ต่ำ เพราะอยากให้บริษัทเข้าตลาดหุ้นในราคาสูง แต่ผู้บริหารปตท.ความที่ไม่ใช่บริษัทของตัวเอง แถมมีหุ้น ปตท.ในมือที่ซื้อมาในราคาถูก ก็อยากให้ราคาหุ้นเข้าเทรดในราคาที่ถูก และให้หุ้นราคาสูงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลเอง ถ้าปตท.เห็นว่าบริษัทลูกมีมูลค่าเท่ากับ 0 บาท ทำไมไม่โอนบริษัทลูกเหล่านั้นกลับมาเป็นของรัฐ แต่กลับให้ปตท.ไปในราคาที่ถูกมากๆ ' แหล่งข่าว ระบุ นักการเมืองแย่งเค้ก 'ก.พลังงาน' เมื่อปตท.มีอำนาจในการผูกขาด และมีผลประโยชน์ด้านพลังงานมหาศาล ทำให้ที่ผ่านมา ปตท.และบริษัทลูกมีรายได้สุทธิสูงในระดับหมื่นล้านมาโดยตลอด อีกทั้งมูลค่าหุ้นก็พุ่งฉิวจนสร้างกำไรให้ผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อย นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงเนื้อหอมในหมู่นักการเมืองด้วย! โดยในสมัยก่อนนั้น กระทรวงเกรด A ที่คนแย่งกันมาเป็นรัฐมนตรีไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนคือกระทรวงอุตสาหกรรม แต่หลังจากรัฐบาลทักษิณ 1 ได้แยกผลประโยชน์ด้านพลังงานของชาติมาตั้งใหม่เป็นกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานก็เป็นกระทรวงที่เนื้อหอมที่สุดที่ใครก็อยากเป็นรัฐมนตรี ยิ่งช่วงแปรรูปปตท.มาเป็นบริษัทมหาชนเข้าเทรดในตลาดหุ้นด้วยแล้ว นักการเมืองต่างวิ่งกันฝุ่นตลบเพื่อแย่งเค้กก้อนนี้ 'ใครมาเป็นรัฐมนตรีพลังงานจะได้รับผลประโยชน์ที่สูงมาก เพราะกระทรวงพลังงานคุมทั้ง ปตท. ทั้ง กฟผ. อีกทั้งยังเป็นผู้ให้การประมูล IPP,SPP ซึ่งเป็นการประมูลขนาดใหญ่มูลค่ามหาศาลมาก เราเคยคุยกันเล่นๆว่า ในการสร้างโรงไฟฟ้า 1 โรง ผลประโยชน์ที่จะมาตกกับนักการเมืองจะมากกว่าการสร้างถนนเป็น 100 ๆสายเสียอีก ที่ผ่านมาในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละครั้ง จึงมีการเรียกน้ำร้อนน้ำชามากถึง 20% ของมูลค่าโครงการมาแล้ว' แหล่งข่าวในแวดวงพลังงานกล่าว โดยหลังจากตั้งกระทรวงพลังงานในยุคแรกของปี 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ส่งคนใกล้ชิดอย่าง นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช และนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี มานั่งเป็นเจ้ากระทรวงพลังงานปิดทางนักการเมืองมุ้งอื่นเบ็ดเสร็จ และช่วงนั้นก็มีปัญหาข่าวความไม่เหมาะสมของคนได้หุ้นปตท.ที่มีเบื้องหลังเป็นนักการเมือง 30 คน ซึ่งจากราคาหุ้นที่เข้าเทรดราคาถูกเพียง 35 บาท ก็วิ่งฉิวไปสู่หลักหลายร้อยบาทในเวลาไม่นาน หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องปล่อยกระทรวงพลังงานให้ไปอยู่ในมือของตระกูลลิปตพัลลภ ตามข้อตกลงด้านการเมือง โดยมี พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ หลังบ้านสุวัจน์ ลิปตภัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และปัจจุบันก็มี น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ซึ่งเป็นพี่เขยของสุวัจน์ มานั่งเป็นรัฐมนตรีพลังงานแทน 'พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหลีกทางให้ คุณสุวัจน์เลือกว่าจะคุมกระทรวงไหนก่อน ซึ่งคุณสุวัจน์ในเวลานั้นไม่สนใจกระทรวงอื่นเลย นอกจากกระทรวงพลังงาน' อย่างไรก็ดี ขณะนี้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.กำลังขุดคุ้ยเรื่องความไม่ชอบมาพากล และเตรียมเช็คบิล กรณีกระทรวงพลังงานต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมของสัญญาสัมปทานล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัญญาถึง 5ปี ซึ่งเป็นยุคของพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ นั่งเป็นเจ้ากระทรวงด้วย แต่โอกาส สตง.เข้ามาขุดคุ้ยกรณีนี้ คงไม่มีใครรู้ดีไปกว่า นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่วันนี้นั่งเป็นเจ้ากระทรวงพลังงานภายใต้เบื้องหลังของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ซึ่งถือเป็นคนแกงค์เดียวกัน เพราะแม้เจ้ากระทรวงพลังงานคนก่อนมีฐานะเป็นภรรยาสุวัจน์ แต่นพ.วรรณรัตน์คนนี้ก็ไม่ใช่คนห่างไกล เพราะมีฐานะเป็นคู่เขย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อยู่ดี การเข้ามาตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของคุณหญิงจารุวรรณในกระทรวงพลังงานตอนนี้ ถึงเรียกได้ว่าต้องเจอกับงานหินพอดู ปัจุจบันแม้จะมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลมาเป็นประชาธิปัตย์แล้ว แต่กระทรวงพลังงานก็ยังอยู่ในเงื้ออำนาจของกลุ่มสุวัจน์ ลิมปตพัลลภ เช่นเดิม นอกจากเจ้ากระทรวงพลังงานแล้ว สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ยังได้ส่งคนรู้ใจคือ สมนึก กยาวัฒนกิจ ไปนั่งเป็นประธานบอร์ด บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ท่ามกลางความงุนงงของคนในแวดวงพลังงาน ที่ไม่เคยรู้จักคนชื่อนี้มาก่อน 'เมื่อกระแสการเมืองแรง ก็จะมีการส่งคนของตัวเองมานั่งในคณะกรรมการต่างๆ ด้วย เพื่อให้มีคนของตัวเองอยู่ทุกแห่ง' กฎหมายที่ถูกแก้ อำนาจเบ็ดเสร็จนักการเมือง นอกจากนี้ในยุคกระทรวงพลังงานในเงื้อมือ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ยังมีการแก้กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะใน พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) ปี 2550 ที่น่าสังเกตคืออำนาจของรัฐมนตรี ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) ปี 2550 มาตรา 22 ที่ระบุว่า รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ ทั้งให้สัมปทานตาม,ต่อระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม และต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นอำนาจซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนได้ง่าย อีกทั้งในมาตรา 22/1 ของกฎหมายฉบับนี้ อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยังมีหน้าที่สำคัญ ในการขยายอายุสัมปทาน,อนุมัติการกำหนดพื้นที่ผลิต และอนุญาติให้ขยายเวลาเริ่มผลิตได้อีก ซึ่งแม้แต่คนระดับ อธิบดี ก็มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายบริษัทเอกชนได้ด้วย โดยเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 มีการอ้างว่า พ.ร.บ.ฉบับปี 2514 มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ 3 เหตุผลคือ โดยข้อเท็จจริงที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศเป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน,ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมาก และแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งเริ่มมีกำลังการผลิตต่ำลง 'เมื่อย้อนกลับไปดูตัวเลขต่างๆ พบว่า 3 เหตุผลของการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ไม่ตรงข้อเท็จจริงเท่าไรนัก'แหล่งข่าว กล่าว เริ่มต้นจากข้อมูลที่ว่าแหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน ก็พบข้อมูลว่าแหล่งก๊าซในประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 2,500 MMFFCD หรือ 417,000 บาร์เรลต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3,000 MMSFCD (500,000 bdoe) ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันแหล่งอาทิตย์และ JDA ยังไม่ได้มีการดำเนินการผลิตเต็มที่ จากการคำนวณปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยและปริมาณสำรองที่มีพบว่า หากไม่มีการค้นพบแหล่งใหม่ๆ และภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบัน จะมีก๊าซใช้เพียงพออีก 24 ปีทีเดียว ขณะที่เหตุผลที่อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูงมาก เมื่อไปดูงบกำไร/ขาดทุนของ ปตท.สผ.ย้อนหลัง 5 ปีพบว่า เฉลี่ยะแล้ว ปตท.สผ.มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละ 4% นับเป็นมูลค่าไม่เกิน 3.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่อยู่ในระดับ 2.8 หมื่นล้านบาทก็เทียบกันแทบไม่ติด ซึ่งในส่วนของงบดำเนินการของปตท.สผ.ช่วงหลังที่สูงขึ้นเป็นเหตุผลมาจาก ปตท.สผ.ไปลงทุนที่ต่างประเทศมากขึ้นอีกตาหาก ส่วนที่บอกว่าแหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งมีกำลังการผลิตต่ำลง ตรงนี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะแม้หลายแหล่งจะกำลังการผลิตต่ำลง แต่ก็มีการพบแหล่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด เห็นได้ชัดจากตัวเลขผลผลิตปิโตรเลียมที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี นอกจากนี้ในส่วนของการเก็บภาษีภาครัฐ พบว่า ในยุคนี้มีระเบียบสัมปทานปิโตรเลียมที่ออกตั้งแต่ปี 2550 ที่เอื้อกับบริษัทเอกชนอย่างมาก โดยเฉพาะ ธุรกิจในเครือปตท. ทั้งในส่วนของภาษีให้มีการเก็บอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได 5-15% และลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้ง มีการแก้ระเบียบพื้นที่สัมปทาน (ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจ) โดยแต่เดิมอนุญาตให้เอกชนมีพื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.โดยจำนวนแปลงสูงสุดไม่เกิน 5 แปลงสำรวจ ปัจจุบันมีการให้พื้นที่สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตร.กม.ต่อแปลงสำรวจ โดยไม่จำกัดจำนวนแปลงสำรวจด้วย เปิดรายชื่อ ขรก. สวมหมวกบอร์ดเอกชน ขณะที่ฝ่ายข้าราชการเองนั้น ใครได้ไปเป็นบอร์ดต่างๆ ของบริษัทด้านพลังงาน โดยเฉพาะบริษัท ปตท. และบริษัทลูก ก็ถือว่าโชคดีเป็นที่สุด เพราะค่าตอบแทนของคณะกรรมการ (บอร์ด) ก็ไม่ใช่น้อย 'ประเด็นที่น่าสนใจคือมันมีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างบทบาทของกรรมการบริษัทที่มีหน้าที่สร้างกำไรสูงสุดให้บริษัท กับ บทบาทของเจ้าพนักงานของรัฐที่จะต้องกำกับดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ กำกับดูแลธุรกิจ สร้างความเป็นธรรมต่อการแข่งขัน และสร้างความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ปัญหาคือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังไปถือหุ้นในธุรกิจเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ตรงนี้นโยบายรัฐที่ออกมาจะเป็นธรรมกับประชาชนได้อย่างไร ในเมื่อหมวกที่ข้าราชการเหล่านี้สวมอยู่อีกใบคือต้องสร้างกำไรมากๆ ให้บริษัทเอกชน ในฐานะบอร์ด' แหล่งข่าวในแวดวงพลังงานกล่าว เขา ย้ำว่า แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้หน่วยงานของรัฐสามารถไปนั่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้ แต่รายได้ ค่าตอบแทนจากการเป็นกรรมการ รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ เช่นได้สิทธิซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาท้องตลาด มีมูลค่าสูงมาก และยังได้ผลตอบแทนจากส่วนแบ่งของกำไรในรูปแบบโบนัสกรรมการด้วย โดยผู้ที่เป็นกรรมการมีรายได้ประจำแน่นอนคือ เบี้ยกรรมการรายเดือนจำนวน 30,000 บาท และถ้ามีการประชุมจะได้อีกครั้งละ 20,000 บาท รวมๆ แล้วมีมูลค่าเป็นหลักหลายล้านบาทต่อปี ก็อาจเป็นโอกาสที่ทำให้นโยบายรัฐถูกครอบงำจากภาคธุรกิจได้ง่ายเช่นกัน'กฎหมายระบุให้บอร์ดเหล่านี้เป็นกรรมการได้ไม่เกิน 3 แห่ง ที่ผ่านมา บางคนจึงมีการวนกันเป็นบอร์ดบริษัทลูก ปตท. จนครบ 3 แห่งด้วย' แหล่งข่าวในแวดวงพลังงาน ระบุว่า ข้าราชการระดับสูงที่มีตำแหน่งสำคัญๆ ในบอร์ดบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ด้านพลังงานมีหลายคน เริ่มจาก พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน สวมหมวกบอร์ดเอกชน คือ เป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH ในส่วนนี้มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท มีเงินโบนัสรายปีในปี 2550 อยู่ 3,833,333 บาท ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากกรรมการ 1 คน จากโบนัสในส่วนนี้ทั้งหมด 57.5 ล้านบาท ซึ่งประธานจะได้รับสูงกว่ากรรมการฯ ร้อยละ 25 นอกจากนี้ยังเป็นประธานบอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (EFAI) ที่ผ่านมา พรชัย ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัทปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR ซึ่งมีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทด้วย อีกทั้งนอกจากบริษัทที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจมาก่อนแล้ว พรชัย ยังไปนั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) EGCO ซึ่งเป็นเอกชน ด้วย ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปัจจุบันเป็นรองปลัดกระทรวงพลังงาน มีตำแหน่งสำคัญคือ เป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 37,500 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ตำกว่า 25,000 บาท และยังมีเงินโบนัสรายได้อีก .05% ของกำไรแต่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อคน ซึ่ง ณอคุณจะรับโบนัสสูงกว่ากรรมการฯรายอื่นร้อยละ 25 นอกจากนี้ยังเป็นประธานกรรมการบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท อีกทั้งเป็นประธานอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วย คุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโอลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท และเงินโบนัสรายปีของปี 2550 อยู่ที่ 0.1% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่ผ่านมา คุรุจิต ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP อีกด้วย เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ปัจจุบันเป็นกรรมการบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 37,500 บาท ค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท และเงินโบนัสปี 2550 ที่ 0.1% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท และยังเป็นกรรมการคณะกรรมการสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย ไกรฤทธิ์ นิลคูหา รองปลัดกระทรวงพลังงาน ปัจจุบัน เป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP มีค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการบริษัทไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท ค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการตรวจสอบไม่ต่ำกว่า 25,000 บาท เงินโบนัสรายปี ปี 2550 อยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเป็นประธานคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม หลายชุด ได้แก่ อนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องราวตามมาตรา 69 และ 70 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่างสัมปทานปิโตรเลียมและปัญหากฎหมาย อนุกรรมการบริหารเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาปิโตรเลียมในประเทศไทย อนุกรรมการพิจารณากำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ อนุกรรมการพิจารณาและวางแผนการจัดการปิโตรเลียม อนุกรรมการพิจารณาและวางแผนการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อน พานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชนป มีค่าตอบแทนรายเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท มีค่าเบี้ยประชุมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท มีเงินโบนัสรายปี .05% ในปี 2550 ที่ผ่านมาด้วย วีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการอิสระบริษัท ปตท.สผ. ซ้ำยังเป็นกรรมการอิสระ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน และกรรมการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน อดีตเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ด้วย 'คนเหล่านี้แม้จะไม่มีความผิดตามข้อกฎหมาย แต่เรื่อง Conflict of Interest หรือผลประโยชน์ทับซ้อนก็เป็นเรื่องต้องตอบคำถาม' ท้ายที่สุดแล้วคงต้องบอกว่า ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่มีมูลค่าอภิมหาศาล จากต้นทุนด้านพลังงานที่ถูกแสนถูกของประเทศไทย เมื่อข้าราชการจับมือนักการเมืองเอื้อประโยชน์เบ็ดเสร็จให้ภาคเอกชนหมด แล้วสุดท้ายใครกันที่จะอยู่ข้างประชาชน ผู้ถูกเอาเปรียบ! ************ รสนา-เดินหน้าชน ปตท. จับมือ 'คลัง-กพ.'รื้อบอร์ดพลังงาน-ทวงคืนสมบัติชาติ รสนา-องค์กรผู้บริโภค กระทุ้งรัฐแก้วิกฤตพลังงาน เดินหน้าประสาน 'กพ.-คลัง' รื้อ ระเบียบเฟ้นบอร์ดพลังงาน แก้ปมผลประโยชน์ทับซ้อน พร้อมทวงคืนท่อก๊าซโดยเร็วก่อนปตท.ฟันกำไรค่าผ่านท่อ 4,500ล้านขณะที่ประชาชนเลือดตาแทบกระเด็น...[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Toyota Car Clubs
>
RT Club
>
มีข่าวมาฝากเกี่ยวกับ ปตท.
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...