เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Toyota Car Clubs
>
RT Club
>
มีข่าวมาฝากเกี่ยวกับ ปตท.
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="rv26, post: 1037424, member: 2770"]การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการควบคุมด้านพลังงานอันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของชาติอย่าง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนภายหลังการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และเปลี่ยนโฉมเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แน่นอนว่านโยบายและทิศทางการดำเนินธุรกิจส่วนหนึ่งสามารถสร้างความยั่งยืนในด้านพลังงานของชาติได้อย่างดี ทว่ากำไรสูงสุดในฐานะองค์กรภาคเอกชนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้กันอยู่นั้นสูงเกินจริงอย่างคาดไม่ถึง และประชาชนต้องทนแบกรับโดยไม่อาจปริปากหรือต่อต้านได้แต่อย่างใด</p><p> </p><p> ทั้งนี้ ปัญหาต้นทุนด้านพลังงานข้างต้นนั้น มีสาเหตุมาจากหลัก คือ ปัญหาในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน อันเนื่องมาจากคณะกรรมการด้านพลังงานชุดต่างๆ อาทิ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ทั้งระดับปลัด รองปลัด อธิบดี รวมถึงผู้ตรวจราชการนั้นยังไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของบริษัทเอกชนด้านพลังงานต่างๆ ที่มุ่งเน้นการทำกำไรสูงสุดให้กับบริษัทต้นสังกัด ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส จากบริษัทพลังงานต่างๆ สูงกว่ารายได้ประจำจากราชการ</p><p> </p><p> ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทเอกชนไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทใดบริษัทหนึ่ง นอกจากจะเป็นการเสี่ยงต่อการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ชาติแล้ว ซ้ำร้ายจะยังเป็นการทำลายการแข่งขันในธุรกิจพลังงานซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อบริษัทคู่แข่งและนำไปสู่การผูกขาดทางธุรกิจ</p><p> </p><p> สุดท้ายประชาชนจะถูกมัดมือชกโดยปราศจากทางเลือกในการใช้พลังงานในราคาที่เหมาะสมตามความเป็นจริง นั่นเอง</p><p> </p><p> เดินหน้ารื้อบอร์ดพลังงาน</p><p> </p><p> 'คำถามก็คือ ในเมื่อผู้มีหน้าที่ควบคุมผลประโยชน์ประเทศและผลประโยชน์บริษัทมีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายพลังงานซึ่งมีผลต่อทั้ง 2 ฝ่าย นั้นจะเลือกที่จะพิจารณาในแนวทางใดระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนหรือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร็วที่สุด'</p><p> </p><p> รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ระบุ พร้อมเผยถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในส่วนแรกนั้นคณะกมธฯจะเรียก ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เข้ามาชี้แจงในกรณีดังกล่าวเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คัดสรรบุคคล-ข้าราชการเข้าสู่คณะกรรมด้านกิจการพลังงานชุดต่างของรัฐ</p><p> </p><p> ซึ่งในการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนอาจจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบและเกณฑ์การคัดเลือกให้มีความเหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น อาทิ การห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของบริษัทเอกชนอย่างเด็ดขาด รวมถึงการประสานไปยังคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.)ในการแก้ไขกฎระเบียบข้าราชการในการเข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนอีกด้วย</p><p> </p><p> รวมถึง การตั้งกระทู้ถามไปยังกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบให้ทราบถึงปัญหาและดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด</p><p> </p><p> จี้คลังทวงคืน</p><p> ท่อก๊าซ 3.2 หมื่นล้าน</p><p> </p><p> นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ภายหลังที่ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในกรณี ไต่สวนกรณีที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินคืนแก่แผ่นดินไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากมิใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง ดังนั้น จึงมีความพยายามผลักดันให้กระทรวงการคลังเข้ามาทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติโดยเร็วที่สุด</p><p> </p><p> 'หลังจากที่ศาลยกคำร้อง ก็จำเป็นต้องพึ่งกระทรวงการคลังในการทำหน้าที่ทวงคืนแทนผ่านกระบวนการในรัฐสภา หากยังไม่ได้ก็จำเป็นต้องประสานภาคประชาชนเพื่อกดดันในการทวงคืนท่อก๊าซต่อไป'รสนา ระบุ</p><p> </p><p> ทั้งนี้ ปตท.ได้แบ่งแยกทรัพย์สินคืนให้แก่รัฐในช่วงเดือนธ.ค.51ที่ผ่านมารวมทั้งสิ้นเพียง 16,176.22ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ที่ดินเวนคืน1.42 ล้านบาท สิทธิในการใช้ที่ดิน1,124.11ล้านบาท และระบบท่อก๊าซธรรมชาติในที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิ 3 โครงการอีก 15,050.69 ล้านบาทซึ่งทั้งหมดเป็นทรัพย์ก่อนการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ของปตท.ในวันที่ 1ต.ค.44</p><p> </p><p> ขณะที่จากข้อมูลของการตรวจสอบ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) นั้นพบว่าปตท.ยังต้องคืนทรัพย์สินอีกว่า 32,613 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐภายหลังการแปรรูป ณ วันที่ 1 ต.ค.44 อีกกว่า 157,102 ล้านบาทเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้สิทธิของรัฐและประชาชนจึงจำเป็นต้องคืนให้แก่รัฐตามคำวินิจฉัยของศาลด้วยนั่นเอง</p><p> </p><p> ดังนั้น หากกระทรวงการคลังยังไม่ทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นก็จะมีการประสานไปยังมูลนิธิผู้บริโภคเพื่อกดดันในเรื่องดังกล่าวต่อไป</p><p> </p><p> จับตาปตท.ขึ้นค่าผ่านท่อ</p><p> ฟันกำไร 4,500 ล้าน</p><p> </p><p> นอกจากนี้ ยังมีกรณีเร่งด่วนที่ส่งผลต่อการครองชีพของประชาชนอย่างยิ่งโดยเฉพาะการยื่นต่อ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ภายในวันที่ 16 มี.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติเพิ่มค่าผ่านท่อจากเดิมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 19 บาทต่อ 1 ล้านบีทียูไปอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อ 1 ล้านบีทียู ซึ่งจะส่งผลให้ปตท.มีกำไรจากกิจการดังกล่าวปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท หรือโดยรวมอยู่ที่ราวๆ 4,500 ล้านบาท เนื่องจากส่วนต่างนั้นมิได้เพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 1บาทเท่านั้น หากแต่ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่ 17บาทต่อ 1 ล้านบีทียูเท่านั้น</p><p> </p><p> และเมื่อพิจารณาจากต้นทุนของปตท.ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐในการใช้ท่อส่งก๊าซดังกล่าวนั้นพบว่ามีต้นทุนที่ถูกมากโดยอยู่ที่ราวๆ 1,300 ล้านบาทต่อระยะเวลา 30 ปี</p><p> </p><p> นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลจากการประเมินโดยตรงของปตท.จากการจ้างบริษัทเอกชนในการประเมินราคาเพื่อปรับค่าผ่านท่อดังกล่าวนั้น พบว่าตัวเลขต้นทุนของท่อมีมูลค่าสูงสุดถึง 112,500 ล้านบาทหรือจากการกระเมินต่ำสุดที่ประมาณ 86,730 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าท่อก๊าซที่ปตท.คืนให้แก่รัฐตามคำวินิฉัยของศาลอยู่ที่ประมาณ 16,176.22ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าราคาที่ปตท.ประเมินไว้อย่างมาก</p><p> </p><p> ดังนั้น ราคาที่ปตท.ประเมินนั้นค่อนข้างสูงด้วยฐานคิดจากการบำรุงรักษาท่อ การคิดค่าเสื่อม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ราคาที่ปตท.ขอปรับขึ้นค่าผ่านท่อจึงมีอัตราที่ค่อนข้างสูงอย่างมาก และสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างสูงจากต้นทุนของท่อที่ได้รับสัมปทานจากรัฐในอัตราที่ต่ำมาก</p><p> </p><p> 'ก่อนวันที่ 16 มี.ค.นี้จำเป็นต้องมีการยื่นเรื่องต่อกระทรวงการคลังและเรียกบอร์ดเข้ามาชี้แจงเพื่อระงับการขึ้นค่าผ่านท่อดังกล่าวเนื่องจากรัฐเสียเปรียบและประชาชนจะต้องแบกรับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงเกินไปอย่างไม่ยุติธรรม' รสนา ระบุ</p><p> </p><p> บทสรุปในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและช่วยเหลือประชาชนให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงเกินไปจึงอยู่ที่ คณะกรรมการกิจการพลังงานที่จะเลือกในการจัดสรรประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่ในฐานะข้าราชการหรือจะเลือกให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนส่วนน้อยของประเทศเท่านั้น...</p><p> </p><p> **************</p><p> </p><p> PTT อาจได้เห็นที่ 134</p><p> </p><p> การยื่นเรื่องสอบถามปัญหาการโอนทรัพย์สินของ ปตท. คืนกระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนต่อประธานวุฒิสภาของ รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา เมื่อ 11 มีนาคม 2552 ส่งผลให้ราคาหุ้น PTT ปรับลดลงเหลือเพียง 144 บาท</p><p> </p><p> หลังจากทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังการแปรรูป บริษัท ปตท. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 นั้น ไม่มีการโอนคืนแก่รัฐแต่อย่างใด ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 157,102 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดนี้ได้มาด้วยการใช้อำนาจมหาชน ซึ่งบริษัท ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐตามคำพิพากษาของศาล</p><p> </p><p> 'ตรงนี้ถือว่าเป็นปัจจัยลบสำหรับ PTT แน่นอน และบริษัทในเครือแน่ แม้เรื่องดังกล่าวจะทราบกันโดยทั่วไปแล้วก็ตาม แต่หากต้องมีการทำตามคำสั่งศาลปกครองย่อมส่งผลต่อมูลค่าสินทรัพย์และรายได้ของ PTT ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขณะนี้ยังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง'</p><p> </p><p> หากประเมินจากสถานการณ์ในขณะนี้ราคาพื้นฐานของ PTT อยู่ที่ประมาณ 190 บาท ส่วนราคาตลาดคงต้องดูดัชนีตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร แต่หากตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเชื่อว่าราคาน่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 140-150 บาทเท่านั้น</p><p> </p><p> แต่หากดัชนีตลาดหลุด 400 จุดลงมาเหลือ 380 จาก ตัว PTT น่าจะอยู่ที่ประมาณ 130-134 บาท ดังนั้นหุ้นในกลุ่มพลังงานในระยะนี้คงไม่ใช่หุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีเหมือนอดีต ทั้งจากการใช้ที่ลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลก และผลกระทบภายในประเทศ</p><p> </p><p> ส่วนผู้ลงทุนจะเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้คงต้องเลือกว่าจะลงทุนในระยะสั้นหรือระยะยาว หากสามารถถือยาว ๆ ได้ตัวนี้ก็น่าสนใจหากเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น</p><p> </p><p> *************</p><p> </p><p> ความจริง 'LPG' ประชาชนต้องรู้.!</p><p> ปตท.มุ่งโกย-โยนภาระให้คนไทย</p><p> </p><p> เผยไส้ในปตท.กรณีก๊าซ LPG ชี้ครัวเรือนใช้ลดลงทุกปี ขณะที่ 'ปิโตรฯ-อุต' ยอดพุ่งมหาศาล ส่วนก๊าซธรรมชาติมีเพียงพอแต่ไม่ยอมสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มสาเหตุก๊าซขาดแคลน พร้อมระบุนำเข้า 10% ปีที่แล้วยอด 8,020 ล้าน โยนภาระให้ประชาชนต้องรับในส่วนต่างด้านราคา ขณะที่ปตท.-บริษัทลูกไม่เกี่ยวข้อง ยืนยันปตท.ผูดขาดธุรกิจพลังงานครบวงจร</p><p> </p><p> ในช่วงกลางปีผ่านมามีความพยายามจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงพลังงานในการขอขึ้นราคาก๊าซ LPG (LIQUID PETROLEUM GAS) ในประเทศ ซึ่งเหตุผลทุกครั้งในการขอขึ้นคือไทยต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ และราคาในตลาดโลกก็สูงขึ้นแต่คนไทยยังใช้ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ล่าสุดยังมีความพยายามเสนอเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 16 ม.ค. 2552 ต่อ คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กทพ.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แต่ผลสุดท้ายกพช.ก็ให้ยับยั้งไม่อนุมัติการขอขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG )อีก 2.70 บาท/กิโลกรัม</p><p> </p><p> ประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจคือหลังจากที่ปีที่แล้ว LPG ในประเทศขาดแคลนทำให้ไทยต้องนำเข้าถึง 10% โดยมีปตท.เป็นผู้แบกรับสำรองเงินจ่ายไปก่อนกว่า 8,020 ล้านบาทนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ทั้งกระทรวงพลังงานและปตท.ได้พยายามขอขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในประเทศในช่วงที่ผ่านมา</p><p> </p><p> ถามว่าความเป็นจริงของเรื่องดังกล่าวคืออะไร ก๊าซ LPG ในประเทศขาดแคลนจริงหรือไม่ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ขาดแคลน 'ภาคครัวเรือน' เป็นจำเลยของสังคมจริงหรือไม่ แล้วโรงแยกก๊าซในประเทศมีเพียงพอจริงหรือ เพราะก๊าซ LPG ในประเทศกว่า 60% มาจากการขุดเจาะที่อ่าวไทยแล้วทำไมคนไทยต้องใช้ราคาก๊าซที่สูงเท่ากับราคาตลาดโลก นี่คือคำถามที่ผู้เกี่ยวข้องตอบ..</p><p> </p><p> เผย 'อุต-ปิโตรฯ'</p><p> แย่งก๊าซเกือบครึ่ง.!</p><p> </p><p> คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยและต้องการคำตอบมากที่สุดคือก๊าซ LPG มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศหรือไม่จากขอมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ถึงปีละ 4.05 ล้านตันซึ่งแบ่งได้เป็นการใช้ของภาคครัวเรือนและยานยนต์ประมาณปีละ 2.66 ล้านตันและลดการใช้ลงทุกปีแปลว่ามี LPG เหลือเฟือสำหรับการใช้ในครัวเรือนของไทย แต่ทำไมยังขาดแคลนเพราะมีอีกกลุ่มที่ใช้ LPG มากที่สุดในระดับรองลงมาคือกลุ่มอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี กลุ่มนี้มีอัตราส่วนในการใช้ LPG ในประเทศสูงถึง 40.3 % สูงเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีแปลว่าที่ LPG ขาดแคลนในปีที่แล้วส่วนหนึ่งก็มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีใช่หรือไม่ แล้วทำไมทุกครั้งที่มีข่าวว่าก๊าซขาดแคลนกลุ่มคนที่ถูกกล่าวถึงมีเพียงกลุ่มผู้ใช้ครัวเรือนและยานยนต์เท่านั้น</p><p> </p><p> ขณะที่การขาดแคลน LPGในประเทศน่าจะมาจากการไม่มีโรงแยกกาซที่ไม่เพียงพอเห็นได้จากก่อนที่ปตท.ได้แปรรูปในตลาดหลักทรัพย์ปตท.ได้เดินหน้าก่อสร้างโรงงานแยกก๊าซไว้ถึง 4 โรงโดยคำนึงประชาชนเป็นหลักในยามที่ขาดแคลน เหมือนที่กฟผ.(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) ที่ต้องคำนวณล่วงหน้าถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตเมื่อถึงจุดพีคไฟฟ้าจะได้ไม่ดับ แต่ปตท.เมื่อแปรรูป (1 ธ.ค. 2544)ไปแล้ว ได้สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 1 โรง เพราะปตท.สามารถคำนวณความต้องการใช้ในประเทศล่วงหน้าได้อยู่แล้ว และในอนาคต ปตท.ก็เชื่อว่าจะมีการขาดแคลนเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้น เพราะปตท.เกรงว่าจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้บริษัท และต้องคำนึกถึงผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่ประชาชนเจ้าของประเทศอีกต่อไป</p><p> </p><p> ปตท.ไม่สนประชาชน</p><p> ผู้ถือหุ้นมาก่อน</p><p> </p><p> นอกจากนี้ในยามที่ก๊าซ LPG ขาดแคลนมีเสียงเรียกร้องให้สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นปตท.กลับต่อรองว่าจะสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มได้แต่ภาครัฐก็ต้องให้ขึ้นราคาก๊าซ LPG เช่นกันแปลว่าปตท.กำลังเอาประชาชนส่วนใหญ่ของเป็นตัวประกันสนองความต้องผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่คนกระนั้นหรือ</p><p> </p><p> 'ปัจจุบันการผลิตก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซ ปตท.มาจากอ่าวไทยทั้งหมดซึ่งในหนึ่งวันมีการนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาวันละประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันซึ่งหากเทียบกับรัฐอลาสก้าจำนวนดังกล่าวมากกว่า 2 เท่าซึ่งถือว่าเยอะมาก แต่โรงแยกก๊าซของปตท.รองรับได้เพียง 1,7000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันเท่านั้น ทำให้ไทยต้องสูญเสียก๊าซธรรมชาติวันละ 600-700 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ซึ่งหากนำส่วนนี้มาผลิตก๊าซ LPG จะได้ก๊าซเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ล้านตัว/ปีและชดเชยส่วนที่ขาดและต้องนำเข้ามา 10 % ของปี2551 ได้' แหล่งข่าวจากระทรวงพลังงาน ระบุ</p><p> </p><p> อย่างไรก็ตามจากกรณีที่ปตท.ต้องแบกรับนำเข้าก๊าซในปีที่ผ่านมาจำนวน 10% คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,020 ล้านซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายคืนในเดือนเม.ย.นี้ในราคาที่นำเข้ามา 825 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (27บาท/กิโลกรัม) แต่ในความเป็นจริง เวลาที่นำเข้า 10% ในราคา825 เหรียญสหรัฐฯ/ตันปตท.จะนำมาลบกับตัวเลขผู้ใช้ในประเทศที่ราคา 323 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (13 บาท/กิโลกรัม) จะเป็นตัวหนี้กองทุนเชื้อเพลิงพลังงานทุกลิตรที่ประชาชนต้องรับผิดชอบ</p><p> </p><p> สุดท้ายประชาชน</p><p> รับกรรมนำเข้า LPG</p><p> </p><p> ขณะที่อุตสาหกรรมและปิโตรเคมีที่เป็นบริษัทลูกของเครือปตท.จะซื้อก๊าซจากบริษัทแม่ในราคา 496 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (16 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงแต่ ปตท.ให้เหตุผลว่าหากอุตสาหกรรมและกลุ่มปิโตรเคมีซื้อในราคาที่นำเข้ามาบริษัทลูกๆเหล่านี้จะเจ๊งได้ และยังยืนยันว่าแม้ตัวเลขที่ซื้อจะน้อยกว่าราคาที่นำเข้ามาแต่ก็ยังสูงกว่าประชาชนผู้บริโภคแต่การที่ปตท.สำรองจ่ายไปก่อนเป็นเงิน 8,020 ล้านบาทเหมือนจะดี แต่เงินที่รัฐบาลจะนำมาจ่ายคืนให้ปตท.ล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งนั้นแปลว่าประชาชนที่ใช้กาซในราคา 323 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (13 บาท/กิโลกรัม) ต้องแบกรับส่วนต่างที่นำเข้ามาที่825 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (27บาท/กิโลกรัม)</p><p> </p><p> 'พูดง่ายๆว่านำเข้ามามากเท่าไหร่ ประชาชนจะรับผิดชอบแทนเพียงฝ่ายเดียว ทำไมไม่บอกประชาชนว่าประชาชนนั่นแหละแบกรับส่วนต่างราคานำเข้ามาตลอด ปตท.สำรองจ่ายให้ก่อนเท่านั้นแล้วเงินส่วนนี้จะไปตกแก่หลวงหรือว่าผู้ถือหุ้น' แหล่งข่าวคนเดิมระบุ</p><p> </p><p> รายงานข่าวจากปตท.แจ้งว่าที่ปี 2552 นี้ปตท.คาดว่าไทยจะต้องนำเข้า LPGประมาณ 1 ล้านตันคิดเป็นภาระนำเข้ากว่า 1 หมื่นล้านบาทโดยปตท.คงไม่สามารถสำรองจ่ายส่วนต่างราคา LPG นำเข้ากับขายในประเทศได้หากครบวงเงินที่บอร์ดฯอนุมัติไว้ 1 หมื่นล้านบาท</p><p> </p><p> ไทยจ่าย LPG</p><p> สูงกว่าตลาดโลก</p><p> </p><p> อย่างไรก็ดีแม้การผลิต LPG ในประเทศจะมาจากโรงแยกก๊าซ 60 % ประมาณกว่า 2 ล้านตันกว่าและอีกส่วนจะมาจากโรงกลั่น 40% ประมาณ 1ล้านตันกว่ารวมการผลิตทั้งหมดในประเทศประมาณ 4 ล้านตันเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศแต่ทำไมกระทรวงพลังงานและปตท.ยังพยายามที่จะขอขึ้นราคาก๊าซ LPG ในประเทศจากราคา 18.30 บาทต่อกิโลกรัมขึ้นเป็นราคา 20 .83 บาทต่อกิโลกรัมขณะที่ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกก็ลดต่ำลงมาเรื่อยๆโดยราคาในตลาดโลกตอนนี้อยู่ที่ 13.30 บาทต่อกิโลกรัม แล้วคนไทยยังต้องจ่ายราคาค่าก๊าซ LPG ในราคาที่สูงกว่าตลาดโลกซึ่งการผลิตก็ล้วนมาจากทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นไทยทั้งนั้น ประกอบกับก๊าซที่ได้ในประเทศก็ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดโลก แต่ถึงเวลาจะขายก็อ้างอิงราคาในตลาดโลกตลอดโดยไม่รับผิดชอบต่อประชาชนแต่มุ่งแสวงหากำไรสนองผู้ถือหุ้นจนเกินงาม</p><p> </p><p> นอกจากนี้บริษัทปตท. เป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ผูกขาดธุรกิจพลังงานในบ้านเราแบบครบวงจร อาทิ โรงแยกก๊าซ ธุรกิจก๊าซเอ็นจีวี ธุรกิจท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ธุรกิจการกลั่นน้ำมันนั้น (ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน 5 โรงจาก 6 โรงกลั่นขนาดใหญ่) ที่มีกำลังการผลิตรวมกันกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน</p><p> </p><p> ส่วนความได้เปรียบในธุรกิจพลังงานบริษัทปตท.สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การผูกขาดการขายน้ำมันและก๊าซให้กับรัฐ การผูกขาดในธุรกิจแยกก๊าซ การผูกขาดในธุรกิจขนส่งก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งได้เปรียบจากจากทรัพย์สินที่โอนไปจากรัฐเมื่อตอนแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมาเป็นเอกชนอาทิ โครงการก่อสร้างท่อก๊าซ ซึ่งหลังจากแปรรูปฯปตท.ได้เก็บค่าผ่านท่อในแต่ละปีเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาทซึ่งสุดท้ายค่าผ่านท่อนี้ ก็ถูกผลักภาระมาสู่ประชาชนในรูปราคาขายปลีกพลังงานที่สูงขึ้น</p><p> </p><p> ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าประชาชนซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าของท่อก๊าซเพราะเป็นผู้จ่ายค่าก่อสร้าง กลับจะต้องจ่ายค่าใช้ท่อก๊าซอีกด้วยในปัจจุบัน เสมือนกับเจ้าของบ้านเมื่อลงทุนลงแรงสร้างบ้านของตนเสร็จเรียบร้อย บ้านกลับถูกโอนไปเป็นของคนอื่น ทำให้เจ้าของบ้านต้องกลับมาเช่าบ้านหลังเดิมนี้อีกเพื่ออยู่อาศัย</p><p> </p><p> ถึงเวลาหรือยังที่จะให้คนไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของประเทศมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเอง หรือผูกขาดให้บางบริษัท และนักการเมืองร่วมกันทึ้งประเทศไทยต่อไปอย่างนี้อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น.![/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="rv26, post: 1037424, member: 2770"]การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการควบคุมด้านพลังงานอันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของชาติอย่าง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนภายหลังการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และเปลี่ยนโฉมเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แน่นอนว่านโยบายและทิศทางการดำเนินธุรกิจส่วนหนึ่งสามารถสร้างความยั่งยืนในด้านพลังงานของชาติได้อย่างดี ทว่ากำไรสูงสุดในฐานะองค์กรภาคเอกชนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้กันอยู่นั้นสูงเกินจริงอย่างคาดไม่ถึง และประชาชนต้องทนแบกรับโดยไม่อาจปริปากหรือต่อต้านได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ ปัญหาต้นทุนด้านพลังงานข้างต้นนั้น มีสาเหตุมาจากหลัก คือ ปัญหาในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน อันเนื่องมาจากคณะกรรมการด้านพลังงานชุดต่างๆ อาทิ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ทั้งระดับปลัด รองปลัด อธิบดี รวมถึงผู้ตรวจราชการนั้นยังไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของบริษัทเอกชนด้านพลังงานต่างๆ ที่มุ่งเน้นการทำกำไรสูงสุดให้กับบริษัทต้นสังกัด ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส จากบริษัทพลังงานต่างๆ สูงกว่ารายได้ประจำจากราชการ ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทเอกชนไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทใดบริษัทหนึ่ง นอกจากจะเป็นการเสี่ยงต่อการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ชาติแล้ว ซ้ำร้ายจะยังเป็นการทำลายการแข่งขันในธุรกิจพลังงานซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อบริษัทคู่แข่งและนำไปสู่การผูกขาดทางธุรกิจ สุดท้ายประชาชนจะถูกมัดมือชกโดยปราศจากทางเลือกในการใช้พลังงานในราคาที่เหมาะสมตามความเป็นจริง นั่นเอง เดินหน้ารื้อบอร์ดพลังงาน 'คำถามก็คือ ในเมื่อผู้มีหน้าที่ควบคุมผลประโยชน์ประเทศและผลประโยชน์บริษัทมีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายพลังงานซึ่งมีผลต่อทั้ง 2 ฝ่าย นั้นจะเลือกที่จะพิจารณาในแนวทางใดระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนหรือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร็วที่สุด' รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ระบุ พร้อมเผยถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในส่วนแรกนั้นคณะกมธฯจะเรียก ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เข้ามาชี้แจงในกรณีดังกล่าวเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คัดสรรบุคคล-ข้าราชการเข้าสู่คณะกรรมด้านกิจการพลังงานชุดต่างของรัฐ ซึ่งในการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนอาจจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบและเกณฑ์การคัดเลือกให้มีความเหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น อาทิ การห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของบริษัทเอกชนอย่างเด็ดขาด รวมถึงการประสานไปยังคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.)ในการแก้ไขกฎระเบียบข้าราชการในการเข้าดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนอีกด้วย รวมถึง การตั้งกระทู้ถามไปยังกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบให้ทราบถึงปัญหาและดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด จี้คลังทวงคืน ท่อก๊าซ 3.2 หมื่นล้าน นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ภายหลังที่ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในกรณี ไต่สวนกรณีที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินคืนแก่แผ่นดินไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากมิใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง ดังนั้น จึงมีความพยายามผลักดันให้กระทรวงการคลังเข้ามาทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติโดยเร็วที่สุด 'หลังจากที่ศาลยกคำร้อง ก็จำเป็นต้องพึ่งกระทรวงการคลังในการทำหน้าที่ทวงคืนแทนผ่านกระบวนการในรัฐสภา หากยังไม่ได้ก็จำเป็นต้องประสานภาคประชาชนเพื่อกดดันในการทวงคืนท่อก๊าซต่อไป'รสนา ระบุ ทั้งนี้ ปตท.ได้แบ่งแยกทรัพย์สินคืนให้แก่รัฐในช่วงเดือนธ.ค.51ที่ผ่านมารวมทั้งสิ้นเพียง 16,176.22ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ที่ดินเวนคืน1.42 ล้านบาท สิทธิในการใช้ที่ดิน1,124.11ล้านบาท และระบบท่อก๊าซธรรมชาติในที่ดินเวนคืนและที่ดินรอนสิทธิ 3 โครงการอีก 15,050.69 ล้านบาทซึ่งทั้งหมดเป็นทรัพย์ก่อนการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ของปตท.ในวันที่ 1ต.ค.44 ขณะที่จากข้อมูลของการตรวจสอบ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) นั้นพบว่าปตท.ยังต้องคืนทรัพย์สินอีกว่า 32,613 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐภายหลังการแปรรูป ณ วันที่ 1 ต.ค.44 อีกกว่า 157,102 ล้านบาทเนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้สิทธิของรัฐและประชาชนจึงจำเป็นต้องคืนให้แก่รัฐตามคำวินิจฉัยของศาลด้วยนั่นเอง ดังนั้น หากกระทรวงการคลังยังไม่ทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นก็จะมีการประสานไปยังมูลนิธิผู้บริโภคเพื่อกดดันในเรื่องดังกล่าวต่อไป จับตาปตท.ขึ้นค่าผ่านท่อ ฟันกำไร 4,500 ล้าน นอกจากนี้ ยังมีกรณีเร่งด่วนที่ส่งผลต่อการครองชีพของประชาชนอย่างยิ่งโดยเฉพาะการยื่นต่อ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ภายในวันที่ 16 มี.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติเพิ่มค่าผ่านท่อจากเดิมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 19 บาทต่อ 1 ล้านบีทียูไปอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อ 1 ล้านบีทียู ซึ่งจะส่งผลให้ปตท.มีกำไรจากกิจการดังกล่าวปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท หรือโดยรวมอยู่ที่ราวๆ 4,500 ล้านบาท เนื่องจากส่วนต่างนั้นมิได้เพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 1บาทเท่านั้น หากแต่ต้นทุนที่แท้จริงอยู่ที่ 17บาทต่อ 1 ล้านบีทียูเท่านั้น และเมื่อพิจารณาจากต้นทุนของปตท.ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐในการใช้ท่อส่งก๊าซดังกล่าวนั้นพบว่ามีต้นทุนที่ถูกมากโดยอยู่ที่ราวๆ 1,300 ล้านบาทต่อระยะเวลา 30 ปี นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลจากการประเมินโดยตรงของปตท.จากการจ้างบริษัทเอกชนในการประเมินราคาเพื่อปรับค่าผ่านท่อดังกล่าวนั้น พบว่าตัวเลขต้นทุนของท่อมีมูลค่าสูงสุดถึง 112,500 ล้านบาทหรือจากการกระเมินต่ำสุดที่ประมาณ 86,730 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าท่อก๊าซที่ปตท.คืนให้แก่รัฐตามคำวินิฉัยของศาลอยู่ที่ประมาณ 16,176.22ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าราคาที่ปตท.ประเมินไว้อย่างมาก ดังนั้น ราคาที่ปตท.ประเมินนั้นค่อนข้างสูงด้วยฐานคิดจากการบำรุงรักษาท่อ การคิดค่าเสื่อม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ราคาที่ปตท.ขอปรับขึ้นค่าผ่านท่อจึงมีอัตราที่ค่อนข้างสูงอย่างมาก และสามารถทำกำไรได้ค่อนข้างสูงจากต้นทุนของท่อที่ได้รับสัมปทานจากรัฐในอัตราที่ต่ำมาก 'ก่อนวันที่ 16 มี.ค.นี้จำเป็นต้องมีการยื่นเรื่องต่อกระทรวงการคลังและเรียกบอร์ดเข้ามาชี้แจงเพื่อระงับการขึ้นค่าผ่านท่อดังกล่าวเนื่องจากรัฐเสียเปรียบและประชาชนจะต้องแบกรับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงเกินไปอย่างไม่ยุติธรรม' รสนา ระบุ บทสรุปในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและช่วยเหลือประชาชนให้ไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงเกินไปจึงอยู่ที่ คณะกรรมการกิจการพลังงานที่จะเลือกในการจัดสรรประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่ในฐานะข้าราชการหรือจะเลือกให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นคนส่วนน้อยของประเทศเท่านั้น... ************** PTT อาจได้เห็นที่ 134 การยื่นเรื่องสอบถามปัญหาการโอนทรัพย์สินของ ปตท. คืนกระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนต่อประธานวุฒิสภาของ รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาธิบาล วุฒิสภา เมื่อ 11 มีนาคม 2552 ส่งผลให้ราคาหุ้น PTT ปรับลดลงเหลือเพียง 144 บาท หลังจากทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังการแปรรูป บริษัท ปตท. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 นั้น ไม่มีการโอนคืนแก่รัฐแต่อย่างใด ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 157,102 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดนี้ได้มาด้วยการใช้อำนาจมหาชน ซึ่งบริษัท ปตท.จะต้องคืนให้แก่รัฐตามคำพิพากษาของศาล 'ตรงนี้ถือว่าเป็นปัจจัยลบสำหรับ PTT แน่นอน และบริษัทในเครือแน่ แม้เรื่องดังกล่าวจะทราบกันโดยทั่วไปแล้วก็ตาม แต่หากต้องมีการทำตามคำสั่งศาลปกครองย่อมส่งผลต่อมูลค่าสินทรัพย์และรายได้ของ PTT ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขณะนี้ยังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง' หากประเมินจากสถานการณ์ในขณะนี้ราคาพื้นฐานของ PTT อยู่ที่ประมาณ 190 บาท ส่วนราคาตลาดคงต้องดูดัชนีตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร แต่หากตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเชื่อว่าราคาน่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 140-150 บาทเท่านั้น แต่หากดัชนีตลาดหลุด 400 จุดลงมาเหลือ 380 จาก ตัว PTT น่าจะอยู่ที่ประมาณ 130-134 บาท ดังนั้นหุ้นในกลุ่มพลังงานในระยะนี้คงไม่ใช่หุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีเหมือนอดีต ทั้งจากการใช้ที่ลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลก และผลกระทบภายในประเทศ ส่วนผู้ลงทุนจะเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้คงต้องเลือกว่าจะลงทุนในระยะสั้นหรือระยะยาว หากสามารถถือยาว ๆ ได้ตัวนี้ก็น่าสนใจหากเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น ************* ความจริง 'LPG' ประชาชนต้องรู้.! ปตท.มุ่งโกย-โยนภาระให้คนไทย เผยไส้ในปตท.กรณีก๊าซ LPG ชี้ครัวเรือนใช้ลดลงทุกปี ขณะที่ 'ปิโตรฯ-อุต' ยอดพุ่งมหาศาล ส่วนก๊าซธรรมชาติมีเพียงพอแต่ไม่ยอมสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มสาเหตุก๊าซขาดแคลน พร้อมระบุนำเข้า 10% ปีที่แล้วยอด 8,020 ล้าน โยนภาระให้ประชาชนต้องรับในส่วนต่างด้านราคา ขณะที่ปตท.-บริษัทลูกไม่เกี่ยวข้อง ยืนยันปตท.ผูดขาดธุรกิจพลังงานครบวงจร ในช่วงกลางปีผ่านมามีความพยายามจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงพลังงานในการขอขึ้นราคาก๊าซ LPG (LIQUID PETROLEUM GAS) ในประเทศ ซึ่งเหตุผลทุกครั้งในการขอขึ้นคือไทยต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ และราคาในตลาดโลกก็สูงขึ้นแต่คนไทยยังใช้ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ล่าสุดยังมีความพยายามเสนอเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 16 ม.ค. 2552 ต่อ คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กทพ.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แต่ผลสุดท้ายกพช.ก็ให้ยับยั้งไม่อนุมัติการขอขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG )อีก 2.70 บาท/กิโลกรัม ประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจคือหลังจากที่ปีที่แล้ว LPG ในประเทศขาดแคลนทำให้ไทยต้องนำเข้าถึง 10% โดยมีปตท.เป็นผู้แบกรับสำรองเงินจ่ายไปก่อนกว่า 8,020 ล้านบาทนั่นคือสาเหตุที่ทำให้ทั้งกระทรวงพลังงานและปตท.ได้พยายามขอขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ถามว่าความเป็นจริงของเรื่องดังกล่าวคืออะไร ก๊าซ LPG ในประเทศขาดแคลนจริงหรือไม่ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ขาดแคลน 'ภาคครัวเรือน' เป็นจำเลยของสังคมจริงหรือไม่ แล้วโรงแยกก๊าซในประเทศมีเพียงพอจริงหรือ เพราะก๊าซ LPG ในประเทศกว่า 60% มาจากการขุดเจาะที่อ่าวไทยแล้วทำไมคนไทยต้องใช้ราคาก๊าซที่สูงเท่ากับราคาตลาดโลก นี่คือคำถามที่ผู้เกี่ยวข้องตอบ.. เผย 'อุต-ปิโตรฯ' แย่งก๊าซเกือบครึ่ง.! คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยและต้องการคำตอบมากที่สุดคือก๊าซ LPG มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศหรือไม่จากขอมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ถึงปีละ 4.05 ล้านตันซึ่งแบ่งได้เป็นการใช้ของภาคครัวเรือนและยานยนต์ประมาณปีละ 2.66 ล้านตันและลดการใช้ลงทุกปีแปลว่ามี LPG เหลือเฟือสำหรับการใช้ในครัวเรือนของไทย แต่ทำไมยังขาดแคลนเพราะมีอีกกลุ่มที่ใช้ LPG มากที่สุดในระดับรองลงมาคือกลุ่มอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี กลุ่มนี้มีอัตราส่วนในการใช้ LPG ในประเทศสูงถึง 40.3 % สูงเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีแปลว่าที่ LPG ขาดแคลนในปีที่แล้วส่วนหนึ่งก็มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีใช่หรือไม่ แล้วทำไมทุกครั้งที่มีข่าวว่าก๊าซขาดแคลนกลุ่มคนที่ถูกกล่าวถึงมีเพียงกลุ่มผู้ใช้ครัวเรือนและยานยนต์เท่านั้น ขณะที่การขาดแคลน LPGในประเทศน่าจะมาจากการไม่มีโรงแยกกาซที่ไม่เพียงพอเห็นได้จากก่อนที่ปตท.ได้แปรรูปในตลาดหลักทรัพย์ปตท.ได้เดินหน้าก่อสร้างโรงงานแยกก๊าซไว้ถึง 4 โรงโดยคำนึงประชาชนเป็นหลักในยามที่ขาดแคลน เหมือนที่กฟผ.(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) ที่ต้องคำนวณล่วงหน้าถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตเมื่อถึงจุดพีคไฟฟ้าจะได้ไม่ดับ แต่ปตท.เมื่อแปรรูป (1 ธ.ค. 2544)ไปแล้ว ได้สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 1 โรง เพราะปตท.สามารถคำนวณความต้องการใช้ในประเทศล่วงหน้าได้อยู่แล้ว และในอนาคต ปตท.ก็เชื่อว่าจะมีการขาดแคลนเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้น เพราะปตท.เกรงว่าจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้บริษัท และต้องคำนึกถึงผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่ประชาชนเจ้าของประเทศอีกต่อไป ปตท.ไม่สนประชาชน ผู้ถือหุ้นมาก่อน นอกจากนี้ในยามที่ก๊าซ LPG ขาดแคลนมีเสียงเรียกร้องให้สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นปตท.กลับต่อรองว่าจะสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มได้แต่ภาครัฐก็ต้องให้ขึ้นราคาก๊าซ LPG เช่นกันแปลว่าปตท.กำลังเอาประชาชนส่วนใหญ่ของเป็นตัวประกันสนองความต้องผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่คนกระนั้นหรือ 'ปัจจุบันการผลิตก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซ ปตท.มาจากอ่าวไทยทั้งหมดซึ่งในหนึ่งวันมีการนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาวันละประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันซึ่งหากเทียบกับรัฐอลาสก้าจำนวนดังกล่าวมากกว่า 2 เท่าซึ่งถือว่าเยอะมาก แต่โรงแยกก๊าซของปตท.รองรับได้เพียง 1,7000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันเท่านั้น ทำให้ไทยต้องสูญเสียก๊าซธรรมชาติวันละ 600-700 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ซึ่งหากนำส่วนนี้มาผลิตก๊าซ LPG จะได้ก๊าซเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ล้านตัว/ปีและชดเชยส่วนที่ขาดและต้องนำเข้ามา 10 % ของปี2551 ได้' แหล่งข่าวจากระทรวงพลังงาน ระบุ อย่างไรก็ตามจากกรณีที่ปตท.ต้องแบกรับนำเข้าก๊าซในปีที่ผ่านมาจำนวน 10% คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,020 ล้านซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายคืนในเดือนเม.ย.นี้ในราคาที่นำเข้ามา 825 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (27บาท/กิโลกรัม) แต่ในความเป็นจริง เวลาที่นำเข้า 10% ในราคา825 เหรียญสหรัฐฯ/ตันปตท.จะนำมาลบกับตัวเลขผู้ใช้ในประเทศที่ราคา 323 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (13 บาท/กิโลกรัม) จะเป็นตัวหนี้กองทุนเชื้อเพลิงพลังงานทุกลิตรที่ประชาชนต้องรับผิดชอบ สุดท้ายประชาชน รับกรรมนำเข้า LPG ขณะที่อุตสาหกรรมและปิโตรเคมีที่เป็นบริษัทลูกของเครือปตท.จะซื้อก๊าซจากบริษัทแม่ในราคา 496 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (16 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงแต่ ปตท.ให้เหตุผลว่าหากอุตสาหกรรมและกลุ่มปิโตรเคมีซื้อในราคาที่นำเข้ามาบริษัทลูกๆเหล่านี้จะเจ๊งได้ และยังยืนยันว่าแม้ตัวเลขที่ซื้อจะน้อยกว่าราคาที่นำเข้ามาแต่ก็ยังสูงกว่าประชาชนผู้บริโภคแต่การที่ปตท.สำรองจ่ายไปก่อนเป็นเงิน 8,020 ล้านบาทเหมือนจะดี แต่เงินที่รัฐบาลจะนำมาจ่ายคืนให้ปตท.ล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งนั้นแปลว่าประชาชนที่ใช้กาซในราคา 323 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (13 บาท/กิโลกรัม) ต้องแบกรับส่วนต่างที่นำเข้ามาที่825 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน (27บาท/กิโลกรัม) 'พูดง่ายๆว่านำเข้ามามากเท่าไหร่ ประชาชนจะรับผิดชอบแทนเพียงฝ่ายเดียว ทำไมไม่บอกประชาชนว่าประชาชนนั่นแหละแบกรับส่วนต่างราคานำเข้ามาตลอด ปตท.สำรองจ่ายให้ก่อนเท่านั้นแล้วเงินส่วนนี้จะไปตกแก่หลวงหรือว่าผู้ถือหุ้น' แหล่งข่าวคนเดิมระบุ รายงานข่าวจากปตท.แจ้งว่าที่ปี 2552 นี้ปตท.คาดว่าไทยจะต้องนำเข้า LPGประมาณ 1 ล้านตันคิดเป็นภาระนำเข้ากว่า 1 หมื่นล้านบาทโดยปตท.คงไม่สามารถสำรองจ่ายส่วนต่างราคา LPG นำเข้ากับขายในประเทศได้หากครบวงเงินที่บอร์ดฯอนุมัติไว้ 1 หมื่นล้านบาท ไทยจ่าย LPG สูงกว่าตลาดโลก อย่างไรก็ดีแม้การผลิต LPG ในประเทศจะมาจากโรงแยกก๊าซ 60 % ประมาณกว่า 2 ล้านตันกว่าและอีกส่วนจะมาจากโรงกลั่น 40% ประมาณ 1ล้านตันกว่ารวมการผลิตทั้งหมดในประเทศประมาณ 4 ล้านตันเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศแต่ทำไมกระทรวงพลังงานและปตท.ยังพยายามที่จะขอขึ้นราคาก๊าซ LPG ในประเทศจากราคา 18.30 บาทต่อกิโลกรัมขึ้นเป็นราคา 20 .83 บาทต่อกิโลกรัมขณะที่ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกก็ลดต่ำลงมาเรื่อยๆโดยราคาในตลาดโลกตอนนี้อยู่ที่ 13.30 บาทต่อกิโลกรัม แล้วคนไทยยังต้องจ่ายราคาค่าก๊าซ LPG ในราคาที่สูงกว่าตลาดโลกซึ่งการผลิตก็ล้วนมาจากทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นไทยทั้งนั้น ประกอบกับก๊าซที่ได้ในประเทศก็ซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาในตลาดโลก แต่ถึงเวลาจะขายก็อ้างอิงราคาในตลาดโลกตลอดโดยไม่รับผิดชอบต่อประชาชนแต่มุ่งแสวงหากำไรสนองผู้ถือหุ้นจนเกินงาม นอกจากนี้บริษัทปตท. เป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ผูกขาดธุรกิจพลังงานในบ้านเราแบบครบวงจร อาทิ โรงแยกก๊าซ ธุรกิจก๊าซเอ็นจีวี ธุรกิจท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ธุรกิจการกลั่นน้ำมันนั้น (ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน 5 โรงจาก 6 โรงกลั่นขนาดใหญ่) ที่มีกำลังการผลิตรวมกันกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนความได้เปรียบในธุรกิจพลังงานบริษัทปตท.สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การผูกขาดการขายน้ำมันและก๊าซให้กับรัฐ การผูกขาดในธุรกิจแยกก๊าซ การผูกขาดในธุรกิจขนส่งก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งได้เปรียบจากจากทรัพย์สินที่โอนไปจากรัฐเมื่อตอนแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมาเป็นเอกชนอาทิ โครงการก่อสร้างท่อก๊าซ ซึ่งหลังจากแปรรูปฯปตท.ได้เก็บค่าผ่านท่อในแต่ละปีเป็นเงินกว่าหมื่นล้านบาทซึ่งสุดท้ายค่าผ่านท่อนี้ ก็ถูกผลักภาระมาสู่ประชาชนในรูปราคาขายปลีกพลังงานที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าประชาชนซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าของท่อก๊าซเพราะเป็นผู้จ่ายค่าก่อสร้าง กลับจะต้องจ่ายค่าใช้ท่อก๊าซอีกด้วยในปัจจุบัน เสมือนกับเจ้าของบ้านเมื่อลงทุนลงแรงสร้างบ้านของตนเสร็จเรียบร้อย บ้านกลับถูกโอนไปเป็นของคนอื่น ทำให้เจ้าของบ้านต้องกลับมาเช่าบ้านหลังเดิมนี้อีกเพื่ออยู่อาศัย ถึงเวลาหรือยังที่จะให้คนไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของประเทศมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเอง หรือผูกขาดให้บางบริษัท และนักการเมืองร่วมกันทึ้งประเทศไทยต่อไปอย่างนี้อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น.![/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Toyota Car Clubs
>
RT Club
>
มีข่าวมาฝากเกี่ยวกับ ปตท.
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...