เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Pickup Car Clubs
>
MiNi Truck Club
>
คุยกันแบบวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำรถกันบ้างดีมั้ยคับ
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="NONG_SCG, post: 1204999, member: 72265"]จะจะเลยนะครับ</p><p><br /></p><p>ความแตกต่างในหลักการทำงาน เนื่องจากการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้การจุดระเบิดด้วยการฉีดเชื้อเพลิงเข้าสันดาป กับอากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในห้องสันดาปซึ่งมีอุณหภูมิอัดตัวสูง คามเร็วรอบภาระของเครื่องสามารถควบคุมได้โดยการปรับแต่งปริมาณน้ำมันที่ฉีดเข้าสูบ ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน จุดระเบิดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศด้วยประกายไฟจากหัวเทียน คาร์บูเรเตอร์จะช่วยทำหน้าที่ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้มีอัตราส่วนที่ถูกต้องและให้ประมาณของส่วนผสมเข้าห้องสันดาปได้ตามความเหมาะสม ความเร็วรอบ และภาระของเครื่องให้การควบคุมปรับแต่งด้วยการปิดเปิดของลิ้นเร่ง ( throttle vslve ) </p><p><br /></p><p>จากหลักการที่ต่างกันของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด จึงมีข้อเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด ดังนี้ </p><p><br /></p><p>1. อัตราส่วนความอัด เครื่องยนต์เบนซินจะมีอัตราส่วนความอัดต่ำ อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 5 ถึง 10.5 ต่อ 1 ทั้งนี้เป็นเพราะ ข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณภาพการต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิง ถ้าใช้อัตราส่วนความอัดสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระเบิดซ้อนรุนแรง หรือที่เรียกว่า ดีโทเนชัน ( detonation ) ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้อัตราส่วนความอัดสูง ได้ประมาณ 12 ถึง 20 ต่อ 1 หรือมากกว่า จากอัตราส่วนความอัดที่สูงของเครื่องยนต์ดีเซลนี้ เป็นผลให้เครื่องยนต์ได้ประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินช่วยลดการเกิดดีโทเนชัน ทำให้ไม่เกิดการชิงจุดระเบิด ( preignition ) และกำลังที่ได้ออกมาสูง </p><p><br /></p><p>2. กำลังดันการทำงาน เครื่องยนต์ดีเซลจะมีกำลังดันสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้อัตราส่วนความอัดสูง ทำให้อากาศอัดภายในกระบอกสูบมีความร้อนมากจนเกิดอุณหภูมิจุดระเบิดของเชื้อเพลิง แรงอัดภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลมีประมาณ 28 ถึง 50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่เครื่องยนต์เบนซินจะมีเพียง 7 ถึง 15 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร </p><p><br /></p><p>3.ความเร็วรอบของการทำงาน ความเร็วรอบของเครื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับกำลังม้าของเครื่องความเร็วรอบจะเปลี่ยนแปลงหรือมีขนาดต่าง ๆ กันไปตามความแตกต่างของเครื่อง โดยปกติแล้วความเร็วรอบของเครื่องยนต์เบนซินจะสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถยนต์นั่งที่ใช้เครื่องรอบสูง ปรากฏว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 3000 ถึง 4000 รอบต่อนาที ในขณะที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 400 ถึง 1200 รอบต่อนาที </p><p><br /></p><p>4. การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบ ในเครื่องยนต์ประเภทหลายสูบ ปรากฏว่าการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบของเครื่องยนต์เบนซินจะยุ่งยากกว่า เพราะจะต้องจ่ายส่วนผสมเข้าสูบต่าง ๆ ให้แต่ละสูบได้รับอัตราส่วนผสมเท่ากันทุกสูบ แต่เนื่องจากละอองของส่วนผสมจะต้องผ่านท่อร่วมไอดีก่อนที่เข้าถึงแต่ละสูบ ผนังท่อร่วมไอดีมีส่วนขัดขวางการไหลของไอดี จึงเป็นเหตุให้อัตราส่วนผสมที่เข้าไปยังสูบต่าง ๆ อาจไม่เท่ากัน ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบจะดีกว่า เพราะใช้วิธีฉีดเชื้อเพลิงออกจากหัวฉีดเข้าภายในแต่ละสูบโดยตรง </p><p><br /></p><p>5. การซูเปอร์ชาร์จ เป็นการอัดอากาศเข้าไปในสูบเพื่อให้มีกำลังดันสูงกว่ากำลังดันของอากาศที่เครื่องจะดูดได้เองตามปกติ ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลอาจเพิ่มปริมาตรของไอดีได้โดยการซูเปอร์ชาร์จ แต่ปริมาณการซูเปอร์ชาร์จที่จะให้กับเครื่องยนต์เบนซินนั้นถูกจำกัดเพราะการเกิด ดีโทเนชันในขณะที่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นการป้องกันการเกิดดีโทเนชัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของการซูเปอร์ชาร์จก็ถูกจำกัดด้วยขนาดของกำลังที่ใช้ในการขับเครื่องซูเปอร์ชาร์จ </p><p><br /></p><p>6. อุณหภูมิของไอเสีย เครื่องยนต์ดีเซลจะมีอุณหภูมิของไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องต่ำกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้เพราะว่าเครื่องยนต์ดีเซลให้อัตราส่วนความอัดสูงกว่า สามารถให้ประสิทธิภาพทางด้านความร้อนสูง นั่นคือ พลังงานความร้อนที่นำไปใช้งานจะมาก ความร้อนสูญไปกับไอเสียจะต่ำอุณภูมิของไอเสียจึงต่ำ </p><p><br /></p><p>7. การเริ่มเดินเครื่อง เครื่องยนต์ดีเซลจะเริ่มเดินเครื่องได้ยากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน สาเหตุเพราะเครื่องยนต์ดีเซลต้องใช้แรงพยายามขับเคลื่อนเพลาข้อเหวี่ยงมากเพื่อสามารถเอาชนะแรงอัดดันที่เกิดจากอัตราส่วนความอัดดันสูงมากของเครื่องยนต์ นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมของอากาศที่เย็นทำให้อุณหภูมิของอากาศเมื่อเริ่มเดินเครื่องต่ำ ความร้อนจะถ่ายเทผ่านผนังห้องสันดาปไปได้มาก ยากแก่การที่จะทำให้อุณหภูมิอัดตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คามร้อนจึงไม่สูงพอที่จะจุดระเบิดเชื้อเพลิงที่ฉีดออกมาจากหัวฉีดได้</p><p><br /></p><p>อิอิ[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="NONG_SCG, post: 1204999, member: 72265"]จะจะเลยนะครับ ความแตกต่างในหลักการทำงาน เนื่องจากการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้การจุดระเบิดด้วยการฉีดเชื้อเพลิงเข้าสันดาป กับอากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในห้องสันดาปซึ่งมีอุณหภูมิอัดตัวสูง คามเร็วรอบภาระของเครื่องสามารถควบคุมได้โดยการปรับแต่งปริมาณน้ำมันที่ฉีดเข้าสูบ ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน จุดระเบิดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศด้วยประกายไฟจากหัวเทียน คาร์บูเรเตอร์จะช่วยทำหน้าที่ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศให้มีอัตราส่วนที่ถูกต้องและให้ประมาณของส่วนผสมเข้าห้องสันดาปได้ตามความเหมาะสม ความเร็วรอบ และภาระของเครื่องให้การควบคุมปรับแต่งด้วยการปิดเปิดของลิ้นเร่ง ( throttle vslve ) จากหลักการที่ต่างกันของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด จึงมีข้อเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิด ดังนี้ 1. อัตราส่วนความอัด เครื่องยนต์เบนซินจะมีอัตราส่วนความอัดต่ำ อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 5 ถึง 10.5 ต่อ 1 ทั้งนี้เป็นเพราะ ข้อจำกัดเกี่ยวกับคุณภาพการต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิง ถ้าใช้อัตราส่วนความอัดสูงเกินไปจะทำให้เกิดการระเบิดซ้อนรุนแรง หรือที่เรียกว่า ดีโทเนชัน ( detonation ) ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้อัตราส่วนความอัดสูง ได้ประมาณ 12 ถึง 20 ต่อ 1 หรือมากกว่า จากอัตราส่วนความอัดที่สูงของเครื่องยนต์ดีเซลนี้ เป็นผลให้เครื่องยนต์ได้ประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินช่วยลดการเกิดดีโทเนชัน ทำให้ไม่เกิดการชิงจุดระเบิด ( preignition ) และกำลังที่ได้ออกมาสูง 2. กำลังดันการทำงาน เครื่องยนต์ดีเซลจะมีกำลังดันสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้อัตราส่วนความอัดสูง ทำให้อากาศอัดภายในกระบอกสูบมีความร้อนมากจนเกิดอุณหภูมิจุดระเบิดของเชื้อเพลิง แรงอัดภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลมีประมาณ 28 ถึง 50 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่เครื่องยนต์เบนซินจะมีเพียง 7 ถึง 15 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร 3.ความเร็วรอบของการทำงาน ความเร็วรอบของเครื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับกำลังม้าของเครื่องความเร็วรอบจะเปลี่ยนแปลงหรือมีขนาดต่าง ๆ กันไปตามความแตกต่างของเครื่อง โดยปกติแล้วความเร็วรอบของเครื่องยนต์เบนซินจะสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถยนต์นั่งที่ใช้เครื่องรอบสูง ปรากฏว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 3000 ถึง 4000 รอบต่อนาที ในขณะที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะให้กำลังสูงสุดที่ความเร็วรอบประมาณ 400 ถึง 1200 รอบต่อนาที 4. การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบ ในเครื่องยนต์ประเภทหลายสูบ ปรากฏว่าการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบของเครื่องยนต์เบนซินจะยุ่งยากกว่า เพราะจะต้องจ่ายส่วนผสมเข้าสูบต่าง ๆ ให้แต่ละสูบได้รับอัตราส่วนผสมเท่ากันทุกสูบ แต่เนื่องจากละอองของส่วนผสมจะต้องผ่านท่อร่วมไอดีก่อนที่เข้าถึงแต่ละสูบ ผนังท่อร่วมไอดีมีส่วนขัดขวางการไหลของไอดี จึงเป็นเหตุให้อัตราส่วนผสมที่เข้าไปยังสูบต่าง ๆ อาจไม่เท่ากัน ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสูบจะดีกว่า เพราะใช้วิธีฉีดเชื้อเพลิงออกจากหัวฉีดเข้าภายในแต่ละสูบโดยตรง 5. การซูเปอร์ชาร์จ เป็นการอัดอากาศเข้าไปในสูบเพื่อให้มีกำลังดันสูงกว่ากำลังดันของอากาศที่เครื่องจะดูดได้เองตามปกติ ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลอาจเพิ่มปริมาตรของไอดีได้โดยการซูเปอร์ชาร์จ แต่ปริมาณการซูเปอร์ชาร์จที่จะให้กับเครื่องยนต์เบนซินนั้นถูกจำกัดเพราะการเกิด ดีโทเนชันในขณะที่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นการป้องกันการเกิดดีโทเนชัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของการซูเปอร์ชาร์จก็ถูกจำกัดด้วยขนาดของกำลังที่ใช้ในการขับเครื่องซูเปอร์ชาร์จ 6. อุณหภูมิของไอเสีย เครื่องยนต์ดีเซลจะมีอุณหภูมิของไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องต่ำกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทั้งนี้เพราะว่าเครื่องยนต์ดีเซลให้อัตราส่วนความอัดสูงกว่า สามารถให้ประสิทธิภาพทางด้านความร้อนสูง นั่นคือ พลังงานความร้อนที่นำไปใช้งานจะมาก ความร้อนสูญไปกับไอเสียจะต่ำอุณภูมิของไอเสียจึงต่ำ 7. การเริ่มเดินเครื่อง เครื่องยนต์ดีเซลจะเริ่มเดินเครื่องได้ยากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน สาเหตุเพราะเครื่องยนต์ดีเซลต้องใช้แรงพยายามขับเคลื่อนเพลาข้อเหวี่ยงมากเพื่อสามารถเอาชนะแรงอัดดันที่เกิดจากอัตราส่วนความอัดดันสูงมากของเครื่องยนต์ นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมของอากาศที่เย็นทำให้อุณหภูมิของอากาศเมื่อเริ่มเดินเครื่องต่ำ ความร้อนจะถ่ายเทผ่านผนังห้องสันดาปไปได้มาก ยากแก่การที่จะทำให้อุณหภูมิอัดตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คามร้อนจึงไม่สูงพอที่จะจุดระเบิดเชื้อเพลิงที่ฉีดออกมาจากหัวฉีดได้ อิอิ[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Pickup Car Clubs
>
MiNi Truck Club
>
คุยกันแบบวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการทำรถกันบ้างดีมั้ยคับ
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...