เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
VVL Owners Club Thailand
>
VVL Set โบ์ แชร์ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ !!! คุ้มหรือเปล่า
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="oaknakab, post: 1868141, member: 38463"]สายน้ำมันเข้า-ออก</p><p>สายน้ำมันเข้าเลี้ยงตัวเทอร์โบ ควรจะใช้สายที่ทนความร้อนได้ดี ถ้าเป็นของโรงงาน จะเป็นท่อเหล็กดัดเข้าไปเลี้ยงที่ตัวเทอร์โบเลย แต่มันคงไม่ค่อยสะดวกสำหรับเทอร์โบที่ติดตั้งทีหลัง สายน้ำมันที่เป็นสายถัก ซึ่งก็จะมีสองประเภท คือ สายยางหุ้มด้วยสแตนเลสถัก พวกที่ใช้กับงานไฮดรอลิกทั่วไป การยึดสายเข้ากับหัวต่อจะใช้วิธีย้ำที่หัวสาย (เหมือนสายแอร์ ถ้าใครนึกภาพไม่ออก) สายแบบนี้ราคาถูกกว่าทนความร้อนได้ดีพอสมควร การโค้งงอทำได้ดี อีกประเภทคือสายเทฟล่อนหุ้มด้วยสแตนเลสถัก สายนี้จะมีขนาดเล็กกว่า ทนแรงดันและความร้อนได้สูง การยึดสายกับหัวต่อมีทั้งแบบย้ำหัวสาย กับ ใช้ตาไก่สวมแล้วขันหัวต่อบีบเข้าไป การโค้งงอทำได้ดี แต่ไม่ควรหักมุมมากนัก เพราะสายจะพับได้</p><p><br /></p><p>ขนาดสาย ควรมีรูภายใน ไม่น้อยกว่า 4 มม. เพื่อให้น้ำมันมาเลี้ยงเทอร์โบได้อย่างเพียงพอ โดยต่อมาได้จากหลายจุดตามสะดวก เป็นต้นว่า ใช้สามตาต่อมาจากสวิทช์แรงดันน้ำมันเครื่อง จากปั๊มน้ำมันเครื่อง จากปล๊กทดสอบแรงดันวีเทค หรือใช้อแดปเตอร์จากฐานกรองน้ำมันเครื่อง</p><p><br /></p><p>สายน้ำมันออก ใช้สายที่ทดความร้อนสูง พวกสายซิลิโคน ต่อจากท่อที่ไหลออกจากเทอร์โบ เข้าอ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะต้องเจาะใหม่ โดยให้ท่อไหลลงอ่าง สูงกว่าระดับน้ำมันเครื่อง ไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว อย่าให้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำมันเครื่อง และท่อที่ต่อลงมา อย่าทำให้ห้อย "ตกท้องช้าง" เนื่องจากว่า น้ำมันที่ออกมาจากเทอร์โบ จะถูกปั่นจนเป็นฟองครีม ถ้ามีทางไหลออกที่ไม่สะดวก หรือทางออกอยู่ใต้ระดับน้ำมันเครื่อง จะทำให้ฟองน้ำมันล้นไปถึงตัวเทอร์โบ และจะซึมออกทั้งโข่งหน้า โข่งหลังได้</p><p><br /></p><p>หากพื้นที่ในต่อท่อลงอ่างน้ำมันเครื่องไม่เอื้ออำนวยให้ต่อท่อลงเหนือระดับน้ำมันเครื่องได้ จำเป็นต้องต่อท่อต่ำกว่าระดับน้ำมันเครื่อง ให้ทำกระเปาะพักน้ำมันเครื่องที่เหนือกว่าระดับน้ำมันเครื่อง เพื่อพักฟองน้ำมันเครื่องที่จะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นน้ำมันเครื่องก่อนไหลลงอ่าง โดยกระเปาะจะต้องมีปริมาตรที่ใหญ่พอสมควรที่จะรองรับฟองน้ำมันที่ไหลออกมาจากเทอร์โบได้ </p><p><br /></p><p>ท่อน้ำเลี้ยงเทอร์โบ</p><p>เทอร์โบรุ่นใหม่ๆ จะมีจุดต่อน้ำเลี้ยงเทอร์โบมาด้วย ทั้งนี้เพื่อระบายความร้อนให้กับเทอร์โบ ไม่ให้มีความร้อนสูงเกินไป จนทำให้น้ำมันเครื่องไหม้ โดยเฉพาะที่ตอนดับเครื่องใหม่ๆ ที่ความร้อนของตัวเทอร์โบยังสูงอยู่ ไม่ควรที่จะไม่ต่อท่อน้ำเลี้ยง เพราะแกนเทอร์โบรุ่นใหม่ๆ มีขนาดเล็ก และระยะห่างระหว่างชิ้นส่วนมีน้อย ถ้าน้ำมันเครื่องไหม้ติดแกนเทอร์โบ จะทำให้เกิดความสึกหรอให้กับตัวแกน จนอาจจทำให้เกิดอาการแกนติดได้ </p><p><br /></p><p>จุดที่ต่อท่อน้ำ จะเป็นจุดที่น้ำไหลวนได้ ถ้าต่อแล้วน้ำไม่ไหลวน ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนัก จะใช้จุดที่ต่อสำหรับฮีตเตอร์ก็ได้ เพราะเมืองไทย ก็ไม่ได้ใช้งานในส่วนนี้อยู่แล้ว ควรระวังท่อน้ำที่อยู่ใกล้ตัวเทอร์โบด้วย ถ้าทนความร้อนไม่ได้ ใช้แล้วแตกจะเป็นเรื่องใหญ่ จะใช้วิธีหุ้มกันความร้อน หรือต่อท่อเหล็กจากเทอร์โบ ให้ห่างออกมาก่อนแล้วค่อยต่อท่อยาง หรือใช้ท่อเทฟล่อน ท่อยางทนความร้อนสูงก็ได้</p><p><br /></p><p><span style="color: silver">- - - Updated - - -</span></p><p><br /></p><p>ท่อไอเสียออกจากเทอร์โบ หรือที่เรียกว่า down pipe มีขนาดเท่ากับทางออกเทอร์โบ จะทำขนาดนี้ไปตลอดทั้งเส้นก็ได้ หรือ ค่อยๆ ลดขนาดลงไปเล็กน้อยก็ได้ ไม่ควรลดขนาดลงมาก เพราะจะทำให้ไอเสียไหลได้ช้าที่รอบสูง เกิดความร้อนสะสมที่เทอร์โบเมื่อใช้งานนานๆ วัสดุที่ใช้ก็ตามสะดวก จะเป็นเหล็ก หรือสแตนเลส หรือ ทุนสูงจะเป็นท่อไททาเนี่ยมก็ได้ สำหรับหม้อพักไอเสีย ควรจะเป็นแบบไส้ตรงเพื่อไอเสียจะไหลได้สะดวก ถ้าใช้ใบใหญ่หน่อยก็จะเสียงเบาหน่อย ถ้าต้องการเสียงดังเร้าใจใช้ใบสั้นเล็กๆ หรือยิงตรง แต่ชอบเงียบ เสียงนุ่มๆ จะใช้หม้อพักไส้ย้อนหรือไส้เยื้องก็ได้ครับ ที่ท่อภายในไม่เล็กเกินไป ไอเสียจะได้ไม่อั้น </p><p><br /></p><p>การอั้นของไอเสีย ใช่ว่าจะมีข้อเสียนะครับสำหรับเครื่องเทอร์โบ ถึงแม้ว่าจะทำให้เทอร์โบร้อนเมื่อใช้งานนานๆ แต่การอั้นของไอเสียจะช่วยป้องกันไม่เทอร์โบบูสไหล (เทอร์โบบูสเกินกำหนด) ได้ส่วนหนึ่ง อันเนื่องมาจากไอเสียที่อั้น มันจะต้านการหมุนของใบพัดเทอร์โบด้านไอเสีย (เรียกว่าใบเทอร์ไบน์) ทำให้ใบพัดด้านไอดี (เรียกว่า ใบคอมเพรสเซอร์) หมุนช้าลง ทำให้แรงบูสตก ป้องกันความเสียหายให้เครื่องยนต์ได้ส่วนหนึ่ง ต้องย้ำว่าแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ถ้าปล่อยให้มันอั้นนานๆ มันจะร้อน ทำให้ตัวเทอร์โบเสียหายได้อีก</p><p><br /></p><p>ว่ากันเรื่องอุปกรณ์ต่อ.....</p><p><br /></p><p>ท่อยางสำหรับท่ออากาศเทอร์โบ ใช้ที่มีคุณภาพวัสดุเป็นซิลิโคนจะดีกว่าเป็นยางครับ เพราะว่ามันต้องรับความร้อนจากตัวเทอร์โบเอง และอากาศที่ออกมาจากเทอร์โบจะอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศปกติ ยิ่งบูสสูงมากก็จะยิ่งร้อนมาก ถ้าเป็นท่อยางธรรมดายิ่งถ้าไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเทอร์โบด้วยแล้ว มันจะใช้งานได้ไม่นาน จะมีการเปื่อยยุยง่าย และอาจจะมีเศษยางหลุดเข้าไปในเครื่องได้ ไม่ว่าจะหลุดเข้าไปแล้ว มันออกไปทางท่อไอเสียเลยซึ่งมันก็จะทำอันตรายต่อใบเทอร์ไบน์ หรือถ้ามันหลุดแล้วไม่ยอมออกแล้วไปค้างแถวๆ วาวล์ ทำให้วาวล์ปิดไม่สนิท หรือ เข้าไปละลายอยู่ในห้องเผาไหม้ เกิดเป็นเขม่าทำให้เครื่องชิงจุดได้ง่าย และทำให้แหวนและกระบอกสูบสึกหรอเร็วขึ้น อีกอย่างนะครับ ถ้าเป็นท่อยางคุณภาพต่ำ ใช้งานไปซักพักมันจะยุบตัว ทำให้ท่อหลวมและหลุดได้เวลามีบูสและเครื่องมีการสั่น</p><p><br /></p><p>สายรัดหรือเข็มขัดรัดท่ออากาศ ดูๆ เหมือนว่าจะไม่มีอะไรนะครับ แต่ก็มีความสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ใชสายรัดที่รักษาแรงบีบได้คงที่ จำพวกที่มีสปริงติดมาด้วย ราคาออกจะสูงซัหน่อยหรือจะเป็นพวกหนีบๆ เหมือนกับเข็มขัดรัดสายหม้อน้ำก็ได้ครับ แต่ไซด์ใหญ่จะหายากหน่อย ถ้าจะใช้เข็มขัดรัดแบบธรรมดาก็หาที่คลายตัวได้ยากซักหน่อย มีหน้ากว้างมากหน่อยจะรัดได้แน่นขึ้น หรือจะใช้สองตัวคู่ก็ได้ครับ คอยหมั่นดูความตึงบ่อยๆ ..... ท่ออากาศควรจะทำบ่ารับนะครับจะได้ไม่หลุดง่าย....</p><p><br /></p><p>ท่ออากาศด้านไอดี จากกรองอากาศ เข้าเทอร์โบ จากเทอร์โบเข้าอินเตอร์คูลเลอร์ จากอินเตอร์ฯ เข้าท่อไอดี แนะนำให้เป็นอลูมิเนียมครับ ป้องกันปัญหาเรื่องสนิมครับ ถ้าเป็นเหล็กโอกาสจะเป็นสนิมมีมากครับ นอกจากนั้นผิวภายในของอลูมิเนียมยังเรียบกว่าเหล็ก ทำให้ไหลได้ลื่นกว่า </p><p><br /></p><p>ขนาดของท่อ ด้านเข้าเทอร์โบ ยิ่งใหญ่ยิ่งดีครับ จะทำให้อากาศไหลเข้าได้ง่ายและสะสมอากาศไว้ในท่อได้มากเวลาที่เทอร์โบต้องการอากาศมากๆ อย่างทันที จะไม่เสียความเร็วในการไหล ขนาดก็จะไล่ลำดับมากจากกรองอากาศ แล้วค่อยๆเรียวเล็กลงให้เท่ากับปากเทอร์โบ </p><p><br /></p><p>ท่อออกจากเทอร์โบไปอินเตอร์คูลเลอร์ จะไล่ขนาดจากทางออก จนมีขนาดเท่ากับอินเตอร์ฯ พยายามอย่าให้มีการโค้งงอ หรือบีบแบน มากเกินไป และหลีกเลี่ยงที่จะผ่านส่วนที่มีความร้อนสูง อย่างเช่น ฝาสูบ , โข่งไอเสีย, เฮดเดอร์, down pipe หากจำเป็นต้องเดินท่อผ่าน หาวัสดุกันความร้อนหุ้มไว้หน่อยก็ดีครับ เลยจากจุดที่มีความร้อนก็ไม่ต้องหุ้ม เพื่ออากาศในท่อจะได้มีการระบายความร้อนออกไปได้บ้าง ก่อนที่จะถึงอินเตอร์ฯ </p><p><br /></p><p>ท่อจากอินเตอร์ฯ เข้าท่อไอดี ก็ทำนองเดียวกันครับ ไล่ขนาดจากอินเตอร์ฯ ไปเข้าที่ลิ้น หลบแหล่งความร้อนหน่อย ท่อไม่ควรใช้ใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้บูสมาช้า เอาเท่าขนาดอินเตอร์ หรือใหญ่กว่าเล็กน้อยครับ แล้วค่อยมาขยายอีกครั้งให้เท่ากับลิ้น ก่อนถึงเล็กน้อย[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="oaknakab, post: 1868141, member: 38463"]สายน้ำมันเข้า-ออก สายน้ำมันเข้าเลี้ยงตัวเทอร์โบ ควรจะใช้สายที่ทนความร้อนได้ดี ถ้าเป็นของโรงงาน จะเป็นท่อเหล็กดัดเข้าไปเลี้ยงที่ตัวเทอร์โบเลย แต่มันคงไม่ค่อยสะดวกสำหรับเทอร์โบที่ติดตั้งทีหลัง สายน้ำมันที่เป็นสายถัก ซึ่งก็จะมีสองประเภท คือ สายยางหุ้มด้วยสแตนเลสถัก พวกที่ใช้กับงานไฮดรอลิกทั่วไป การยึดสายเข้ากับหัวต่อจะใช้วิธีย้ำที่หัวสาย (เหมือนสายแอร์ ถ้าใครนึกภาพไม่ออก) สายแบบนี้ราคาถูกกว่าทนความร้อนได้ดีพอสมควร การโค้งงอทำได้ดี อีกประเภทคือสายเทฟล่อนหุ้มด้วยสแตนเลสถัก สายนี้จะมีขนาดเล็กกว่า ทนแรงดันและความร้อนได้สูง การยึดสายกับหัวต่อมีทั้งแบบย้ำหัวสาย กับ ใช้ตาไก่สวมแล้วขันหัวต่อบีบเข้าไป การโค้งงอทำได้ดี แต่ไม่ควรหักมุมมากนัก เพราะสายจะพับได้ ขนาดสาย ควรมีรูภายใน ไม่น้อยกว่า 4 มม. เพื่อให้น้ำมันมาเลี้ยงเทอร์โบได้อย่างเพียงพอ โดยต่อมาได้จากหลายจุดตามสะดวก เป็นต้นว่า ใช้สามตาต่อมาจากสวิทช์แรงดันน้ำมันเครื่อง จากปั๊มน้ำมันเครื่อง จากปล๊กทดสอบแรงดันวีเทค หรือใช้อแดปเตอร์จากฐานกรองน้ำมันเครื่อง สายน้ำมันออก ใช้สายที่ทดความร้อนสูง พวกสายซิลิโคน ต่อจากท่อที่ไหลออกจากเทอร์โบ เข้าอ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะต้องเจาะใหม่ โดยให้ท่อไหลลงอ่าง สูงกว่าระดับน้ำมันเครื่อง ไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว อย่าให้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำมันเครื่อง และท่อที่ต่อลงมา อย่าทำให้ห้อย "ตกท้องช้าง" เนื่องจากว่า น้ำมันที่ออกมาจากเทอร์โบ จะถูกปั่นจนเป็นฟองครีม ถ้ามีทางไหลออกที่ไม่สะดวก หรือทางออกอยู่ใต้ระดับน้ำมันเครื่อง จะทำให้ฟองน้ำมันล้นไปถึงตัวเทอร์โบ และจะซึมออกทั้งโข่งหน้า โข่งหลังได้ หากพื้นที่ในต่อท่อลงอ่างน้ำมันเครื่องไม่เอื้ออำนวยให้ต่อท่อลงเหนือระดับน้ำมันเครื่องได้ จำเป็นต้องต่อท่อต่ำกว่าระดับน้ำมันเครื่อง ให้ทำกระเปาะพักน้ำมันเครื่องที่เหนือกว่าระดับน้ำมันเครื่อง เพื่อพักฟองน้ำมันเครื่องที่จะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นน้ำมันเครื่องก่อนไหลลงอ่าง โดยกระเปาะจะต้องมีปริมาตรที่ใหญ่พอสมควรที่จะรองรับฟองน้ำมันที่ไหลออกมาจากเทอร์โบได้ ท่อน้ำเลี้ยงเทอร์โบ เทอร์โบรุ่นใหม่ๆ จะมีจุดต่อน้ำเลี้ยงเทอร์โบมาด้วย ทั้งนี้เพื่อระบายความร้อนให้กับเทอร์โบ ไม่ให้มีความร้อนสูงเกินไป จนทำให้น้ำมันเครื่องไหม้ โดยเฉพาะที่ตอนดับเครื่องใหม่ๆ ที่ความร้อนของตัวเทอร์โบยังสูงอยู่ ไม่ควรที่จะไม่ต่อท่อน้ำเลี้ยง เพราะแกนเทอร์โบรุ่นใหม่ๆ มีขนาดเล็ก และระยะห่างระหว่างชิ้นส่วนมีน้อย ถ้าน้ำมันเครื่องไหม้ติดแกนเทอร์โบ จะทำให้เกิดความสึกหรอให้กับตัวแกน จนอาจจทำให้เกิดอาการแกนติดได้ จุดที่ต่อท่อน้ำ จะเป็นจุดที่น้ำไหลวนได้ ถ้าต่อแล้วน้ำไม่ไหลวน ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนัก จะใช้จุดที่ต่อสำหรับฮีตเตอร์ก็ได้ เพราะเมืองไทย ก็ไม่ได้ใช้งานในส่วนนี้อยู่แล้ว ควรระวังท่อน้ำที่อยู่ใกล้ตัวเทอร์โบด้วย ถ้าทนความร้อนไม่ได้ ใช้แล้วแตกจะเป็นเรื่องใหญ่ จะใช้วิธีหุ้มกันความร้อน หรือต่อท่อเหล็กจากเทอร์โบ ให้ห่างออกมาก่อนแล้วค่อยต่อท่อยาง หรือใช้ท่อเทฟล่อน ท่อยางทนความร้อนสูงก็ได้ [COLOR="silver"]- - - Updated - - -[/COLOR] ท่อไอเสียออกจากเทอร์โบ หรือที่เรียกว่า down pipe มีขนาดเท่ากับทางออกเทอร์โบ จะทำขนาดนี้ไปตลอดทั้งเส้นก็ได้ หรือ ค่อยๆ ลดขนาดลงไปเล็กน้อยก็ได้ ไม่ควรลดขนาดลงมาก เพราะจะทำให้ไอเสียไหลได้ช้าที่รอบสูง เกิดความร้อนสะสมที่เทอร์โบเมื่อใช้งานนานๆ วัสดุที่ใช้ก็ตามสะดวก จะเป็นเหล็ก หรือสแตนเลส หรือ ทุนสูงจะเป็นท่อไททาเนี่ยมก็ได้ สำหรับหม้อพักไอเสีย ควรจะเป็นแบบไส้ตรงเพื่อไอเสียจะไหลได้สะดวก ถ้าใช้ใบใหญ่หน่อยก็จะเสียงเบาหน่อย ถ้าต้องการเสียงดังเร้าใจใช้ใบสั้นเล็กๆ หรือยิงตรง แต่ชอบเงียบ เสียงนุ่มๆ จะใช้หม้อพักไส้ย้อนหรือไส้เยื้องก็ได้ครับ ที่ท่อภายในไม่เล็กเกินไป ไอเสียจะได้ไม่อั้น การอั้นของไอเสีย ใช่ว่าจะมีข้อเสียนะครับสำหรับเครื่องเทอร์โบ ถึงแม้ว่าจะทำให้เทอร์โบร้อนเมื่อใช้งานนานๆ แต่การอั้นของไอเสียจะช่วยป้องกันไม่เทอร์โบบูสไหล (เทอร์โบบูสเกินกำหนด) ได้ส่วนหนึ่ง อันเนื่องมาจากไอเสียที่อั้น มันจะต้านการหมุนของใบพัดเทอร์โบด้านไอเสีย (เรียกว่าใบเทอร์ไบน์) ทำให้ใบพัดด้านไอดี (เรียกว่า ใบคอมเพรสเซอร์) หมุนช้าลง ทำให้แรงบูสตก ป้องกันความเสียหายให้เครื่องยนต์ได้ส่วนหนึ่ง ต้องย้ำว่าแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ถ้าปล่อยให้มันอั้นนานๆ มันจะร้อน ทำให้ตัวเทอร์โบเสียหายได้อีก ว่ากันเรื่องอุปกรณ์ต่อ..... ท่อยางสำหรับท่ออากาศเทอร์โบ ใช้ที่มีคุณภาพวัสดุเป็นซิลิโคนจะดีกว่าเป็นยางครับ เพราะว่ามันต้องรับความร้อนจากตัวเทอร์โบเอง และอากาศที่ออกมาจากเทอร์โบจะอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศปกติ ยิ่งบูสสูงมากก็จะยิ่งร้อนมาก ถ้าเป็นท่อยางธรรมดายิ่งถ้าไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเทอร์โบด้วยแล้ว มันจะใช้งานได้ไม่นาน จะมีการเปื่อยยุยง่าย และอาจจะมีเศษยางหลุดเข้าไปในเครื่องได้ ไม่ว่าจะหลุดเข้าไปแล้ว มันออกไปทางท่อไอเสียเลยซึ่งมันก็จะทำอันตรายต่อใบเทอร์ไบน์ หรือถ้ามันหลุดแล้วไม่ยอมออกแล้วไปค้างแถวๆ วาวล์ ทำให้วาวล์ปิดไม่สนิท หรือ เข้าไปละลายอยู่ในห้องเผาไหม้ เกิดเป็นเขม่าทำให้เครื่องชิงจุดได้ง่าย และทำให้แหวนและกระบอกสูบสึกหรอเร็วขึ้น อีกอย่างนะครับ ถ้าเป็นท่อยางคุณภาพต่ำ ใช้งานไปซักพักมันจะยุบตัว ทำให้ท่อหลวมและหลุดได้เวลามีบูสและเครื่องมีการสั่น สายรัดหรือเข็มขัดรัดท่ออากาศ ดูๆ เหมือนว่าจะไม่มีอะไรนะครับ แต่ก็มีความสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ใชสายรัดที่รักษาแรงบีบได้คงที่ จำพวกที่มีสปริงติดมาด้วย ราคาออกจะสูงซัหน่อยหรือจะเป็นพวกหนีบๆ เหมือนกับเข็มขัดรัดสายหม้อน้ำก็ได้ครับ แต่ไซด์ใหญ่จะหายากหน่อย ถ้าจะใช้เข็มขัดรัดแบบธรรมดาก็หาที่คลายตัวได้ยากซักหน่อย มีหน้ากว้างมากหน่อยจะรัดได้แน่นขึ้น หรือจะใช้สองตัวคู่ก็ได้ครับ คอยหมั่นดูความตึงบ่อยๆ ..... ท่ออากาศควรจะทำบ่ารับนะครับจะได้ไม่หลุดง่าย.... ท่ออากาศด้านไอดี จากกรองอากาศ เข้าเทอร์โบ จากเทอร์โบเข้าอินเตอร์คูลเลอร์ จากอินเตอร์ฯ เข้าท่อไอดี แนะนำให้เป็นอลูมิเนียมครับ ป้องกันปัญหาเรื่องสนิมครับ ถ้าเป็นเหล็กโอกาสจะเป็นสนิมมีมากครับ นอกจากนั้นผิวภายในของอลูมิเนียมยังเรียบกว่าเหล็ก ทำให้ไหลได้ลื่นกว่า ขนาดของท่อ ด้านเข้าเทอร์โบ ยิ่งใหญ่ยิ่งดีครับ จะทำให้อากาศไหลเข้าได้ง่ายและสะสมอากาศไว้ในท่อได้มากเวลาที่เทอร์โบต้องการอากาศมากๆ อย่างทันที จะไม่เสียความเร็วในการไหล ขนาดก็จะไล่ลำดับมากจากกรองอากาศ แล้วค่อยๆเรียวเล็กลงให้เท่ากับปากเทอร์โบ ท่อออกจากเทอร์โบไปอินเตอร์คูลเลอร์ จะไล่ขนาดจากทางออก จนมีขนาดเท่ากับอินเตอร์ฯ พยายามอย่าให้มีการโค้งงอ หรือบีบแบน มากเกินไป และหลีกเลี่ยงที่จะผ่านส่วนที่มีความร้อนสูง อย่างเช่น ฝาสูบ , โข่งไอเสีย, เฮดเดอร์, down pipe หากจำเป็นต้องเดินท่อผ่าน หาวัสดุกันความร้อนหุ้มไว้หน่อยก็ดีครับ เลยจากจุดที่มีความร้อนก็ไม่ต้องหุ้ม เพื่ออากาศในท่อจะได้มีการระบายความร้อนออกไปได้บ้าง ก่อนที่จะถึงอินเตอร์ฯ ท่อจากอินเตอร์ฯ เข้าท่อไอดี ก็ทำนองเดียวกันครับ ไล่ขนาดจากอินเตอร์ฯ ไปเข้าที่ลิ้น หลบแหล่งความร้อนหน่อย ท่อไม่ควรใช้ใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้บูสมาช้า เอาเท่าขนาดอินเตอร์ หรือใหญ่กว่าเล็กน้อยครับ แล้วค่อยมาขยายอีกครั้งให้เท่ากับลิ้น ก่อนถึงเล็กน้อย[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
VVL Owners Club Thailand
>
VVL Set โบ์ แชร์ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ !!! คุ้มหรือเปล่า
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...