เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
VVL Owners Club Thailand
>
VVL Set โบ์ แชร์ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ !!! คุ้มหรือเปล่า
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="oaknakab, post: 1868144, member: 38463"]จริงๆ แล้ว เมื่อก่อนนี้ เราก็ใช้เทอร์โบจากเครื่องดีเซลกัน ทั้งในรถแข่งรถบ้าน ก็มีพังมั่งไม่พังบ้าง แต่ก็ไม่รู้สาเหตุว่ามาจากอะไรกันแน่</p><p><br /></p><p>อุณหภูมิไอเสียของเครื่องดีเซล กับเครื่องเบนซิน นั้นต่างกันครับแต่ไม่มาก (ของเบนซินสูงกว่า) แต่ในแง่ของการผลิตแล้ว วัสดุที่ใช้ทำโข่งไอเสียที่ทนอุณหภูมิได้สูงขึ้นเล็กน้อยนั้น ไม่น่าคุ้มทุนในด้านการผลิตหากราคาวัสดุนั้นต่างกันไม่มากนัก และการผลิตมีจำนวนน้อย</p><p><br /></p><p>แล้วมันจะใช้กันได้ไหม.? ผมว่ามันใช้ได้ ตราบใดที่เราควบคุมอุณหภูมิไอเสียไม่ให้สูงเกินไป นั่นก็หมายความว่า เราไม่ใช้บูสที่สูงเกินไป มีการระบายความร้อนที่ดี ใช้องศาไฟจุดระเบิดที่เหมาะสม มีอัตราส่วนน้ำมันกับอากาศที่พอดี และให้อากาศที่ไหลเข้าเครื่องมีอุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ เท่านี้ก็จะใช้โข่งไอเสียของเครื่องดีเซลได้แล้วครับ </p><p><br /></p><p>ด้านโข่งด้านไอดี ใช้งานได้อยู่แล้วครับ </p><p><br /></p><p>สำหรับเครื่อง 1600 บูสต่ำๆ น่าจะใช้เทอร์โบของเครื่องดีเซล 2500 ครับ</p><p>blow-off valve, by-pass valve</p><p>ทั้งสองตัว ไม่เหมือนกันนะครับ แต่ทำหน้าแบบเดียวกัน คือ ป้องกันไม่ให้แรงดันเทอร์โบในท่อเทอร์โบด้านไอดี ไม่มากเกินไปจนทำให้ใบพัดด้านไอดีของเทอร์โบเกิดความเสียหาย หรือแกนเทอร์โบขาด จากกรณีที่ลิ้นปีกผีเสื้อปิดลงกระทันหัน ในขณะที่ต้องการลดความเร็ว หรือช่วงเปลี่ยนเกียร์ อากาศที่อัดจากเทอร์โบ จะกระแทกเข้ากับลิ้นปีกผีเสื้อและเกิดแรงดันย้อนกลับไปที่ตัวเทอร์โบด้านไอดี แรงดันนี้จะทำให้เกิดแรงต้านพยายามให้ใบเทอร์โบหมุนไปในด้านตรงข้าม ในขณะเดียวกับที่ด้านไอเสีย ยังมีแรงดันให้ใบด้านไอเสียเทอร์โบหมุนอยู่ แกนเทอร์โบจึงถูกบิด ถ้าแรงบิดนี้มากเกินกว่าแกนเทอร์โบจะทนได้ ก็จะเกิดปัญหาแกนขาดขึ้นมาได้ หรือ...</p><p><br /></p><p>ถ้าแกนเทอร์โบทนได้ แรงต้านทั้งสองด้านของเทอร์โบ จะทำให้ตัวใบเทอร์โบถูกดันไปด้านใดด้านหนึ่ง จนอาจจะขูดกับตัวโข่งเทอร์โบ ทำให้ใบและโข่งทั้งไอดีไอเสีย เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะเทอร์โบที่เป็นแบบบูช ส่วนเทอร์โบที่เป็นบอลแบริ่ง แม้ว่าระยะคลอนจะน้อยกว่าและใบเทอร์โบไม่ขูดกับโข่งเทอร์โบ แต่ว่า ตัวแบริ่งจะรับภาระ (load) มาก ทำให้แบริ่งพังเร็ว</p><p><br /></p><p>ตัว blow-off valve หรือ by-pass valve จะทำหน้าที่ระบายแรงดันส่วนเกินทิ้ง รักษาแรงดันในท่อไม่ให้สูงเกินไป จนไปทำร้ายเทอร์โบให้เสียหายได้</p><p><br /></p><p>ข้อแตกต่างระหว่าง blow-off valve กับ by-pass valve ก็คือ blow-off จะระบายทิ้งไปด้านนอก ส่วน by-pass valve จะเอาอากาศที่ระบายจากท่อเทอร์โบ กลับไปที่หน้าเทอร์โบอีก ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียคนละอย่าง การระบายอากาศกลับเข้าไปหน้าเทอร์โบ จะทำให้ความเร็วของใบเทอร์โบไม่ตกลง พร้อมที่จะอัดบูสเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหาในเรื่องของการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เครื่องยนต์ตัวนั้นใช้ระบบการจ่ายเชื้อเพลิงที่มี airflow sensor ในการวัดปริมาณอากาศที่เข้าเครื่อง แต่ข้อเสียของมันก็คือ อากาศที่ไหลกลับเข้าเทอร์โบอีกครั้งจะเป็นอากาศที่ร้อนกว่าอากาศที่ผ่านเข้าหน้าเทอร์โบโดยตรง แม้ว่าจะผ่านอินเตอร์คูลเลอร์มาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังร้อนกว่าอากาศรอบนอกอยู่ เมื่อผ่านเทอร์โบเข้าไปอัดซ้ำอีก ก็จะทำให้อากาศร้อนกว่าเดิมอีก เมื่อใดที่ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดอีกครั้ง อากาศที่เข้าเครื่องจะร้อนขึ้น ถ้าประสิทธิภาพของอินเตอร์คูลเลอร์ไม่ดีพอ อากาศจะร้อน จนทำให้เครื่องเกิดการน๊อกได้ชั่วขณะเป็นระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าเทอร์โบทำงานบูสได้ตามปกติ by-pass valve ปิด ไม่ได้เอาอากาศวนเข้าไปอัดซ้ำอีก </p><p><br /></p><p>โดยปกติแล้ว bypass-valve จะมีท่อต่อเข้ากับท่อไอดีเพื่อควบคุมให้ตัววาวล์ของมันเปิด เมื่อในท่อไอดีเป็นแวคคั่ม ทำให้อากาศจากหน้าเทอร์โบไหลผ่านเข้าท่ออากาศ และเข้าท่อไอดีเลย ไม่ผ่านตัวเทอร์โบและอินเตอร์คูลเล่อร์ ส่งผลให้เครื่องมีการตอบสนองได้ดีกว่า ประหยัดกว่า เมื่อเทอร์โบยังไม่มีบูส หรือใช้คันเร่งน้อยๆ เนื่องจากเครื่องไม่ต้องออกแรงดูดอากาศเป็นระยะทางยาวๆ</p><p><br /></p><p>ส่วน blow-off valve จะระบายอากาศส่วนเกินทิ้งไปกับบรรยากาศ อากาศที่เข้าเครื่อง จะเป็นอากาศใหม่ที่ผ่านเทอร์โบ และอินเตอร์คูลเลอร์แล้วเหมือนปกติ blow-off valve บางตัวจะต่อท่อควบคุมเข้ากับท่อไอดี เหมือนกับ by-pass valve ก็เพื่อให้การทำงานของ blow-off ทำงานได้เร็วขึ้น บางตัวอาจจะงานสองจังหวะ ที่บูสต่ำและบูสสูง หรือที่เรียกว่า sequential blow-off valve ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะต่างๆ ในขณะขับขี่ และรักษาแรงดันในท่ออากาศได้ดีกว่าแบบจังหวะเดียว ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องอากาศไหลออกก่อนจุดที่ต้องการให้ระบายออก ทำให้บูสมาช้า ในกรณีที่ตั้งจุดระบายอากาศไว้ต่ำ หรือ แรงดันในท่ออากาศสูงเกินไป ในกรณีที่ตั้งจุดระบายอากาศไว้สูง[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="oaknakab, post: 1868144, member: 38463"]จริงๆ แล้ว เมื่อก่อนนี้ เราก็ใช้เทอร์โบจากเครื่องดีเซลกัน ทั้งในรถแข่งรถบ้าน ก็มีพังมั่งไม่พังบ้าง แต่ก็ไม่รู้สาเหตุว่ามาจากอะไรกันแน่ อุณหภูมิไอเสียของเครื่องดีเซล กับเครื่องเบนซิน นั้นต่างกันครับแต่ไม่มาก (ของเบนซินสูงกว่า) แต่ในแง่ของการผลิตแล้ว วัสดุที่ใช้ทำโข่งไอเสียที่ทนอุณหภูมิได้สูงขึ้นเล็กน้อยนั้น ไม่น่าคุ้มทุนในด้านการผลิตหากราคาวัสดุนั้นต่างกันไม่มากนัก และการผลิตมีจำนวนน้อย แล้วมันจะใช้กันได้ไหม.? ผมว่ามันใช้ได้ ตราบใดที่เราควบคุมอุณหภูมิไอเสียไม่ให้สูงเกินไป นั่นก็หมายความว่า เราไม่ใช้บูสที่สูงเกินไป มีการระบายความร้อนที่ดี ใช้องศาไฟจุดระเบิดที่เหมาะสม มีอัตราส่วนน้ำมันกับอากาศที่พอดี และให้อากาศที่ไหลเข้าเครื่องมีอุณหภูมิต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ เท่านี้ก็จะใช้โข่งไอเสียของเครื่องดีเซลได้แล้วครับ ด้านโข่งด้านไอดี ใช้งานได้อยู่แล้วครับ สำหรับเครื่อง 1600 บูสต่ำๆ น่าจะใช้เทอร์โบของเครื่องดีเซล 2500 ครับ blow-off valve, by-pass valve ทั้งสองตัว ไม่เหมือนกันนะครับ แต่ทำหน้าแบบเดียวกัน คือ ป้องกันไม่ให้แรงดันเทอร์โบในท่อเทอร์โบด้านไอดี ไม่มากเกินไปจนทำให้ใบพัดด้านไอดีของเทอร์โบเกิดความเสียหาย หรือแกนเทอร์โบขาด จากกรณีที่ลิ้นปีกผีเสื้อปิดลงกระทันหัน ในขณะที่ต้องการลดความเร็ว หรือช่วงเปลี่ยนเกียร์ อากาศที่อัดจากเทอร์โบ จะกระแทกเข้ากับลิ้นปีกผีเสื้อและเกิดแรงดันย้อนกลับไปที่ตัวเทอร์โบด้านไอดี แรงดันนี้จะทำให้เกิดแรงต้านพยายามให้ใบเทอร์โบหมุนไปในด้านตรงข้าม ในขณะเดียวกับที่ด้านไอเสีย ยังมีแรงดันให้ใบด้านไอเสียเทอร์โบหมุนอยู่ แกนเทอร์โบจึงถูกบิด ถ้าแรงบิดนี้มากเกินกว่าแกนเทอร์โบจะทนได้ ก็จะเกิดปัญหาแกนขาดขึ้นมาได้ หรือ... ถ้าแกนเทอร์โบทนได้ แรงต้านทั้งสองด้านของเทอร์โบ จะทำให้ตัวใบเทอร์โบถูกดันไปด้านใดด้านหนึ่ง จนอาจจะขูดกับตัวโข่งเทอร์โบ ทำให้ใบและโข่งทั้งไอดีไอเสีย เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะเทอร์โบที่เป็นแบบบูช ส่วนเทอร์โบที่เป็นบอลแบริ่ง แม้ว่าระยะคลอนจะน้อยกว่าและใบเทอร์โบไม่ขูดกับโข่งเทอร์โบ แต่ว่า ตัวแบริ่งจะรับภาระ (load) มาก ทำให้แบริ่งพังเร็ว ตัว blow-off valve หรือ by-pass valve จะทำหน้าที่ระบายแรงดันส่วนเกินทิ้ง รักษาแรงดันในท่อไม่ให้สูงเกินไป จนไปทำร้ายเทอร์โบให้เสียหายได้ ข้อแตกต่างระหว่าง blow-off valve กับ by-pass valve ก็คือ blow-off จะระบายทิ้งไปด้านนอก ส่วน by-pass valve จะเอาอากาศที่ระบายจากท่อเทอร์โบ กลับไปที่หน้าเทอร์โบอีก ซึ่งมันก็มีข้อดีข้อเสียคนละอย่าง การระบายอากาศกลับเข้าไปหน้าเทอร์โบ จะทำให้ความเร็วของใบเทอร์โบไม่ตกลง พร้อมที่จะอัดบูสเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหาในเรื่องของการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เครื่องยนต์ตัวนั้นใช้ระบบการจ่ายเชื้อเพลิงที่มี airflow sensor ในการวัดปริมาณอากาศที่เข้าเครื่อง แต่ข้อเสียของมันก็คือ อากาศที่ไหลกลับเข้าเทอร์โบอีกครั้งจะเป็นอากาศที่ร้อนกว่าอากาศที่ผ่านเข้าหน้าเทอร์โบโดยตรง แม้ว่าจะผ่านอินเตอร์คูลเลอร์มาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังร้อนกว่าอากาศรอบนอกอยู่ เมื่อผ่านเทอร์โบเข้าไปอัดซ้ำอีก ก็จะทำให้อากาศร้อนกว่าเดิมอีก เมื่อใดที่ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดอีกครั้ง อากาศที่เข้าเครื่องจะร้อนขึ้น ถ้าประสิทธิภาพของอินเตอร์คูลเลอร์ไม่ดีพอ อากาศจะร้อน จนทำให้เครื่องเกิดการน๊อกได้ชั่วขณะเป็นระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าเทอร์โบทำงานบูสได้ตามปกติ by-pass valve ปิด ไม่ได้เอาอากาศวนเข้าไปอัดซ้ำอีก โดยปกติแล้ว bypass-valve จะมีท่อต่อเข้ากับท่อไอดีเพื่อควบคุมให้ตัววาวล์ของมันเปิด เมื่อในท่อไอดีเป็นแวคคั่ม ทำให้อากาศจากหน้าเทอร์โบไหลผ่านเข้าท่ออากาศ และเข้าท่อไอดีเลย ไม่ผ่านตัวเทอร์โบและอินเตอร์คูลเล่อร์ ส่งผลให้เครื่องมีการตอบสนองได้ดีกว่า ประหยัดกว่า เมื่อเทอร์โบยังไม่มีบูส หรือใช้คันเร่งน้อยๆ เนื่องจากเครื่องไม่ต้องออกแรงดูดอากาศเป็นระยะทางยาวๆ ส่วน blow-off valve จะระบายอากาศส่วนเกินทิ้งไปกับบรรยากาศ อากาศที่เข้าเครื่อง จะเป็นอากาศใหม่ที่ผ่านเทอร์โบ และอินเตอร์คูลเลอร์แล้วเหมือนปกติ blow-off valve บางตัวจะต่อท่อควบคุมเข้ากับท่อไอดี เหมือนกับ by-pass valve ก็เพื่อให้การทำงานของ blow-off ทำงานได้เร็วขึ้น บางตัวอาจจะงานสองจังหวะ ที่บูสต่ำและบูสสูง หรือที่เรียกว่า sequential blow-off valve ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะต่างๆ ในขณะขับขี่ และรักษาแรงดันในท่ออากาศได้ดีกว่าแบบจังหวะเดียว ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องอากาศไหลออกก่อนจุดที่ต้องการให้ระบายออก ทำให้บูสมาช้า ในกรณีที่ตั้งจุดระบายอากาศไว้ต่ำ หรือ แรงดันในท่ออากาศสูงเกินไป ในกรณีที่ตั้งจุดระบายอากาศไว้สูง[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
VVL Owners Club Thailand
>
VVL Set โบ์ แชร์ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ !!! คุ้มหรือเปล่า
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...