ทำไมเครื่องดีเซลต้องใช้เทอร์โบแปรฝัน หรืดเทอร์โบคู่ ในทัศนคติของข้าพเจ้า...

การสนทนาใน 'Sport Truck.' เริ่มโดย p_sutipoj, 4 มีนาคม 2016

< Previous Thread | Next Thread >
  1. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    เรื่องนี้เป็นที่สงสัยมานานนนน ทำไมดีเซลต้องให้เทอร์โบแปรผัน หรือเทอร์โบคู่ ไม่มีใครสอนไม่มีใครบอก แล้ววิศวะกรเค้าคิดได้อย่างไร เราก็ต้องแกะเอาหาเหตุ ถ้าช่างเก๋าๆแก่วิชาหน่อยจะรู้สันดานดีเซลว่า

    1 รอบเครื่องยนต์น้อยกว่า เพราะว่าเวลาการลูกไหมของน้ำมันช้า ทำให้รอบสูงๆ เวลาในการเผาไหม้น้อยเพราะลูกลูบเคลื่อนที่เร็ว....... แต่เวลาการเผาไหม้เท่าเดิม(ช้าอยู่แล้ว)

    ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า เครื่องยนต์ดีเซล ที่มีลักษณะ โอเวอร์สแควร์ คือพวกชักยาวกว่าความโตกระบอก รอบสูงๆจะมีผลทำให้แรงบิดลดลงกมากกว่าพวกชักสั้น............. สรูปชักสั้นดีกว่า

    2 แรงม้า = ( แรงบิด x รอบเครื่องยนต์ )/ค่าคงที่

    เป็นที่รู้กันดีว่า ถ้าทำแรงบิดไว้ที่รอบสูงๆ แรงบิดเท่ากัน แรงม้าย่อมสูงกว่า.......!!! สรูปชักสั้นเป็นต่อ

    3 ความจุกระบอกยิ่งมากก็ยิ่งดี กล้ามโตกว่าอะไรก็ง่ายกว่า

    ในข้อนี้ เครื่องยนต์ที่ เพิ่มความจุด้วยการเพิ่มช่วงชัก กับเครื่องที่เพิ่มความจุด้วยการเพิ่มการขยากความโตกระบอกสูบ ลูกโต้ทำให้สันดานเครื่องไม่เปลี่ยน แต่ถ้าชักยาวเป็นทุนแรงบิดเพิ่มมากว่า และCCมากกว่า ก็ทำให้แรงบิดมากกว่า

    แต่อย่าลืมว่าชักยาวมากกว่าเดิม ย่อมทำให้เพาเวอร์แบนด์ แคบกว่าเดิม

    4 บูทส์เยอะแรงบิดเยอะกว่า

    อันนี้ฟังให้ดี รถที่วัดแรงม้ามาหลายคัน ผมจับจุดได้ว่า ส่วนมากแรงม้าแรงบิดสูงสุดจะอยู่ประมาณ 3000-4000 เลยจากนั้นแรงบิดตก ทำให้แรงม้าไม่ขึ้นอย่างมากก็ทรงๆ ดังนั้นการเลือกเทอร์โบสำคัญเพราะว่า

    หากเลือกเทอร์โบเล็กไป ทอร์คก็จะไปอยู่ที่รอบต่ำกลางๆ ตัวคูณรอบน้อย ทำให้แรงม้าก็น้อยไปด้วย

    หากเลือกเทอร์โบใหญ่ไป ทอร์คสูงสุดก็จะไปอยู่ในรอบสูง เช่น3500-4000 ไปแล้ว ก็ทำให้ เสียโอกาสมาช้าบูทส์ไม่เต็ม แรงบิดก็ไม่เต็ม..........

    *** ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า การเลิอกใช้เทอร์โบใหญ่ๆ แต่ทำให้มันติดบูทส์ที่รอบต่ำๆ จึงเกิดขึ้น เช่น เอาTF08 มาลดใบมาครอบผา ทำให้มันติดบูทส์ไวๆ จึงเป็นทางเลิอกที่ถูกต้อง....(ในตอนนั้น)

    เพราะว่าถ้าต้องการบูทส์เยอะๆ ใช้เทอร์โบใหญ่ ให้มาไวๆต้องใช้ใบท้ายเล็กๆ จะได้เรียกบูทส์มาได้ แต่เมื่อติดบูทส์แล้วคายไม่ทันเพราะว่าใบหลังเล็ก ก็ทำให้ไม่มีทอร์คเท่าที่ควรในรอบสูง ในด้านประสิทธิภาพจึงตกไป

    วิศวะกรจึงคิดเทอร์โบ !!! ระบบแปรผัน ขึ้นมา เพื่อ ตอบสนอง โจทย์ ต่างๆ ในข้างต้น ถ้าเอามาเรียกบูส์ ให้ได้ ตามที่ต้องการตั้งแต่ 3000-รอบสูงสุดก็จะได้แรงม้าที่ค่อยๆเพิ่มไปจนถึงรอบสูงสุดเช่นกัน..............

    ระบบการทำงาน ไปหาดูในอาจารย์YOU กับอาจารย์GOO ก็แล้วกันนะครับ

    4 แล้วระบบเทอร์โบ คู่ล่ะเกิดมาเพื่ออะไร ความจริงแล้วผมคิดว่า เทอร์โบคู่น่ะเกิดมาเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่ไม่มีรอบสูงๆ แต่ต้องการทอร์คสูงๆในช่วงใดช่วงหนึงซึ่งง่ายดี หลักการของมันก็คือ เมื่อเทอร์โบลูกเดียวทำบูทส์ได้พอดีทั้งต้นทั้งปลาย

    แต่ถ้าเพิ่มบูทส์ขึ้นไปอีก จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำลมลดลง ดังนั้นเค้าจึงเอาลมอัดเข้าแทนที่จะดูดเอง ก็ทำให้ประสิทธิภาพการอัดอากาศกลับคืนมาก ยิ่งอัดมากเท่าไหร่ เทอร์โบลูกนั้ก็ทำงานสบายขึ้น ............สิ่งที่น่าคิดก็คือ

    ถ้าเรา เอาเทอร์โบลูกอัดบูทส์ซัก60 PSI แต่ให้อีกลูกอัด30 แสดงว่าลูกดูด ทำงานแต่30PSI ชิวๆ ลูกอัดทำงานแค่30เช่นกัน น่าจะทำให้ได้แรงม้าเท่ากับโบเดียว บุทส์60 หรือป่าว ใครอยากลองบ้าง

    ผมอยากลอง ต้องคอยชม!!!
     
  2. p_sutipoj

    p_sutipoj Active Member Moderator

    3,479
    8
    38
    จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในการจูนไดโน่ เห้นชัดๆกับเทอร์โบสองประเภท พวกเทอร์โบSTD และเทอร์โบใหญ่TF08 สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ทอร์คสูงสุดที่ทำได้ อาจะใกลเคียงกันในระดับ 1000 นิวตัน/เมตร

    แต่สิ่งที่น่าสังเกตุก็คือ เทอร์โบSTD แรงม้าสูงสุดอยู่แถวๆ2500-3000 รอบ แต่แรงม้าของเทอร์โบใหญ่อยู่ที่ 3500-4000รอบ ถ้าคิดแบบคนทั่วไปก็งี้แหละ ทอร์คใกล้เคียงกันแต่ ประมาณ 1000 แต่บูทส์ตางกัน

    เทอร์โบ STD บูทส์ ไม่กิน50 PSI แต่เทอร์โบใหญ่บูทส์ ไม่เกิน70 PSI แรงม้าไม่ต้องพูดถึง(ทอร์คที่เท่าในรอบที่สูงกว่า ย่อมมีแรงม้ามากว่าเป็นธรรมดา) ประเด็นอยู่ที่ว่า มีกลไกอะไรหนอ ที่จะทำให้ เทอร์โบใหญ่ สามารถบูทส์

    50 PSI ได้ที่รอบ 2500-3000 ถ้าทำได้ก็จะได้แรงม้าแรงบิด ตั้งแต่ต้นยันปลาย ........นี่ใช่ไหมที่วิศวกร คิด ระบบเทอร์โบแประผัน

    อีกประการนึงก็คือ ถ้าเราเน้นให้เครื่องที่เราประกอบ ให้แรงม้าสูงสุดอยู่ที่รอบสูงๆ จากSTD หมายความว่า อะไรที่เกี่ยวกับแรงบิดในรอบสูง มีส่วนเช่น

    ถ้าเราใช้ฟลายวิลเบา(ล้อช่วยแรง) การลดน้ำหนักฟลายวิล ทำให้อัตราเร่งดีขึ้นทุกคนรู้ดีทุกคนรู้ดี แต่ผลเสียในเครื่องยนดีเซล เกจิอาจารย์ทั้งหลายบอกว่า ใส่เบาๆแล้วไม่มีแรง อาจเป็นคำพูดที่จริงผมก็หาคำตอบมา

    อธิบายจุดนี้ และแล้วก็คิดว่ามันจริงครึ่งนึงไม่จริงครึ่งนึงหรือป่าว เครื่องเซลถ้าเราให้ฟลายวิลที่หนักจะทำให้รอบเครื่องยนต์ หนีบูทส์ คือบูทส์ขึ้นไม่ทันรอบเครื่องยนกวาดหนีไปก่อนแล้ว

    ทำให้บูทส์ไม่เต็มมาช้ากว่า แต่ที่รอบสูงๆก็มาทันเหมือนกัน แต่ถ้าเรามีเทอร์โปแปรผันมาช่วยล่ะ จะทำให้มีบูทส์มาเต็มไวกว่าเดิมแน่นอน มันจะชดเชยกันได้มั้ย น่าสนุกนะ .........ต้องลอง และผมก็กำลังวิจัย

    โปรเจ็คนี้อยู่ เครือง STD แรงม้า จะเท่ากับ แรงดันบูทส์ x 10 ถ้าทำเครื่องที่บูทส์เท่ากัน แต่ได้แรงม้ามากกว่า ผมถือว่าผมประสบความสำเร็จ......... แค่ชนะตัวเองและ พิสูจน์ให้รู้ว่าผมคิดถูกผมว่า ถูมิใจแล้ว
     
< Previous Thread | Next Thread >

แบ่งปันหน้านี้