เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
BLUEBIRD CLUB
>
ขอถามเรื่องน้ำมันเครื่องครับ
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="san diego, post: 390225, member: 7986"]เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องครับ</p><p>ชนิดของน้ำมันเครื่อง</p><p><br /></p><p>ชนิด - เกี่ยวข้องกับอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง </p><p>แบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก โดยตัดน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐาน ซึ่งผลิตจากไขพืช-สัตว์ เพราะคุณภาพต่ำเกินไป แต่เพิ่มชนิดที่ 3 ขึ้นมา คือ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ที่ได้จากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์กับชนิดธรรมดา </p><p>น้ำมันเครื่องธรรมดา ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม แพร่หลายที่สุด กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 300-600 บาท </p><p>น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ผลิตจากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และแตกต่างกันออกไปในแต่ละรุ่น กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 500-800 บาท </p><p>น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่สังเคราะห์ขึ้นจากน้ำมันปิโตรเลียม กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 800-2,200 บาท </p><p>ชนิดของน้ำมันเครื่องสามารถบอกได้เพียงคุณสมบัติด้านอายุการใช้งานเป็นหลัก ไล่เรียงกันลงมาจากน้อยไปหามาก และไม่ใช่บทสรุปว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ต้องมีคุณภาพโดยรวมดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดาเสมอไป เพราะยังต้องเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติด้านอื่นอีก เช่น ความลื่น การชะล้าง ฯลฯ จึงต้องดูที่เกรดคุณภาพและคุณสมบัติด้านอื่นด้วย </p><p><br /></p><p> ปัจจุบันนี้ น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพตาม API สูงๆ เช่น API SJ / API SL /API CH-4 / API CI-4 ทั้งชนิดธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ หรือสังเคราะห์ สามารถใช้งานเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 10,000 กิโลเมตร ในสภาพการใช้งานปกติ หากการจราจรติดขัดมากจริงๆ หรือเส้นทางมีฝุ่นมาก ก็อาจจะลดลงมาเหลือ 8,000 กิโลเมตรได้</p><p> โดยระยะทางข้างต้นได้ประยุกต์ลดลงตามสภาพอากาศ ฝุ่น และสภาพการจราจรของเมืองไทย ที่ดุเดือดกว่าหลายประเทศ ซึ่งน้ำมันเครื่องทุกชนิดมีอายุการใช้งานในต่างประเทศตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ยืนยาวกว่านี้อีกประมาณ 20-100 เปอร์เซ็นต์ เช่น 10,000, 14,000 และ 20,000 กิโลเมตร ตามลำดับของชนิด</p><p> ดังนั้น ถ้าอยากใช้น้ำมันเครื่องเป็นระยะทางมากกว่าที่แนะนำไว้ข้างต้นบ้างก็สามารถทำได้ ด้วยการเลือกใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แม้ราคาต่อลิตรจะแพงกว่า แต่เมื่อรวมค่าน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง และค่าแรงในการเปลี่ยนถ่าย หากคำนวณเป็นระยะทางต่อกิโลเมตรแล้ว อาจถูกกว่าการใช้น้ำมันเครื่องธรรมดาก็เป็นได้ </p><p>น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ และเทียม</p><p><br /></p><p>เป็นชนิดสังเคราะห์ 100% หรือมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ข้างกระป๋องหรือไม่? การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องต้องเชื่อมั่นในแหล่งจำหน่าย ยี่ห้อ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของไทย เพราะไม่สามารถทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องด้วยสายตาหรือการสัมผัส แต่ต้องทำการทดสอบในห้องทดลองทางเคมีเท่านั้น </p><p>การระบุข้างกระป๋องว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% ยังขาดความชัดเจนว่าน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปทุกหยดในกระป๋องนั้นมาจากการสังเคราะห์ 100% ทั้งตัวน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพจริงหรือไม่ ถ้าเป็นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ 100% แต่เมื่อจะผสมสารเพิ่มคุณภาพบางตัวกลับไม่สามารถละลายได้ จึงต้องละลายผสมสารเพิ่มคุณภาพกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดาในปริมาณน้อยๆก่อน แล้วค่อยนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นก็ไม่ถือว่าทุกหยดได้จากการสังเคราะห์ </p><p>น้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ระบุว่าเป็นชนิดสังเคราะห์ 100% ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ โพลีแอลฟาโอลีฟิน (POLYALPHAOLEFIN-PAO) ซึ่งไม่สามารถละลายสารเพิ่มคุณภาพบางตัวหรือละลายได้ไม่ดี จึงอาจมีการละลายสารเพิ่มคุณภาพด้วยน้ำมันหรือสารอื่นก่อนผู้ผลิตบางรายเน้นความประหยัด โดยนำสารเพิ่มคุณภาพไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาก่อน เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานจึงเกิดข้อกังขาว่า จะเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ได้อย่างไร ในเมื่อมีน้ำมันชนิดธรรมดาผสมอยู่ด้วยจากการช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ </p><p>มีผู้ผลิตไม่มากนักที่ยอมลงทุนนำสารเพิ่มคุณภาพไปละลายกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเคราะห์อื่นที่มีราคาแพง ไม่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์รถยนต์ แต่ทำละลายได้ดี เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องบินเจ็ต (DIBASICESTER) เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ทุกหยดจริงๆ ต่างจากกรณีแรกที่มีน้ำมันชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วย </p><p>ในการควบคุมและประชาสัมพันธ์ไม่มีการกำหนดว่า การระบุว่าสังเคราะห์ต้องเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% จริงๆ เพราะเน้นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานแบบสังเคราะห์แท้ๆเป็นหลักก็เพียงพอแล้ว ส่วนกรณีที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่บ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นการหลอกลวง เพราะมักจะใช้ในปริมาณน้อยมาก และถือว่าเป็นเพียงตัวช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพเท่านั้น </p><p>ในการเลือกใช้ ไม่ต้องกังวลว่าจะมีน้ำมันธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่มีปริมาณน้อยมาก และไม่น่าจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง คุณภาพที่แท้จริงอยู่ที่น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพที่ผู้ผลิตเลือกใช้มากกว่า กรณีที่มีการผสมน้ำมันธรรมดาเข้าไปในปริมาณมาก และไม่ได้เน้นแค่ช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ ต้องถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดกึ่งสังเคราะห์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปิดเผยกันว่ามีน้ำมันหล่อลื่นธรรมดาผสมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ </p><p>เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง</p><p><br /></p><p>เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง เกี่ยวข้องกับคุณภาพและประสิทธิภาพเกือบทุกด้านกำหนดขึ้นจากการทดสอบคุณสมบัติด้านต่างๆ เช่น หล่อลื่น ระบายความร้อน ป้องกันสนิม และชะล้างทำความสะอาด ฯลฯมีหลายสถาบันทั่วโลกทดสอบและตั้งมาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง เช่น </p><p>API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE </p><p>SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS </p><p>US MILITARY CLASSIFICATION - สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา </p><p>ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS </p><p>CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION </p><p><br /></p><p> นอกจากนั้น หลายผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ก็มีการทดสอบและกำหนดมาตรฐานของน้ำมันเครื่องขึ้นเองในการใช้งานสำหรับรถยนต์ทั่วโลก ผู้ผลิตน้ำมันเครื่องและผู้บริโภค นิยมเลือกใช้มาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของสถาบัน API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE เพราะชัดเจนและสะดวกทั้งในการผลิตหรือเลือกใช้ โดยมีการระบุไว้ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องเสมอ </p><p>การแบ่งเกรดคุณภาพมี 2 กลุ่มหลัก คือ</p><p> </p><p><br /></p><p>เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ตามหลังอักษรย่อ API ใช้ตัวอักษรย่อ S (STATION SERVICE-SPARK IGNITION) นำหน้าเสมอ แล้วตามด้วยตัวอักษรย่อที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไล่เรียงตั้งแต่แย่สุดคือ A ขึ้นไปเรื่อยๆ B, C...H และ J เช่น API SE, API SH จนถึง API SJ โดยไม่มี API SI ข้ามไปเพราะตัว I คล้ายเลข 1 (เช่นเดียวกับที่นั่งบนเครื่องบินที่ไม่มีตัว I) มี SJ สูงสุด รองลงมาเป็น SH และ SG ส่วนเกรดคุณภาพต่ำๆ อย่าง SA และ SB ปัจจุบันไม่นิยมผลิต เพราะไม่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินยุคใหม่ </p><p>เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ตามหลังอักษรย่อ API ใช้ตัวอักษรย่อ C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) นำหน้าเสมอ แล้วตามด้วยตัวอักษรย่อที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไล่เรียงตั้งแต่แย่สุดคือ A ขึ้นไปเรื่อยๆ B, C...F และ G เช่น API CD,API CE จนถึง API CF-4 มี CG-4 สูงสุด รองลงมาเป็น CF-4 และ CE (เลข 4 ตามท้ายหมายถึง เน้นใช้สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ) ส่วนเกรดคุณภาพต่ำๆ อย่าง CA และ CB ปัจจุบันไม่นิยมผลิต เพราะไม่เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลยุคใหม่ </p><p><br /></p><p><br /></p><p><br /></p><p> ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดหรือใกล้สูงสุด ทว่าไม่จำเป็นต้องเลือกสูงสุด หากไม่มีโอกาส แต่ควรให้ใกล้เคียงระดับสูงสุดไว้เครื่องยนต์เบนซิน ควรเลือก API SJ หรือ SH อนุโลม API SG ได้ เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือก API CG-4 หรือ CF-4 อนุโลม API CE ได้</p><p> หากน้ำมันเครื่องผ่านการทดสอบจาก API นอกจากจะมีการระบุเป็นตัวอักษรย่อ ยังต้อง </p><p>มีสัญลักษณ์รูปวงกลมหรือโดนัทระบุรายละเอียดด้วย วงนอกเป็นมาตรฐาน API SERVICE S.../C... และวงกลมตรงกลางระบุมาตรฐานความหนืดตาม SAE </p><p> โดยถ้าน้ำมันเครื่องนั้นช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ก็จะมีการระบุคำว่า ENERGY CONSERVING ไว้บริเวณวงล่างของโดนัทด้วย</p><p> ถ้าไม่มีสัญลักษณ์รูปโดนัทแสดงว่าไม่ผ่านการทดสอบจาก API แต่เป็นการทดสอบเองหรือสถาบันอื่นทดสอบ โดยใช้มาตรฐานอ้างอิงจาก API แล้วระบุผลออกมาเป็นตัวอักษรย่อ API S.../C... ไม่มีสัญลักษณ์รูปโดนัทข้าง กระป๋อง </p><p>รายละเอียดการกำหนดเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่องโดย API มีดังนี้</p><p><br /></p><p>เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน </p><p>SA - เป็นน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานล้วนๆ ไม่มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพเลย ปัจจุบันยกเลิกแล้ว </p><p>SB - ประกาศใช้ปี 1930 เพิ่มเพียงสารเพิ่มคุณภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว </p><p>SC - ประกาศใช้ปี 1964 เพิ่มสารชะล้าง ป้องกันตะกอนและสนิม </p><p>SD - ประกาศใช้ปี 1968 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SC ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน </p><p>SE - ประกาศใช้ปี 1972 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SD ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน </p><p>SF - ประกาศใช้ปี 1980 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SE และเน้นป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรเลือกใช้ หากไม่จำเป็น </p><p>SG - ประกาศใช้ปี 1988 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SF เน้นป้องกันการเกิดตะกอนตม-ยางเหนียวเพิ่มขึ้น ลดการเกิดเขม่าบนหัวลูกสูบ-ห้องเผาไหม้ และลดการสึกหรอของวาล์ว ยังพอเลือกใช้ได้ถ้าจำเป็น </p><p>SH - ประกาศใช้ปี 1992 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SG เน้นการลดมลพิษและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้ </p><p>SJ - ประกาศใช้วันที่ 15 ตุลาคม 1996 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SH เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น และเน้นการลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ เด่นที่สุดในการเลือกใช้ </p><p> ต้องผ่านการทดสอบพิเศษด้วยมาตรฐานเหนือกว่า API SH อีก 7 ประการ คือ </p><p>จำกัดปริมาณของฟอสฟอรัส </p><p>ระดับการระเหยต่ำ </p><p>ทดสอบการเกิดเขม่าในอุณหภูมิสูง </p><p>ทดสอบการเกิดโฟมในอุณหภูมิสูง </p><p>ทดสอบการรวมตัวกับน้ำ </p><p>การรวมตัวได้ของสารหล่อลื่น </p><p>ความสามารถในการคงสภาพการหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิต่ำ </p><p> น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ SJ มีคุณสมบัติโดดเด่น คือ </p><p>ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย (แคตตาลิติก คอนเวอร์เตอร์) เพราะมีการควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสไว้ต่ำมาก </p><p>ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง </p><p>ลดการปล่อยมลพิษ </p><p>คงสภาพทุกช่วงอุณหภูมิได้ดี </p><p>การใช้น้ำมันเครื่องต่างชนิดต่างรุ่นผสมกันใช้งานด้วยความจำเป็น มีความเสี่ยงต่อการแยกตัวหรือส่งผลลบน้อย </p><p>เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล </p><p>CA - ประกาศใช้ปี 1940 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา รอบต่ำ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว </p><p>CB - ประกาศใช้ปี 1949 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา-ปานกลาง รอบต่ำ-ปานกลาง ป้องกันการกัดกร่อน และป้องกันคราบสกปรก-เขม่าดีกว่า CA ปัจจุบันยกเลิกแล้ว </p><p>CC - ประกาศใช้ปี 1961 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา-ปานกลาง รอบต่ำ-ปานกลาง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CB สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดีพอสมควร </p><p>CD - ประกาศใช้ปี 1965 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบสูง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CC สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดี ปัจจุบันในช่วงปี 1997-1998 ยังมีปิกอัพญี่ปุ่นบางรุ่นระบุให้ใช้น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ CD เท่านั้น </p><p>CE - ประกาศใช้ปี 1984 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบสูง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CD สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดี เน้นการป้องกันเขม่าและป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ลดการสึกหรอ และมีอายุการใช้งานมากขึ้น </p><p>CF-4 - ประกาศใช้ปี 1990 เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CE เน้นการป้องกันเขม่าและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้ </p><p>CG-4 - ประกาศใช้ปี 1994 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเกรดคุณภาพเกือบสูงสุด เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CF-4 เน้นการลดมลพิษเพิ่มขึ้น </p><p>CH-4 - ประกาศใช้ปี 1998 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CG-4 เน้นการลดมลพิษเพิ่มขึ้น เด่นที่สุดในการเลือกใช้ </p><p> น้ำมันเครื่องทุกรุ่นทุกยี่ห้อสามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลได้ แต่จะดีหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับผลการทดสอบตามมาตรฐานของ API โดยไม่จำเป็นต้องดูเพียงข้างกระป๋องว่าน้ำมันเครื่องรุ่นนี้รุ่นนั้นเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล นั่นเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาด ให้ดูตาม API เป็นหลัก</p><p> เพราะก่อนน้ำมันเครื่องจะวางจำหน่าย มักถูกนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งเบนซินและดีเซลตามมาตรฐานของ API และเมื่อทดสอบออกมาแล้ว ถ้าเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซินเด่นกว่า ก็จะนำเกรดคุณภาพนั้นระบุไว้นำหน้า ตามหลังด้วยเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น API SJ/CE แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน</p><p> ในทางกลับกัน ถ้าทดสอบแล้วผลออกมาว่าเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเด่นกว่า ก็จะนำเกรดคุณภาพนั้นระบุไว้นำหน้า ตามหลังด้วยเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน เช่น API CG-4/SF แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล</p><p> แต่ถ้าทดสอบแล้วเกรดคุณภาพด้านใดเด่นมาก แต่อีกด้านแย่สุดๆ ก็อาจระบุเฉพาะเกรดคุณภาพที่เด่นเท่านั้น เพราะระบุด้านรองไว้ก็ไม่มีความน่าสนใจหรือเสียชื่อเสียง รวมทั้งอาจระบุชัดเจนว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล เช่น API SJ หรือ API CG-4 ไปเลยก็มี </p><p> ปัจจุบันเริ่มมีน้ำมันเครื่องบางรุ่นในบางยี่ห้อ มีมาตรฐานคุณภาพสูงสุดทั้งจากการทดสอบกับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล API SJ/CH-4 ออกมาจำหน่ายกันบ้างแล้ว </p><p><br /></p><p>ความหนืดของน้ำมันเครื่อง</p><p><br /></p><p>ความหนืด - บอกอะไรเราบ้าง? </p><p>เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียน </p><p>เป็นอัตราการไหลของปริมาณน้ำมันเครื่องต่อขนาดและความยาวของรู ต่อหน่วยเวลา ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น น้ำมัน 60 ซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร) ไหลผ่านรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.77 มิลลิเมตร ความยาวของรู 12.25 มิลลิเมตร ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสโดยมีหลายหน่วยการวัด เช่น ระบบเมตริก หน่วย cSt เซนติกโตส, สหรัฐอเมริกา หน่วย SUS, SSU วินาทีเซย์โบลต์, อังกฤษ หน่วย RW1 เรดวู๊ด และยุโรป E อิงเลอร์ โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดและทุกอุณหภูมิการวัด </p><p>หน่วยการวัดข้างต้นเกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ล้วนมีความยุ่งยากในการจดจำ ไม่เป็นสากล และไม่สะดวกในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั่วโลก จึงมีสมาคมในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก กำหนดเกรดความหนืดที่สะดวกและชัดเจนขึ้นใหม่ และง่ายต่อการเลือกของผู้บริโภค เปรียบเทียบกับหลายหน่วยการวัดข้างต้นได้แม่นยำ หน่วยงานนั้นคือ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS โดยกำหนดใช้อักษรย่อ SAE ตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 30 หรือ 50 ฯลฯ เลขมากยิ่งหนืด เลขน้อยยิ่งใส เช่น 50 หนืดกว่า 40 และ 5 ใสกว่า 20 โดยวัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (210 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนขณะเครื่องยนต์ทำงาน </p><p>ถ้าวัดที่ -18 องศาเซลเซียส (0 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของอากาศในบางประเทศที่หนาวจัด เพื่อป้องกันปัญหาน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปจนไหลไม่ไหว จะตามท้ายตัวเลขด้วยตัวอักษร W-WINTER เช่น 5W, 10W หรือ 20W ฯลฯ การเลือกน้ำมันเครื่องในไทย ให้สนใจตัวเลขเปล่าๆที่ไม่ได้ตามท้ายด้วย W เพราะไม่มีอุณหภูมิติดลบ อากาศปกติก็ 20-35 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว </p><p>การเลือกใช้น้ำมันเครื่องในด้านเกรดความหนืด ต้องเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศทั่วไป และสภาพความหลวมของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ เพราะต้องมีความหนืดเหมาะสมต่อการไหลเวียนภายในเครื่องยนต์ เช่น ถ้าอากาศภายนอกเย็นจัด น้ำมันเครื่องก็ควรใส ไหลง่าย ในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์และยังไม่ร้อน ถ้าน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปก็ไหลเวียนไม่ทัน และอาจทำให้เครื่องยนต์สึกหรอหรือพัง </p><p>หากอากาศร้อนหรือเมื่อเครื่องยนต์ร้อนแล้ว แต่น้ำมันเครื่องใสเกิน ก็จะมีชั้นเคลือบบางเกินไป ทำให้เกิดการสึกหรอ และสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องจากการเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบหรือยางหมวกวาล์วได้ น้ำมันเครื่องทุกชนิดสามารถแบ่งแยกได้อีกโดยเกรดความหนืด คือ </p><p>- เกรดเดี่ยว-เกรดความหนืดเดี่ยว (SINGLE GRADE) และ</p><p>- เกรดรวม-เกรดความหนืดรวม (MUTI GRADE) </p><p><br /></p><p><br /></p><p><br /></p><p>ตรารับรองมาตรฐานบอกอะไร?</p><p><br /></p><p>บอกมาตรฐานที่ผ่านการรับรองของ API </p><p>บอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องตามมาตรฐาน SAE </p><p>บอกว่าน้ำมันเครื่องนั้นช่วยประหยัดเชื้อเพลิงด้วย </p><p><br /></p><p>น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว</p><p><br /></p><p> เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อย เช่น ร้อนหรือเย็นไปเลย ทั้งกลางวันกลางคืนและในฤดูต่างๆ น้ำมันเครื่องไม่สามารถปรับความหนืดให้เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ เช่น น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ถ้านำมาใช้เมืองร้อนก็ใสเกินไปและไม่สามารถปรับตัวให้หนืดขึ้นได้ ส่วนน้ำมันเครื่องเมืองร้อน ถ้านำมาใช้เมืองหนาวก็ข้นเกินไป ไหลไม่ไหว และไม่สามารถปรับตัวให้ใสได้ จำเป็นต้องเลือกใช้ให้ตรงกับอุณหภูมิ เมืองร้อนจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องของเมืองหนาวเกรดความหนืดเดี่ยวที่วัดและระบุเป็น SAE ?W ไม่ได้</p><p> สำหรับน้ำมันเครื่องเมืองร้อน มีการผลิตและวัดความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ เช่น SAE 20 น้ำมันเครื่องเมืองหนาว มีการผลิตและวัดความหนืดที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขและอักษร W เช่น SAE 10W ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยวได้รับความนิยมน้อย เพราะผู้ผลิตหันไปทุ่มเทกับน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทั่วโลกทั้งเมืองร้อนเมืองหนาว </p><p>น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม</p><p><br /></p><p> เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดรวม ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากในแต่ละช่วงเวลาหรือฤดู หรือผลิตสูตรเดียวแต่สามารถจำหน่ายได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก น้ำมันเครื่องเกรดรวมสามารถปรับหรือคงความหนืดให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานทุกอุณหภูมิได้ เมื่อร้อนจะปรับตัวให้หนืด และถ้าเย็นลงจะปรับตัวให้ใส</p><p> โดยมีการผลิตและวัดความหนืด ณ 2 อุณหภูมิ คือ ที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขตามหลังด้วยตัวอักษร W เช่น 10W และที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขเปล่าๆ เช่น 20 แล้วนำมาระบุรวมกันตามหลังตัวอักษรย่อ SAE โดยนำการวัดที่ -18 องศาเซลเซียสนำหน้าแล้วคั่นด้วยเครื่องหมาย - เช่น SAE 20W-50 การผลิตน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมให้สามารถปรับความหนืดได้ เมื่อร้อนแล้วหนืด เย็นแล้วใส ต้องมีการเติมสารปรับความหนืด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้สารโพลีเมอร์ ที่เป็นโมเลกุลสายยาว เมื่อเย็นจะหดตัว น้ำมันเครื่องจึงใส ถ้าร้อนจะขยายและยืดตัวออก ทำให้น้ำมันเครื่องข้นขึ้น</p><p> โพลีเมอร์ แม้จะทำให้น้ำมันเครื่องสามารถปรับความหนืดได้ แต่เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง โมเลกุลสายยาวของโพลีเมอร์มักจะขาดออกจากกัน เมื่อร้อนการขยายตัวจะน้อยลง และทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดลดลงบ้าง ต่างจากน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวในมาตรฐานเดียวกันซึ่งไม่มีการเติมสารโพลีเมอร์ จะคงความหนืดเมื่ออายุการใช้งานผ่านไปได้ดีกว่า</p><p><br /></p><p><br /></p><p><br /></p><p> ตัวเลขที่ระบุความหนืด ลงท้ายด้วยตัวอักษร W วัดที่ -18 องศาเซลเซียส ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ วัดที่ 100 องศาเซลเซียส เช่น SAE 10W-50 ยิ่งมีตัวเลขห่างกัน เช่น 10 กับ 50 เกินกว่า 35 (50-10) แสดงว่าน้ำมันเครื่องนั้นสามารถปรับความหนืดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มาก ปรับตัวให้ใสหรือข้นได้มากแต่เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว ความหนืดของน้ำมันเครื่องเมื่อร้อนหรือ </p><p>ประมาณ 100 องศาเซลเซียส มีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เร็วกว่าน้ำมันเครื่องที่มีเลขเกรดความหนืดห่างกันน้อยๆ เช่น ตามตัวอย่างจากเดิม SAE 10W-50 ความหนืดอาจเหลือเทียบได้เป็น SAE 10W-40</p><p> ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมได้รับความนิยมทั้งในการผลิตและใช้งาน เพราะครอบคลุมทุกอุณหภูมิ ทั้งที่ในบางประเทศที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอย่างไทย สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวได้ก็ตาม อากาศในไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 20-35 องศาเซลเซียส และเครื่องยนต์ก็ร้อนมาก หากเลือกใช้น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ไม่ว่าเกรดความหนืดเดี่ยวหรือรวม การวัดค่าความหนืดตามตัวอักษรย่อ SAE และลงท้ายด้วยตัวอักษร W ที่ -18 องศาเซลเซียส จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ต้องสนใจ ให้ดูที่การระบุความหนืดด้วยตัวเลขเปล่าๆ เป็นหลัก</p><p> การเลือกความหนืดของน้ำมันเครื่องให้ดูจากคู่มือประจำรถยนต์ แล้วใช้ให้ตรงตามกำหนด โดยเน้นเฉพาะตัวเลขที่ไม่ได้ตามด้วยตัวอักษร Wแต่ถ้าไม่มีคู่มือให้เลือกตามนี้ เมืองไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก และไม่มีติดลบ สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั้งแบบเกรดความหนืดเดี่ยวและเกรดความหนืดรวมสำหรับเมืองร้อน โดยสนใจค่าความหนืดเฉพาะค่า SAE ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยตัวอักษร W เป็นความหนืด 40 หรือ 50</p><p> เครื่องยนต์ใหม่ไม่เกิน 50,000-100,000 กิโลเมตร สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก และอนุโลมให้ใช้ความหนืด 50 ได้ ส่วนเครื่องยนต์ที่เริ่มเก่าหรือผ่าน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ควรใช้ความหนืด SAE 50</p><p> หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการกินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ผสมออกมากับไอเสียหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50</p><p> เครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะแหวนลูกสูบ ลูกสูบ และกระบอกสูบ แม้จะใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดตามกำหนดในคู่มือประจำรถยนต์แล้ว ก็ควรดูว่าในการใช้งานจริงเครื่องยนต์มีการกินน้ำมันเครื่องผิดปกติไหม ถ้ามากควรเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นสัก 10 เบอร์ เช่น เดิมใช้ SAE 30 ก็ขยับไปเป็น SAE 40 แล้วดูอาการซ้ำอีก ยังไม่ควรข้ามจาก SAE 30 ไปยัง SAE 50 หรือเปลี่ยนครั้งเดียวเพิ่มขึ้น 20 เบอร์ไปเลย</p><p> เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ถูกกำหนดให้ใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40-50 ในช่วงแรก โดยมีรุ่นที่กำหนดให้ใช้ SAE 30 บ้างประปราย แต่เมื่อใช้งานเครื่องยนต์จนเกิน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็ควรเลือกใช้ SAE 40 หรือ 50 เพื่อให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องหนาเหมาะสมกับระยะห่างของชิ้นส่วนต่างๆ</p><p> การใช้มันเครื่องใสเกินไป ทำให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องบางเกินไปจนเกิดการสึกหรอมาก แต่ก็ทำให้เครื่องยนต์และปั๊มน้ำมันเครื่องรับภาระน้อยลง เพราะน้ำมันเครื่องไหลง่าย เครื่องยนต์ก็หมุนง่ายไม่หนืด เครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันนิยมใช้ความหนืดของน้ำมันเครื่องพอดีๆ[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="san diego, post: 390225, member: 7986"]เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องครับ ชนิดของน้ำมันเครื่อง ชนิด - เกี่ยวข้องกับอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง แบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก โดยตัดน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐาน ซึ่งผลิตจากไขพืช-สัตว์ เพราะคุณภาพต่ำเกินไป แต่เพิ่มชนิดที่ 3 ขึ้นมา คือ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ที่ได้จากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์กับชนิดธรรมดา น้ำมันเครื่องธรรมดา ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม แพร่หลายที่สุด กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 300-600 บาท น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ผลิตจากการผสมน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม และแตกต่างกันออกไปในแต่ละรุ่น กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 500-800 บาท น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานที่สังเคราะห์ขึ้นจากน้ำมันปิโตรเลียม กระป๋องบรรจุ 4-5 ลิตร ราคาประมาณ 800-2,200 บาท ชนิดของน้ำมันเครื่องสามารถบอกได้เพียงคุณสมบัติด้านอายุการใช้งานเป็นหลัก ไล่เรียงกันลงมาจากน้อยไปหามาก และไม่ใช่บทสรุปว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ต้องมีคุณภาพโดยรวมดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดาเสมอไป เพราะยังต้องเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติด้านอื่นอีก เช่น ความลื่น การชะล้าง ฯลฯ จึงต้องดูที่เกรดคุณภาพและคุณสมบัติด้านอื่นด้วย ปัจจุบันนี้ น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพตาม API สูงๆ เช่น API SJ / API SL /API CH-4 / API CI-4 ทั้งชนิดธรรมดา กึ่งสังเคราะห์ หรือสังเคราะห์ สามารถใช้งานเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 10,000 กิโลเมตร ในสภาพการใช้งานปกติ หากการจราจรติดขัดมากจริงๆ หรือเส้นทางมีฝุ่นมาก ก็อาจจะลดลงมาเหลือ 8,000 กิโลเมตรได้ โดยระยะทางข้างต้นได้ประยุกต์ลดลงตามสภาพอากาศ ฝุ่น และสภาพการจราจรของเมืองไทย ที่ดุเดือดกว่าหลายประเทศ ซึ่งน้ำมันเครื่องทุกชนิดมีอายุการใช้งานในต่างประเทศตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ยืนยาวกว่านี้อีกประมาณ 20-100 เปอร์เซ็นต์ เช่น 10,000, 14,000 และ 20,000 กิโลเมตร ตามลำดับของชนิด ดังนั้น ถ้าอยากใช้น้ำมันเครื่องเป็นระยะทางมากกว่าที่แนะนำไว้ข้างต้นบ้างก็สามารถทำได้ ด้วยการเลือกใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แม้ราคาต่อลิตรจะแพงกว่า แต่เมื่อรวมค่าน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง และค่าแรงในการเปลี่ยนถ่าย หากคำนวณเป็นระยะทางต่อกิโลเมตรแล้ว อาจถูกกว่าการใช้น้ำมันเครื่องธรรมดาก็เป็นได้ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ และเทียม เป็นชนิดสังเคราะห์ 100% หรือมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ข้างกระป๋องหรือไม่? การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องต้องเชื่อมั่นในแหล่งจำหน่าย ยี่ห้อ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของไทย เพราะไม่สามารถทดสอบคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องด้วยสายตาหรือการสัมผัส แต่ต้องทำการทดสอบในห้องทดลองทางเคมีเท่านั้น การระบุข้างกระป๋องว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% ยังขาดความชัดเจนว่าน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปทุกหยดในกระป๋องนั้นมาจากการสังเคราะห์ 100% ทั้งตัวน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพจริงหรือไม่ ถ้าเป็นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ 100% แต่เมื่อจะผสมสารเพิ่มคุณภาพบางตัวกลับไม่สามารถละลายได้ จึงต้องละลายผสมสารเพิ่มคุณภาพกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดธรรมดาในปริมาณน้อยๆก่อน แล้วค่อยนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นก็ไม่ถือว่าทุกหยดได้จากการสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ระบุว่าเป็นชนิดสังเคราะห์ 100% ส่วนใหญ่เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ โพลีแอลฟาโอลีฟิน (POLYALPHAOLEFIN-PAO) ซึ่งไม่สามารถละลายสารเพิ่มคุณภาพบางตัวหรือละลายได้ไม่ดี จึงอาจมีการละลายสารเพิ่มคุณภาพด้วยน้ำมันหรือสารอื่นก่อนผู้ผลิตบางรายเน้นความประหยัด โดยนำสารเพิ่มคุณภาพไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาก่อน เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานจึงเกิดข้อกังขาว่า จะเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ได้อย่างไร ในเมื่อมีน้ำมันชนิดธรรมดาผสมอยู่ด้วยจากการช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ มีผู้ผลิตไม่มากนักที่ยอมลงทุนนำสารเพิ่มคุณภาพไปละลายกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเคราะห์อื่นที่มีราคาแพง ไม่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์รถยนต์ แต่ทำละลายได้ดี เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องบินเจ็ต (DIBASICESTER) เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ทุกหยดจริงๆ ต่างจากกรณีแรกที่มีน้ำมันชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วย ในการควบคุมและประชาสัมพันธ์ไม่มีการกำหนดว่า การระบุว่าสังเคราะห์ต้องเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% จริงๆ เพราะเน้นเพียงการใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานแบบสังเคราะห์แท้ๆเป็นหลักก็เพียงพอแล้ว ส่วนกรณีที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่บ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นการหลอกลวง เพราะมักจะใช้ในปริมาณน้อยมาก และถือว่าเป็นเพียงตัวช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพเท่านั้น ในการเลือกใช้ ไม่ต้องกังวลว่าจะมีน้ำมันธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่มีปริมาณน้อยมาก และไม่น่าจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง คุณภาพที่แท้จริงอยู่ที่น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานและสารเพิ่มคุณภาพที่ผู้ผลิตเลือกใช้มากกว่า กรณีที่มีการผสมน้ำมันธรรมดาเข้าไปในปริมาณมาก และไม่ได้เน้นแค่ช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ ต้องถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดกึ่งสังเคราะห์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปิดเผยกันว่ามีน้ำมันหล่อลื่นธรรมดาผสมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง เกี่ยวข้องกับคุณภาพและประสิทธิภาพเกือบทุกด้านกำหนดขึ้นจากการทดสอบคุณสมบัติด้านต่างๆ เช่น หล่อลื่น ระบายความร้อน ป้องกันสนิม และชะล้างทำความสะอาด ฯลฯมีหลายสถาบันทั่วโลกทดสอบและตั้งมาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง เช่น API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS US MILITARY CLASSIFICATION - สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION นอกจากนั้น หลายผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ก็มีการทดสอบและกำหนดมาตรฐานของน้ำมันเครื่องขึ้นเองในการใช้งานสำหรับรถยนต์ทั่วโลก ผู้ผลิตน้ำมันเครื่องและผู้บริโภค นิยมเลือกใช้มาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของสถาบัน API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE เพราะชัดเจนและสะดวกทั้งในการผลิตหรือเลือกใช้ โดยมีการระบุไว้ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องเสมอ การแบ่งเกรดคุณภาพมี 2 กลุ่มหลัก คือ เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ตามหลังอักษรย่อ API ใช้ตัวอักษรย่อ S (STATION SERVICE-SPARK IGNITION) นำหน้าเสมอ แล้วตามด้วยตัวอักษรย่อที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไล่เรียงตั้งแต่แย่สุดคือ A ขึ้นไปเรื่อยๆ B, C...H และ J เช่น API SE, API SH จนถึง API SJ โดยไม่มี API SI ข้ามไปเพราะตัว I คล้ายเลข 1 (เช่นเดียวกับที่นั่งบนเครื่องบินที่ไม่มีตัว I) มี SJ สูงสุด รองลงมาเป็น SH และ SG ส่วนเกรดคุณภาพต่ำๆ อย่าง SA และ SB ปัจจุบันไม่นิยมผลิต เพราะไม่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินยุคใหม่ เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ตามหลังอักษรย่อ API ใช้ตัวอักษรย่อ C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) นำหน้าเสมอ แล้วตามด้วยตัวอักษรย่อที่บอกเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ไล่เรียงตั้งแต่แย่สุดคือ A ขึ้นไปเรื่อยๆ B, C...F และ G เช่น API CD,API CE จนถึง API CF-4 มี CG-4 สูงสุด รองลงมาเป็น CF-4 และ CE (เลข 4 ตามท้ายหมายถึง เน้นใช้สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ) ส่วนเกรดคุณภาพต่ำๆ อย่าง CA และ CB ปัจจุบันไม่นิยมผลิต เพราะไม่เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลยุคใหม่ ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดหรือใกล้สูงสุด ทว่าไม่จำเป็นต้องเลือกสูงสุด หากไม่มีโอกาส แต่ควรให้ใกล้เคียงระดับสูงสุดไว้เครื่องยนต์เบนซิน ควรเลือก API SJ หรือ SH อนุโลม API SG ได้ เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือก API CG-4 หรือ CF-4 อนุโลม API CE ได้ หากน้ำมันเครื่องผ่านการทดสอบจาก API นอกจากจะมีการระบุเป็นตัวอักษรย่อ ยังต้อง มีสัญลักษณ์รูปวงกลมหรือโดนัทระบุรายละเอียดด้วย วงนอกเป็นมาตรฐาน API SERVICE S.../C... และวงกลมตรงกลางระบุมาตรฐานความหนืดตาม SAE โดยถ้าน้ำมันเครื่องนั้นช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ก็จะมีการระบุคำว่า ENERGY CONSERVING ไว้บริเวณวงล่างของโดนัทด้วย ถ้าไม่มีสัญลักษณ์รูปโดนัทแสดงว่าไม่ผ่านการทดสอบจาก API แต่เป็นการทดสอบเองหรือสถาบันอื่นทดสอบ โดยใช้มาตรฐานอ้างอิงจาก API แล้วระบุผลออกมาเป็นตัวอักษรย่อ API S.../C... ไม่มีสัญลักษณ์รูปโดนัทข้าง กระป๋อง รายละเอียดการกำหนดเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่องโดย API มีดังนี้ เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน SA - เป็นน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานล้วนๆ ไม่มีการเติมสารเพิ่มคุณภาพเลย ปัจจุบันยกเลิกแล้ว SB - ประกาศใช้ปี 1930 เพิ่มเพียงสารเพิ่มคุณภาพบางชนิด เช่น สารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว SC - ประกาศใช้ปี 1964 เพิ่มสารชะล้าง ป้องกันตะกอนและสนิม SD - ประกาศใช้ปี 1968 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SC ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน SE - ประกาศใช้ปี 1972 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SD ไม่ควรเลือกใช้ในปัจจุบัน SF - ประกาศใช้ปี 1980 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SE และเน้นป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากขึ้น ไม่ควรเลือกใช้ หากไม่จำเป็น SG - ประกาศใช้ปี 1988 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SF เน้นป้องกันการเกิดตะกอนตม-ยางเหนียวเพิ่มขึ้น ลดการเกิดเขม่าบนหัวลูกสูบ-ห้องเผาไหม้ และลดการสึกหรอของวาล์ว ยังพอเลือกใช้ได้ถ้าจำเป็น SH - ประกาศใช้ปี 1992 เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SG เน้นการลดมลพิษและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้ SJ - ประกาศใช้วันที่ 15 ตุลาคม 1996 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เพิ่มทุกด้านของประสิทธิภาพและสารเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้นจาก SH เน้นการระเหยต่ำ ค่าฟอสฟอรัสต่ำ ป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดีขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น และเน้นการลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ เด่นที่สุดในการเลือกใช้ ต้องผ่านการทดสอบพิเศษด้วยมาตรฐานเหนือกว่า API SH อีก 7 ประการ คือ จำกัดปริมาณของฟอสฟอรัส ระดับการระเหยต่ำ ทดสอบการเกิดเขม่าในอุณหภูมิสูง ทดสอบการเกิดโฟมในอุณหภูมิสูง ทดสอบการรวมตัวกับน้ำ การรวมตัวได้ของสารหล่อลื่น ความสามารถในการคงสภาพการหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิต่ำ น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ SJ มีคุณสมบัติโดดเด่น คือ ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย (แคตตาลิติก คอนเวอร์เตอร์) เพราะมีการควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสไว้ต่ำมาก ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ลดการปล่อยมลพิษ คงสภาพทุกช่วงอุณหภูมิได้ดี การใช้น้ำมันเครื่องต่างชนิดต่างรุ่นผสมกันใช้งานด้วยความจำเป็น มีความเสี่ยงต่อการแยกตัวหรือส่งผลลบน้อย เกรดคุณภาพน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล CA - ประกาศใช้ปี 1940 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา รอบต่ำ ปัจจุบันยกเลิกแล้ว CB - ประกาศใช้ปี 1949 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา-ปานกลาง รอบต่ำ-ปานกลาง ป้องกันการกัดกร่อน และป้องกันคราบสกปรก-เขม่าดีกว่า CA ปัจจุบันยกเลิกแล้ว CC - ประกาศใช้ปี 1961 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบา-ปานกลาง รอบต่ำ-ปานกลาง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CB สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดีพอสมควร CD - ประกาศใช้ปี 1965 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบสูง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CC สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดี ปัจจุบันในช่วงปี 1997-1998 ยังมีปิกอัพญี่ปุ่นบางรุ่นระบุให้ใช้น้ำมันเครื่องเกรดคุณภาพ CD เท่านั้น CE - ประกาศใช้ปี 1984 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบสูง เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CD สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบหรือซูเปอร์ชาร์จได้ดี เน้นการป้องกันเขม่าและป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ลดการสึกหรอ และมีอายุการใช้งานมากขึ้น CF-4 - ประกาศใช้ปี 1990 เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CE เน้นการป้องกันเขม่าและลดการสึกหรอเพิ่มขึ้น สามารถเลือกใช้ได้ CG-4 - ประกาศใช้ปี 1994 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเกรดคุณภาพเกือบสูงสุด เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CF-4 เน้นการลดมลพิษเพิ่มขึ้น CH-4 - ประกาศใช้ปี 1998 เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีเกรดคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน เกรดคุณภาพทุกด้านเหนือกว่า CG-4 เน้นการลดมลพิษเพิ่มขึ้น เด่นที่สุดในการเลือกใช้ น้ำมันเครื่องทุกรุ่นทุกยี่ห้อสามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลได้ แต่จะดีหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับผลการทดสอบตามมาตรฐานของ API โดยไม่จำเป็นต้องดูเพียงข้างกระป๋องว่าน้ำมันเครื่องรุ่นนี้รุ่นนั้นเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล นั่นเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาด ให้ดูตาม API เป็นหลัก เพราะก่อนน้ำมันเครื่องจะวางจำหน่าย มักถูกนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งเบนซินและดีเซลตามมาตรฐานของ API และเมื่อทดสอบออกมาแล้ว ถ้าเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซินเด่นกว่า ก็จะนำเกรดคุณภาพนั้นระบุไว้นำหน้า ตามหลังด้วยเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น API SJ/CE แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ในทางกลับกัน ถ้าทดสอบแล้วผลออกมาว่าเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเด่นกว่า ก็จะนำเกรดคุณภาพนั้นระบุไว้นำหน้า ตามหลังด้วยเกรดคุณภาพสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน เช่น API CG-4/SF แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล แต่ถ้าทดสอบแล้วเกรดคุณภาพด้านใดเด่นมาก แต่อีกด้านแย่สุดๆ ก็อาจระบุเฉพาะเกรดคุณภาพที่เด่นเท่านั้น เพราะระบุด้านรองไว้ก็ไม่มีความน่าสนใจหรือเสียชื่อเสียง รวมทั้งอาจระบุชัดเจนว่าเหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล เช่น API SJ หรือ API CG-4 ไปเลยก็มี ปัจจุบันเริ่มมีน้ำมันเครื่องบางรุ่นในบางยี่ห้อ มีมาตรฐานคุณภาพสูงสุดทั้งจากการทดสอบกับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล API SJ/CH-4 ออกมาจำหน่ายกันบ้างแล้ว ความหนืดของน้ำมันเครื่อง ความหนืด - บอกอะไรเราบ้าง? เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียน เป็นอัตราการไหลของปริมาณน้ำมันเครื่องต่อขนาดและความยาวของรู ต่อหน่วยเวลา ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น น้ำมัน 60 ซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร) ไหลผ่านรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.77 มิลลิเมตร ความยาวของรู 12.25 มิลลิเมตร ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสโดยมีหลายหน่วยการวัด เช่น ระบบเมตริก หน่วย cSt เซนติกโตส, สหรัฐอเมริกา หน่วย SUS, SSU วินาทีเซย์โบลต์, อังกฤษ หน่วย RW1 เรดวู๊ด และยุโรป E อิงเลอร์ โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดและทุกอุณหภูมิการวัด หน่วยการวัดข้างต้นเกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ล้วนมีความยุ่งยากในการจดจำ ไม่เป็นสากล และไม่สะดวกในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั่วโลก จึงมีสมาคมในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก กำหนดเกรดความหนืดที่สะดวกและชัดเจนขึ้นใหม่ และง่ายต่อการเลือกของผู้บริโภค เปรียบเทียบกับหลายหน่วยการวัดข้างต้นได้แม่นยำ หน่วยงานนั้นคือ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS โดยกำหนดใช้อักษรย่อ SAE ตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 30 หรือ 50 ฯลฯ เลขมากยิ่งหนืด เลขน้อยยิ่งใส เช่น 50 หนืดกว่า 40 และ 5 ใสกว่า 20 โดยวัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (210 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนขณะเครื่องยนต์ทำงาน ถ้าวัดที่ -18 องศาเซลเซียส (0 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิของอากาศในบางประเทศที่หนาวจัด เพื่อป้องกันปัญหาน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปจนไหลไม่ไหว จะตามท้ายตัวเลขด้วยตัวอักษร W-WINTER เช่น 5W, 10W หรือ 20W ฯลฯ การเลือกน้ำมันเครื่องในไทย ให้สนใจตัวเลขเปล่าๆที่ไม่ได้ตามท้ายด้วย W เพราะไม่มีอุณหภูมิติดลบ อากาศปกติก็ 20-35 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว การเลือกใช้น้ำมันเครื่องในด้านเกรดความหนืด ต้องเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอากาศทั่วไป และสภาพความหลวมของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ เพราะต้องมีความหนืดเหมาะสมต่อการไหลเวียนภายในเครื่องยนต์ เช่น ถ้าอากาศภายนอกเย็นจัด น้ำมันเครื่องก็ควรใส ไหลง่าย ในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์และยังไม่ร้อน ถ้าน้ำมันเครื่องหนืดเกินไปก็ไหลเวียนไม่ทัน และอาจทำให้เครื่องยนต์สึกหรอหรือพัง หากอากาศร้อนหรือเมื่อเครื่องยนต์ร้อนแล้ว แต่น้ำมันเครื่องใสเกิน ก็จะมีชั้นเคลือบบางเกินไป ทำให้เกิดการสึกหรอ และสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องจากการเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบหรือยางหมวกวาล์วได้ น้ำมันเครื่องทุกชนิดสามารถแบ่งแยกได้อีกโดยเกรดความหนืด คือ - เกรดเดี่ยว-เกรดความหนืดเดี่ยว (SINGLE GRADE) และ - เกรดรวม-เกรดความหนืดรวม (MUTI GRADE) ตรารับรองมาตรฐานบอกอะไร? บอกมาตรฐานที่ผ่านการรับรองของ API บอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องตามมาตรฐาน SAE บอกว่าน้ำมันเครื่องนั้นช่วยประหยัดเชื้อเพลิงด้วย น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยว เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อย เช่น ร้อนหรือเย็นไปเลย ทั้งกลางวันกลางคืนและในฤดูต่างๆ น้ำมันเครื่องไม่สามารถปรับความหนืดให้เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ เช่น น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ถ้านำมาใช้เมืองร้อนก็ใสเกินไปและไม่สามารถปรับตัวให้หนืดขึ้นได้ ส่วนน้ำมันเครื่องเมืองร้อน ถ้านำมาใช้เมืองหนาวก็ข้นเกินไป ไหลไม่ไหว และไม่สามารถปรับตัวให้ใสได้ จำเป็นต้องเลือกใช้ให้ตรงกับอุณหภูมิ เมืองร้อนจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องของเมืองหนาวเกรดความหนืดเดี่ยวที่วัดและระบุเป็น SAE ?W ไม่ได้ สำหรับน้ำมันเครื่องเมืองร้อน มีการผลิตและวัดความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ เช่น SAE 20 น้ำมันเครื่องเมืองหนาว มีการผลิตและวัดความหนืดที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวอักษรย่อ SAE ตามด้วยตัวเลขและอักษร W เช่น SAE 10W ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยวได้รับความนิยมน้อย เพราะผู้ผลิตหันไปทุ่มเทกับน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทั่วโลกทั้งเมืองร้อนเมืองหนาว น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวม เรียกสั้นๆ ว่า น้ำมันเครื่องเกรดรวม ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากในแต่ละช่วงเวลาหรือฤดู หรือผลิตสูตรเดียวแต่สามารถจำหน่ายได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก น้ำมันเครื่องเกรดรวมสามารถปรับหรือคงความหนืดให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานทุกอุณหภูมิได้ เมื่อร้อนจะปรับตัวให้หนืด และถ้าเย็นลงจะปรับตัวให้ใส โดยมีการผลิตและวัดความหนืด ณ 2 อุณหภูมิ คือ ที่ -18 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขตามหลังด้วยตัวอักษร W เช่น 10W และที่ 100 องศาเซลเซียส ระบุเป็นตัวเลขเปล่าๆ เช่น 20 แล้วนำมาระบุรวมกันตามหลังตัวอักษรย่อ SAE โดยนำการวัดที่ -18 องศาเซลเซียสนำหน้าแล้วคั่นด้วยเครื่องหมาย - เช่น SAE 20W-50 การผลิตน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมให้สามารถปรับความหนืดได้ เมื่อร้อนแล้วหนืด เย็นแล้วใส ต้องมีการเติมสารปรับความหนืด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้สารโพลีเมอร์ ที่เป็นโมเลกุลสายยาว เมื่อเย็นจะหดตัว น้ำมันเครื่องจึงใส ถ้าร้อนจะขยายและยืดตัวออก ทำให้น้ำมันเครื่องข้นขึ้น โพลีเมอร์ แม้จะทำให้น้ำมันเครื่องสามารถปรับความหนืดได้ แต่เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง โมเลกุลสายยาวของโพลีเมอร์มักจะขาดออกจากกัน เมื่อร้อนการขยายตัวจะน้อยลง และทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดลดลงบ้าง ต่างจากน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวในมาตรฐานเดียวกันซึ่งไม่มีการเติมสารโพลีเมอร์ จะคงความหนืดเมื่ออายุการใช้งานผ่านไปได้ดีกว่า ตัวเลขที่ระบุความหนืด ลงท้ายด้วยตัวอักษร W วัดที่ -18 องศาเซลเซียส ตามด้วยตัวเลขเปล่าๆ วัดที่ 100 องศาเซลเซียส เช่น SAE 10W-50 ยิ่งมีตัวเลขห่างกัน เช่น 10 กับ 50 เกินกว่า 35 (50-10) แสดงว่าน้ำมันเครื่องนั้นสามารถปรับความหนืดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้มาก ปรับตัวให้ใสหรือข้นได้มากแต่เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว ความหนืดของน้ำมันเครื่องเมื่อร้อนหรือ ประมาณ 100 องศาเซลเซียส มีแนวโน้มว่าจะลดลงได้เร็วกว่าน้ำมันเครื่องที่มีเลขเกรดความหนืดห่างกันน้อยๆ เช่น ตามตัวอย่างจากเดิม SAE 10W-50 ความหนืดอาจเหลือเทียบได้เป็น SAE 10W-40 ปัจจุบันน้ำมันเครื่องเกรดความหนืดรวมได้รับความนิยมทั้งในการผลิตและใช้งาน เพราะครอบคลุมทุกอุณหภูมิ ทั้งที่ในบางประเทศที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอย่างไทย สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องเกรดความหนืดเดี่ยวได้ก็ตาม อากาศในไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 20-35 องศาเซลเซียส และเครื่องยนต์ก็ร้อนมาก หากเลือกใช้น้ำมันเครื่องเมืองหนาว ไม่ว่าเกรดความหนืดเดี่ยวหรือรวม การวัดค่าความหนืดตามตัวอักษรย่อ SAE และลงท้ายด้วยตัวอักษร W ที่ -18 องศาเซลเซียส จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ต้องสนใจ ให้ดูที่การระบุความหนืดด้วยตัวเลขเปล่าๆ เป็นหลัก การเลือกความหนืดของน้ำมันเครื่องให้ดูจากคู่มือประจำรถยนต์ แล้วใช้ให้ตรงตามกำหนด โดยเน้นเฉพาะตัวเลขที่ไม่ได้ตามด้วยตัวอักษร Wแต่ถ้าไม่มีคู่มือให้เลือกตามนี้ เมืองไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนมาก และไม่มีติดลบ สามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องทั้งแบบเกรดความหนืดเดี่ยวและเกรดความหนืดรวมสำหรับเมืองร้อน โดยสนใจค่าความหนืดเฉพาะค่า SAE ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วยตัวอักษร W เป็นความหนืด 40 หรือ 50 เครื่องยนต์ใหม่ไม่เกิน 50,000-100,000 กิโลเมตร สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก และอนุโลมให้ใช้ความหนืด 50 ได้ ส่วนเครื่องยนต์ที่เริ่มเก่าหรือผ่าน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ควรใช้ความหนืด SAE 50 หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการกินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ผสมออกมากับไอเสียหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50 เครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง จะมีช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะแหวนลูกสูบ ลูกสูบ และกระบอกสูบ แม้จะใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดตามกำหนดในคู่มือประจำรถยนต์แล้ว ก็ควรดูว่าในการใช้งานจริงเครื่องยนต์มีการกินน้ำมันเครื่องผิดปกติไหม ถ้ามากควรเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นสัก 10 เบอร์ เช่น เดิมใช้ SAE 30 ก็ขยับไปเป็น SAE 40 แล้วดูอาการซ้ำอีก ยังไม่ควรข้ามจาก SAE 30 ไปยัง SAE 50 หรือเปลี่ยนครั้งเดียวเพิ่มขึ้น 20 เบอร์ไปเลย เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ถูกกำหนดให้ใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 40-50 ในช่วงแรก โดยมีรุ่นที่กำหนดให้ใช้ SAE 30 บ้างประปราย แต่เมื่อใช้งานเครื่องยนต์จนเกิน 100,000 กิโลเมตรไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็ควรเลือกใช้ SAE 40 หรือ 50 เพื่อให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องหนาเหมาะสมกับระยะห่างของชิ้นส่วนต่างๆ การใช้มันเครื่องใสเกินไป ทำให้ชั้นเคลือบของน้ำมันเครื่องบางเกินไปจนเกิดการสึกหรอมาก แต่ก็ทำให้เครื่องยนต์และปั๊มน้ำมันเครื่องรับภาระน้อยลง เพราะน้ำมันเครื่องไหลง่าย เครื่องยนต์ก็หมุนง่ายไม่หนืด เครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันนิยมใช้ความหนืดของน้ำมันเครื่องพอดีๆ[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
Community Car Clubs
>
Nissan Car Clubs
>
BLUEBIRD CLUB
>
ขอถามเรื่องน้ำมันเครื่องครับ
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...