เข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน
ติดต่อลงโฆษณา
[email protected]
หรือโทร. 081-811-1138 หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Racing Forum (Cars Forum)
>
D.I.Y.
>
D.I.Y. แอร์รถยนต์ด้วยตนเองคับ (ใครรถติดไฟแดงนานๆแล้วแอร์ไม่เย็น เข้ามาคับ)
>
ตอบกลับหัวข้อ
ชื่อ:
การตรวจสอบ:
กรุณาเปิดใช้งานจาวาสคริปต์เพื่อดำเนินการต่อ
กำลังโหลด...
ข้อความ:
<p>[QUOTE="จินนี่, post: 112163, member: 53848"][QUOTE </p><p> </p><p>และสาเหตุ ที่มีน้ำแข็งจับท่อดูดอย่างของพี่จินนี่ผมสรุปให้เลย ครับ ว่ามาจาก น้ำยาน้อยเกินไปในระบบ แค่เติมน้ำยาอีกนิดก็หายแล้วล่ะครับ </p><p>ที่ผมรู้เพราะผมทะลึ่งครับ ผมไปสั่งวาล์วโมดิฟาย ซึ่งมันติดตั้งภายนอกตู้คอยล์เย็นมา ใช้ และขณะเติมน้ำยาไล่เข้าไป ในช่วงที่น้ำยากะลังจะเต็ม เกิดน้ำแข็งจับท่ออย่างรวดเร็วมาก ผมก็รอดูซักพัก แอร์ก็เย็น แต่น้ำแข็งจับท่อยาวไปจนเกือบถึงคอมเช่นกัน ตามคู่มือ เค้าบอกไว้ว่า ถ้าน้ำแข็งจับท่อแสดงว่า น้ำยาน้อยเกินไปให้เติมเพิ่ม ขณะนั้นน้ำยาเข้าไปประมาณ 150 กรัมเองครับ ซึ่งมันก็น้อยจริงๆ</p><p>ผมก็เติมเพิ่มเข้าไปซักพักน้ำแข็งก็หาย เหลือแต่ท่อเย็นๆ เอาไว้ จะถ่ายรูปวาล์วภายนอกมาให้ดูอีกทีครับ[/QUOTE]</p><p><br /></p><p>ตอนน้ำแข็งเกาะที่ท่อนั้น ลมเย็นยังติดลบไหมครับ ที่สรุปว่าน้ำยาน้อยไปนั่น เคสน้ำแข็งเกาะในเจ้าจินนี่ผมนั้น น้ำยาไม่น้อยนะครับ ไม่ต่ำกว่า ๘๐๐ กรัม อันนี้ขอยืนยันเลยครับ จะเรียกว่าขาดหรือไม่ครับ อันนี้ไม่ใช่เห็นแย้งข้อสรุปนี้ แต่ให้ข้อมูลทางลึกในการวิเคราะห์ที่ถูกตรงต่อไป น้ำยาไม่น้อยครับ น้ำยาพอดี</p><p><br /></p><p><br /></p><p>ประเด็นก็คือ ผมไม่เคยเปิดฝาดูเลยตอนมันให้ลมเย็นระดับ ต่ำกว่า - ๘ องศาลเซนติเกรด ถึงระดับ - ๑๕.๕ องศา สำหรับการใช้งานทดสอบบายพาสเทอร์โมในขณะนั้น ไม่เคยเปิดฝากระโปรงดูเลย จนวันหนึ่งวิ่งทางไกลกลับมาตอนค่ำแล้วประมาณทุ่มกว่าๆถึงสองทุ่ม ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโล ที่บายพาสเทอร์โมตลอด พอจอดรถในโรงรถก็เปิดฝากระโปรงเพื่อระบายความร้อน แต่ไม่ได้ดับเครื่อง ถึงได้เห็นว่ามันมีน้ำแข็งเกาะไปถึงคอมขาวโพรนไปหมด ดังในภาพที่เคยโพสต์ไว้ในอดีต ทุกทีติดลบกลับมา ก็ดับเครื่องเข้าบ้านโลด มีวันนั้นล่ะที่มีโอกาสได้เห็นน้ำแข็งครั้งแรกในชีวิต ตื่นเต้นมาก จึงเรียกลูกชายคนโตมาเก็บภาพไว้เป็นหลักฐาน ส่งมาเป็นวิทยาทานให้ทุกคนได้เป็นกรณีศึกษา</p><p><br /></p><p>ประเด็นก็คือ คุณPot_Phuket ได้ลองวิ่งแบบผมดูหรือยัง มีอีกคำถาม ที่เจ้าอี ๓๐ ของคุณเตอร์พ่นไอเย็นออกมาระดับ - ๓๔ องศานั้น เคยลองเปิดฝากระโปรงดูสภาพท่อมันไหม หากไม่เหมือนผมตอนแรกๆ ก็อาจไม่ทราบว่าน้ำแข็งมันเกาะที่ท่อจนถึงคอมแอร์หรือไม่ครับ ผมเก็บข้อมูลนี้ไว้ในดวงจิตนับแต่นั้น หากเราวิ่งแช่ทางไกลอาการนี้จะเป็นทันทีที่ระดับความเย็นแช่ที่ - ๘ องศาลงไปครับ เราต้องเปิดพัดลมสปีดสูงสุดด้วย ไม่งั้นน้ำแข็งเกาะคอยเย็นลมไม่ออก </p><p><br /></p><p>ผมบายพาสเทอร์โม ถึงได้เห็นประสิทธิภาพสูงสุดนี้ครับ แล้วสามารถให้ข้อมูลทางลึกได้อย่างละเอียดยิบ เพราะการบันทึกดังกล่าวในเบื้องแรกและเราประสพด้วยตัวเอง ระดับความเย็นที่มันคอนโทรล แม้อุณหภูมิข้างนอกรถจะสูงถึง ๓๖-๓๙ องศา ลมเย็นที่ส่งออกมาระดับติดลบนั้น สามารถคอนโทรลอุณหภูมิในห้องโดยสารโดยเฉลี่ย ได้ตั้งแต่ต่ำกว่าสิบองศา ถึง ๑๒ องศาโดยประมาณครับ หากมีใครนั่งไปด้วย เวลาเราพูดจะมีไอออกจากปากเราเลยครับ เหมือนกับไปอยู่ประเทศเมืองหนาวฉันท์ใดฉันท์นั้นเลยครับ เป็นอะไรที่ทะลุขีดจำกัดของโรงงานมาก เพราะเทอร์โมของโรงงานต่อให้ตั้งไว้จนสุด มันก็ตัดที่ระดับ๔ ถึง ๖ องศาครับ แถมมีระบบป้องกันอีกหลายชั้นที่จะสั่งให้คอมตัดก่อนที่อุณหภูมิจะลงต่ำไปกว่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมว่า วิศวกรที่ออกแบบคงพบและเห็นข้อเสียที่ผมเคยประสพอีกต่อมาแน่ เช่นท่อแข็งแต่เปราะ มีบึ้มตามมาตอนเปลี่ยนเป็นคูล เขาถึงมีระบบป้องกันไว้หลายชั้น เรามันเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์หัดใหม่ ที่ค้นพบในสิ่งที่เขาค้นพบแล้ว(แต่เก็บเป็นความลับทางการค้าหรือสุดแต่เหตุแต่ผลของเขาไป) เจ้าเจดีย์กะเจ้าไจแอนด์ก็ถูกจำกัดประสิทธิภาพนี้ไว้ครับ เจ้าเจดีย์นั้น ลมเย็นส่งออกมาเต็มที่ประมาณ - ๒ถึง - ๓ ในหน้าหนาวนะ แต่หน้าร้อน สูงสุด ๓-๔ องศาบิดเทอร์โมเย็นสุด มันก็ตัดแล้วครับ ส่วนเจ้าไจแอนด์ ส่งลมเย็นออกมาติดลบประมาณ -๐.๕ ถึง - ๑ องศาครับ แต่แอร์มันมีสามตอน หน้า กลาง หลัง นั่งทีทั้งครอบครัว แต่ในหน้าหนาวนั้นตัดที่อุณหภูมิต่ำกว่าครับ ยังคอนโทรลอุณหภูมิได้อย่างมากก็แค่ ๒๐ องศาครับ(อุณหภูมิเฉลี่ยในห้องโดยสาร) ผิดกันกับเจ้าจินนี่กว่าครึ่งครับ แต่ระบบมันก็ทนมหาทนใช้มาแสนกว่าโลเพิ่งเปลี่ยนแม่เหล็กครั้งที่สอง(ประมาณปีกว่า) คอมสามลูกที่สำรองไว้ก็ยังไม่ได้ใช้เลย ไม่ได้ลงเย็นจนหนาวเหมือนเจ้าจินนี่ต้นแบบ ที่เป็นอาจารย์นำทาง วันนี้เอาเจ้านี่เป็นตำนานเพื่อทำการศึกษาได้เลย</p><p><br /></p><p>ผมว่าพวกเราทดสอบยังไม่หมดครับ ผมก็พบโดยไม่คาดคิดดังที่เล่า แต่พอสรุปได้ว่าเราทำให้เย็นในระดับต่ำกว่า ๕ องศา ก็สามารถสู้แดดในเมืองไทยได้สบายแล้วครับ หากเย็นติดลบยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้แช่ระยะยาวๆแบบผม แช่ทีสามสี่ร้อยกิโล จนเป็นเรื่อง ซึ่งกว่าจะเป็นเรื่องเล่านั้น น่าจะเป็นหมื่นๆกิโล ไม่ใช่มีปัญหาทันทีเลย มันจะค่อยๆกัดกร่อนทีละเล็กละน้อย จนท่อขาดนั่นล่ะครับ ดังนั้นอุณหภูมิติดลบเรา ควรใช่แค่ต้องการลดอุหภูมิในรถให้ลดลงภายในเวลารวดเร็ว ที่เหลือเราก็ควรคอนโทรลไว้ในระดับ ๔ ถึง ๙ องศาปรกติตามโรงงานกำหนด เรา ก็ได้ลมเย็นที่เพียงพอสำหรับการใช้งานปรกติที่เมืองไทยแล้วครับ</p><p><br /></p><p>อีกเสี้ยวเล็กๆมาแบ่งปัน เพื่อรุ่นน้องจะได้บรรลุD.I.Y.แอร์ด้วยตนเองตามหัวเรื่องในกระทู้ แห่งตำนานนี้ครับ[/QUOTE]</p><p><br /></p>
[QUOTE="จินนี่, post: 112163, member: 53848"][QUOTE และสาเหตุ ที่มีน้ำแข็งจับท่อดูดอย่างของพี่จินนี่ผมสรุปให้เลย ครับ ว่ามาจาก น้ำยาน้อยเกินไปในระบบ แค่เติมน้ำยาอีกนิดก็หายแล้วล่ะครับ ที่ผมรู้เพราะผมทะลึ่งครับ ผมไปสั่งวาล์วโมดิฟาย ซึ่งมันติดตั้งภายนอกตู้คอยล์เย็นมา ใช้ และขณะเติมน้ำยาไล่เข้าไป ในช่วงที่น้ำยากะลังจะเต็ม เกิดน้ำแข็งจับท่ออย่างรวดเร็วมาก ผมก็รอดูซักพัก แอร์ก็เย็น แต่น้ำแข็งจับท่อยาวไปจนเกือบถึงคอมเช่นกัน ตามคู่มือ เค้าบอกไว้ว่า ถ้าน้ำแข็งจับท่อแสดงว่า น้ำยาน้อยเกินไปให้เติมเพิ่ม ขณะนั้นน้ำยาเข้าไปประมาณ 150 กรัมเองครับ ซึ่งมันก็น้อยจริงๆ ผมก็เติมเพิ่มเข้าไปซักพักน้ำแข็งก็หาย เหลือแต่ท่อเย็นๆ เอาไว้ จะถ่ายรูปวาล์วภายนอกมาให้ดูอีกทีครับ[/QUOTE] ตอนน้ำแข็งเกาะที่ท่อนั้น ลมเย็นยังติดลบไหมครับ ที่สรุปว่าน้ำยาน้อยไปนั่น เคสน้ำแข็งเกาะในเจ้าจินนี่ผมนั้น น้ำยาไม่น้อยนะครับ ไม่ต่ำกว่า ๘๐๐ กรัม อันนี้ขอยืนยันเลยครับ จะเรียกว่าขาดหรือไม่ครับ อันนี้ไม่ใช่เห็นแย้งข้อสรุปนี้ แต่ให้ข้อมูลทางลึกในการวิเคราะห์ที่ถูกตรงต่อไป น้ำยาไม่น้อยครับ น้ำยาพอดี ประเด็นก็คือ ผมไม่เคยเปิดฝาดูเลยตอนมันให้ลมเย็นระดับ ต่ำกว่า - ๘ องศาลเซนติเกรด ถึงระดับ - ๑๕.๕ องศา สำหรับการใช้งานทดสอบบายพาสเทอร์โมในขณะนั้น ไม่เคยเปิดฝากระโปรงดูเลย จนวันหนึ่งวิ่งทางไกลกลับมาตอนค่ำแล้วประมาณทุ่มกว่าๆถึงสองทุ่ม ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโล ที่บายพาสเทอร์โมตลอด พอจอดรถในโรงรถก็เปิดฝากระโปรงเพื่อระบายความร้อน แต่ไม่ได้ดับเครื่อง ถึงได้เห็นว่ามันมีน้ำแข็งเกาะไปถึงคอมขาวโพรนไปหมด ดังในภาพที่เคยโพสต์ไว้ในอดีต ทุกทีติดลบกลับมา ก็ดับเครื่องเข้าบ้านโลด มีวันนั้นล่ะที่มีโอกาสได้เห็นน้ำแข็งครั้งแรกในชีวิต ตื่นเต้นมาก จึงเรียกลูกชายคนโตมาเก็บภาพไว้เป็นหลักฐาน ส่งมาเป็นวิทยาทานให้ทุกคนได้เป็นกรณีศึกษา ประเด็นก็คือ คุณPot_Phuket ได้ลองวิ่งแบบผมดูหรือยัง มีอีกคำถาม ที่เจ้าอี ๓๐ ของคุณเตอร์พ่นไอเย็นออกมาระดับ - ๓๔ องศานั้น เคยลองเปิดฝากระโปรงดูสภาพท่อมันไหม หากไม่เหมือนผมตอนแรกๆ ก็อาจไม่ทราบว่าน้ำแข็งมันเกาะที่ท่อจนถึงคอมแอร์หรือไม่ครับ ผมเก็บข้อมูลนี้ไว้ในดวงจิตนับแต่นั้น หากเราวิ่งแช่ทางไกลอาการนี้จะเป็นทันทีที่ระดับความเย็นแช่ที่ - ๘ องศาลงไปครับ เราต้องเปิดพัดลมสปีดสูงสุดด้วย ไม่งั้นน้ำแข็งเกาะคอยเย็นลมไม่ออก ผมบายพาสเทอร์โม ถึงได้เห็นประสิทธิภาพสูงสุดนี้ครับ แล้วสามารถให้ข้อมูลทางลึกได้อย่างละเอียดยิบ เพราะการบันทึกดังกล่าวในเบื้องแรกและเราประสพด้วยตัวเอง ระดับความเย็นที่มันคอนโทรล แม้อุณหภูมิข้างนอกรถจะสูงถึง ๓๖-๓๙ องศา ลมเย็นที่ส่งออกมาระดับติดลบนั้น สามารถคอนโทรลอุณหภูมิในห้องโดยสารโดยเฉลี่ย ได้ตั้งแต่ต่ำกว่าสิบองศา ถึง ๑๒ องศาโดยประมาณครับ หากมีใครนั่งไปด้วย เวลาเราพูดจะมีไอออกจากปากเราเลยครับ เหมือนกับไปอยู่ประเทศเมืองหนาวฉันท์ใดฉันท์นั้นเลยครับ เป็นอะไรที่ทะลุขีดจำกัดของโรงงานมาก เพราะเทอร์โมของโรงงานต่อให้ตั้งไว้จนสุด มันก็ตัดที่ระดับ๔ ถึง ๖ องศาครับ แถมมีระบบป้องกันอีกหลายชั้นที่จะสั่งให้คอมตัดก่อนที่อุณหภูมิจะลงต่ำไปกว่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมว่า วิศวกรที่ออกแบบคงพบและเห็นข้อเสียที่ผมเคยประสพอีกต่อมาแน่ เช่นท่อแข็งแต่เปราะ มีบึ้มตามมาตอนเปลี่ยนเป็นคูล เขาถึงมีระบบป้องกันไว้หลายชั้น เรามันเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์หัดใหม่ ที่ค้นพบในสิ่งที่เขาค้นพบแล้ว(แต่เก็บเป็นความลับทางการค้าหรือสุดแต่เหตุแต่ผลของเขาไป) เจ้าเจดีย์กะเจ้าไจแอนด์ก็ถูกจำกัดประสิทธิภาพนี้ไว้ครับ เจ้าเจดีย์นั้น ลมเย็นส่งออกมาเต็มที่ประมาณ - ๒ถึง - ๓ ในหน้าหนาวนะ แต่หน้าร้อน สูงสุด ๓-๔ องศาบิดเทอร์โมเย็นสุด มันก็ตัดแล้วครับ ส่วนเจ้าไจแอนด์ ส่งลมเย็นออกมาติดลบประมาณ -๐.๕ ถึง - ๑ องศาครับ แต่แอร์มันมีสามตอน หน้า กลาง หลัง นั่งทีทั้งครอบครัว แต่ในหน้าหนาวนั้นตัดที่อุณหภูมิต่ำกว่าครับ ยังคอนโทรลอุณหภูมิได้อย่างมากก็แค่ ๒๐ องศาครับ(อุณหภูมิเฉลี่ยในห้องโดยสาร) ผิดกันกับเจ้าจินนี่กว่าครึ่งครับ แต่ระบบมันก็ทนมหาทนใช้มาแสนกว่าโลเพิ่งเปลี่ยนแม่เหล็กครั้งที่สอง(ประมาณปีกว่า) คอมสามลูกที่สำรองไว้ก็ยังไม่ได้ใช้เลย ไม่ได้ลงเย็นจนหนาวเหมือนเจ้าจินนี่ต้นแบบ ที่เป็นอาจารย์นำทาง วันนี้เอาเจ้านี่เป็นตำนานเพื่อทำการศึกษาได้เลย ผมว่าพวกเราทดสอบยังไม่หมดครับ ผมก็พบโดยไม่คาดคิดดังที่เล่า แต่พอสรุปได้ว่าเราทำให้เย็นในระดับต่ำกว่า ๕ องศา ก็สามารถสู้แดดในเมืองไทยได้สบายแล้วครับ หากเย็นติดลบยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้แช่ระยะยาวๆแบบผม แช่ทีสามสี่ร้อยกิโล จนเป็นเรื่อง ซึ่งกว่าจะเป็นเรื่องเล่านั้น น่าจะเป็นหมื่นๆกิโล ไม่ใช่มีปัญหาทันทีเลย มันจะค่อยๆกัดกร่อนทีละเล็กละน้อย จนท่อขาดนั่นล่ะครับ ดังนั้นอุณหภูมิติดลบเรา ควรใช่แค่ต้องการลดอุหภูมิในรถให้ลดลงภายในเวลารวดเร็ว ที่เหลือเราก็ควรคอนโทรลไว้ในระดับ ๔ ถึง ๙ องศาปรกติตามโรงงานกำหนด เรา ก็ได้ลมเย็นที่เพียงพอสำหรับการใช้งานปรกติที่เมืองไทยแล้วครับ อีกเสี้ยวเล็กๆมาแบ่งปัน เพื่อรุ่นน้องจะได้บรรลุD.I.Y.แอร์ด้วยตนเองตามหัวเรื่องในกระทู้ แห่งตำนานนี้ครับ[/QUOTE]
เข้าสู่ระบบด้วย Facebook
เข้าสู่ระบบด้วย Twitter
เข้าสู่ระบบด้วย Google
ชื่อผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมล์ของคุณ:
คุณมีบัญชีผู้ใช้หรือไม่?
ไม่มี, สร้างบัญชีผู้ใช้ตอนนี้
มี, รหัสผ่านของฉันคือ:
ลืมรหัสผ่านของคุณ?
อยู่ในระบบตลอดเวลา
RacingWeb.NET | The Racing Cars Community on Web.
ฟอรั่ม
>
RacingWeb Community
>
Racing Forum (Cars Forum)
>
D.I.Y.
>
D.I.Y. แอร์รถยนต์ด้วยตนเองคับ (ใครรถติดไฟแดงนานๆแล้วแอร์ไม่เย็น เข้ามาคับ)
>
X
หน้าแรก
หน้าแรก
Quick Links
โพสต์ล่าสุด
กิจกรรมล่าสุด
ผู้เขียน
ฟอรั่ม
ฟอรั่ม
Quick Links
ค้นหาฟอรั่ม
โพสต์ล่าสุด
ประกาศซื้อขาย
ประกาศซื้อขาย
Quick Links
ค้นหาประกาศซื้อขาย
กิจกรรมล่าสุด
ผู้ค้าขายคะแนนสูงสุด
สื่อ/วิดีโอ
สื่อ/วิดีโอ
Quick Links
Search Media
New Media
สมาชิก
สมาชิก
Quick Links
สมาชิกที่โดดเด่น
สมาชิกที่ลงทะเบียน
ผู้ใช้งานในขณะนี้
กิจกรรมล่าสุด
โพสต์ข้อมูลส่วนตัวใหม่
เมนู
ค้นหาเฉพาะชื่อ
โพสต์โดยสมาชิก:
แยกชื่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ใหม่กว่า:
ค้นหาเฉพาะหัวข้อนี้
ค้นหาเฉพาะฟอรั่มนี้
แสดงผลเป็นหัวข้อ
การค้นหาที่มีประโยชน์
โพสต์ล่าสุด
เพิ่มเติม...